เทศบาลตำบลด่านขุนทด

เทศบาลตำบลในจังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย

ด่านขุนทด เป็นเทศบาลตำบลแห่งหนึ่งในอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา

เทศบาลตำบลด่านขุนทด
ทต.ด่านขุนทดตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา
ทต.ด่านขุนทด
ทต.ด่านขุนทด
ที่ตั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทต.ด่านขุนทดตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทต.ด่านขุนทด
ทต.ด่านขุนทด
ทต.ด่านขุนทด (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ทต.ด่านขุนทดตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทต.ด่านขุนทด
ทต.ด่านขุนทด
ทต.ด่านขุนทด (ประเทศไทย)
พิกัด: 15°12′16″N 101°46′27″E / 15.204488°N 101.774057°E / 15.204488; 101.774057
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครราชสีมา
อำเภอด่านขุนทด
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีสลักจิต กิมตระกูล
พื้นที่
 • ทั้งหมด4.39 ตร.กม. (1.69 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2562)
 • ทั้งหมด6,222 คน
 • ความหนาแน่น1,417.31 คน/ตร.กม. (3,670.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05300801
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลตำบลด่านขุนทด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา 30210
โทรศัพท์0 4438 9226, 0 4438 9403
เว็บไซต์www.dankhuntodcity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ แก้

เทศบาลตำบลด่านขุนทด เดิมเป็นองค์กรส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง เรียกว่า “สุขาภิบาลด่านขุนทด” ซึ่งจัดขึ้นตามประการกระทรวงมหาดไทย ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 37 เล่ม 73 ตอนที่ 83 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2499 โดยยกฐานะท้องถิ่นบางส่วนในตำบลด่านขุนทดขึ้นเป็นสุขาภิบาลด่านขุนทด ต่อมามีพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ประกาศ ในราชกิจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 116 ตอนที่ 9 ก ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 มีผลให้ สุขาภิบาลด่านขุนทด เปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เทศบาลตำบลด่านขุนทด ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นมา ปัจจุบันเทศบาลตำบลด่านขุนทด ตั้งอยู่ชั้น 2 ของอาคารองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ถนนสีคิ้ว-ชัยภูมิ ซึ่งอยู่ในบริเวณที่ว่าการอำเภอด่านขุนทด[1]

  • วันที่ 24 กันยายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลด่านขุนทด ในท้องที่บางส่วนของตำบลด่านขุนทด [2]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ได้มีการยกฐานะจากสุขาภิบาลด่านขุนทด เป็นเทศบาลตำบลด่านขุนทด

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

ที่ตั้ง แก้

เทศบาลตำบลด่านขุนทด ปัจจุบันตั้งอยู่ที่สำนักงาน หมู่ที่ 2 ถนนเฉลิมพระเกียรติ ตำบลด่านขุนทด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา เป็นศูนย์กลางอำเภอด่านขุนทดเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอด่านขุนทด และห่างจากจังหวัดนครราชสีมา ประมาณ 70 กิโลเมตร การเดินทางจากกรุงเทพฯ โดยเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ถึงบริเวณแยกต่างระดับสีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา แยกเข้าถนนสีคิ้ว-ชัยภูมิ โดยเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 ประมาณ 40 กิโลเมตร เดินทางโดยรถประจำทางปรับอากาศและรถประจำทาง ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง

อาณาเขต แก้

เขตการปกครอง แก้

เทศบาลตำบลด่านขุนทด มีพื้นที่ 4.39 ตารางกิโลเมตร ประกอบไปด้วยพื้นที่บางส่วนของหมู่บ้านในตำบลด่านขุนทด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเดิมมีการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบของสุขาภิบาล และได้มีการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลด่านขุนทด เป็นเทศบาลตำบลด่านขุนทด เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542

ภูมิประเทศ เทศบาลตำบลด่านขุนทด มีลักษณะเป็นที่ราบสูงรูปแอ่งกะทะ มีลำเชิงไกรไหลผ่านด้านทิศใต้

ภูมิอากาศ แก้

ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู

ชุมชนในเขตเทศบาล แก้

เทศบาลตำบลด่านขุนทด มีทั้งหมด 12 ชุมชน ดังนี้

  • ชุมชนสามัคคีธรรม
  • ชุมชนวัดศาลาลอย
  • ชุมชนตลาดใหญ่
  • ชุมชนร่วมสร้างสรรค์พัฒนา
  • ชุมชนเจริญสุขพัฒนา
  • ชุมชนบ.ข.ส.สร้างสรรค์
  • ชุมชนโพธิ์ทองพัฒนา
  • ชุมชนด่านขุนทด
  • ชุมชนเมืองหาญ
  • ชุมชนใหม่ไทยเจริญ
  • ชุมชนหนองโสน
  • ชุมชนบ้านโคกพัฒนา

สถานการศึกษาในเขตเทศบาล แก้

ในเขตเทศบาลตำบลด่านขุนทดมีสถานศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนวัยเรียน ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา มีทั้งโรงเรียนในสังกัดรัฐบาลและเอกชน โดยมีสถานศึกษาที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลด่านขุนทด ดังนี้

สถานศึกษาในเขตเทศบาลตำบลด่านขุทด

สถานศึกษา/ระดับการศึกษา จำนวนครู จำนวนนักเรียน
สังกัดเทศบาลตำบลด่านขุนทด
-
-
* ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลด่านขุนทด - 59
สังกัดเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 5
-
-
* โรงเรียนบ้านหาญ 10 131[3]
* โรงเรียนด่านขุนทด 145 2,877[4]
สังกัด เอกชน
-
-
* โรงเรียนพงษ์ศิริวิทยา 93 3,577[5]
สังกัด สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ -
-
* โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดศาลาลอย - -
รวม 248 6,644
  • ข้อมูลเมื่อ พ.ศ. 2563

การคมนาคม แก้

สภาพการจราจรในเขตเทศบาล มีสภาพคล่องตัวพอสมควร แต่จะมีปัญหาในด้านถนนสายหลัก ที่เป็นบริเวณสี่แยกหน้าที่ว่าการอำเภอด่านขุนทด เพราะเป็นถนนสายหลักที่อำเภอด่านขุนทดเข้าสู่จังหวัดนครราชสีมา ตัดกับถนนสีคิ้ว-ชัยภูมิ ซึ่งเป็นถนนสายหลักที่ไปสู่จังหวัดชัยภูมิ

ประชากร แก้

จำนวนประชากร ณ พ.ศ. 2562 ประชากรในเขตเทศบาลทั้งสิ้น 6,222 คน เป็นชาย 2,937 คน หญิง 3,285 คน บ้าน จำนวน 3,888 หลังคาเรือน[6]

ภาษา แก้

ส่วนมากใช้ภาษาไทยโคราชปนกลาง และยังมีภาษาไทยอีสานบ้างบางพื้นที่

ศาสนา แก้

ผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 99 มีจำนวนวัด 3 วัด

  1. วัดศาลาลอย
  2. วัดใหม่ด่านขุนทด
  3. วัดบ้านหาญ

เศรษฐกิจ แก้

ประเภทอุตสาหกรรมครัวเรือน, การเกษตร

อาชีพ แก้

ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพค้าขาย รับจ้าง โดยอาชีพเกษตรกรรมส่วนใหญ่อยู่นอกเขตเทศบาลและมีการประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่เป็นอาชีพพื้นบ้าน รายได้เฉลี่ย 69,836.50 บาท/คน/ปี การประกอบอาชีพเป็นไปตามสภาพของครัวเรือน ยังไม่มีการลงทุนในเชิงพาณิชย์ในด้านของการบริหาร จัดการ

การเกษตรกรรม แก้

เนื่องจากพื้นที่ในเขตเทศบาล มีพื้นที่น้อย และไม่มีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่ถือว่าเป็นรายได้หลักของครัวเรือน

  • การพาณิชย์กรรม และการบริการ
  • สถานประกอบการด้านพาณิชกรรม
  • ตลาดไนท์มาร์เก็ต 1 แห่ง
  • ตลาดสดเทศบาล 2 แห่ง
  • ตลาดสดเอกชน 2 แห่ง
  • ซูเปอร์มาเก็ต 4 แห่ง
  • ย่านการค้าริมทาง 4 สาย
  • สถานประกอบการเทศพาณิชย์
  • อาคารเช่า 1 แห่ง
  • สถานประกอบการด้านบริการ
  • โรงแรม 12 แห่ง
  • เกสต์เฮาส์ 5 แห่ง
  • ธนาคาร 6 แห่ง

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. http://www.dankhuntodcity.go.th เก็บถาวร 2013-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข้อมูลเทศบาลตำบลด่านขุนทด
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลด่านขุนทด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (พิเศษ 83 ง): 37–38. 15 ตุลาคม 2499.
  3. "ข้อมูลนักเรียนโรงเรียนบ้านหาญ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-28. สืบค้นเมื่อ 2021-04-28.
  4. "ข้อมูลนักเรียนโรงเรียนด่านขุนทด".
  5. "ข้อมูลนักเรียนโรงเรียนพงษ์ศิริวิทยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-28. สืบค้นเมื่อ 2021-04-28.
  6. http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_m.php สถิติจำนวนประชากรและบ้าน