เทศบาลนครปากเกร็ด

เทศบาลนครในจังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย

เทศบาลนครปากเกร็ด เป็นเทศบาลนครขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ครอบคลุมพื้นที่ 5 ตำบล คือ ตำบลปากเกร็ด ตำบลบางตลาด ตำบลคลองเกลือ ตำบลบางพูด และตำบลบ้านใหม่ ติดต่อกับกรุงเทพมหานครทางทิศตะวันออก และเทศบาลนครนนทบุรีทางทิศใต้ มีประชากรทั้งหมดประมาณ 180,000 คน ทำให้ปากเกร็ดเป็นเทศบาลนครที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย รองจากเทศบาลนครนนทบุรี

เทศบาลนครปากเกร็ด
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลนครปากเกร็ด
ตรา
แผนที่
ทน.ปากเกร็ดตั้งอยู่ในจังหวัดนนทบุรี
ทน.ปากเกร็ด
ทน.ปากเกร็ด
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลนครปากเกร็ด
ทน.ปากเกร็ดตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทน.ปากเกร็ด
ทน.ปากเกร็ด
ทน.ปากเกร็ด (ประเทศไทย)
พิกัด: 13°54′44.4″N 100°29′52.3″E / 13.912333°N 100.497861°E / 13.912333; 100.497861
ประเทศ ไทย
จังหวัดนนทบุรี
อำเภอปากเกร็ด
จัดตั้ง
  •  • 31 สิงหาคม 2498 (สุขาภิบาลปากเกร็ด)
  •  • 1 มกราคม 2535 (ทต.ปากเกร็ด)
  •  • 5 กุมภาพันธ์ 2539 (ทม.ปากเกร็ด)
  •  • 20 เมษายน 2543 (ทน.ปากเกร็ด)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีวิชัย บรรดาศักดิ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด36.04 ตร.กม. (13.92 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)
 • ทั้งหมด189,458 คน
 • ความหนาแน่น5,256.88 คน/ตร.กม. (13,615.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.03120601
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 1 หมู่ที่ 5 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
เว็บไซต์www.pakkretcity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สภาพพื้นที่ในเขตเทศบาลเดิมเป็นพื้นที่เกษตรกรรม แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนสภาพเป็นที่รองรับการขยายตัวเป็นที่พักอาศัย อุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ ซูเปอร์มาร์เก็ต และหน่วยงานราชการส่วนกลาง เนื่องมาจากการขยายตัวของเขตเมืองของกรุงเทพมหานคร

ประวัติ แก้

เดิมท้องที่เทศบาลนครปากเกร็ดมีฐานะเป็นสุขาภิบาล เรียกว่า สุขาภิบาลปากเกร็ด จัดตั้งขึ้นโดยประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2498 รวมเวลาการเป็นสุขาภิบาล 36 ปี 4 เดือน โดยมีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกทั้งหมดใน 5 ตำบล 34 หมู่บ้าน และด้วยความเจริญที่เข้ามาอย่างรวดเร็วพื้นที่การเกษตรจึงได้แปรเปลี่ยนเป็นที่อยู่อาศัย ประกอบกับนโยบายของจังหวัดนนทบุรีในช่วงปี พ.ศ. 2535 สุขาภิบาลปากเกร็ดจึงได้รับการจัดตั้งเป็น เทศบาลตำบลปากเกร็ด ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 108 ตอนที่ 245 ลงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2534 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535

หลังจากที่สุขาภิบาลปากเกร็ดได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลปากเกร็ด ได้เพียง 3 ปีเศษ เทศบาลตำบลปากเกร็ดจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เทศบาลเมืองปากเกร็ด ทั้งนี้เนื่องจากสภาพความเจริญของพื้นที่และจำนวนประชากรตลอดจนรายได้ในการพัฒนาท้องถิ่น เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงมหาดไทย ประกอบกับคณะเทศมนตรีมีนโยบายในการขยายการพัฒนาของเทศบาลให้สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงของเมืองที่ต้องการองค์การที่มีศักยภาพในการบริหารเพิ่มขึ้น เทศบาลตำบลปากเกร็ดจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลเมืองปากเกร็ด ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 112 ตอนที่ 32 ก ลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539

ด้วยศักยภาพของเมืองปากเกร็ดนั้นมีความพร้อมเพียงพอในการที่จะเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลนครได้ ประกอบกับกระแสนโยบายในการกระจายอำนาจและการยกฐานะสุขาภิบาลทั่วประเทศเป็นเทศบาลตำบล คณะผู้บริหารเทศบาลเมืองปากเกร็ดจึงได้พิจารณาเปลี่ยนแปลงฐานะของเทศบาลเมืองปากเกร็ดอีกครั้งเป็น เทศบาลนครปากเกร็ด[1] นับว่าจังหวัดนนทบุรีเป็นหนึ่งในจังหวัดในประเทศที่มีเทศบาลนคร ถึง 2 แห่ง (อีกจังหวัดคือจังหวัดสงขลาและจังหวัดสมุทรสาคร) อันแสดงให้เห็นถึงความพร้อมขององค์กรในการเห็นถึงความสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นหน่วยงานซึ่งใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด จะได้บริหารงานเพื่อประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจุบัน พื้นที่นี้มีความหนาแน่นมากกว่าบางเขตของกรุงเทพมหานคร มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยเทียบเท่าตัวอำเภอเมืองนนทบุรี เช่น หน่วยงานราชการ ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมซึ่งมีอยู่ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โรงเรียนนานาชาติ คอนโดมิเนียม ถนนบอนด์ซึ่งจำลองมาจากต่างประเทศ, สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ อีกทั้งแม่น้ำ 2 สาย คือแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำลัดเกร็ด และการเดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานครก็มีความสะดวก เพราะมีอาณาเขตติดต่อกัน

ภูมิศาสตร์ แก้

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

เขตเทศบาลนครปากเกร็ดครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากเกร็ด ตำบลบางตลาด ตำบลคลองเกลือ ตำบลบางพูด และตำบลบ้านใหม่ รวม 5 ตำบล 34 หมู่บ้าน มีพื้นที่ทั้งหมด 36.04 ตารางกิโลเมตรหรือ 22,525 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงดังนี้

ลักษณะภูมิประเทศ แก้

สภาพพื้นที่เทศบาลนครปากเกร็ด เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เหมาะแก่การเกษตร เช่น การทำสวนผลไม้ ผลไม้ที่ลือชื่อ คือ ทุเรียน ส้มโอ มังคุด กล้วยน้ำว้า แต่เนื่องจากเทศบาลนครปากเกร็ดมีความเจริญมีอาณาเขตติดต่อกับกรุงเทพมหานคร มีเส้นทางการคมนาคมที่สะดวก สามารถเดินทางได้ทั้งทางบกและทางน้ำ พื้นที่เกือบทั้งหมดจึงแปรสภาพจากการเกษตรไปเป็นการจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจและการลงทุน โดยเฉพาะกิจการบ้านจัดสรรและอาคารสำนักงานสูง ๆ

สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังคงมีคลองสาธารณะเชื่อมต่อในพื้นที่หลายสายและเป็นจุดระบายน้ำจากพื้นที่ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา และจากการที่มีพื้นที่เป็นที่ลุ่มจึงทำให้ประสบปัญหาน้ำท่วมในช่วงฤดูฝนและฤดูน้ำหลาก คลองสายหลักที่ระบายน้ำจากฝั่งตะวันออกลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา มี 10 สาย ได้แก่ คลองบ้านใหม่ตลาดเนื้อ คลองบ้านเก่า คลองทองหลาง คลองแวะ คลองวัดช่องลม คลองกลางเกร็ด คลองบางพัง คลองบางพูด คลองบางตลาด และคลองบางตลาดน้อย

และมีคลองอีก 7 สายที่ไหลเวียนในแนวทิศเหนือใต้และระบายน้ำลงคลองหลัก ได้แก่ คลองที่ระบายน้ำลงคลองบางพูด คือ คลองเกลือ, คลองที่ระบายน้ำลงคลองบางพัง คือ คลองโพธิ์, และคลองที่ระบายน้ำลงคลองบางตลาด คือ คลองส่วย คลองหนองตาเกิ้น คลองดงตาล คลองหัวสิงห์ และคลองขี้เหล็ก

ภาพปริทัศน์เขตเทศบาลนครปากเกร็ด

ลักษณะภูมิอากาศ แก้

จัดได้ว่าเป็นบริเวณที่ชุ่มชื้น มีฝนตกในฤดูฝน และมักจะเกิดอุทกภัยอยู่เสมอ ในฤดูแล้งสภาพของพื้นที่ไม่แห้งแล้ง เพราะพื้นที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยไม้ยืนต้น ทำให้สามารถเก็บความชุ่มชื้นได้ตลอดไป อุณหภูมิโดยเฉลี่ยตลอดทั้งปี อยู่ในระหว่าง 25–35 องศาเซลเซียส

ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลนครปากเกร็ด
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 28.3
(83)
30
(86)
30.6
(87)
31.7
(89)
31.7
(89)
31.7
(89)
31.7
(89)
31.7
(89)
31.1
(88)
31.1
(88)
29.4
(85)
27.8
(82)
30.6
(87)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 22.2
(72)
22.2
(72)
22.8
(73)
23.3
(74)
23.9
(75)
23.3
(74)
22.8
(73)
23.3
(74)
22.8
(73)
23.3
(74)
22.8
(73)
22.8
(73)
22.8
(73)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 300
(11.81)
170
(6.69)
180
(7.09)
170
(6.69)
190
(7.48)
160
(6.3)
160
(6.3)
170
(6.69)
230
(9.06)
270
(10.63)
310
(12.2)
440
(17.32)
2,860
(112.6)
[ต้องการอ้างอิง]

ประชากร แก้

ประชากรปัจจุบันในเขตเทศบาลนครปากเกร็ดมีประชากรทั้งสิ้น 189,458 คน ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ยต่อพื้นที่ของเทศบาลเท่ากับ 5,256.88 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งนับว่าเป็นเขตเทศบาลนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย รองจากนครนนทบุรี

ประชากรในเขตเทศบาลนครปากเกร็ดประกอบไปด้วยชนชาวไทยที่สืบเชื้อสายมาจากหลายเชื้อชาติ ทั้งไทย จีน มอญ แขก เป็นต้น โดยชาวไทยเชื้อสายมลายูและชาวไทยเชื้อสายมอญ อพยพมาอยู่ในพื้นที่ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยกรุงธนบุรี ซึ่งปรากฏหลักฐานในหนังสืออักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทยดังนี้

มีชาวไทยที่สืบเชื้อสายมาจากมอญอยู่มากแถวอำเภอปากเกร็ด ตั้งแต่ปากคลองบางตลาด ฝั่งเหนือลำแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านตะวันออกและตะวันตก ตำบลอ้อมเกร็ด เหนือคลองบางภูมิขึ้นไป รวมทั้งเกาะเกร็ดด้วย

— ไม่ทราบผู้แต่ง จากหนังสืออักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย

การศึกษา แก้

 
พื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 8 แห่ง
  1. โรงเรียนคลองเกลือ
  2. โรงเรียนชลประทานสงเคราะห์
  3. โรงเรียนประเสริฐอิสลาม
  4. โรงเรียนวัดกลางเกร็ด
  5. โรงเรียนวัดผาสุกมณีจักร
  6. โรงเรียนวัดโพธิ์บ้านอ้อย
  7. โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 95 (วัดโพธิ์ทองบน)
  8. โรงเรียนวัดบางพูดใน (นนทวิทยา)
  1. โรงเรียนจีเนียสคิดส์
  2. โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  3. โรงเรียนอนุบาลจุติพร
  4. โรงเรียนชลประทานวิทยา
  5. โรงเรียนประชาบดี
  6. โรงเรียนฤกษบุตร์ (สอิ้งอนุสรณ์)
  7. โรงเรียนศรีสังวาลย์
  8. โรงเรียนกุมุทมาส
  9. โรงเรียนพิชญศึกษา
  10. โรงเรียนอนุบาลเด็กดี
  11. โรงเรียนอนุบาลระพีพรรณ
  12. โรงเรียนอัมพรไพศาล
  13. โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์
  14. โรงเรียนพระหฤทัย นนทบุรี
  15. โรงเรียนมูลนิธิปากเกร็ดวิทยา
  16. โรงเรียนวรรณทิพย์วิทยา
  17. โรงเรียนวัฒนพฤกษา
  18. โรงเรียนอนุบาลอันวิดา
  • โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 4 แห่ง
  1. โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี
  2. โรงเรียนปากเกร็ด
  3. โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม
  4. โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี
  • โรงเรียนนานาชาติ จำนวน 3 แห่ง
  1. โรงเรีบนนานาชาติแมจิกเยียร์ส
  2. โรงเรียนนานาชาติแฮมพ์ตั้น
  3. โรงเรียนสถานศึกษานานาชาติ

ศาสนา แก้

ภายในเขตเทศบาลนครปากเกร็ดมีวัด 15 แห่ง, โบสถ์ 2 แห่ง, มัสยิด 2 แห่ง และศาลเจ้า 4 แห่ง

การขนส่ง แก้

ทางบก แก้

 
สะพานพระราม 4 ในเชื่อมเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางตะไนย์เข้ากับเขตเทศบาลนครปากเกร็ด
เส้นทางหลัก
เส้นทางลัดและสายรอง
ระบบขนส่งมวลชน

มีรถไฟฟ้าสายสีชมพูวิ่งผ่าน โดยจะมีสถานีรถไฟฟ้าทั้งสิ้น 8 สถานีที่อยู่ในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด

ทางน้ำ แก้

 
ท่าปากเกร็ด

ในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด ได้ก่อสร้างท่าเทียบเรือโดยสารสาธารณะในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหัวถนนแจ้งวัฒนะ จำนวน 1 แห่ง คือ ท่าเทียบเรือเทศบาลนครปากเกร็ด เป็นท่าเทียบเรือหลักในพื้นที่ นอกจากนั้นยังมีท่าเทียบเรือเอกชนและท่าเทียบเรือวัดสนามเหนือและวัดกลางเกร็ดที่ใช้เป็นท่าเรือเดินทางไปเกาะเกร็ด แหล่งท่องเที่ยวสำคัญอีกด้วย

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ประวัติความเป็นมา". เทศบาลนครปากเกร็ด. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-03. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้