เติงกูอานิซ บินตี เติงกูอับดุล ฮามิด

ยัง มาฮา มูเลีย ราจา เปอเริมปวน เติงกูอานิซ บินตี อัลมาร์ฮุม เติงกูอับดุล ฮามิด (มลายู: Yang Maha Mulia Raja Perempuan Tengku Anis binti Almarhum Tengku Abdul Hamid; พระราชสมภพ 6 มกราคม พ.ศ. 2492) เป็นพระอัครมเหสีในสุลต่านอิสมาอิล เปตรา และเป็นพระราชชนนีในสุลต่านมูฮัมมัดที่ 5 แห่งกลันตัน

สมเด็จพระราชินีอานิซ
ราจาเปอเริมปวน
พระอัครมเหสีแห่งกลันตัน
ดำรงตำแหน่ง30 มีนาคม พ.ศ. 2522 – 13 กันยายน พ.ศ. 2553
ราชาภิเษก30 มีนาคม พ.ศ. 2522
ก่อนหน้าเติงกูไซนับ บินตี เติงกูมูฮัมมัด เปตรา
ถัดไปยานา ยาคุบโควา
พระราชสมภพ6 มกราคม พ.ศ. 2492 (75 พรรษา)[1]
โกตาบารู รัฐกลันตัน สหพันธรัฐมาลายา
พระราชสวามีสุลต่านอิสมาอิล เปตรา (พ.ศ. 2511–2562)
ราชวงศ์ลงยูนุซ (อภิเษกสมรส)
พระราชบิดามานพ พิพิธภักดี
พระราชมารดาเติงกูอาซีซะฮ์ บินตี เติงกูมูฮัมมัด ฮัมซะฮ์
ศาสนาอิสลาม

พระราชประวัติ แก้

สมเด็จพระราชินีอานิซ ประสูติเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2492 ณ ปาล์มมาโนร์ เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน เป็นบุตรลำดับที่สามจากทั้งหมดเก้าคนของครอบครัว พระราชชนกชื่อ เติงกูอับดุล ฮามิด บิน เติงกูมูดา ซูลง อับดุล ปูตรา (Tengku Abdul Hamid bin Tengku Muda Sulong Abdul Putra) หรือชื่อภาษาไทยว่า มานพ พิพิธภักดี ชาวจังหวัดปัตตานี กับพระราชชนนีชื่อ เติงกูอาซีซะฮ์ บินตี เติงกู ซรี มาฮาราจา มูฮัมมัด ฮัมซะฮ์ (Tengku Azizah binti Tengku Sri Maharaja Muhammad Hamzah) มีพระโสทรภราดา ได้แก่ เติงกูอิสกันดาร์ เติงกูมะฮ์มุด เติงกูอานีซะฮ์ เติงกูอับดุลระฮ์มัน เติงกูอานีเซง และเติงกูอานีซัน[2] มีพระอนุชาต่างพระมารดาชื่อ พันเอกยุทธพงษ์ พิพิธภักดี (หรือ เติงกูอายุบ) เกิดกับภรรยาชื่อฮัสนะห์ ชาวจังหวัดเชียงใหม่[3]

ครอบครัวฝ่ายพระราชชนนีสืบเชื้อสายจากสุลต่านมูฮัมมัดที่ 3 แห่งกลันตัน[2][4] พระอัยกาฝ่ายพระชนนีเป็นเมินเตอรีเบอซาร์คนแรกของกลันตันหลังการรับเอกราชของมาเลเซีย ส่วนครอบครัวฝ่ายพระชนกสืบเชื้อสายมาจากเจ้าผู้ครองเมืองยะหริ่ง (หรือ ยิริง) เพราะมานพเป็นบุตรชายพระพิพิธภักดี (ตนกูมุกดา อับดุลบุตร) ทายาทพระยาพิพิธเสนามาตย์ (นิโวะ) เจ้าเมืองยะหริ่งคนสุดท้าย เกิดกับภรรยาคนหนึ่งของตนกูมุกดา ชื่อตนกูซง ซึ่งเป็นหลานสาวของพระยาสุริยสุนทรบวรภักดี (หนิแปะ) เจ้าผู้ครองเมืองสายบุรี[2][5] ซึ่งต่อมากลุ่มราชนิกุลสายบุรีบางส่วนอพยพเข้าสู่รัฐกลันตันตั้งแต่ พ.ศ. 2445 เป็นต้นมา เพื่อหนีราชภัย[6] ส่วนมานพ พิพิธภักดีเป็นทายาทที่ครอบครองวังพิพิธภักดีสืบมา[7] เมื่อลำดับเครือญาติแล้วจะพบว่า สมเด็จพระราชินีอานิซเป็นหลานปู่ของพระพิพิธภักดี (ตนกูมุกดา อับดุลบุตร) และบรรเทิง อับดุลบุตร (หรือ ตนกูบราเฮม) เป็นหลานอาของทวีศักดิ์ อับดุลบุตร (หรือตนกูยูโซะ) และวัยโรจน์ พิพิธภักดี (ตนกูนูรดิน) ซึ่งล้วนเป็นนักการเมืองของไทย[8]

สมเด็จพระราชินีอานิซสำเร็จการศึกษาเบื้องต้นจากโรงเรียนซุลตานาไซนับ (Sultana Zainab School) ในเมืองโกตาบารู เมืองหลวงของรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย[1] และได้รับการถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548

อภิเษกสมรส แก้

สุลต่านอิสมาอิล เปตรา อภิษกสมรสกับสมเด็จพระราชินีอานิซ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ณ พระราชวังโกตาลามา เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ซึ่งขณะนั้นพระราชสวามียังมีพระอิสริยยศเป็น มกุฎราชกุมารแห่งกลันตัน (Tengku Mahkota) ในเวลาต่อมาพระองค์ได้รับการสถาปนาให้มีพระอิสริยยศที่ พระชายาในมกุฎราชกุมาร (Tengku Ampuan Mahkota) เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2512[9] ทั้งสองมีพระราชโอรส-ธิดาด้วยกัน 4 พระองค์ ได้แก่[1]

  1. สุลต่านมูฮัมมัดที่ 5 (พระราชสมภพ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2512) พระนามเดิม เติงกูมูฮัมมัด ฟาริซ เปตรา
  2. เติงกู มูฮัมมัด ฟายิซ เปตรา (ประสูติ 20 มกราคม พ.ศ. 2517) ปัจจุบันเป็นพระยุพราชแห่งกลันตัน
  3. เติงกู มูฮัมมัด ฟาครี เปตรา (ประสูติ 7 เมษายน พ.ศ. 2521)
  4. เติงกู อามาลิน อาอีชะฮ์ ปูตรี (ประสูติ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2527)

ทายาท แก้

พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ เสกสมรส พระนัดดา
สุลต่านมูฮัมมัดที่ 5 6 ตุลาคม พ.ศ. 2512 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547
หย่า พ.ศ. 2551
กังสดาล พิพิธภักดี[10][11][12] ไม่มี
30 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ยานา ยาคุบโควา ไม่มี
7 มิถุนายน พ.ศ. 2561
หย่า 22 มิถุนายน พ.ศ. 2562
ออกซานา โวเยโวดีนา ไม่ยืนยัน[13][14]
เติงกูมูฮัมมัด ฟายิด เปตรา 20 มกราคม พ.ศ. 2517 19 เมษายน พ.ศ. 2562 ซูฟี หลุยส์ ยูวันซ็อน เติงกูมูฮัมมัด โจฮัน เปตรา
เติงกูมูฮัมมัด ฟาครี เปตรา 7 เมษายน พ.ศ. 2521 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551
หย่า พ.ศ. 2552
มาโนฮารา โอเดเลีย พีนอต ไม่มี
เติงกูอามาลิน อาอีชะฮ์ ปูตรา 26 มิถุนายน พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2556 เป็งงีรัน มูดา อับดุล กาวี บลกียะฮ์ เจ้าหญิงอาฟีฟะฮ์ มูซียาฟายะฮ์ บลกียะฮ์
เจ้าหญิงอัซซาระฮ์ อิฟฟาตุล บลกียะฮ์
เจ้าหญิงซาฟีระฮ์ มูยิซซะฮ์ บลกียะฮ์

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 HH Tengku Raja Perempuan Anis binti Tengku Abdul Hamid
  2. 2.0 2.1 2.2 จุรีรัตน์ บัวแก้ว (2540). วัง 7 หัวเมือง (ปัตตานี) (PDF). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. p. 86.
  3. จุรีรัตน์ บัวแก้ว (2540). วัง 7 หัวเมือง (ปัตตานี) (PDF). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. p. 93.
  4. "ปัตตานีทูเดย์ - สมรสสมรัก 'ยะหริ่ง-กลันตัน' บนองศาแผ่นดินเดือด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-10. สืบค้นเมื่อ 2012-01-10.
  5. "วังพิพิธภักดี". กองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. รัศมินทร์ นิติธรรม (1 ธันวาคม 2555). "เหตุการณ์กลุ่มราชนิกุลเมืองสายบุรี หนีราชภัยไปเมืองกลันตัน". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-20. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. จุรีรัตน์ บัวแก้ว (2540). วัง 7 หัวเมือง (ปัตตานี) (PDF). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. p. 92.
  8. จุรีรัตน์ บัวแก้ว (2540). วัง 7 หัวเมือง (ปัตตานี) (PDF). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. p. 60-62.
  9. Kenali DYMM Tengku Anis
  10. เจ้ากลันตัน-สาวไทยอภิเษกใหญ่แขกมาร่วมกว่า 5,000[ลิงก์เสีย]
  11. Royalty of Malaysia 1: September 2004-October 2006
  12. Thai Queen attends wedding ceremony of Malaysia's crown prince.Asia Africa Intelligence Wire| November 17, 2004
  13. "Sultan Muhammad V, ruler of Malaysia's Kelantan state, has baby boy with Russian wife Oksana Voevodina". South China Morning Post. June 5, 2019.
  14. Rachel Genevieve Chia (6 June 2019). "Sultan Muhammad V's Russian wife gave birth to a baby boy – and she called the pregnancy 'the most difficult time of my life'". Business Insider. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-29. สืบค้นเมื่อ 27 June 2019.