เทวัญ ลิปตพัลลภ

เทวัญ ลิปตพัลลภ (เกิด 29 ธันวาคม พ.ศ. 2502) เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (เศรษฐา ทวีสิน) อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[1] หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า อดีตเลขาธิการ​พรรคชาติพัฒนากล้า ที่ปรึกษาและกรรมการในคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร และ เป็นประธานสโมสรฟุตบอลจังหวัดนครราชสีมา[2]เป็นอดีตกรรมการ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา 3 สมัย

เทวัญ ลิปตพัลลภ
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา
ดำรงตำแหน่ง
21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – 16 ตุลาคม พ.ศ. 2565
ก่อนหน้าวรรณรัตน์ ชาญนุกูล
ถัดไปกรณ์ จาติกวณิช
(หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า)
หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า
เริ่มดำรงตำแหน่ง
21 สิงหาคม พ.ศ. 2566
ก่อนหน้ากรณ์ จาติกวณิช
วัชรพล โตมรศักดิ์
(รักษาการ)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 ธันวาคม พ.ศ. 2502 (64 ปี)
อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
พรรคการเมืองสามัคคีธรรม (2534–2535)
ชาติพัฒนา (2535–2547)
ไทยรักไทย (2547–2550)
ชาติพัฒนากล้า (2561–ปัจจุบัน)

ประวัติ แก้

เทวัญ ลิปตพัลลภ เกิดเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2502 เป็นบุตรของนายวิศว์ และนางจรัสพิมพ์ ลิปตพัลลภ และเป็นน้องชายของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ สำเร็จการศึกษา คณะนิติศาสตร์​ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[3]

เทวัญ มีบุตรชาย คือ ธารณ ลิปตพัลลภ นักดนตรีและหนึ่งในสมาชิกวงลิปตา[4]

งานการเมือง แก้

เทวัญ เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคสามัคคีธรรม และได้รับเลือกเรื่อยมา รวม 3 สมัย

ในปี 2551 เขาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง เป็นระยะเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน

ในปี 2561 นายเทวัญได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา[5] และลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. สมัยที่ 4

ต่อมาได้เข้าร่วมรัฐบาลของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กระทั่งในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 นายเทวัญ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่ง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อเปิดทางให้มีการปรับสัดส่วนคณะรัฐมนตรี[6] และต่อมาในปี พ.ศ. 2566 เศรษฐา ทวีสิน ได้แต่งตั้งเขาเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี[7]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

เทวัญ ลิปตพัลลภ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคสามัคคีธรรม
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคชาติพัฒนาพรรคไทยรักไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคไทยรักไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติพัฒนา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๑๐ ก หน้า ๑๕, ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๒
  2. วางระบบไว้แล้ว! เทวัญ ลา ปธ.โคราช ลุยเลือกตั้ง
  3. ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2548. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2548
  4. "แทน ลิปตา" ซัดพ่อซุกเมียน้อย ยื้อจนแม่ป่วย
  5. ชาติพัฒนาเลือก 'เทวัญ ลิปตพัลลภ'หัวหน้าพรรค - ชูสโลแกน 'No problem' สู้ศึกเลือกตั้ง
  6. 'เทวัญ' ลาออก เปิดทาง 'นายกฯ' ปรับ ครม.
  7. ""เศรษฐา" เซ็นตั้ง 9 ที่ปรึกษานายกฯ "กิตติรัตน์" นั่ง ประธาน พ่วงชื่อ "เทวัญ-พิมล-พิชิต"". ไทยรัฐ. 15 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
ก่อนหน้า เทวัญ ลิปตพัลลภ ถัดไป
วรรณรัตน์ ชาญนุกูล    
หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา
(21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – 16 ตุลาคม พ.ศ. 2565)
  กรณ์ จาติกวณิช
(ในนามพรรคชาติพัฒนากล้า)
กรณ์ จาติกวณิช    
หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า
(21 สิงหาคม พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน)
  ยังอยู่ในตำแหน่ง