เนชันนัลลีก (อังกฤษ: National League) หรือในอดีตคือ ลีกคอนเฟอเรนซ์พรีเมียร์ หรือ บลูสแควร์พรีเมียร์ (ปัจจุบันมีชื่อในการแข่งขันตามผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการว่า แวนอะรามาเนชันนัลลีก[1]) คือการแข่งขันฟุตบอลในระดับสูงที่สุดของระบบฟุตบอลกึ่งอาชีพในอังกฤษ และถูกจัดให้เป็นลีกที่อยู่ลำดับ 5 ของระบบลีกอังกฤษทั้งหมด โดยผู้ชนะจะได้เลื่อนชั้นสู่ฟุตบอลลีกทู ซึ่งเป็นลีกระดับล่างสุดในระบบฟุตบอลลีก หรือลีกระดับอาชีพ

เนชันนัลลีก
ก่อตั้ง1979
(ในชื่อ อลิอันซ์พรีเมียร์ลีก)
ประเทศ อังกฤษ (22 สโมสร)
สโมสรอื่นจาก เวลส์ (1 สโมสร)
จำนวนทีม23
ระดับในพีระมิด5
เลื่อนชั้นสู่ลีกทู
ตกชั้นสู่เนชันนัลลีกนอร์ท
เนชันนัลลีกเซาท์
ถ้วยระดับประเทศเอฟเอคัพ
เอฟเอ โทรฟี
ถ้วยระดับนานาชาติยูฟ่ายูโรปาลีก
(ผ่าน เอฟเอคัพ)
ทีมชนะเลิศปัจจุบันเรกซัม
(2022–23)
ชนะเลิศมากที่สุดบาร์เน็ต (3 สมัย)
แมคเคิลส์ฟีลด์ทาวน์ (3 สมัย)
หุ้นส่วนโทรทัศน์บีที สปอร์ต
เอ็นแอลทีวี
เว็บไซต์National League
ปัจจุบัน: เนชันนัลลีก ฤดูกาล 2023–24

ในอดีตลีกคอนเฟอเรนซ์ พรีเมียร์ จัดเป็นลีกของสโมสรฟุตบอลกึ่งอาชีพ โดยมีการผสมผสานทั้งสโมสรอาชีพเก่าแก่ที่ตกชั้นลงมาจากลีกทู และสโมสรสมัครเล่นที่เลื่อนชั้นขึ้นมาจากลีกระดับล่าง ในฤดูกาล 2015–16 ได้มีการเปลี่ยนชื่อลีกเป็น เนชันนัลลีก โดยมีผู้สนับสนุนหลักคือบริษัทแวนอะรามา ผู้ประกอบธุรกิจรถยนต์อเนกประสงค์ (รถแวน) ในสหราชอาณาจักร[2]

ประวัติลีก แก้

อลิอันซ์ พรีเมียร์ลีก แก้

เนชันนัลลีก ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1979 ในชื่อ อลิอันซ์พรีเมียร์ลีก และจัดการแข่งขันอย่างเป็นทางการครั้งแรกในฤดูกาล1979–80 และถือเป็นครั้งแรกที่มีการจัดแข่งขันอย่างเต็มรูปแบบ สำหรับการแข่งขันในระดับที่ต่ำกว่าลีกอาชีพ การหาสโมสรเข้าร่วมการแข่งขันนั้นมาจากสโมสรในนอร์ธเทิร์น พรีเมียร์ลีก และเซาท์เทิร์นลีก โดยสโมสรที่ชนะเลิศในฤดูกาลแรกคือสโมสรฟุตบอลอัลทริงแฮม

การจัดการแข่งขันอลิอันซ์ พรีเมียร์ลีก ส่งผลให้เกิดการพัฒนาวงการฟุตบอลในระดับล่าง และยกระดับฐานะทางการเงินของสโมสรเล็กๆในอังกฤษอย่างเป็นรูปธรรม โดยในฤดูกาล 1984–85 มีผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกคือบริษัท โกลา ผู้ผลิตอุปกรณ์กีฬา ทำให้มีการตั้งชื่อการแข่งขันตามผู้สนับสนุนหลักว่า โกลา ลีก

ฟุตบอลคอนเฟอเรนซ์ แก้

ฤดูกาล 1986–87 ได้มีการเปลี่ยนชื่อลีกเป็น ฟุตบอลคอนเฟอเรนซ์ และมีชื่อในการแข่งขันตามผู้สนับสนุนรายใหม่ว่า จีเอ็ม วูซ์ฮอลล์ คอนเฟอเรนซ์ โดยในฤดูกาลนี้ฟุตบอลลีกของอังกฤษ ได้ยอมรับให้มีการเลื่อนชั้นและตกชั้น ระหว่างสโมสรที่ชนะเลิศในการแข่งขันฟุตบอลคอนเฟอเรนซ์ และสโมสรที่ได้อันดับสุดท้ายในระดับดิวิชัน 4 (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นฟุตบอลลีกทู) โดยสโมสรแรกที่ได้เลื่อนชั้นสู่ลีกอาชีพจากการชนะเลิศในฟุตบอลคอนเฟอเรนซ์ คือ สโมสรฟุตบอลสการ์โบโร และสโมสรแรกที่ตกชั้นจากลีกอาชีพลงมาคือ สโมสรฟุตบอลลินคอล์น ซิตี

ฤดูกาล 1999–2000 ฟุตบอลคอนเฟอเรนซ์ ได้มีผู้สนับสนุนรายใหม่คือบริษัท เนชันไวด์ และใช้ชื่อในการแข่งขันว่า เนชันไวด์ คอนเฟอเรนซ์

ตั้งแต่ฤดูกาล 2002–2003 เป็นต้นมาฟุตบอล คอนเฟอเรนซ์ ได้รับการเพิ่มสโมสรที่จะได้รับการเลื่อนชั้นเป็น 2 สโมสร จากเดิมเฉพาะสโมสรที่ชนะเลิศ เป็นสโมสรที่ชนะเลิศ และผู้ชนะในรอบเพลย์ออฟ ที่แข่งกันระหว่างสโมสรที่ได้อันดับ 2 – อันดับ 5 ทั้งนี้มีข้อแม้ว่าสโมสรในฟุตบอลคอนเฟอเรนซ์ที่จะเลื่อนชั้นได้จะต้องมีสนามเหย้าที่ได้มาตรฐานในระดับอาชีพเท่านั้น

บลูสแควร์ พรีเมียร์ แก้

ฤดูกาล 2006–2007 ลีกได้ผู้สนับสนุนรายใหม่ ที่มาแทนบริษัทเนชันไวด์ จึงเปลี่ยนชื่อลีกเป็นบลูสแควร์ พรีเมียร์[3] และใช้ชื่อนี้จนจบฤดูกาล 2013–2014

เนชันนัลลีก แก้

หลังจากบริษัทสคริล ได้เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนต่อจากบลูสแควร์ ได้เพียงแค่ฤดูกาลเดียว[4] ก็ได้บริษัทแวนอะรามา มาเป็นผู้สนับสนุนหลักรายใหม่อย่างเป็นทางการในฤดูกาล 2015–2016 และเปลี่ยนชื่อลีกเป็นเนชันนัลลีก

สโมสรในฤดูกาล 2021–22 แก้

สโมสร อันดับในฤดูกาลก่อน (2020–21)
อัลเดอร์ช็อต ทาวน์ อันดับ 15
อัลทริงแฮม อันดับ 17​
บาร์เน็ต อันดับ 22
บอแรม วูด อันดับ 14
บรอมลีย์ อันดับ 7
เชสเตอร์ฟีลด์ อันดับ 6
ดาเกแนม แอนด์ เรดบริดจ์ อันดับ 12
โดเวอร์ แอธเลติก ถูกยกเลิกผลการแข่งขันในฤดูกาล 2020–21
อีสต์ลีห์ อันดับ 9
กริมสบี ทาวน์ อันดับ 24, อีเอฟแอลลีกทู
ฮาลิแฟกซ์ ทาวน์ อันดับ 10
คิงส์ ลินน์ ทาวน์ อันดับ 21
ไมเดนเฮด ยูไนเต็ด อันดับ 13
นอตส์ เคาน์ตี อันดับ 5
โซลิฮัลล์ มัวร์ อันดับ 11
เซาท์เอนด์ ยูไนเต็ด อันดับ 23, อีเอฟแอลลีกทู
สต็อกพอร์ต เคาน์ตี อันดับ 3
ทอร์คีย์ ยูไนเต็ด อันดับ 2
วีลด์สโตน อันดับ 19
เวย์มัท อันดับ 18
โวกกิง อันดับ 20
เร็กซ์แฮม อันดับ 8
โยวิล ทาวน์ อันดับ 16

ที่ตั้งของแต่ละสโมสร ในฤดูกาล 2018–19 แก้

 
 
แฮร์โรเกต ทาวน์
 
ฮาแวนต์ แอนด์ วอเตอร์ลูวิลล์
 
ฮาร์ทลีพูล ยูไนเต็ด
 
ฮาลิแฟ็กซ์ ทาวน์
 
ไมเดนเฮด ยูไนเต็ด
 
อัลเดอร์ช็อต ทาวน์
 
ไฟลด์
 
เชสเตอร์ฟีลด์
 
บาร์โรว์
 
บอร์แรม วู้ด
 
เบรนทรี ทาวน์
 
โดเวอร์ แอทเลติก
 
อีสต์ลีห์
 
เกตส์เฮ้ด
 
เมดสโตน ยูไนเต็ด
 
โซลิฮัลล์ มัวส์
 
เร็กซ์แฮม
ที่ตั้งของแต่ละสโมสรในการแข่งขันเนชันนัลลีก ฤดูกาล 2018–19 (สโมสรในเกรเทอร์ลอนดอนให้ดูที่ส่วนขยาย)
 
 
บรอมลีย์
 
บาร์เน็ต
 
เลย์ตัน โอเรียนท์
 
ซัตตัน ยูไนเต็ด
ที่ตั้งของสโมสรที่อยู่ในมณฑลเกรเทอร์ลอนดอน ในเนชันนัลลีก ฤดูกาล 2018–19

สนามแข่งขันในฤดูกาล 2018–19 แก้

สโมสร สนาม ความจุ
อัลเดอร์ช็อต ทาวน์ เดอะ รีคริเอชัน กราวน์
(อัลเดอร์ช็อต, แฮมป์เชียร์)
7,100
บาร์โรว์ โฮล์คเคอร์ สตรีท
(บาร์โรว์อินเฟอร์เนสส์, คัมเบรีย)
4,414
บอร์แรม วู้ด มีโดว์ พาร์ก
(บอร์แฮม วู้ด, ฮาร์ตฟอร์ดเชียร์)
4,502
เบรนทรี ทาวน์ เครสซิง โรด
(เบรนทรี, เอสเซกซ์)
4,145
บรอมลีย์ เดอะ สเตเดียม
(บรอมลีย์, เกรเทอร์ลอนดอน)
6,000
ดาเกแนม แอนด์ เรดบริดจ์ ชิกเวลล์ คอนสตรัคชัน สเตเดียม
(ดาเกแนม, เกรเทอร์ลอนดอน)
6,078
โดเวอร์ แอธเลติก แครบเบิล แอธเลติก กราวน์
(โดเวอร์, เคนต์)
6,500
อีสต์ลีห์ ซิลเวอร์เลค สเตเดียม
(อีสต์ลีห์, แฮมป์เชียร์)
5,192
ไฟลด์ มิลล์ฟาร์ม
(โบโร ออฟ ไฟลด์, แลงคาเชียร์)
6,000
เกตส์เฮ้ด เกตส์เฮ้ด อินเตอร์เนชันนัล สเตเดียม
(เกตส์เฮ้ด, ไทน์แอนด์เวียร์)
10,000
ฮาแวนต์ แอนด์ วอเตอร์ลูวิลล์ เวสต์ ลีห์ พาร์ก
(ฮาแวนต์, แฮมป์เชียร์)
5,300
เลย์ตัน โอเรียนต์ แมตช์รูม สเตเดียม
(เลย์ตัน, เกรเทอร์ลอนดอน)
9,271
ไมเดนเฮด ยูไนเต็ด ยอร์ค โรด
(ไมเดนเฮด, บาร์กเชียร์)
4,218
เมดสโตน ยูไนเต็ด กัลลาเกอร์ สเตเดียม
(เมดสโตน, เคนต์)
3,030
ซอลฟอร์ด ซิตี มัวร์ เลน
(เคอร์ซัล, ซอลฟอร์ด)
5,106
โซลิฮัลล์ มัวส์ ออโตเมท เทคโนโลยี กรุ๊ป สเตเดียม
(โซลิฮัลล์, เวสต์ มิดแลนด์)
3,050
ซัตตัน ยูไนเต็ด แกนเดอร์ กรีน เลน
(ซัตตัน, เกรเทอร์ลอนดอน)
5,013
เร็กซ์แฮม เรซคอต กราวน์
(เร็กซ์แฮม, เวลส์)
10,771

สโมสรที่ชนะเลิศ แก้

  • สำหรับสโมสรที่ชนะเลิศมากกว่าหนึ่งครั้ง ตัวเลขในวงเล็บ จะแสดงถึงจำนวนครั้งที่ชนะเลิศในปีนั้น
ฤดูกาล ชนะเลิศ ชนะเพลย์ออฟ
1979–80 อัลทริงแฮม1
1980–81 อัลทริงแฮม1 (2)
1981–82 รันคอร์น เอฟซี
(ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น รันคอร์น ฮัลตัน )1
1982–83 เอนฟิลด์1
1983–84 เมดสโตน ยูไนเต็ด1
1984–85 วีลด์สโตน1
1985–86 เอนฟิลด์1 (2)
1986–87 สการ์โบโร
1987–88 ลิงคอล์น ซิตี
1988–89 เมดสโตน ยูไนเต็ด (2)
1989–90 ดาร์ลิงตัน
1990–91 บาร์เน็ต
1991–92 โคลเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
1992–93 วีคอมบ์ วันเดอร์เรอส์
1993–94 คิดเดอร์มินสเตอร์ แฮริเออร์ส2
1994–95 แมคเคิลส์ฟีลด์ ทาวน์2
1995–96 สตีเฟเนจ โบโร
(ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น สตีเฟเนจ เอฟซี )2
1996–97 แมคเคิลส์ฟีลด์ ทาวน์ (2)
1997–98 ฮาลิแฟกซ์ ทาวน์
1998–99 เชลต์นัม ทาวน์
1999–00 คิดเดอร์มินสเตอร์ แฮริเออร์ส (2)
2000–01 รัชเดน แอนด์ ไดมอนด์
2001–02 บอสตัน ยูไนเต็ด3
2002–03 โยวิล ทาวน์ ดองคัสเตอร์ โรเวอส์
2003–04 เชสเตอร์ ซิตี ชริวส์บิวรี ทาวน์
2004–05 บาร์เน็ต (2) คาร์ไลล์ ยูไนเต็ด
2005–06 แอคคริงตัน สแตนลีย์ เฮเรฟอร์ด ยูไนเต็ด
2006–07 ดาเกแนม แอนด์ เร้ดบริดจ์ มอร์คัม
2007–08 อัลเดอร์ชอต ทาวน์ เอ็กซิเตอร์ ซิตี
2008–09 เบอร์ตัน อัลเบียน ทอร์คีย์ ยูไนเต็ด
2009–10 สตีเฟเนจ โบโร (2) ออกซฟอร์ด ยูไนเต็ด
2010–11 ครอว์ลีย์ ทาวน์ เอเอฟซี วิมเบิลดัน
2011–12 ฟลีตวุด ทาวน์ ยอร์ก ซิตี
2012–13 แมนส์ฟิลด์ ทาวน์ นิวปอร์ต เคาน์ตี
2013–14 ลูตัน ทาวน์ เคมบริดจ์ ยูไนเต็ด
2014–15 บาร์เน็ต (3) บริสตอล โรเวอส์
2015–16 เชลต์นัม ทาวน์ (2) กริมสบี ทาวน์
2016–17 ลิงคอล์น ซิตี (2) ฟอเรสต์กรีน โรเวอส์
2017–18 แมคเคิลส์ฟีลด์ ทาวน์ (3) ทรานเมียร์ โรเวอส์
2018–19 เลย์ตัน​ โอเรียนท์ ซอลฟอร์ด​ ซิตี
2019–20 บาร์โรว์4 แฮร์โรเกต ทาวน์
2020–21 ซัตตัน ยูไนเต็ด ฮาร์ทลีย์พูล
  • ^1 ไม่มีการเลื่อนชั้นจนถึงปี 1987
  • ^2 ไม่ได้เลื่อนชั้นเนื่องจากสนามเหย้า ไม่ได้มาตรฐาน
  • ^3 หลังจากคว้าตำแหน่งชนะเลิศในฤดูกาล 2001–02 และได้เลื่อนชั้น สโมสรบอสตัน ยูไนเต็ด กลับประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก และถูกตัด 4 คะแนน ในฤดูกาล 2002–03
  • ^4 สโมสรในลีกมีมติยุติการแข่งขันก่อนสิ้นสุดฤดูกาลเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19

ต่อมาในการแข่งขันฟุตบอลลีกทูฤดูกาล 2006–07 สโมสรบอสตัน ยูไนเต็ด ได้ถูกควบคุมทางการเงิน ทำให้สมาคมฟุตบอลอังกฤษลงโทษตัด 10 คะแนนและถูกปรับตกชั้นถึง 2 ดิวิชัน จากฟุตบอลลีกทู สู่ลีก คอนเฟอเรนซ์ นอร์ท เมื่อจบฤดูกาล และถูกปรับตกชั้นอีกครั้ง ลงสู่ลีกสมัครเล่น นอร์ทเทิร์น พรีเมียร์ลีก หลังจบฤดูกาล 2008–09

ผู้ทำประตูสูงสุดประจำฤดูกาล แก้

ฤดูกาล ผู้ทำประตูสูงสุด สัญชาติ จำนวนประตู สโมสร
1983–84 พอล คัลปิน   41 นันอีตัน โบโร
1984–85 พอล คัลปิน   36 นันอีตัน โบโร
1985–86 คิม คาซีย์   36 คิดเดอร์มินสเตอร์ แฮริเออร์ส
1986–87 คิม คาซีย์   38 คิดเดอร์มินสเตอร์ แฮริเออร์ส
1987–88 สตีฟ นอร์ริส   24 เทลฟอร์ด ยูไนเต็ด
ฟิลด์ ดาร์บีเชียร์   24 สแตฟฟอร์ด เรนเจอส์
พอล เดวีส   24 คิดเดอร์มินสเตอร์ แฮริเออร์ส
1988–89 สตีฟ บัตเลอร์   26 เมดสโตน ยูไนเต็ด
มาร์ค กอลล์   26 เมดสโตน ยูไนเต็ด
1989–90 รอบบี้ คุ้ก   28 เคตเทอริง
1990–91 แกรี บูลล์   30 บาร์เน็ตต์
1991–92 พอล คาร์เวลล์   29 เร้ดบริดจ์ ฟอเรสต์
เทอร์รี ร็อบบินส์   29 เวลลิง ยูไนเต็ด
1992–93 เดฟ ลีเวิร์ทธี   32 ฟาร์นโบโร
1993–94 พอล ดอบสัน   25 เกตส์เฮ้ด
1994–95 พอล ดอบสัน   25 เกตส์เฮ้ด
1995–96 แบรี เฮย์ลส์   29 สตีเฟเนจ โบโร
1996–97 ลี ฮิวจ์   30 คิดเดอร์มินสเตอร์ แฮริเออร์ส
1997–98 เจฟฟ์ ฮอร์สฟิลด์   30 ฮาลิแฟกซ์ ทาวน์
1998–99 คาร์ล อัลฟอร์ด   26 สตีเฟเนจ โบโร
1999–00 จัสติน แจ็กสัน   29 มอร์คัม
2000–01 ดวน ดาร์บี   24 รัชเดน แอนด์ ไดมอนส์
2001–02 ดาริล แคลร์   24 บอสตัน ยูไนเต็ด
มาร์ค สตีน   24 ดาเกแนม แอนด์ เร้ดบริดจ์
2002–03 พอล บาร์นส์   25 ดอนคาสเตอร์ โรเวอส์
2003–04 ดาริล แคลร์   29 เชสเตอร์ ซิตี
2004–05 จูเลียโน กราซิโอลี   29 บาร์เน็ต
2005–06 แอนดี บิชอป   23 ยอร์ก ซิตี
2006–07 พอล เบนสัน   28 ดาเกแนม แอนด์ เร้ดบริดจ์
2007–08 สจ๊วต ฟลีตวู้ด   28 ฟอเรสต์กรีน โรเวอส์
2008–09 แอนดรูว์ มอร์แกน   26 ฟอเรสต์กรีน โรเวอส์
2009–10 ริชาร์ด โบรดี   26 ยอร์ก ซิตี
2010–11 แมตต์ ทับส์   37 ครอว์ลีย์ ทาวน์
2011–12 เจมี วาร์ดี   31 ฟลีตวูด ทาวน์
2012–13 แมตต์ กรีน   25 แมนส์ฟิลด์ ทาวน์
2013–14 อังเดร เกรย์   30 ลูตัน ทาวน์
2014–15 จอห์น อคินเด   31 บาร์เน็ต
2015–16 แดน โฮลมอน   30 เชลต์นัม ทาวน์
พาเดร็ก อามอนด์   30 กริมสบี ทาวน์
2016–17 ริกกี มิลเลอร์   40 โดเวอร์ แอธเลติก
2017–18 แอนดี คุ้ก   24 ทรานสเมียร์ โรเวอส์
แดนนี โรว์   24 เอเอฟซี ไฟลด์
2018–19 แดนนี​ โรว์   26 เอเอฟซี ไฟลด์
2019–20 สก็อต ควิกลีย์   20 บาร์โรว์
2020–21 ไมเคิล ชีค   21 บรอมลีย์

อ้างอิง แก้

แม่แบบ:ฟุตบอลลีกระดับห้า

  1. "Vanarama announced as new Football Conference sponsor". Non-League Bets. 30 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-18. สืบค้นเมื่อ 2015-08-09.
  2. "Football Conference to be renamed as National League", BBC Sport, 6 April 2015
  3. "Conference announces new sponsors". BBC News. 11 April 2007. สืบค้นเมื่อ 5 October 2007.
  4. "Skrill is the new title sponsor for the Football Conference Leagues". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-30. สืบค้นเมื่อ 2015-08-11.