เทศบาลเมืองแม่เหียะ

เทศบาลเมืองในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย

เทศบาลเมืองแม่เหียะ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับเทศบาลเมืองภายในอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่เหียะทั้งตำบล แม่เหียะเป็นที่ตั้งของแปลงวิจัยเกษตรกับอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นที่ตั้งของอุทยานหลวงราชพฤกษ์ กับเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ตลอดจนวัดพระธาตุดอยคำ ทั้งหมดถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่

เทศบาลเมืองแม่เหียะ
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองแม่เหียะ
ตรา
คำขวัญ: 
ดอยคำพันสี่ร้อยปี ประเพณีเลี้ยงดง สรงน้ำพระธาตุ ถิ่นปราชญ์ล้านนา ภูมิปัญญาท้องถิ่นดินขอ น้ำแม่เหียะหล่อชีวี
ทม.แม่เหียะตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่
ทม.แม่เหียะ
ทม.แม่เหียะ
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองแม่เหียะในจังหวัดเชียงใหม่
พิกัด: 18°44′41″N 98°57′4″E / 18.74472°N 98.95111°E / 18.74472; 98.95111
ประเทศ ไทย
จังหวัดเชียงใหม่
อำเภอเมืองเชียงใหม่
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีธนวัฒน์ ยอดใจ (ตั้งแต่ 2542)
พื้นที่
 • ทั้งหมด24.40 ตร.กม. (9.42 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (สิ้นปี 2564)[1]
 • ทั้งหมด19,707 คน
 • ความหนาแน่น797.74 คน/ตร.กม. (2,066.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04500103
ที่อยู่
สำนักงาน
194 หมู่ 7 ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50100
โทรศัพท์053-276491
เว็บไซต์www.maehia.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ตำบลแม่เหียะใช้เวลาเพียงสิบหกปีสามารถพัฒนาจากองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นเป็นเทศบาลเมือง เมืองแม่เหียะสามารถผลักดันตนเองจนกลายเป็นเมืองอัจฉริยะ ซึ่งมีการนำ เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ในงานราชการส่วนท้องถิ่นและงานบริการประชาชนได้ก้าวหน้าที่สุดในไทย รัฐบาลกำหนดให้เมืองแม่เหียะเป็นต้นแบบท้องถิ่นดิจิทัลแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศตั้งแต่ปี 2565

ประวัติ แก้

เทศบาลเมืองแม่เหียะ เดิมเป็นสภาตำบล[2] มีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของส่วนราชการภูมิภาค ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลแม่เหียะได้รับสถานะเป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการท้องถิ่น[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริการส่วนตำบลจนถึง พ.ศ. 2550 จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบล

ปี พ.ศ. 2554 จากการที่เทศบาลตำบลแม่เหียะ เป็นตำบลที่มีการพัฒนาและมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว สภาเทศบาลตำบลแม่เหียะจึงได้มีมติให้ส่งเรื่องยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองไปยังรัฐสภา ในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เทศบาลตำบลแม่เหียะจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น เทศบาลเมือง[4]

ภูมิศาสตร์ แก้

ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ลาดเชิงเขา ที่เนิน สลับกับพื้นที่ค่อนข้างราบ มีเทือกเขาดอยสุเทพผ่านทางด้านทิศตะวันตกของตำบล ความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 300 เมตร โดยพื้นที่ลาดจะลาดจากทิศเหนือไปทิศใต้และจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก[5] แหล่งน้ำที่สำคัญคือ ลำห้วยแม่เหียะและคลองชลประทาน

ตำบลแม่เหียะมีอาณาเขตติดต่อ 5 ตำบลใน 2 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่[5]

ตราสัญลักษณ์ แก้

ตราประจำเทศบาล[6] เป็นรูปวงกลม ขอบบนวงกลมใหญ่มีอักษร "เทศบาลเมืองแม่เหียะ" และขอบล่างมีอักษร "จังหวัดเชียงใหม่" ในตราสัญลักษณ์ประกอบด้วย

  • วัดพระธาตุดอยคำ แสดงถึงเป็นวัดสำคัญที่สุดของตำบล และเป็นสัญลักษณ์ของตำบล
  • กระเบื้องดินขอ แสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณค่าของตำบล
  • รัศมีที่เปล่งออกจากพระธาตุดอยคำ แสดงถึงความศรัทธาของชาวแม่เหียะ ที่ยึดมั่นในศาสนา
  • รวงข้าว แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ การเจริญเติบโตอย่างมีคุณค่าและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ

เขตการปกครอง แก้

ตำบลแม่เหียะแบ่งออกเป็น 10 หมู่[7] 12 หมู่บ้าน ได้แก่

  • หมู่ 1 บ้านตำหนัก
  • หมู่ 2 บ้านอุโบสถ
  • หมู่ 3 บ้านป่าจี้, บ้านแม่เหียะใน
  • หมู่ 4 บ้านท่าข้าม
  • หมู่ 5 บ้านดอนปิน
  • หมู่ 6 บ้านใหม่สามัคคี
  • หมู่ 7 บ้านตำหนักใหม่
  • หมู่ 8 บ้านวรุณนิเวศน์
  • หมู่ 9 บ้านไทยสมุทร
  • หมู่ 10 บ้านป่าเป้า, บ้านแกรนด์วิว

ประชากรและสังคม แก้

 
ถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี บริเวณแยกแม่เหียะสมานสามัคคี
ประชากรตำบลแม่เหียะ
แบ่งตามปี
ปีประชากร±%
2537 9,997—    
2540 12,859+28.6%
2543 13,989+8.8%
2546 15,039+7.5%
2549 16,021+6.5%
2552 17,033+6.3%
2555 18,135+6.5%
2558 18,862+4.0%
2561 19,297+2.3%
2564 19,707+2.1%
ที่มา: กรมการปกครอง[1]

ตำบลแม่เหียะมีประชากรทั้งหมด 19,707 คน แบ่งเป็น ชาย 8,896 คน หญิง 10,811 คน ข้อมูลเมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2564[1]

ตำบลแม่เหียะเป็นตำบลแถบชานของเวียงเชียงใหม่ ในอดีตประชาชนดั้งเดิมในพื้นที่มีส่วนใหญ่มีฐานะยากจนทำเกษตรกรรมและหาของป่าเป็นหลัก เนื่องด้วยการเกิดขึ้นของทางหลวงสองสายที่เชื่อมกับตัวเมือง ได้แก่ ทางหลวงเชียงใหม่–ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) และถนนเลียบคลองชลประทาน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 121) ทำให้ความเจริญเริ่มเข้ามา ประชาชนในพื้นที่สามารถเดินทางไป-กลับจากตัวเมืองได้สะดวกมากขึ้น เริ่มมีโครงการบ้านจัดสรรเข้ามาในพื้นที่ จากการที่ตำบลด้านหลังติดภูเขา มีคลองชลประทานและลำห้วยแม่เหียะไหลผ่าน ทำให้มีสภาพแวดล้อมและธรรมชาติที่สวยงาม นี่เองทำให้ตั้งแต่ พ.ศ. 2527 เริ่มมีชาวตะวันตกเริ่มเข้ามาอาศัยในตำบลแม่เหียะ

ความเจริญของแม่เหียะก้าวกระโดดขึ้นอย่างจากการเกิดขึ้นของสามโครงการใหญ่ อย่าง ถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี, อุทยานหลวงราชพฤกษ์ และเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี สามโครงการนี้ทำให้แม่เหียะกลายเป็นตำบลแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ มีการเข้ามาของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ โครงการบ้านจัดสรรตลอดจน ร้านอาหารมากมาย สิ่งเหล่านี้ผลักดันให้แม่เหียะเป็นหนึ่งในตำบลที่เติบโตอย่างรวดเร็วของประเทศไทย ใช้เวลาเพียง 16 ปีก็สามารถยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบล ขึ้นเป็นเทศบาลเมือง ในขณะที่จำนวนชาวต่างชาติที่พำนักในแม่เหียะก็มากขึ้นตามลำดับ

การคลัง แก้

รายได้ของเทศบาลเมืองแม่เหียะ
(หน่วย: ล้านบาท)
ปีงบประมาณ รายได้จัดเก็บเอง
และภาษีที่ได้รับจัดสรร
เงินอุดหนุน
จากรัฐบาล
รวมรายได้
2557[8] 82.66 38.52   121.18
2558[8] 94.10 43.87   137.97
2559[8] 91.93 44.12   136.05
2560[9] 100.61 42.40   143.01
2561[10] 120.22 41.34   161.56
2562[11] 126.72 44.92   171.64
2563[12] 80.92 52.20   133.12
2564[13] 84.46 49.35   133.81
2565[14] 115.02 54.77   169.79

การขนส่ง แก้

ตำบลแม่เหียะมีถนนสายหลัก 3 สาย ได้แก่

ชื่อถนน เส้นทาง ระยะทางในเขตเทศบาล
  ถนนเชียงใหม่–ฮอด เทศบาลนครเชียงใหม่–ตำบลแม่เหียะ–อำเภอหางดง 2.9 กิโลเมตร
  ถนนเลียบคลองชลประทาน เทศบาลนครเชียงใหม่ตำบลสุเทพ–ตำบลแม่เหียะ–อำเภอหางดง 1.7 กิโลเมตร
  ถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ตำบลแม่เหียะ–อำเภอสารภี 3.4 กิโลเมตร

สถานที่สำคัญ แก้

 
วัดสิริมังคลาจารย์

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2564 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองแม่เหียะ ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับ 326 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515
  3. ประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 2 มีนาคม 2538 ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 95 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเทศบาลเมืองแม่เหียะ เก็บถาวร 2012-01-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๒๙ ตอนพิเศษ ๑๓ง หน้า ๔๕. ๑๑ มกราคม ๒๕๕๕.
  5. 5.0 5.1 5.2 ข้อมูลตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง เชียงใหม่ เก็บถาวร 2015-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ไทยตำบล ดอตคอม
  6. ตราสัญลักษณ์เทศบาล เก็บถาวร 2009-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  7. "หมู่บ้านในตำบลแม่เหียะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-18. สืบค้นเมื่อ 2009-11-19.
  8. 8.0 8.1 8.2 บทวิเคราะห์การคลัง เทศบาลเมืองแม่เหียะ ประจำปีงบประมาณ 2559 เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
  9. รายงานทางการเงิน ประจำเดือนกันยายน 2560 เก็บถาวร 2021-06-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กองคลัง เทศบาลเมืองแม่เหียะ
  10. รายงานทางการเงิน ประจำเดือนกันยายน 2561 เก็บถาวร 2021-06-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กองคลัง เทศบาลเมืองแม่เหียะ
  11. รายงานทางการเงิน ประจำเดือนกันยายน 2562 เก็บถาวร 2020-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กองคลัง เทศบาลเมืองแม่เหียะ
  12. รายงานผลการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ 2563 เก็บถาวร 2022-07-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เทศบาลเมืองแม่เหียะ
  13. "รายงานผลการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ 2564". เทศบาลเมืองแม่เหียะ.[ลิงก์เสีย]
  14. "รายงานผลการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ 2565". เทศบาลเมืองแม่เหียะ.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น แก้