เทวสถานโรมัน (อังกฤษ: Roman temple หรือ Fanum) ในความเชื่อเดิมในเรื่องที่เกี่ยวกับลัทธิเพกันโรมันผู้ถือปฏิบัติมักจะทำการสักการะที่เทวสถาน การสังเวยมักจะทำกันบนแท่นบูชาภายนอกเทวสถานที่ทำให้ง่ายต่อการทำความสะอาด และสามารถรับผู้เข้าร่วมพิธีได้มากกว่า เทวสถานโรมันจะมีขนาดไม่ใหญ่นักและจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใช้เป็นที่ตั้งของรูปสลักของเทพประจำลัทธินิยมในห้องหลักที่เรียกว่า “cella” (เซลลา) เซลลาเองก็อาจจะมีแท่นบูชาขนาดเล็กสำหรับจุดธูป หลังเซลลาก็จะเป็นห้องเดียวหรือหลายห้องที่ใช้โดยผู้เข้าร่วมพิธีสำหรับเก็บเครื่องไม้เครื่องมือหรือสิ่งที่จะถวายเทพ

เทวสถานเฮอร์คิวลีสวิคเตอร์ไม่ไกลจากโรงละครมาร์เชลโลในกรุงโรม (เทวสถานโรมันแบบกรีก)

เทวสถาน แก้

ชาวโรมันจะทำการสักการะ, สวดมนต์, ถวายสิ่งสักการะ และ ทำการสังเวยต่อเทพเจ้ากันที่เทวสถาน เทพ/เทพีองค์สำคัญๆ ก็ได้แก่:

  1. เทพจูปิเตอร์ - ราชาแห่งเทพเจ้า, เทพเจ้าแห่งฝน, ฟ้าร้อง และ สายฟ้า
  2. เทพีจูโน- ราชินีแห่งเทพเจ้า, เทพเจ้าแห่งสตรีและการให้กำเนิด
  3. เทพเนปจูน- เทพเจ้าแห่งทะเล/พายุ
  4. เทพพลูโต- เทพเจ้าแห่ง underworld
  5. เทพอพอลโล- เทพเจ้าแห่งการพยากรณ์
  6. เทพมาร์ส- เทพเจ้าแห่งการสงคราม
  7. เทพีวีนัส- เทพีแห่งความรักและความงาม
  8. เทพเมอร์คิวรี- ผู้สื่อสาส์นของพระเจ้า และ เทพเจ้าแห่งการค้าและการโจรกรรม
  9. เทพแซทเทิร์น- พ่อของเทพจูปิเตอร์
  10. เทพยูเรนัส- พ่อของเทพแซทเทิร์น
  11. เทพีไดแอนนา- เทพีแห่งการล่าสัตว์
  12. คิวปิด- เทพเจ้าแห่งความรัก และลูกของเทพีวีนัส

ชาวโรมันใช้คำภาษาลาติน “ฟานุม” (fanum) ที่แปลว่า “บริเวณศักดิ์สิทธิ์” สำหรับสถานที่สำหรับลัทธินิยมอื่นที่ไม่มีเทวสถาน เช่นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในสมัยแรก เช่นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับไดแอนา เนโมเรนซิส หรือที่เรียกกันว่า “ไดแอนาแห่งป่าเขา” และ เทวสถานที่มิได้เป็นของเทพทางการของโรมัน

  • คำว่า “ฟานุม” ตรงกับคำวิเศษณ์ “fanaticus” หรือในปัจจุบันมาแผลงเป็นคำว่า “fanatic” ที่แปลว่า “ความหลงใหลคลั่งไคล้” ซึ่งยังมีความหมายที่สะท้อนถึงความรู้สึกไม่ยอมรับศาสนาที่ต่างจากศาสนาทางการโดยชาวโรมัน แต่กระนั้นลัทธินิยมที่นำเข้ามาจากนอกจักรวรรดิโรมันบางลัทธิโดยเฉพาะจากบ้านเมืองที่โรมันไปพิชิตมาเช่นจากจักรวรรดิเปอร์เซีย หรือ อียิปต์ เช่นไอสิสก็มาเป็นที่นิยมนับถือกันในจักรวรรดิโรมัน ที่จะมีเทวสถานอันหรูหราเป็นของตนเอง เช่นเทวสถานไอสิส และ เซราพิสในแคมพัสมาร์เชียส (Campus Martius) ที่สร้างโดยใช้วัสดุจากอียิปต์ และ ลักษณะโครงสร้างแบบอียิปต์ ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงภาวะวิวิธพรรณ[1] ของเทวสถานทางศาสนาของโรมันตอนปลาย
  • คำว่า “ฟานุม” กลามมาเป็นส่วนหนึ่งของชื่อสถานที่ของโรมันเช่น ฟานุมโวลทุมแน, ฟานุมมาร์ทิส หรือ ฟานุมฟอร์ชูแน

รายชื่อเทวสถานโรมัน แก้

เทวสถานและที่ตั้งภายในโรมันโบราณ
เทวสถานนอกกรุงโรม
 
เตาเผาอาร์เธอร์ จากหนังสือโดย Alexander Gordon

อ้างอิง แก้

  1. "ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2010-02-02.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เทวสถานโรมัน