เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์

เทศบาลเมืองในจังหวัดเพชรบูรณ์ ประเทศไทย

เพชรบูรณ์ เป็นเทศบาลเมืองในอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ และเป็นศูนย์กลางของจังหวัด มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 21,629 คน[1] เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ได้รับพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งเป็นเทศบาลขึ้น เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2479[2]

เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์
ถนนเพชรเจริญในตัวเมืองเพชรบูรณ์
ถนนเพชรเจริญในตัวเมืองเพชรบูรณ์
คำขวัญ: 
เพชรบูรณ์ เมืองอยู่สบาย
ทม.เพชรบูรณ์ตั้งอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์
ทม.เพชรบูรณ์
ทม.เพชรบูรณ์
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ในจังหวัดเพชรบูรณ์
ทม.เพชรบูรณ์ตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทม.เพชรบูรณ์
ทม.เพชรบูรณ์
ทม.เพชรบูรณ์ (ประเทศไทย)
พิกัด: 16°25′1″N 101°09′12″E / 16.41694°N 101.15333°E / 16.41694; 101.15333
ประเทศ ไทย
จังหวัดเพชรบูรณ์
อำเภอเมืองเพชรบูรณ์
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีเสกสรร นิยมเพ็ง
พื้นที่
 • ทั้งหมด8.6 ตร.กม. (3.3 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด21,629 คน
 • ความหนาแน่น2,515.00 คน/ตร.กม. (6,513.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04670102
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 26 ถนนเกษมราษฎร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ 67000
โทรศัพท์0 5671 1007
โทรสาร0 5671 1475
เว็บไซต์www.nakornban.net
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ภูมิศาสตร์ แก้

สภาพทั่วไป แก้

 
ภาพถ่ายดาวเทียมของตัวเมืองเพชรบูรณ์

สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของเมืองเพชรบูรณ์เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำป่าสักไหลผ่านกลาง ประชาชนตั้งอาคารบ้านเรือนอยู่ตลอดสองฝั่งแม่น้ำ ตลอดแนวเขตเทศบาล พื้นที่ในตัวเมืองส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของร้านค้าและอาคารพาณิชย์ ส่วนพื้นที่รอบนอกใช้ในด้านการเกษตรกรรม ได้แก่ ข้าว ถั่ว ข้าวโพด ยาสูบ และพืชผักสวนครัว ซึ่งเป็นผลผลิตที่สำคัญ

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ มีพื้นที่เทศบาลครอบคลุมตำบลในเมืองทั้งตำบล ซึ่งเป็นตำบลที่ถูกล้อมรอบด้วยตำบลสะเดียง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ห่างจากกรุงเทพมหานคร 346 กิโลเมตร มีพื้นที่ 8.6 ตารางกิโลเมตร

  • ทิศเหนือ จรดทางไปหนองนารี และหมู่ที่ 10 ตำบลสะเดียง
  • ทิศใต้ จรดหมู่ที่ 9 หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 13 ตำบลสะเดียง
  • ทิศตะวันออก จรดแม่น้ำป่าสัก
  • ทิศตะวันตก จรดทางไปบ้านสะเดียง หมู่ที่ 6 ตำบลสะเดียง

ภูมิอากาศ แก้

ข้อมูลภูมิอากาศของเมืองเพชรบูรณ์
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 38.9
(102)
39.1
(102.4)
42.0
(107.6)
42.5
(108.5)
42.0
(107.6)
38.4
(101.1)
37.6
(99.7)
36.5
(97.7)
36.3
(97.3)
36.5
(97.7)
35.5
(95.9)
36.0
(96.8)
42.5
(108.5)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31.9
(89.4)
34.4
(93.9)
36.3
(97.3)
37.2
(99)
35.0
(95)
32.9
(91.2)
32.3
(90.1)
31.8
(89.2)
32.0
(89.6)
32.2
(90)
31.6
(88.9)
31.0
(87.8)
33.22
(91.79)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 24.1
(75.4)
26.7
(80.1)
29.0
(84.2)
30.3
(86.5)
29.2
(84.6)
28.3
(82.9)
27.7
(81.9)
27.4
(81.3)
27.2
(81)
27.0
(80.6)
25.6
(78.1)
23.7
(74.7)
27.18
(80.93)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 15.9
(60.6)
18.9
(66)
21.8
(71.2)
24.1
(75.4)
24.5
(76.1)
24.2
(75.6)
23.8
(74.8)
23.8
(74.8)
23.6
(74.5)
22.6
(72.7)
19.5
(67.1)
16.1
(61)
21.57
(70.82)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 4.0
(39.2)
8.5
(47.3)
11.0
(51.8)
17.5
(63.5)
20.7
(69.3)
21.4
(70.5)
21.4
(70.5)
21.1
(70)
18.3
(64.9)
15.4
(59.7)
8.1
(46.6)
5.1
(41.2)
4
(39.2)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 7
(0.28)
17
(0.67)
34
(1.34)
70
(2.76)
157
(6.18)
153
(6.02)
168
(6.61)
189
(7.44)
212
(8.35)
98
(3.86)
13
(0.51)
4
(0.16)
1,122
(44.17)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 1 2 3 6 12 14 15 17 15 8 2 1 96
แหล่งที่มา: NOAA (1961-1990)[3]

การขนส่ง แก้

เมืองเพชรบูรณ์ใช้การขนส่งทางถนนเป็นหลัก โดยถนนสายหลักที่ตัดผ่านตัวเมือง ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 เชื่อมต่อกับอำเภอหล่มสักทางทิศเหนือ และเชื่อมต่อกับอำเภอหนองไผ่ทางทิศใต้ ซึ่งช่วงที่ผ่านเขตเทศบาลจะเรียก ถนนสามัคคีชัย นอกจากนี้ยังมีถนนสายต่าง ๆ เช่น ถนนเพชรบุระ หรือ ถนนสาย ก ผังเมืองรวมเมืองเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นทางหลวงชนบท พช.6046[4] มีลักษณะเส้นทางล้อมรอบตัวเมือง, ถนนเพชรเจริญ เชื่อมต่อจากถนนสามัคคีชัยไปทางทิศตะวันออก, ถนนบุรกรรมโกวิท เชื่อมต่อจากถนนสามัคคีชัยไปทางทิศตะวันตก, ถนนนิกรบำรุง, ถนนพระพุทธบาท, ถนนเทพาพัฒนา, ถนนกลางเมืองพัฒนา เป็นต้น

สถานที่สำคัญ แก้

  • พุทธอุทยานเพชบุระ
  • หอโบราณคดีเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย
  • ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเพชรบูรณ์
  • หอวัฒนธรรมนครบาลเพชรบูรณ์
  • ประติมากรรมมะขามหวาน
  • หอประวัติศาสตร์เพชบุระ
  • หอภูมิปัญญาและวิถีชาวบ้านเพชรบูรณ์
  • วัดมหาธาตุ พระอารามหลวง
  • วัดไตรภูมิ
  • กำแพงเมืองและหอนิทรรศน์กำแพงเมืองเพชรบูรณ์
  • วัดเพชรวรารามพระอารามหลวง
  • วงเวียนอนุสรณ์นครบาลเพชรบูรณ์
  • หอนาฬิกาแชมป์โลกคู่แฝด
  • สวนสาธารณะหนองนารี

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 หน้า 1300 ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2479
  3. "Climate Normals for Phetchabun". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. GIS Basemaps ระบบสารสนเทศสำหรับการปฏิบัติงานด้านงานทางและสะพาน งานปรับปรุงข้อมูล งานตรวจสอบข้อมูล และงานบริการข้อมูล เก็บถาวร 2018-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม

แหล่งข้อมูลอื่น แก้