เทศบาลนครสงขลา

เทศบาลนครในจังหวัดสงขลา ประเทศไทย

สงขลา เป็นเทศบาลนครที่ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดสงขลา การที่นครสงขลาตั้งอยู่ติดกับชายฝั่งทะเลอ่าวไทย จึงทำให้มีการค้าขายทางพานิชย์นาวีป็นจำนวนมาก

เทศบาลนครสงขลา
ภาพถ่ายทางอากาศนครสงขลา
ภาพถ่ายทางอากาศนครสงขลา
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลนครสงขลา
ตรา
สมญา: 
เมืองสองเล
คำขวัญ: 
ย่านเมืองเก่าฟูเฟื่อง ศาลหลักเมืองสูงค่า
สมิหลาสองทะเล เสน่ห์เขาตังกวน[1]
ทน.สงขลาตั้งอยู่ในจังหวัดสงขลา
ทน.สงขลา
ทน.สงขลา
ที่ตั้งของเทศบาลนครสงขลา
ทน.สงขลาตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทน.สงขลา
ทน.สงขลา
ทน.สงขลา (ประเทศไทย)
พิกัด: 7°12′22″N 100°35′48″E / 7.20611°N 100.59667°E / 7.20611; 100.59667
ประเทศ ไทย
จังหวัดสงขลา
อำเภอเมืองสงขลา
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีวันชัย ปริญญาศิริ
พื้นที่
 • ทั้งหมด9.27 ตร.กม. (3.58 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[2]
 • ทั้งหมด63,834 คน
 • ความหนาแน่น6,882.08 คน/ตร.กม. (17,824.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.03900102
สนามบินท่าอากาศยานสงขลา
ทางหลวง
ที่อยู่
สำนักงาน
ถนนราชดำเนิน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 90000
เว็บไซต์songkhlacity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ แก้

สมัยโบราณสงขลาเป็นชุมชนประมงบนคาบสมุทรสทิงพระ ต่อมาพ่อค้าชาวตะวันตกใช้เป็นท่าเรือขนส่งสินค้า ชุมชนจึงขยายตัวเป็นเมืองท่าสำคัญที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ว่า "Singora (ซิงกอรา)" โดยชื่อนี้สามารถสันนิษฐานได้หลายแบบ โดยข้อสันนิษฐานที่เด่นชัดที่สุด คือ เมืองสงขลาในสมัยก่อนมีชื่อว่า สิงขร เมื่อพ่อค้าชาวตะวันตกเข้ามาจึงได้มีการเรียกตามสำเนียงฝรั่ง และเพื้ยนมาเป็นสงขลาในปัจจุบัน

สมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ส่งกองทัพมาทำลายเมืองอย่างราบคาบ จึงได้มีการย้ายตัวเมืองไปยังฝั่งแหลมสน (ปัจจุบันอยู่ที่บ้านบ่อเตย อำเภอสิงหนคร) ส่วนเจ้าเมืองก็จะเป็นชาวพื้นเมืองบ้าง ชาวจีนบ้าง ตามยุคสมัยนั้นๆ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองสงขลามีฐานะเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรสยาม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างเมืองใหญ่ขึ้นใหม่ที่ฝั่งบ่อยาง (ที่ตั้งปัจจุบัน) ใช้เวลาสร้างเมืองนานถึง 10 ปี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาพำนักอยู่ถึง 2 ครั้ง

ในปี พ.ศ. 2439 สงขลาเป็นที่ตั้งของที่ว่าการมณฑลนครศรีธรรมราช ปี พ.ศ. 2463 สถาปนาเป็นสุขาภิบาลเมืองสงขลา ปี พ.ศ. 2478 ยกฐานะขึ้นเมืองเทศบาลเมืองสงขลา และในปี พ.ศ. 2542 ได้มีพระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองสงขลาเป็นเทศบาลนครสงขลา (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอน 110 ก. วันที่ 10 พฤศจิกายน 2542) และก่อตั้งเป็นเทศบาลนครสงขลา เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2542

ภูมิอากาศ แก้

ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลนครสงขลา
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 32.8
(91)
32.8
(91)
36.5
(97.7)
38.2
(100.8)
36.5
(97.7)
36.5
(97.7)
36.2
(97.2)
36.2
(97.2)
35.9
(96.6)
35.2
(95.4)
34.0
(93.2)
33.3
(91.9)
38.2
(100.8)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 29.6
(85.3)
30.4
(86.7)
31.4
(88.5)
32.6
(90.7)
32.9
(91.2)
32.8
(91)
32.6
(90.7)
32.6
(90.7)
32.2
(90)
31.1
(88)
29.6
(85.3)
29.1
(84.4)
31.41
(88.54)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 27.1
(80.8)
27.6
(81.7)
28.3
(82.9)
29.0
(84.2)
28.9
(84)
28.5
(83.3)
28.3
(82.9)
28.3
(82.9)
27.9
(82.2)
27.4
(81.3)
26.9
(80.4)
26.7
(80.1)
27.91
(82.24)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 24.0
(75.2)
24.1
(75.4)
24.2
(75.6)
24.6
(76.3)
24.6
(76.3)
24.3
(75.7)
23.9
(75)
24.0
(75.2)
23.8
(74.8)
23.8
(74.8)
23.9
(75)
24.0
(75.2)
24.1
(75.38)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 19.1
(66.4)
20.3
(68.5)
19.7
(67.5)
21.0
(69.8)
21.8
(71.2)
20.2
(68.4)
21.1
(70)
21.3
(70.3)
21.0
(69.8)
20.7
(69.3)
20.4
(68.7)
20.7
(69.3)
19.1
(66.4)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 59.9
(2.358)
35.3
(1.39)
47.2
(1.858)
79.6
(3.134)
119.5
(4.705)
93.0
(3.661)
91.5
(3.602)
109.0
(4.291)
130.5
(5.138)
247.7
(9.752)
553.8
(21.803)
418.1
(16.461)
1,985.1
(78.154)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 9.0 3.7 5.7 7.8 12.7 12.4 12.5 13.3 14.3 20.3 22.5 19.7 153.9
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 254.2 353.1 263.5 264.0 232.5 207.0 213.9 213.9 189.0 182.9 159.0 182.9 2,715.9
แหล่งที่มา 1: World Meteorological Organization.[3]
แหล่งที่มา 2: Hong Kong Observatory (sun only, 1961-1990),[4] NOAA (extremes, 1961-1990)[5]

การขนส่ง แก้

การศึกษา แก้

รายชื่อโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครสงขลา

ชุมชน แก้

รายชื่อชุมชนในเขตเทศบาลนครสงขลา

เขต 1 แก้

  • ชุมชนแหลมสนอ่อน
  • ชุมชนสินไพบูลย์
  • ชุมชนเมืองใหม่พัฒนา
  • ชุมชนศรีสุดา
  • ชุมชนตลาดรถไฟ
  • ชุมชนแหล่งพระราม
  • ชุมชนสระเกษ
  • ชุมชนหลังตำหนักเขาน้อย
  • ชุมชนวัดแหลมทราย
  • ชุมชนตีนเมรุ
  • ชุมชนพิเศษตำรวจภูธร
  • ชุมชนบ่อนวัวเก่า
  • ชุมชนวัดไทรงาม

เขต 2 แก้

  • ชุมชนพัฒนาใหม่
  • ชุมชนบ้านบน
  • ชุมชนร่วมใจพัฒนา
  • ชุมชนวัดชัยมงคล
  • ชุมชนวัดดอนรัก
  • ชุมชนหลังวิทยาลัยอาชีวะ
  • ชุมชนวชิรา
  • ชุมชนย่านเมืองเก่า
  • ชุมชนหลังวิทยาลัยพยาบาล
  • ชุมชนมัสยิดบ้านบน
  • ชุมชนวชิราทะเลหลวงดอกรัก
  • ชุมชนสวนพระนิเทศ
  • ชุมชนสวนหมาก
  • ชุมชนโรงพยาบาลสงขลาเก่า

เขต 3 แก้

  • ชุมชนมิตรสัมพันธ์
  • ชุมชนท่าสะอ้าน
  • ชุมชนนอกสวน
  • ชุมชนกุโบร์
  • ชุมชนบ่อหว้า
  • ชุมชนวังเขียว-วังขาว
  • ชุมชนวัดหัวป้อม
  • ชุมชนวัดศาลาหัวยาง
  • ชุมชนวชิราซอยคู่
  • ชุมชนบ่อหว้าสามัคคี
  • ชุมชนวชิราทะเลหลวง
  • ชุมชนสวนมะพร้าว
  • ชุมชนหลังวัดอุทัยธาราม

เขต 4 แก้

  • ชุมชนสนามบิน
  • ชุมชนเก้าเส้ง
  • ชุมชนพิเศษ ตชด.
  • ชุมชนพิเศษทหารเรือ
  • ชุมชนภราดร
  • ชุมชนมิตรเมืองลุง
  • ชุมชนริมคลองสำโรง
  • ชุมชนโรงเรียนพาณิชย์สำโรง
  • ชุมชนสมหวัง
  • ชุมชนศาลาเหลือง
  • ชุมชนศาลาเหลืองเหนือ
  • ชุมชนต้นโพธิ์
  • ชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน
  • ชุมชนหลังโรงพยาบาลจิตเวชสงขลา
  • ชุมชนหน้าค่ายรามคำแหง

อ้างอิง แก้

  1. "คำขวัญเทศบาลนครสงขลา". เทศบาลนครสงขลา. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลนครสงขลา ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  3. "Climatological Information for Songkhla". World Meteorological Association. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2012.
  4. "Climatological Information for Songkhla, Thailand". Hong Kong Observatory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-02. สืบค้นเมื่อ 27 March 2012.
  5. "Climate Normals for Songkhla". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้