เนยเชีย (อังกฤษ: shea butter) เป็นไขมันสีขาวเหลืองที่สกัดได้จากเมล็ดต้นเชีย (Vitellaria paradoxa)[1] ซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นในทวีปแอฟริกา เนยเชียเป็นไขมันประเภทไตรกลีเซอไรด์ที่ประกอบด้วยกรดไขมันหลายชนิด ได้แก่ กรดโอเลอิก (40-60%), กรดสเตียริก (20-50%), กรดลิโนเลอิก (3-11%), กรดปาล์มิติก (2-9%), กรดลิโนเลนิกอัลฟา (<1%) และกรดอะราคิดิก (<1%)[2]

เนยเชีย
เมล็ดต้นเชีย (Vitellaria paradoxa)

เนยเชียนิยมใช้เป็นสารเพิ่มความชุ่มชื้นในเครื่องสำอางหลายชนิด เช่น ลิปกลอส, โลชัน, ครีม, ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมและสบู่ แต่ในเชิงพาณิชย์ไม่นิยมใช้เนยเชียทำสบู่เพราะต้นทุนสูงและคุณสมบัติที่ไม่ค่อยแปรสภาพเป็นสบู่เมื่อทำปฏิกิริยากับแอลคาไลน์ ในทางการแพทย์ใช้ผสมเป็นยาประเภทขี้ผึ้งเพราะมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ[3] ในอุตสาหกรรมผลิตช็อกโกแลต บางครั้งมีการผสมเนยเชียกับไขมันอื่น ๆ เพื่อใช้แทนเนยโกโก้ แต่จะให้รสชาติที่ต่างกัน[4][5]

องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกาและหลายบริษัท[6] ได้จัดระดับความบริสุทธิ์ของเนยเชียเป็น 5 ระดับ ได้แก่:

  • A (ดิบ, สกัดด้วยน้ำ)
  • B (กลั่นแล้ว)
  • C (กลั่นและสกัดด้วยตัวทำละลาย เช่น เฮกเซน)
  • D (ระดับไม่มีการปนเปื้อนต่ำสุด)
  • E (มีการปนเปื้อน)

อ้างอิง แก้

  1. Alfred Thomas (2002). "Fats and Fatty Oils". Ullmann's Encyclopedia of Industrial Chemistry. Weinheim: Wiley-VCH. doi:10.1002/14356007.a10_173.
  2. Davrieux, F., Allal, F., Piombo, G., Kelly, B., Okulo, J. B., Thiam, M., Diallo, O. B. & Bouvet, J.-M. (2010). "Near Infrared Spectroscopy for High-Throughput Characterization of Shea Tree (Vitellaria paradoxa) Nut Fat Profiles. Journal of Agricultural and Food Chemistry, 58, 7811-7819".{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. Akihisa, T.; Kojima, N.; Kikuchi, T.; Yasukawa, K.; Tokuda, H.; Masters, E. T.; Manosroi, A.; Manosroi, J. (2010). "Anti-inflammatory and chemopreventive effects of triterpene cinnamates and acetates from shea fat". Journal of Oleo Science. 59 (6): 273–80. doi:10.5650/jos.59.273. PMID 20484832.
  4. E. T. Masters, J. A. Yidana and P. N. Lovett. "Reinforcing sound management through trade: shea tree products in Africa".
  5. Fold, N. 2000. "A matter of good taste? Quality and the construction of standards for chocolate in the European Union. Cahiers d'Economie et Sociologie Rurales, 55/56: 92–110" (PDF).
  6. United States Agency For International Development, October 2006. "Buying and Selling Shea Butter: A Marketing Manual for West Africa" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-08-07. สืบค้นเมื่อ 2016-10-25.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้