เทกกิงแชนเซสเวิลด์ทัวร์

คอนเสิร์ตทัวร์เทกกิงแชนเซส (อังกฤษ: Taking Chances Tour) คือคอนเสิร์ตทัวร์ปัจจุบันของเซลีน ดิออน นักร้องสาวชาวแคนาดา เพื่อสนับสนุนอัลบั้มภาษาอังกฤษ เทกกิงแชนเซส ซึ่งออกจำหน่ายเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 คอนเสิร์ตทัวร์นี้ใช้เวลากว่า 1 ปีในการเยือน 5 ทวีป, 24 ประเทศ, 84 เมือง รวมการแสดงกว่า 123 ครั้ง [1]

คอนเสิร์ตทัวร์เทกกิงแชนเซส
Taking Chances Tour
คอนเสิร์ตคอนเสิร์ตทัวร์โดยเซลีน ดิออน
เซลีนขับร้องเพลง "มายฮาร์ตวิลโกออน" ระหว่างการแสดงคอนเสิร์ต ณ แมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร
อัลบั้มเทกกิงแชนเซส
วันเริ่มต้นการแสดง14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
วันสิ้นสุดการแสดง30 มกราคม พ.ศ. 2552
จำนวนรอบแสดงแอฟริกา 9 รอบ
เอเชีย 10 รอบ
ออสเตรเลีย 5 รอบ
ยุโรป 35 รอบ
อเมริกาเหนือ 73 รอบ
รวม 132 รอบ
โปรดิวเซอร์เจมี่ คิง
ลำดับคอนเสิร์ตของเซลีน ดิออน

การแสดง แก้

การแสดงนี้อำนวยการสร้างโดยเจมี่ คิง (ผู้อำนวยการสร้าง คอนเสิร์ตทัวร์คอนเฟสชั่น ของมาดอนน่า, คอนเสิร์ตทัวร์แบ็กทูเบสิก ของคริสตินา อากีเลรา) โดยผสมผสานดนตรี แฟชั่น สีสัน และการเต้น เพลงส่วนใหญ่ที่นำมาร้องเป็นเพลงฮิตของเซลีนจากอัลบั้ม เทกกิงแชนเซส [2]

การแสดงคอนเสิร์ตนี้ใช้เวลาการแสดงประมาณ 2 ชั่วโมง โดยแบ่งการแสดงเป็น 4 ส่วนได้แก่ โซล, ร็อก, การแสดงที่เน้นแฟชั่น และวัฒนธรรมตะวันออกกลาง เซลีนแสดงพร้อมกับนักเต้น 8 คน (ชาย 4 คน, หญิง 4 คน)

คอนเสิร์ตนี้มีจอภาพแอลซีดีกว่า 20 จอรอบเวทีซึ่งตั้งอยู่ใจกลางของสถานที่แสดง ซึ่งจอเหล่านี้สามารถหมุนไปโดยรอบเวที และสามารถยกขึ้นลงได้ วิดีโอปฐมบทก่อนเริ่มการแสดงเป็นวิดีโอจากเพลง "ไอโดรฟออลไนต์" นอกจากนี้ยังมีวิดีโออื่นๆของเซลีนที่แสดงถึงพัฒนาการทางแฟชั่นประกอบกับเพลง "มายฮาร์ตวิลโกออน" ฉบับรีมิกซ์

เจมี คิงเข้าชมการแสดงคอนเสิร์ตนี้เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ที่เมืองแมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร ซึ่งก่อนหน้านั้น เวทีไม่ได้ตั้งอยู่ตรงกลางสถานที่ทำการแสดง (ยกเว้นการแสดงที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น) หลังจากการคอนเสิร์ตทัวร์กว่า 2 เดือนครึ่ง เซลีนได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบเวทีมาอยู่ใจกลาง และสืบเนื่องมาจากความสามารถ 2 ภาษาของเซลีน เจมีจึงต้องแบ่งการแสดงเป็น 3 ส่วน การแสดงแรกประกอบไปด้วยเพลงภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ และแสดงพร้อมกับจอแอลซีดีที่เคลื่อนไหวได้อย่างเต็มรูปแบบ, การแสดงที่ 2 เป็นการแสดงที่เวที่ตั้งอยู่ตรงกลาง ประกอบไปด้วยการแสดงเพลงภาษาฝรั่งเศสมากกว่า 10 เพลง สำหรับประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส และการแสดงที่ 3 เป็นการแสดงไม่เต็มรูปแบบ โดยใช้กับสถานที่ที่ไม่สามารถตั้งเวทีใจกลางสถานที่แสดงได้

รายชื่อเพลงในการแสดง แก้

ช่วงแรก
1. วิดีโอปฐมบท: "ไอโดรฟออลไนต์" (รีมิกซ์)
2. "ไอโดรฟออลไนต์"
3. "ไอก็อดเดอะมิวสิกอินมี" ††††††
4. "เดอะพาวเวอร์ออฟเลิฟ"
5. "เทกกิงแชนเซส"
6. เมดเลย์:
"อิทส์ออลคัมมิงแบ็กทูมีนาว"
"บีคอสยูเลิฟด์มี"
"ทูเลิฟยูมอร์"
ช่วงที่ 2
7. "New Mego's Flamenco" (บรรเลง)
8. "อายส์ออนมี"
9. "ออลบายมายเซลฟ์"
ช่วงที่ 3
10. วิดีโอ: "มายฮาร์ตวิลโกออน" (รีมิกซ์)
11. "แอมอะไลฟ์" (รีมิกซ์)
12. "แชโดวออฟเลิฟ"
13. "เฟดอะเวย์"† / "คานท์ไฟท์เดอะฟีลลิ่ง"††
14. "แอมยัวร์แองเจิล" (คู่กับ Barnev Valsaint)
15. "อะโลน"
16. "Pour que tu m'aimes encore"
17. "ธิงทไวซ์"††† / "อะเวิลด์ทูบีลีฟอิน" (คู่กับยูนะ อิโตะ) †††† / "อะนิวเดย์แฮสคัม"†††††
18. "มายเลิฟ"†††††
19. "วีวิวร็อกยู"
20. "เดอะโชว์มัสโกออน"
ช่วงที่ 4
21. เมดเลย์
"เซ้กซ์แมทชีน"
"โซลแมน"
"เลดี้มามาร์เลด"
"เรสเป็ก"
"ไอก็อดเดอะฟิลลิง"
22. "อิทส์อะแมนส์แมนส์แมนส์เวิลด์"
23. "แดทส์จัสเดอะวูแมนอินมี"
24. "เลิฟแคนมูฟเมาเทน"
25. "ริเวอร์ดีฟ เมาเทนไฮต์"
ช่วงที่ 5
26. "มายฮาร์ตวิลโกออน"

† แสดงที่แอฟริกาใต้ (ในบางที่) และญี่ปุ่น
†† แสดงที่แอฟริกาใต้ performed (ในบางที่) , เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย
††† แสดงที่แอฟริกาใต้
†††† แสดงที่ญี่ปุ่น
††††† แสดงที่เกาหลีใต้และออสเตรเลีย
†††††† แสดงที่แอฟริกาใต้, ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

กำหนดการ แก้

วันเดือนปีที่แสดง เมือง ประเทศ ลาน/สถานที่จัดการแสดง
แอฟริกา
14 กุมภาพันธ์ 2551 โยฮันเนสเบิร์ก สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ Coca Cola Dome[3]
16 กุมภาพันธ์ 2551 พริทอเรีย สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ Loftus Versfeld Stadium[3]
17 กุมภาพันธ์ 2551 พริทอเรีย สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ Loftus Versfeld Stadium[3]
20 กุมภาพันธ์ 2551 Durban สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ Kings Park Stadium[3]
23 กุมภาพันธ์ 2551 เคปทาวน์ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ Vergelegen Estate[3]
24 กุมภาพันธ์ 2551 เคปทาวน์ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ Vergelegen Estate[3]
27 กุมภาพันธ์ 2551 Port Elizabeth สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ EPRFU Stadium[3]
29 กุมภาพันธ์ 2551 โยฮันเนสเบิร์ก สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ Coca Cola Dome[3]
เอเชีย
3 มีนาคม 2551 โดฮา กาตาร์ Athletic Stadium[3]
5 มีนาคม 2551 ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ Auto Drome[3]
8 มีนาคม 2551 โตเกียว ญี่ปุ่น Tokyo Dome[3]
9 มีนาคม 2551 โตเกียว ญี่ปุ่น Tokyo Dome[3]
11 มีนาคม 2551 โอซากา ญี่ปุ่น Osaka Dome[3]
12 มีนาคม 2551 โอซากา ญี่ปุ่น Osaka Dome[3]
15 มีนาคม 2551 มาเก๊า จีน Venetian Arena[3]
18 มีนาคม 2551 โซล เกาหลีใต้ Olympic Gymnasium Stadium[3]
19 มีนาคม 2551 โซล เกาหลีใต้ Olympic Gymnasium Stadium[3]
ออสเตรเลีย
31 มีนาคม 2551 บริสเบน ประเทศออสเตรเลีย Brisbane Entertainment Centre[3]
2 เมษายน 2551 เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย Rod Laver Arena[3]
5 เมษายน 2551 ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย Acer Arena[3]
6 เมษายน 2551 ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย Acer Arena[3]
8 เมษายน 2551 เพิร์ท ประเทศออสเตรเลีย Members Equity Stadium[3]
เอเชีย
11 เมษายน 2551 เซี่ยงไฮ้ จีน Shanghai Stadium[3]
13 เมษายน 2551 กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย Stadium Merdeka[3]
ยุโรป
2 พฤษภาคม 2551 แมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร Manchester Evening News Arena[4]
3 พฤษภาคม 2551 แมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร Manchester Evening News Arena[4]
6 พฤษภาคม 2551 ลอนดอน สหราชอาณาจักร The O2[4]
8 พฤษภาคม 2551 ลอนดอน สหราชอาณาจักร The O2[4]
13 พฤษภาคม 2551 แอนต์เวิร์ป เบลเยี่ยม Sportpaleis Merksem[4]
14 พฤษภาคม 2551 แอนต์เวิร์ป เบลเยี่ยม Sportpaleis Merksem[4]
16 พฤษภาคม 2551 แอนต์เวิร์ป เบลเยี่ยม Sportpaleis Merksem[4]
19 พฤษภาคม 2551 ปารีส ฝรั่งเศส Palais omnisports de Paris-Bercy[4]
20 พฤษภาคม 2551 ปารีส ฝรั่งเศส Palais omnisports de Paris-Bercy[4]
21 พฤษภาคม 2551 ปารีส ฝรั่งเศส Palais omnisports de Paris-Bercy[4]
24 พฤษภาคม 2551 ปารีส ฝรั่งเศส Palais omnisports de Paris-Bercy[4]
25 พฤษภาคม 2551 ปารีส ฝรั่งเศส Palais omnisports de Paris-Bercy[4]
27 พฤษภาคม 2551 ปารีส ฝรั่งเศส Palais omnisports de Paris-Bercy[4]
30 พฤษภาคม 2551 ดับลิน ไอร์แลนด์ Croke Park[4]
2 มิถุนายน 2551 อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ Amsterdam ArenA[4]
5 มิถุนายน 2551 โคเปนเฮเกน เดนมาร์ก Parken Stadium[4]
7 มิถุนายน 2551 สต็อกโฮล์ม สวีเดน Globe Arena[4]
10 มิถุนายน 2551 Hamburg เยอรมนี Color Line Arena[4]
12 มิถุนายน 2551 เบอร์ลิน เยอรมนี Olympic Stadium[4]
14 มิถุนายน 2551 Frankfurt เยอรมนี Commerzbank-Arena[4]
16 มิถุนายน 2551 ชตุทท์การ์ท เยอรมนี Schleyerhalle[4]
18 มิถุนายน 2551 โคโลญ เยอรมนี Kölnarena[4]
22 มิถุนายน 2551 มิวนิก เยอรมนี Olympic Stadium[4]
24 มิถุนายน 2551 ซูริค สวิตเซอร์แลนด์ Hallenstadium[4]
26 มิถุนายน 2551 ปราก สาธารณรัฐเชค T-Mobile Arena[4]
28 มิถุนายน 2551 อิสตันบูล ตุรกี BJK İnönü Stadium[4]
1 กรกฎาคม 2551 เวียนนา ออสเตรีย Wiener Stadthalle[4]
3 กรกฎาคม 2551 มิลาน อิตาลี San Siro[4]
5 กรกฎาคม 2551 Nice ฝรั่งเศส Palais Nikaia[4]
9 กรกฎาคม 2551 เจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ Stade de Genève[4]
11 กรกฎาคม 2551 มอนเตการ์โล โมนาโค Sporting Club[4]
12 กรกฎาคม 2551 มอนเตการ์โล โมนาโค Sporting Club[4]
อเมริกาเหนือ
12 สิงหาคม 2551 บอสตัน สหรัฐอเมริกา TD Banknorth Garden[5]
15 สิงหาคม 2551 มอนทรีออล แคนาดา Bell Centre[5]
16 สิงหาคม 2551 มอนทรีออล แคนาดา Bell Centre[5]
23 สิงหาคม 2551 Halifax แคนาดา Halifax Common[5]
27 สิงหาคม 2551 โตรอนโต แคนาดา Air Canada Centre[5]
28 สิงหาคม 2551 โตรอนโต แคนาดา Air Canada Centre[5]
3 กันยายน 2551 บัฟฟาโล สหรัฐอเมริกา HSBC Arena[5]
5 กันยายน 2551 ฟิลาเดเฟีย สหรัฐอเมริกา Wachovia Center[5]
8 กันยายน 2551 วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา Verizon Center[5]
12 กันยายน 2551 Newark สหรัฐอเมริกา Prudential Center[5]
13 กันยายน 2551 Uniondale สหรัฐอเมริกา Nassau Veterans Memorial Coliseum[5]
15 กันยายน 2551 นิวยอร์กซิตี สหรัฐอเมริกา Madison Square Garden[5]
20 กันยายน 2551 แอตแลนตา สหรัฐอเมริกา Broadwalk Hall[5]
22 กันยายน 2551 โคลัมบัส สหรัฐอเมริกา Jerome Schottenstein Center[5]
24 กันยายน 2551 Cleveland สหรัฐอเมริกา Quicken Loans Arena[5]
26 กันยายน 2551 ดิทรอยต์ สหรัฐอเมริกา The Palace of Auburn Hills[5]
29 กันยายน 2551 Milwaukee สหรัฐอเมริกา Bradley Center[5]
14 ตุลาคม 2551 Sacramento สหรัฐอเมริกา ARCO Arena[5]
16 ตุลาคม 2551 พอร์ทแลนด์ สหรัฐอเมริกา Rose Garden arena[5]
18 ตุลาคม 2551 Tacoma สหรัฐอเมริกา Tacoma Dome[5]
20 ตุลาคม 2551 แวนคูเวอร์ แคนาดา General Motors Place[5]
24 ตุลาคม 2551 Edmonton แคนาดา Rexall Place[5]
25 ตุลาคม 2551 Edmonton แคนาดา Rexall Place[5]
28 ตุลาคม 2551 Winnipeg แคนาดา MTS Centre[5]
30 ตุลาคม 2551 Minneapolis สหรัฐอเมริกา Target Center[5]
4 พฤศจิกายน 2551 ชิคาโก สหรัฐอเมริกา United Center[5]
9 พฤศจิกายน 2551 อินเดียแนโพลิส สหรัฐอเมริกา Conseco Fieldhouse[5]
11 พฤศจิกายน 2551 เซนต์หลุยส์ สหรัฐอเมริกา Scottrade Center[5]
13 พฤศจิกายน 2551 Tulsa สหรัฐอเมริกา BOK Center[5]
15 พฤศจิกายน 2551 Kansas City สหรัฐอเมริกา Sprint Center[5]
17 พฤศจิกายน 2551 โอฮามา สหรัฐอเมริกา Qwest Center Omaha[5]
19 พฤศจิกายน 2551 เดนเวอร์ สหรัฐอเมริกา Pepsi Center[5]
21 พฤศจิกายน 2551 Salt Lake City สหรัฐอเมริกา EnergySolutions Arena[5]
23 พฤศจิกายน 2551 San Jose สหรัฐอเมริกา HP Pavilion[5]
29 พฤศจิกายน 2551 Anaheim สหรัฐอเมริกา Honda Center[5]
2 ธันวาคม 2551 ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา Staples Center[5]
6 ธันวาคม 2551 Phoenix สหรัฐอเมริกา Jobing.com Arena[5]
7 มกราคม 2552 San Antonio สหรัฐอเมริกา AT&T Center[6]
9 มกราคม 2552 ฮิวสตัน สหรัฐอเมริกา Toyota Center[6]
13 มกราคม 2552 Nashville สหรัฐอเมริกา Sommet Center[6]
15 มกราคม 2552 เบอร์มิงแฮม สหรัฐอเมริกา BJCC Arena[6]
17 มกราคม 2552 แอตแลนตา สหรัฐอเมริกา Philips Arena[6]
20 มกราคม 2552 ราลี สหรัฐอเมริกา RBC Center[6]
23 มกราคม 2552 ไมอามี สหรัฐอเมริกา American Airlines Arena[6]
28 มกราคม 2552 Tampa สหรัฐอเมริกา St. Pete Times Forum[6]
30 มกราคม 2552 Fort Lauderdale สหรัฐอเมริกา BankAtlantic Center[6]

อ้างอิง แก้