เท้า หรือ ตีน เป็นโครงสร้างทางกายวิภาคศาสตร์ของสัตว์หลายชนิด ใช้สำหรับการเคลื่อนที่ ในสัตว์หลายชนิดมีเท้าเป็นอวัยวะที่แยกออกต่างหากอยู่ปลายสุดของขา ประกอบด้วยกระดูกหลายชิ้นรวมทั้งกรงเล็บ (claws) และเล็บ (nail)

เท้า
(Foot)
เท้าของมนุษย์
รายละเอียด
หลอดเลือดแดงdorsalis pedis artery, medial plantar artery, lateral plantar artery
ประสาทmedial plantar nerve, lateral plantar nerve, Deep fibular nerve, Superficial fibular nerve
ตัวระบุ
ภาษาละตินpes
MeSHD005528
TA98A01.1.00.040
TA2166
FMA9664
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

โครงสร้างของเท้า แก้

เท้าจะประกอบไปด้วยกระดูก 28 ชิ้น ต่อเข้ากับข้อเท้า มีกล้ามเนื้อที่เกาะมาจากขาท่อนล่างมาที่เท้า 13 มัด และกล้ามเนื้อภายในฝ่าเท้าอีก 19 มัด โครงสร้างของเท้ามีส่วนโค้งของฝ่าเท้าทั้งตามยาวและตามขวาง ทำให้เท้าสามารถรับน้ำหนักได้หลายเท่าของน้ำหนักตัว เท้ามีความแข็งแรงรับน้ำหนักไปที่ปลายเท้าได้ เช่น นักเต้นระบำบัลเล่ห์ และยังสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพพื้นผิวที่รองรับฝ่าเท้า เช่น เดินเท้าเปล่าบนพื้นทราย[1]

ส่วนประกอบของเท้า แก้

  • เท้าส่วนหน้า จะประกอบไปด้วยนิ้วเท้า และกระดูกตรงส่วนฝ่าเท้า
  • เท้าส่วนกลาง จะประกอบไปด้วยส่วนโครงของฝ่าเท้า
  • เท้าส่วนหลัง จะเป็นส้นเท้า

นอกจากนั้นเท้ายังประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อเส้นเอ็นต่างๆมากกว่า 100 ชิ้นเพื่อเป็นตัวช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของเท้า plantar fascia และ Achilles tendon หรือเรียกอีกอย่างว่า เอ็นร้อยหวาย เป็นเส้นเอ็นที่สำคัญมากและเป็นตัวก่อให้เกิดปัญหาได้เช่น โรคข้อเท้า โรคน้ำกัดเท้า เป็นต้น[2]

ฝ่าเท้า แก้

ฝ่าเท้าจะเป็นส่วนที่สำคัญมากอีกส่วนหนึ่งเนื่องจากเป็นส่วนที่มีความสัมพันธ์กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย เพราะฝ่าเท้าจะเป็นจุดรวมของปลายประสาทและเส้นเลือดจากส่วนต่างๆ ซึ่งจะสื่อสารโดยผ่านประสาทหรือต่อมน้ำเหลือง[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง แก้

  1. "นพ.วีระยุทธ เชาว์ปรีชา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-10. สืบค้นเมื่อ 2008-10-16.
  2. บันไดมนุษย์

แหล่งข้อมูลอื่น แก้