เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เป็นศิลปินชายชาวไทย ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 เป็นกวีรางวัลซีไรต์ และ เป็นอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2536

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
เกิด26 มีนาคม พ.ศ. 2483 (84 ปี)
อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
นามปากกาเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
อาชีพนักการเมือง, กวี, นักเขียน
คู่สมรสประคองกูล พงษ์ไพบูลย์
บุตร2 คน

ประวัติ แก้

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เกิดวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2483 ที่บ้านพนมทวน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรคนโตและเป็นผู้ชายคนเดียวในจำนวนพี่น้อง 5 คน บิดาชื่อนายฮกหรือสมบัติ พงษ์ไพบูลย์ มารดาชื่อนางสมใจ บิดาเคยเป็นหลงจู๊โรงฝิ่น เนาวรัตน์เรียนจบชั้นประถมปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดบ้านทวน และต่อชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด จากนั้นได้ศึกษาต่อชั้นเตรียมอุดมศึกษาที่โรงเรียนทวีธาภิเศก และจบปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2508

ครอบครัวของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ชอบการแต่งโคลงกลอน ชอบดนตรีไทย มารดาชอบอ่านวรรณคดี เขาจึงอ่านหนังสือได้ตั้งแต่อยู่ชั้นประถมปีที่ 1 เป่าขลุ่ยได้ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เขาเป็นคนช่างคิดช่างสังเกตมาตั้งแต่เด็กๆ ขณะที่เนาวรัตน์กำลังศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 3 ที่โรงเรียนวิสุทธรังษีอยู่นั้น เนาวรัตน์ได้พบโคลงสี่ที่บิดาเขียนไว้เมื่อยังหนุ่ม จึงเกิดแรงบันดาลใจเขียนโคลงส่งไปลงหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เขาเริ่มเขียนกลอนเมื่อชั้นมัธยมปีที่ 5-6 และเขียนจริงจังช่วงที่เรียนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ช่วงนั้นเขาไม่ค่อยได้เรียนหนังสือ เพราะชอบเอลวิส เพรสลีย์ เป็นชีวิตจิตใจ ไว้ผมทรงเดียวกับเอลวิส พกหนังสือ I.S. Song Hits กว่าจะเรียนจบปริญญาตรีที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงใช้เวลาถึง 7 ปี หลังจากเรียนจบแล้วไปบวชระหว่าง พ.ศ. 2511-12 หลังจากลาสิกขาแล้วได้ไปทำงานอยู่ในกองบรรณาธิการ นิตยสาร วิทยาสาร ของ ไทยวัฒนาพานิช เมื่อพ.ศ. 2514 เนาวรัตน์สมรสกับคุณประคองกูล อิศรางกูร ณ อยุธยา มีมีบุตรธิดา 2 คน คือ ประคำกรอง และ แก้วเก้า เนาวรัตน์เคยเป็นอาจารย์สอนวิชาการประพันธ์อย่างสร้างสรรค์ที่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

การทำงานในคณะสมัชชาปฏิรูปประเทศ แก้

นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ได้เข้ามามีบทบาททางการเมือง ภายหลังการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง พ.ศ. 2553 ยุติลง โดยเข้ามาทำหน้าที่เป็นคณะสมัชชาปฏิรูปประเทศ ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 27 คน เพื่อรวบรวมข้อมูล รับฟังความคิดเห็น และไปสู่นโยบายในการปฏิรูปประเทศไทย [1]

ประวัติการศึกษา แก้

ศิลปศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วัฒนธรรมศึกษา) จากสหวิทยาลัยทราวดี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

ศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมาศักดิ์ (ภาษาไทย) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

ประวัติการทำงาน แก้

  • พ.ศ. 2508 รับราชการในกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2510 - 2511 อุปสมบทและถือธุดงค์ไปสวนโมกข์ เพื่อศึกษาพระธรรมกับท่านพุทธทาสภิกขุ
  • พ.ศ. 2511 - 2512 ประจำกองบรรณาธิการนิตยสาร วิทยสาร
  • พ.ศ. 2513 แสดงภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง "พระอภัยมณี" ของสุนทรภู่ รับบทเป็น พระอภัย ของไชโยภาพยนตร์
  • พ.ศ. 2514 - 2515 อาจารย์ประจำภาควิชาประพันธ์อย่างสร้างสรรค์
  • พ.ศ. 2516 พนักงานฝ่ายการพนักงาน ธนาคารกรุงเทพ จำกัด
  • พ.ศ. 2562 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา[2]
 
จากซ้ายไปขวา เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, เอนก นาวิกมูล และ เมืองไทย ภัทรถาวงศ์ ในงาน"กู้ศิลปะบ้านศิลปิน" ณ ศูนย์มานุษย์วิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ผลงาน แก้

งานรวมเล่มร้อยกรอง แก้

  • คำหยาด
  • อาทิตย์ถึงจันทร์
  • เพียงความเคลื่อนไหว (กวีนิพนธ์รางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2523)
  • ชักม้าชมเมือง
  • เพลงขลุ่ยเหนือทุ่งข้าว
  • จารึก ร.ศ. 200
  • กรุงเทพทวารวดี
  • เพลงขลุ่ยผิว
  • ประคำกรอง
  • วารีดุริยางค์
  • ตากรุ้งเรืองโพยม
  • ข้างคลองคันนายาว 1
  • ข้างคลองคันนายาว 2
  • ก.ข.ขับขาน
  • จ๊ะเอ๋
  • ลุงเต่ากับลิ่งต้อยติ่ง
  • คำทายลายแทง
  • รักใคร่ไยดี
  • แว่วไหวในสายลม
  • ขับไม้มโหรี
  • เหมือนข่าวความรักจักมา
  • มุมมอง
  • น้ำใสไม้สวย
  • เขียนแผ่นดิน
  • ที่นี่ขัดข้องหนอ
  • ดาบที่หมกอยู่ในจีวร
  • ดังนั้นฉันจึงเขียน
  • แผ่วผ่านธารน้ำไหล
  • เจ้าประคุณเอ๋ย (พ.ศ. 2532)
  • นกขมิ้น
  • หยุดสักนิด คิดสักหน่อย หมุดหมายที่ 1
  • หนึ่งได้แรงใจ
  • ความคิดในดอกบัว (พ.ศ. 2532)

ผลงานแปลที่เขียนกับนักเขียนอื่น แก้

  • คัมภีร์คุณธรรม กับ สมเกียรติ สุขโข
  • สองตะเกียง กับ ล. เสถียรสุต
  • ห่วงอาหาร กับ สมเกียรติ สุขโข และ สโรชา
  • ก.ข.ขับขาน กับวีระศักดิ์ ขุขันธิน
  • ๖ ตุลามหากาพย์ กับ กลุ่มกวีร่วมสมัย
  • วันฆ่านกพิราบ กับ มหาสมภาร พรหมทา

งานเพลง แก้

สารคดีกวีนิพนธ์ แก้

  • เขียนแผ่นดิน
  • เขียนแผ่นดินสุวรรณภูมิลาว
  • เขียนแผ่นดินสุวรรณภูมิเวียดนาม

รางวัล แก้

รางวัลที่ได้รับ แก้

  • รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์)
  • ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์
  • รางวัลศรีบูรพา
  • พระเกี้ยวทองคำ
  • รางวัลอัศนี พลจันทร

ผลงานที่ได้รับรางวัล แก้

  • พ.ศ.​ 2516 บทกวี "อาทิตย์ถึงจันทร์" ได้รับรางวัลชมเชยพิเศษ วรรณกรรมของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  • พ.ศ.​ 2521 บทกวี "ชักไม้ชนเมือง" ได้รับรางวัลดีเด่นจากงานสัปดาห์หนังสือ
  • พ.ศ.​ 2523 บทกวี "เพียงความเคลื่อนไหว" ได้รับรางวัลซีไรท์
  • พ.ศ. 2537 บทกวี "เพลงขลุ่ยผิว" ได้รับรางวัลดีเด่นจากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2527 บทกวี "ก.ข.ขับขัน" ได้รับรางวัลดีเด่นจากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ แต่งร่วมกับ วีระศักดิ์ ขุขันธิน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "เปิดรายชื่อกรรมการ-สมัชชาปฏิรูปประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-27. สืบค้นเมื่อ 2010-07-09.
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๕, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘

แหล่งข้อมูลอื่น แก้