เต่าดำ (เทพปกรณัม)

เต่าดำ (อังกฤษ: Black tortoise, Black turtle; ฮันกึล: 현무; ฮันจา: 玄武; คันจิ: 玄武 ; ฮิระกะนะ: げんぶ; โรมะจิ: Genbu; เวียดนาม: Huyền Vũ[1]; จีน: 玄武; พินอิน: Xuan Wu; เสวียนอู่) เป็นสัตว์สัญลักษณ์ในความเชื่อของจีนโบราณ ที่ครอบคลุมรวมไปถึงชนชาติอื่น ๆ ในแถบเอเชียตะวันออก เช่น เวียดนาม[1], ญี่ปุ่น และเกาหลี

ประติมากรรมเต่าดำ สมัยจักรพรรดิหย่งเล่อ แห่งราชวงศ์หมิง (ศตวรรษที่ 15)

เต่าดำ เป็นหนึ่งในสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ประจำทิศทั้งสี่ (四霛/四灵) เป็นสัญลักษณ์ของทิศเหนือ[2]ธาตุน้ำ และฤดูหนาว มีรูปลักษณ์เป็นเต่า แต่มีเกล็ดคล้ายงู มีลักษณะร่วมกันของเต่าและงู บ้างใช้สัญลักษณ์เป็นรูปเต่าที่มีงูพันรัดกลางลำตัว แต่เดิมมาจากการใช้กระดองเต่าในการทำนายทายทัก ซึ่งหมายถึงการให้เต่านำคำถามลงไปสู่โลกแห่งวิญญาณเพื่อนำคำตอบกลับมายังโลกมนุษย์ อีกทั้งกระดองเต่ามีสีดำ จึงปรากฏในรูปเต่าดำ ภายหลังได้มีการขยายความออกไป โดยเห็นว่าเต่าอาศัยอยู่กับน้ำ ทั้งแม่น้ำลำคลองน้อยใหญ่จนถึงท้องทะเลกว้าง จึงได้รับการขนานนามให้เป็นเทพเจ้าแห่งน้ำ อีกทั้งเต่ามีอายุยืนนาน จึงเป็นสัญลักษณ์แทนการมีอายุวัฒนะ

ต่อมาได้รับการยกสถานะจากลัทธิเต๋าให้เป็นปรมาจารย์เจินอู่ โดยกล่าวกันว่าเจินอู่เป็นภาคหนึ่งของเง็กเซียนฮ่องเต้มาจุติยังโลกมนุษย์ แต่ด้วยความเบื่อหน่ายในโลกีย์ จึงเก็บตัวบำเพ็ญภาวนาบนเขาบู๊ตึ๊ง จนสำเร็จมรรคผลเป็นเซียนขึ้นสถิตบนฟ้า ครองตำแหน่งทิศเหนือ[3]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Huyền Vũ Ngô Gia Tự Hà Nội Việt Nam thiet ke cua hang thiet bi ve sinh
  2. "The Chinese Sky". International Dunhuang Project. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-04. สืบค้นเมื่อ 2011-06-25.
  3. "สัตว์เทพประจำทิศทั้งสี่ในคติจีน". ผู้จัดการออนไลน์. 3 August 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-11-01. สืบค้นเมื่อ 30 July 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้