ในอภิธานศัพท์ดนตรี เทมโป (อิตาลี: tempo แปลว่า time) หรือ ลีลา [1] หมายถึงความเร็วในการเล่นเครื่องดนตรี เป็นองค์ประกอบสำคัญของการประพันธ์งานดนตรี ซึ่งมีผลต่ออารมณ์ และความยากง่ายในการเล่นผลงานชิ้นนั้นๆ

เมโทรโนมแบบกลไก

งานประพันธ์ดนตรีแต่ละชิ้น จะระบุเทมโปไว้ที่ตอนต้น ในปัจจุบันจะระบุเป็นค่า ครั้งต่อนาที (beats per minute ใช้ตัวย่อ BPM) หมายความว่าโน้ตแต่ละตัว จะต้องถูกเล่นด้วยเป็นจำนวนกี่ครั้งต่อนาที หากงานประพันธ์ชิ้นใดมีค่าเทมโปสูง โน้ตตัวนั้นก็จะต้องเล่นด้วยความเร็วสูงขึ้น ด้วยจำนวนครั้งมากขึ้นในหนึ่งนาที

ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ดีทริช นีโกลาส วิงเกล (1780 - 1826) นักประดิษฐ์ชาวดัตช์ได้สร้างเครื่องจับจังหวะ (metronome) ขึ้นในปี ค.ศ. 1812 และได้รับการจดสิทธิบัตรและผลิตออกวางจำหน่ายทั่วไปโดยโยฮานน์ เมลเซล [2] (1772 – 1838) วิศวกรชาวเยอรมัน และได้รับความนิยมหลังจากเบโทเฟนนำมาใช้ในการประพันธ์ดนตรีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1817 [3][4] เพื่อช่วยเรื่องความถูกต้องในการกำหนดจังหวะดนตรี

ศัพท์ทางดนตรีในการระบุค่าเทมโป แก้

ในการเล่นดนตรีคลาสสิก มักระบุค่าเทมโปโดยใช้คำศัพท์ภาษาอิตาลี เนื่องจากคีตกวีที่มีชื่อเสียงในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ส่วนใหญ่เป็นชาวอิตาลี และใช้คำศัพท์เหล่านี้มาก่อนการระบุด้วยค่า BPM หลังจากมีการคิดค้นเครื่องจับจังหวะ และยังคงนิยมใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน

คำศัพท์พื้นฐานที่ใช้ระบุค่าเทมโป แก้

คำอ่าน ชื่อ ความหมาย จังหวะ bpm
ลาร์กิสซิโม Larghissimo จังหวะช้าที่สุด น้อยกว่า 24 bpm
กราเว Grave จังหวะช้ามาก 25–45 bpm
ลาร์โก Largo จังหวะช้ามาก (ช้ากว่าเลนโต) 40–60 bpm
เลนโต Lento จังหวะช้ามาก สง่างาม 45–60 bpm
เลนเกตโต Larghetto จังหวะค่อนข้างกว้าง 60–66 bpm
อะดาจิโอ Adagio แปลว่า "at ease" จังหวะช้า 66–76 bpm
อะดาจิเอตโต Adagietto จังหวะค่อนข้างช้า 70–80 bpm
อันดันเต Andante จังหวะก้าวเดิน 76–108 bpm
อันดันติโน Andantino เร็วกว่าอันดันเตเล็กน้อย 80–108 bpm
อันดันเต โมเดราโต Andante Moderato เร็วกว่าอันดันเตเล็กน้อย 92–112 bpm
โมเดราโต Moderato จังหวะปานกลาง 101–110 bpm
อัลเลเกรตโต Allegretto จังหวะเร็วปานกลาง (แต่ช้ากว่าอัลเลอโกร) 112–120 bpm
อัลเลเกรตโต โมเดราโต Allegro moderato จังหวะเร็วปานกลาง (ใกล้เคียงอัลเลอโกร) 116–120 bpm
อัลเลโกร Allegro จังหวะเร็วปานกลาง 120–139 bpm
วีวาเช่ Vivace จังหวะเร็วและสดใส 168–176 bpm
วีวาชิสซิโม Vivacissimo จังหวะเร็วมากและสดใส 172–176 bpm
อัลเลกริสซิโม Allegrissimo จังหวะเร็วมาก 172–176 bpm
เพรสโต Presto จังหวะเร็วมากๆ 168–200 bpm
เพรสทิสซิโม Prestissimo จังหวะเร็วที่สุด มากกว่า 200 bpm

คำศัพท์พื้นฐานสำหรับการเปลี่ยนแปลงอัตราความเร็วช้าของจังหวะ[5] แก้

คำอ่าน ชื่อ ความหมาย คำย่อ
ราลเลนตานโด Rallentando ช้าลงเป็นลำดับ rall.
ริทาระดานโด Ritardando ค่อยๆช้าลง ritard.
รีเทนูโต Ritenuto ช้าลงทันทีทันใด rit.
สตริงเจนโด Stringendo การทำให้เร็วขึ้น string.
อัดเซเลรานโด Accelerado ให้ค่อยๆ เร่งจังหวะ accel.

คำศัพท์พื้นฐานสำหรับการเปลี่ยนแปลงอัตราความเร็วช้าของจังหวะ เพิ่มเติม[5] แก้

คำอ่าน ชื่อ ความหมาย คำย่อ
อะปิอัดเชเร A piacere ตามสบายขึ้นอยู่กับผู้เล่น ad libitum
อะ เทมโป A tempo ตามความเร็วเดิม ให้กลับไปที่อัตราความเร็วจังหวะปกติของเพลงนั้นหรือความเร็วเดิม
เทมโป กอมโมโด Tempo comodo ความเร็วสบาย ๆ
เทมโป จุสโต Tempo giusto ความเร็วคงที่ตลอด
เทมโป ปรีโม Tempo primo กลับไปที่อัตราความเร็วแรกเริ่ม

คำศัพท์พื้นฐานสำหรับการเปลี่ยนแปลงอัตราความเร็วช้าของจังหวะ ที่พบบ่อย แก้

คำอ่าน ชื่อ ความหมาย
อัลลา alla ไปยัง, ณ ที่,ในลีลาของ.. ,ตามแบบฉบับของเพลง
อัลลา เบรเว alla breve หมายถึงเครื่องหมายกำหนดจังหวะ g ; มีจังหวะนับสองจังหวะในแต่ละห้องโดยมีโน้ตตัวขาวนับเป็นหนึ่งจังหวะ อัลลา เบรเว
อัลลา มาร์เซีย alla marcia ในแบบฉบับของเพลงเดินแถว
อัลลา ตูร์คา alla turca เป็นเพลงรูปแบบทหารของชาวตุรกี เช่น เพลง Turkish March ของ Mozart
อะซาอี assai เร็วมาก

อ้างอิง แก้

  1. ลีลา (Tempo): ความเร็วของดนตรี
  2. Maelzel's patent of the Metronome The Repertory of patent inventions: and other discoveries and improvements in arts, manufactures, and agriculture ... published by T. and G. Underwood, 1818 (alternative)
  3. "A Brief History of the Metronome". Franz Manufacturing Company, Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-24. สืบค้นเมื่อ 2010-04-02.
  4. "What are metronomes?". wiseGEEK. สืบค้นเมื่อ 2008-12-06.
  5. 5.0 5.1 http://thaicontemp.com/p/tip.php

แหล่งข้อมูลอื่น แก้