เดอะเฟมมอนสเตอร์

เดอะเฟมมอนสเตอร์ (อังกฤษ: The Fame Monster) เป็นอีพีลำดับที่สามของศิลปินหญิงชาวอเมริกัน เลดี้ กาก้า วางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2009 ในตอนแรก 8 แทร็คจากอัลบั้มนี้ตั้งใจที่จะเป็นเพิ่มลงในอัลบั้มชุดแรก The Fame แต่ต่อมาเธอประกาศว่าเพลงใหม่ทั้งหมดนี้จะถูกวางจำหน่ายแบบอัลบั้มเดี่ยว เนื่องจากการทำเพิ่มเพลงลงอัลบั้มเดิมมีค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป และเนื้อหาในอัลบั้มใหม่มีเนื้อหาที่แตกต่างจากอัลบั้ม The Fame และไม่มีความจำเป็นต้องใช้เพลงจากอัลบั้มแรกมาสนับสนุน 5 สัปดาห์ต่อมาในวันที่ 15 ธันวาคม 2009 ได้มีการวางจำหน่ายอัลบั้มเดอะเฟมมอนสเตอร์ รุ่นดีลักซ์ที่มี 2 ซีดีจากเดอะเฟมมอนสเตอร์และ The Fame ที่มาในรูปแบบโบนัสดิสก์

เดอะเฟมมอนสเตอร์
กาก้าในวิกผมบ็อบสีบลอนด์ สวมโอเวอร์โค้ตสีดำมันวาว โดยมือขวาจับคอเสื้อและนำมาปิดปากของเธอ มีคำว่า "Lady Gaga" และ "The Fame Monster" เขียนกำกับไว้ด้วยสีขาว โดยเขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และอักษร T ของคำว่า Monster ก็ถูกแทนที่ด้วยเครื่องหมาย †
อีพีโดย
วางตลาด18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009 (ดูหัวข้อประวัติการจำหน่าย
บันทึกเสียงค.ศ. 2009
แนวเพลงป็อป อิเล็กโทรป็อป แดนซ์
ความยาว34:09
ค่ายเพลงอินเตอร์สโคป เชอร์รีทรี สตรีมไลน์ คอนไลฟ์
โปรดิวเซอร์เลดี้ กาก้า, ดาร์กไชลด์, เฟอร์นานโด แกริเบย์, เรดวัน, รอน แฟร์, สเปซ คาวบอย, เทดดี ริลีย์
ลำดับอัลบั้มของเลดี้ กาก้า
The Fame
(2008)
The Fame Monster
(2009)
Born This Way
(2011)
ลำดับผลงานของเลดี้ กาก้า
Hitmixes
(2009)
The Fame Monster
(2009)
"Born This Way"
(2011)
ภาพปกเพิ่มเติม
กาก้า ในวิกผมสีดำปกคลุมรอบ ๆ ใบหน้า ลำตัว และตาขวา อายไลเนอร์ไหลลงมาตามใบหน้าเป็นสองเส้นจากตาซ้าย มีคำว่า "Lady Gaga" และ "The Fame Monster" เขียนกำกับไว้ด้วยสีขาว โดยเขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และอักษร T ของคำว่า Monster ก็ถูกแทนที่ด้วยเครื่องหมาย †
กาก้า ในวิกผมสีดำปกคลุมรอบ ๆ ใบหน้า ลำตัว และตาขวา อายไลเนอร์ไหลลงมาตามใบหน้าเป็นสองเส้นจากตาซ้าย มีคำว่า "Lady Gaga" และ "The Fame Monster" เขียนกำกับไว้ด้วยสีขาว โดยเขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และอักษร T ของคำว่า Monster ก็ถูกแทนที่ด้วยเครื่องหมาย †
ซิงเกิลจากThe Fame Monster
  1. "Bad Romance"
    จำหน่าย: 26 ตุลาคม ค.ศ. 2009
  2. "Telephone"
    จำหน่าย: 26 มกราคม ค.ศ. 2010
  3. "Alejandro"
    จำหน่าย: 20 เมษายน ค.ศ. 2010
 การจัดอันดับจากผู้เชี่ยวชาญ
คะแนนวิจารณ์
แหล่งข้อมูล การจัดอันดับ
Allmusic 4/5 stars[1]
BBC Online (เป็นที่นิยม) [2]
Robert Christgau (A-) [3]
The Independent (เป็นที่นิยม) [4]
Los Angeles Times 3/4 stars[5]
NME (8/10) [6]
The Observer 4/5 stars[7]
Pitchfork Media (7.8/10) [8]
Rolling Stone 3.5/5 stars[9]
Slant Magazine 3.5/5 stars[10]

เดอะเฟมมอนสเตอร์มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับด้านมืดของความโด่งดังที่เลดี้กาก้าพบเจอจากประสบการณ์จริงระหว่างทัวร์คอนเสิร์ตปี 2008-2009 ผ่านคำเปรียบเทียบ "Monster-ปีศาจ" และเปรียบเทียบความรู้สึกต่อเดอะเฟมมอนสเตอร์กับ The Fame ว่าต่างกันเหมือนกับหยินหยาง เธอรบเร้าให้ต้นสังกัดอนุญาตให้เธอถ่ายภาพปกอัลบั้มในสไตล์โกธิคที่มืดหม่น โดยมีเฮดิ ซลิมาน เป็นช่างภาพ เพลงในอัลบั้มได้รับอิทธิพลจากเพลงโกธิคและแฟชั่นโชว์ เพลง Bad Romance, Telephone และ Dance in the Dark ต่างเป็นเพลงที่ได้รับคำวิจารณ์ในทางบวก บางประเทศอีพีนี้ขึ้นชาร์ตคู่กับอัลบั้ม The Fame ยกเว้นสหรัฐอเมริกา, แคนาดา และญี่ปุ่นที่ขึ้นชาร์ตเป็นอัลบั้มเดี่ยวเท่านั้น เดอะเฟมมอนสเตอร์ขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งในออสเตรเลีย เยอรมนี ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ โปแลนด์ และสหราชอาณาจักร

Bad Romance ถูกปล่อยเป็นซิงเกิลแรก และสามารถขึ้นชาร์ตอัลบั้มขายดีที่อันดับหนึ่งในประเทศแคนาดา สหราชอาณาจักร และไอร์แลนด์ ติดชาร์ตอันดับที่ 2 ของออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และสวีเดน ซิงเกิลต่อมาคือ Telephone และ Alejandro ก็สามารถติดชาร์ตหนึ่งในสิบอันดับแรกของสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2009 4 วันหลังประกาศจำหน่ายอัลบั้มใหม่ เลดี้กาก้าประกาศทัวร์คอนเสิร์ตครั้งที่สองของเธอในชื่อว่า The Monster Ball Tour และจะสิ้นสุดในเดือนพฤษภาคม 2011 นี้

เดอะเฟมมอนสเตอร์ได้รับการเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลแกรมมี่อวอร์ดทั้งสิ้น 6 สาขารางวัล 2 ใน 6 รางวัลที่เข้าชิง ได้แก่รางวัลอัลบั้มแห่งปีและรางวัลอัลบั้มเพลงป็อบยอดเยี่ยม

เบื้องหลังและการพัฒนา แก้

กาก้าอธิบายถึงเบื้องหลังของอัลบั้มนี้ว่ามีที่มาจากความหลงใหลในภาพยนตร์ปีศาจสยองขวัญ และเป็นคนที่สนใจความเสื่อมเสียของคนดังและความโด่งดังถือเป็นปีศาจร้ายในสังคม ซึ่งเป็นความลงตัวที่สมบูรณ์แบบระหว่างแนวคิดกับตัวอัลบั้ม

เลดี้กาก้าระบุว่า 8 เพลงในอัลบั้มใหม่ของเธอ จะถูกจำหน่ายพร้อมกับอัลบั้ม The Fame ที่เป็นอัลบั้มเปิดตัว เดอะเฟมมอนสเตอร์[11] กล่าวถึงด้านมืดของความโด่งดังที่ถูกปิดบัง ซ่อนเร้นผ่านประสบการณ์ของเธอเองระหว่างปี 2008-2009 [12] เธออธิบายเพิ่มเติมว่า "ในอัลบั้ม The Fame Monster เธอจะเขียนทุกอย่างที่ไม่ได้เขียนลงไปใน The Fame ช่วงเวลา 2 ปีที่ฉันเดินทางไปทั่วโลกฉันได้พบเจอปีศาจหลายตัว ที่ถูกถ่ายทอดผ่านเพลงในแผ่นบันทึกเสียงนี้ เช่นความหวาดกลัวต่อปีศาจแห่งเซ็กส์, ปีศาจแอลกอฮอล์, ปีศาจแห่งความรัก, ปีศาจแห่งความตาย และปีศาจแห่งความโดดเดี่ยวของฉันเอง "ฉันใช้เวลาส่วนใหญ่ที่ยุโรปตะวันออกยามค่ำคืน และได้ทดลองดนตรีจังหวะอิสดัสเทรียล, โกธิค, เพลงแด๊นซ์ในยุค 90 ความหลงใหลในลักษณะพิเศษของเพลงป็อบมีลานโคลิก และรันเวย์ ฉันเขียนเพลงขณะที่กำลังชมแฟชั่นโชว์เงียบ และรู้สึกอัดอั้นตันใจที่จะกล่าวว่า เพลงของฉันได้รับความสำเร็จของสิ่งที่กล่าวมา"[12] กาก้าเปรียบเทียบอารมณ์ของอัลบั้ม The Fame กับ The Fame Monster ว่าเป็นสิ่งที่แตกต่างกันราวกับหยินหยาง และรู้สึกแปลกๆ ในตัวเองขณะที่กำลังทำอัลบั้ม [12]

เพลง Speechless เป็นเพลงบัลลาดที่แต่งขึ้นเพื่อโจเซฟ พ่อของเธอที่ป่วยเป็นโรคลิ้นหัวใจและไม่ยอมเข้ารับการรักษา กาก้าได้รับข่าวนี้ขณะที่กำลังทัวร์คอนเสิร์ตและแวะเขียนเพลงนี้ที่สตูดิโอแห่งหนึ่งเพื่ออ้อนวอนต่อพ่อของเธอ เพราะไม่อยากเสียพ่อไป และเหตุการณ์นี้ทำให้เธอพูดอะไรไม่ออก จนกลายเป็นชื่อเพลง Speechless ในท่อนสุดท้ายของเพลง If I promise to you boy/That I’ll never talk again/And I’ll never love again/I’ll never write a song
/Won’t even sing along มีความนัยว่าหากว่าพ่อของเธอเป็นอะไรไป เธอจะยุติอาชีพการเป็นนักร้อง-นักแต่งเพลงทันที [12]

เดอะเฟมมอนสเตอร์ถูกวางจำหน่ายครั้งแรกที่อเมริกาเหนือและสหราชอาณาจักรในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2009 เว็บไซต์ของกาก้ายืนยันว่าอัลบั้ม The Fame Monster จะวางจำหน่ายในรุ่นดีลักซ์เท่านั้น ซึ่งจะได้โบนัสดิสก์จาก The Fame แต่เนื่องจากปัญหาด้านค่าใช้จ่ายทำให้ต้องเลื่อนการจำหน่ายรุ่นดีลักซ์ออกไป และจำหน่ายเวอร์ชันอัลบั้มเดี่ยวก่อน [13] [14]

ลักษณะการประพันธ์ แก้

The Independent รู้สึกได้ว่า Bad Romance ถูกครอบงำและได้รับงดงามจากปกอัลบั้มขาวดำ และเครื่องหมายไม้กางเขนบนปกนั้นได้รับอิทธิพลตามแบบโกธิค บทร้องรับใน Bad Romance คล้ายกับเพลงของ โบนี่ย์เอ็ม และอัลบั้ม Black Celebration (1986) ของวงเดเพเช่ส์โมด มีความเป็นซอมบี้ในเพลง Monster ในท่อนร้อง "He ate my heart - เขากินหัวใจของฉัน"[4] [2] เหมือนชาวคอสแซ็คในเพลง Teeth ในเนื้อร้อง "Take a bite of my bad girl-กัดเนื้อนังเด็กสาวชั่วสักหน่อย" และเพลง Dance in the Dark "Silicon, saline, poison inject me - ซิลิโคน น้ำเกลือ ยาพิษ ฉีดใส่ฉันซิ" [15] เนื้อร้องสุดท้ายของเพลงมีชื่อของคนดังที่สิ้นชีวิตอย่างสลดใจปรากฏอยู่หลายชื่ออย่าง มาริลีน มอนโรล (นักแสดงเซ็กส์ซิมโบลยุค 50-60 ที่เสียชีวิตอย่างลึกลับ) , จูดี้ การ์แลนด์ (นักแสดงหญิงระดับตำนานของฮอลลีวู้ดที่เสียชีวิตจากการเสพยาเกินขนาด) , ซิลเวีย พลาธ (นักเขียนและกวีสตรีชาวอเมริกันที่จบลงชีวิตลงด้วยการฆ่าตัวตายด้วยเพียง 32 ปี) , ไดอาน่า-เจ้าหญิงแห่งเวลส์ (เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์จากการหลบหนีช่างภาพในวัย 36 ปี) , ลิเบอราซี (นักเปียโน และศิลปินการแสดงสดชาวเกย์ที่เสียชีวิตอย่างกะทันหัน) และโจน เบเน่ แรมซีย์ (นางงามเด็กชาวอเมริกันปี 2539 ที่ถูกฆาตกรรมอำพราง ขณะอายุได้เพียง 6 ขวบ) เพลง Monster มีเสียงร้องซ้ำๆ กันจากซินธ์และใช้กลองเฮฟวี่เป็นเครื่องดนตรีในเพลง [4] [4][10]

เพลง Speechless ได้รับแรงบันดาลใจจากดนตรีใยยุค 1970 ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่ก้าวร้าวจากเนื้อเพลง "I can't believe how you slurred at me with your half wired broken jaw - ฉันไม่เชื่อเลยเธอยังจะพูดจาอู้อี้กับในสภาพที่ยับเยินอย่างนั้นได้อีก" เพลงนี้ผสมผสานเสียงร้องประสานและกีตาร์ Pop Matters เปรียบเทียบผลงานนี้กับงานของเฟรดดี้ เมอร์คิวรี่ และควีน Speechless ได้ รอน แฟร์ มาเป็นโปรดิวเซอร์ และใช้เครื่องดนตรีจริงๆ บรรเลงเพลงอย่าง กลอง กีตาร์ และเบสส์ ส่วนกาก้าเป็นผู้บรรเลงเปียโนเอง [16]

Dance in the Dark เป็นแทร็กที่ห้าจากอัลบั้ม ที่พรรณาถึงหญิงสาวที่รู้สึกอึดอัดใจเมื่อต้องมีเซ็กส์ กาก้าพูดถึงเพลงนี้ว่า "หล่อนไม่อยากให้ผู้ชายเห็นเธอเปลือยกาย เธอจะเป็นอิสระและปลดปล่อยความเป็นสัตว์ในตัวก็ต่อเมื่อปิดไฟให้มืดเท่านั้น" So happy I could die [17] เป็นเพลงที่นำเสนอความรู้สึกทางเพศผ่านเนื้อร้องท่อนที่ว่า "I love that lavender blonde/the way she moves the way she walks/I touch myself can't get enough -ฉันชอบผมสีบลอนด์สาเวนเดอร์นั่น/การเคลื่อนไหวการเดินของเธอ/ฉันสัมผัสร่างกายตัวเองแต่มันไม่พอดี" เพลงนี้จริงๆ แล้วเป็นเพลงรักและบ่งบอกความเป็นตัวเธอที่เล่าถึงภาพลักษณ์, การดื่ม, เต้นรำ และสัมผัสตัวเอง เสียงร้องเพลงนี้แสดงอารมณ์ท่เยือกเย็น และใช้โปรแกรมออโต้ทูนส์ปรับแต่งเสียง [4] [2] [4][10] เพลง Alejandro ผสมผสานทำนองดนตรีของ ABBA และ Ace of Base [2] เล่าเรื่องราวของกาก้าที่กำลังหลบหนีออกจากฮาเร็มของชายชาวละติน Telephone กล่าวถึงกาก้าที่เลือกเวทีแด้นซ์มากกว่ารับโทรศัพท์จากคนรักของเธอ ท่อน Verse ถูกร้องอย่างรวดเร็วในทำนองดับเบิ้ลบีต กาก้าอธิบายถึงเพลงนี้ว่าเป็นความกลัวต่ออาการหายใจไม่ออกและความกลัวที่เธอไม่สามารถให้ความสุขกับตัวเองได้ เพราะเป็นคนบ้างาน และไม่ได้ออกไปเที่ยวสนุกที่ไหน โทรศัพท์ในเพลงไม่ได้หมายถึงโทรศัพท์ที่เห็นเท่านั้น แต่หมายถึงเสียงในสมองเธอที่สั่งให้เธอให้มุ่งทำงานหนักมากกว่าเดิม [4][10] Teeth เป็นเพลงสุดท้ายจากอัลบั้มได้ทำนองจากเพลงสวดและเนื้อร้องในแบบ S&M พูดถึงการทำทารุณทรมานและกินเนื้อมนุษย์เพื่อจะได้รับความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกว่า

การวางจำหน่ายและอาร์ตเวิร์ก แก้

แต่เดิมอัลบั้มเดอะเฟมมอนสเตอร์มีแผนจะวางจำหน่ายในรูปแบบใหม่แทนอัลบั้ม The Fame แต่กาก้าให้สัมภาษณ์ผ่าน MTV เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2009 ว่าอัลบั้มจะขายอัลบั้มเดี่ยวไปก่อนและจะมีรุ่นดีลักซ์และซุเปอร์ดีลักซ์จะวางจำหน่ายในวันที่ 15 ธันวาคม 2009 และรุ่นซุเปอร์ดีลักซ์จะมาในรูปแบบกล่องที่บรรจุโปสการ์ด, อัลบั้มภาพ, ผลงานอาร์ตเวิร์กทางทีมงานเฮ้าส์ออฟกาก้า รวมทั้งล็อกเก็ตบรรจุเส้นผมของเลดี้กาก้า [18]

3 พฤษภาคม 2010 เว็บไซต์ของกาก้าประกาศวางจำหน่ายเดอะเฟมมอนสเตอร์รุ่น USB ไดรว์ที่ผลิตจำนวนจำกัด ซึ่งมี 8 แทร็กจากเดอะเฟมมอนสเตอร์ มิวสิกวีดีโอฉบับโจ่งแจ้ง, เพลงรีมิกซ์, ดิจิทัลบุ๊คเล็ต, ปกอัลบั้ม และอัลบั้มภาพ [19]

ภาพปกอัลบั้มเดอะเฟมมอนสเตอร์ได้เฮดิ ซลิมานเป็นผู้ถ่ายภาพ ในภาพแรก กาก้าใส่วิกสีบลอนด์พองฟู สวมแจ็กเก็ตสีดำ และอีกภาพใส่วิกผมสีดำที่กระเซอะกระเซิง มีอายไลเนอร์ไหลจากตาข้างซ้าย เพื่อให้หน้าปกของอัลบั้มออกมาน่ากลัวและมืดหม่นกว่าที่เคยทำมาและสอดคล้องกับธีมอัลบั้มนี้ ต้นสังกัดของกาก้ารู้สึกงุนงงต่อปกอัลบั้มขาวดำสไตล์โกธิคนี้ และคิดว่าจะทำให้ความเป็นป็อบลดลง แต่กาก้าให้เหตุผลต่อหน้าปกนี้ว่าต้องการนำเสนอหลักหยินหยาง ไม่ต้องการเห็นตัวเองทำตามแบบสาวบลอนด์คนอื่นๆ และอยากให้แฟนเพลงของเธอรับรู้ถึงความรู้สึกเดียวกับเธอเมื่อเห็นภาพนี้ [12]

การขึ้นลำดับชาร์ต แก้

ในสหรัฐอเมริกา อัลบั้มเดี่ยว เดอะเฟมมอนสเตอร์ ขึ้นชาร์ตที่อันดับ 5 ด้วยยอดขาย 174,000 ก๊อปปี้ ส่วนอัลบั้มดีลักซ์ที่รวม The Fame กับเดอะเฟมมอนสเตอร์ ข่นชาร์ตที่อันดับ 6 กับยอดขาย 151,000 ก๊อปปี้ และสามารถติดชาร์ตดิจิทัลดาวน์โหลดขายดีที่ 65,000 ดาวน์โหลด [20] 7 ใน 8 เพลงจากอัลบั้มนี้ยังติดชาร์ตเพลงดิจิทัลยอดนิยม และยังขึ้นชาร์ตอัลบั้มเพลงแดนซ์/อิเล็กทรอนิกส์แทนที่อัลบั้ม The Fame [21] เดือนมกรคม 2010 The Fame Monster ได้รับการรับรองยอดขายจากสมาคมผู้บันทึกเสียงแห่งสหรัฐอเมริกา (RIAA) สำหรับยอดขาย 1 ล้านแผ่น จากการสำรวจของศูนย์วิจัยนีลสันในสหรัฐอเมริกา อัลบั้ม The Fame Monster พบว่ามียอดขายกว่า 1.349 ล้านก๊อปปี้ [22] [23] ที่แคนาดาอัลบัมนี้เปิดตัวสูงสุดที่อันดับ 6 [24]

อัลบั้มเดอะเฟมมอนสเตอร์ ขึ้นชาร์ตคู่กับ The Fame ในออสเตรเลียแต่ต่อมาถูกพิจารณาให้เป็นอัลบั้มเดี่ยว นับตั้งแต่วันวางจำหน่ายที่ออสเตรเลียอัลบั้มใช้เวลา 18 สัปดาห์ก็สามารถครองชาร์ตอันดับหนึ่ฃซิงเกิลขายดี และได้รับการรับรองยอดขายจากสมาคมผู้บันทึกเสียงแห่งออสเตรเลีย ในระดับทองคำขาว x2 สำหรับยอดขาย 140,000 ก๊อปปี้ [25] [26] The Fame Monster ขึ้นชาร์ตคู่กับ The Fame ในหลายประเทศเช่น เดนมาร์ก, ไอร์แลนด์, เยอรมนี และสามารถขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งสองประเทศหลัง อัลบั้มขึ้นชาร์ตโอไรคอนของญี่ปุ่นที่อันดับสอง [27] [28] ส่วนในสหราชอาณาจักร มีการจำหน่ายอัลบั้ม The Fame Monster ในรุ่นดีลักซ์เท่านั้น จึงขึ้นชาร์ตควบคู่กับ The Fame 3 มกราคม 2010 อัลบั้มนี้ไต่ชาร์ตขึ้นไปแตะอันดับที่สอง ทุกเพลงจาก The Fame Monster สามารถติดชาร์ตซิงเกิล 110 ยอดนิยมในสหราชอาณาจักร รวมทั้งซิงเกิลที่ยังไม่ได้เปิดตัว Telephone ซึ่งสามารถขึ้นชาร์ตนี้ที่อันดับ 30 [29]

สัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ 2010 เดอะเฟมมอนสเตอร์-The Fame ก็สามารถครองชาร์ตอันดับหนึ่งยาวนาน 4 สัปดาห์ แต่แล้วในวันที่ 21 มีนาคม 2010 อัลบั้มกลับมาครองแชมป์อย่างไม่คาดคิดอีกครั้ง [29] The album has reached thirteen on the European Top 100 Albums chart.[30] แทนที่อัลบั้ม Glee Cast ที่ถูกคาดหมายว่าจะเป็นผู้ครองแชมป์อันดับหนึ่งในเวลานั้น เดอะเฟมมอนสเตอร์ติดชาร์ตอัลบั้มท็อป 100 แห่งยุโรปที่อันดับ 13 และได้รับการรับรองจาก IFIP สำหรับยอดขาย 2 ล้านก๊อปปี้ทั่วยุโรป [31]

ซิงเกิล แก้

อัลบั้มเปิดตัวด้วยเพลง Bad Romance เธอแสดงเพลงนี้ครั้งแรกในรายการ Saturday Night Live เมื่อ 3 ตุลาคม 2009 3 วันต่อมาเพลง Bad Romance ได้ใช้เปิดเป็นเพลงประกอบในโชว์ชุดฟินาเล่คอลเลคชั่นสปริง/ซัมเมอร์ 2010 ของอเล็กซานเดอร์ แม็กควีนที่งานปารีสแฟชั่นวีค ซิงเกิลถูกวางจำหน่ายในรูปแบบดิจิทัลดาวน์โหลดเมื่อ 27 ตุลาคม 2009 [32] [33] [34]

Bad Romance ติดท็อปชาร์ตแคนาดาฮ็อต 100, ชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร, ชาร์ตยุโรปฮ็อต 100, ชาร์ตซิงเกิลเยอรมัน, บัลกาเรีย, เดนมาร์ก, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, ฮังการี, ไอร์แลนด์, อิตาลี, นอร์เวย์, โรมานเนีย, สโลวาเกีย, สเปน และสวีเดน ซึ่งสามารถขึ้นชาร์ตสูงสุดที่ลำดับสองในประเทศสหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, เบลเยียม และสวิตเซอร์แลนด์ ในวันที่ 1 ธันวาคม 2010 Bad Romance ได้รับการเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลแกรมมี่ในสาขาเพลงป็อบหญิงยอดเยี่ยม และมิวสิกวีดีโอเพลงนี้ก็ได้เข้าชิงรางวัลสาขา [35] มิวสิกวีดีโอขนาดสั้นยอดเยี่ยม [36] [37] [38]

เพลงที่สอง Telephone ซึ่งกาก้าได้ร่วมงานกับนักร้องอาร์แอนด์บี บียอนเซ่ โนวลส์ กาก้าร้องเพลง Telephone ครั้งแรกในงานบริทอวอร์ด 2010 ในเวอร์ชันเปียโน และเพลง Dance in the Dark เพื่อไว้อาลัยต่อการเสียชีวิตของอเล็กซานเดอร์ แม็กควีน [39] มิวสิกวีดีโอเพลง Telephone ถูกเผยแพร่ครั้งแรกในรายการ E!News เมื่อ 11 มีนาคม 2010 1 วันก่อนการเผยแพร่อย่างเป็นทางการ กาก้ากล่าวว่ามิวสิกวีดีโอนี้เป็นภาคต่อจาก Paparazzi ในรูปแบบภาพยนตร์สั้นเหมือนกัน Telephone ได้รับการยกย่องจากนักวิจารณ์ว่าเป็นแทร็กที่ดีที่สุดในอัลบั้มนี้ และยังสามารถขึ้นชาร์ตซิงเกิลในหลายประเทศก่อนหน้าที่จะมีการปล่อยเพลงนี้เมื่อ 22 มีนาคม 2010 ซิงเกิล Telephone ครองชาร์ตอันดับหนึ่งในสหราชอาณาจักรอีกครั้ง ซึ่งกลายเป็นเพลงที่สองจากอัลบั้มนี้ที่ขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งได้ รวมทั้งหมดเป็นครั้งที่ 4 กับอัลบั้มเดิม ซิงเกิลสามารถติดชาร์ตบิลบอร์ดฮ็อต 100 แห่งสหรัฐอเมริกาในอันดับที่ 3 กลายเป็นเพลงที่ 6 ของเลดี้กาก้าที่สามารถขึ้นชาร์ตท็อปเท็นได้ [40] และเป็นเพลงที่ถูกเปิดในรายการวิทยุในอเมริกามากครั้งที่สุดนับตั้งแต่ปีก่อตั้ง 1992 ของนีลสันบีเอสบี ทำลายสถิติของมารายห์ แครีย์และบียอนเซ่ Telephone ยังได้รับเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลแกรมมี่ในสาขาเพลงป็อบ Collaboration ยอดเยี่ยม.[41]

Alejandro ถูกปล่อยเพลงที่สามและเพลงสุดท้าย [42] ในตอนแรก Dance in the Dark ถูกเลือกไว้ให้เป็นเพลงที่จะปล่อยต่อจาก Telephone แต่กาก้ากลับเลือกที่จะปล่อยเพลง Alejandro โดยไม่ปรึกษากับบริษัทต้นสังกัดและเกิดความขัดแย้งระหว่างกาก้ากับต้นสังกัดที่จะปล่อย Alejandro เป็นเพลงสุดท้ายจากอัลบั้มนี้ [43] [44] กาก้าอธิบายสาเหตุที่เลือก Alejandro เพราะเพลงนี้ได้ออกอากาศบนวิทยุแล้วตั้งแต่เดือนเมษายน 2010 ในอเมริกา Alejandro ติดชาร์ตซิงเกิลในออสเตรเลีย, แคนาดา 1 ใน 5 ลำดับแรก และติด 10 อันดับแรกในชาร์ตซิงเกิลหลายประเทศ ที่สหรัฐอเมริกา เพลงนี้ขึ้นชาร์ตสูงสุดที่อันดับ 5 และกลายเป็นเพลงที่ 7 แล้วที่สามารถติดชาร์ต 10 อันดับแรกบนชาร์ตบิลบอร์ดฮ็อต 100 [45] [46]

รายชื่อเพลง แก้

ลำดับชื่อเพลงประพันธ์โปรดิวเซอร์ยาว
1."Bad Romance"RedOne, Lady Gagaเรดวัน4:55
2."Alejandro"เรดวัน, เลดี้ กาก้าเรดวัน4:34
3."Monster"RedOne, เลดี้ กาก้า, Space CowboyRedOne4:09
4."Speechless"เลดี้ กาก้าRon Fair4:31
5."Dance in the Dark"เลดี้ กาก้า, Fernando GaribayGaribay4:49
6."Telephone" (featuring Beyoncé)เลดี้ กาก้า, Rodney Jerkins, LaShawn Daniels, ลาโซเนต แฟรงคลิน, บียอนเซ่ โนวส์Jerkins3:41
7."So Happy I Could Die"เลดี้ กาก้า, เรดวัน, สเปซ คาวบอยRedOne, เลดี้ กาก้า, สเปซ คาวบอย3:55
8."Teeth"เลดี้ กาก้า, ทาจา ไรลีย์Teddy Riley3:41
โบนัสแทรกของร้านไอทูนส์อเมริกาเหนือ
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์โปรดิวเซอร์ยาว
9."Bad Romance" (Starsmith Remix)RedOne, Lady GagaStarsmith4:56
โบนัสแทรกรุ่น USB
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์โปรดิวเซอร์ยาว
9."Bad Romance" (Starsmith Remix)RedOne, Lady GagaStarsmith4:56
10."Telephone" (Passion Pit Remix) (featuring Beyoncé))Lady Gaga, Jerkins, Daniels, Franklin, BeyoncéPassion Pit5:13
11."Paparazzi" (Demolition Crew Remix) (radio edit))Lady Gaga, Rob FusariDemolition Crew3:54
12."Just Dance" (Deewaan Remix (featuring Ashking, Wedis, Lush and Young Thoro))Lady Gaga, RedOne, Aliaune ThiamDeewaan4:17
13."LoveGame" (Robots to Mars Remix)Lady Gaga, RedOneRobots to Mars3:14
14."Eh, Eh (Nothing Else I Can Say)" (Frankmusik Remix)Lady Gaga, มาร์ติน เคียร์เซนบาอัมFrankmusik3:48
15."Poker Face" (live at The Cherrytree House (เวอร์ชันเปียโนและเสียร้อง))Lady Gaga, RedOneคียร์เซนบาอัม3:38
16."Bad Romance" (Grum Remix)RedOne, Lady GagaGrum4:51
17."Telephone" (Alphabeat Remix (featuring Beyoncé))Lady Gaga, Jerkins, Daniels, Franklin, BeyoncéAlphabeat5:13
The Fame Monster: วิดีโออีพี
ลำดับชื่อเพลงยาว
1."Just Dance"4:06
2."Poker Face"3:40
3."Paparazzi"7:43
4."LoveGame"3:43
5."Eh, Eh (Nothing Else I Can Say)"3:03
6."Bad Romance"5:14
7."Telephone"9:27

ชาร์ตและการดำเนินการ แก้

ประวัติการจำหน่าย แก้

ประเทศ วันวางจำหน่าย รูปแบบ สังกัด รุ่น
  ญี่ปุ่น 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009[69] ซีดีและดิจิทัลดาวน์โหลด Universal Music เดลักซ์
  อิตาลี

[70]

  ออสเตรเลีย 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009[71][72][73] เดลักซ์และจำกัดจำนวน
  ชิลี ปกติและเดลักซ์
  เยอรมนี
  ไอร์แลนด์ เดลักซ์
  สหรัฐ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009[74] Interscope, Streamline, Kon Live, Cherrytree
  บริเตนใหญ่ Polydor
  แคนาดา Universal Music
  อาร์เจนตินา

[75]

  แคนาดา 1 ธันวาคม ค.ศ. 2009[76] ปกติ
  โคลอมเบีย 4 ธันวาคม ค.ศ. 2009[77]
  สหรัฐ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2009[78] บ็อกซ์เซต Interscope, Streamline, Kon Live, Cherrytree ซูเปอร์เดลักซ์
แอลพี ปกติ
  ออสเตรเลีย 18 ธันวาคม ค.ศ. 2009[79] ดิจิทัลดาวน์โหลด Universal Music ปกติ (ฉบับโจ่งแจ้ง)
21 ธันวาคม ค.ศ. 2009[80] ซีดี
  สหรัฐ 26 มกราคม ค.ศ. 2010[81] ดิจิทัลดาวน์โหลด Interscope, Streamline, Kon Live, Cherrytree
  จีน 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010[82] ซีดี Universal Music ปกติ
  ญี่ปุ่น 16 เมษายน ค.ศ. 2010[83] ซีดีและดีวีดี Universal Music ปกติ (ฉบับโจ่งแจ้ง)
ทั่วโลก 3 พฤษภาคม ค.ศ. 2010[84] ยูเอสบีแฟลชไดรฟ์ Interscope, Streamline, Kon Live, Cherrytree จำกัดจำนวน (ฉบับโจ่งแจ้ง)
  อิตาลี 8 มิถุนายน ค.ศ. 2010[85] ซีดี Universal Music กล่องสอดจำกัดจำนวน
  เยอรมนี 22 ตุลาคม ค.ศ. 2010[86][87] ปกติ (ฉบับโจ่งแจ้ง)
20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010[88] ดิจิทัลดาวน์โหลด

อ้างอิง แก้

  1. Erlewine, Stephen Thomas (2009-11-25). "Lady Gaga | The Fame Monster". Allmusic. Rovi Corporation. สืบค้นเมื่อ 2009-11-25.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Lester, Paul (2009-11-20). "Lady Gaga The Fame Monster Review". BBC. BBC Online. สืบค้นเมื่อ 2009-11-23.
  3. Christgau, Robert. "Consumer Guide: The Fame Monster". MSN Music. สืบค้นเมื่อ 2010-03-02. Archived from the original on 2010-03-26.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 Price, Simon (2009-11-22). "Album: Lady Gaga, The Fame Monster (Polydor)". The Independent. UK. สืบค้นเมื่อ 2009-11-23.
  5. Wood, Mikael (2009-11-23). "Album review: Lady Gaga's 'The Fame Monster'". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 2009-11-24.
  6. Patashnik, Ben (2009-12-03). "Album review: Lady Gaga – 'The Fame Monster' (Polydor)". NME. UK: IPC Media. {{cite web}}: |access-date= ต้องการ |url= (help); |url= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  7. Empire, Kitty (2009-11-22). "Lady Gaga: The Fame Monster". The Guardian. UK. สืบค้นเมื่อ 2009-11-23.
  8. Plagenhoef, Scott (2009-01-13). "Album review: Lady Gaga – 'The Fame Monster'". Pitchfork Media. สืบค้นเมื่อ 2009-01-14.
  9. Dolan, Jon (2010-11-23). "The Fame Monster by Lady GaGa". Rolling Stone. Jann Wenner. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-19. สืบค้นเมื่อ 2010-10-30.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 Cinquemani, Sal (2009-11-18). "Lady Gaga: The Fame Monster". Slant Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ November 19, 2009. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "slant" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  11. Harding, Cortney (2009-10-01). "Lady Gaga: First Lady". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ 2009-10-08.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 Press Release (2009-10-08). "Lady Gaga Returns With 8 New Songs on 'The Fame Monster'". Yahoo!. สืบค้นเมื่อ 2009-10-09.
  13. Vena, Jocelyn; Calloway, Sway (2009-11-23). "Lady Gaga Gets 'Dark' On The Fame Monster". MTV. MTV Networks. สืบค้นเมื่อ 2009-11-24.
  14. Dinh, James (2009-11-10). "Lady Gaga's Fame Monster: New Songs To Be Released On Single CD". MTV. MTV Networks. สืบค้นเมื่อ 2009-11-10.
  15. Ditzian, Eric (2009-12-16). "Lady Gaga Explains Real Meaning Of 'Dance In The Dark'". MTV. MTV Networks. สืบค้นเมื่อ 2009-12-18.
  16. Hiatt, Brian (2009-10-21). "Inside The Monster Ball: Lady Gaga Reveals Plans for Ambitious New Tour". Rolling Stone. Jann Wenner. ISSN 0035-791X. สืบค้นเมื่อ 2009-10-22.
  17. Ditzian, Eric (2009-12-16). "Lady Gaga Explains Real Meaning Of 'Dance In The Dark'". MTV. MTV Networks. สืบค้นเมื่อ 2009-12-18.
  18. Vena, Jocelyn (2010-02-16). "Lady Gaga Pays Tribute To Alexander McQueen At Brit Awards". MTV (MTV Networks). สืบค้นเมื่อ 2010-02-17.
  19. Kung, Michelle (2009-11-22). "American Music Awards 2009: Adam Lambert, Lady Gaga Dazzle". The Wall Street Journal. Dow Jones & Company. สืบค้นเมื่อ 2009-11-23.
  20. 20.0 20.1 Pietrolungo, Silvio (2009-12-02). "Susan Boyle Sees Dream Soar To No. 1 On Billboard 200". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ 2009-12-03.
  21. 21.0 21.1 "Billboard Dance/Electronic Albums". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. 2009-12-12. สืบค้นเมื่อ 2009-12-04.
  22. Grein, Paul (2010-08-12). "Week Ending Nov. 28, 2010: The King and Queen of Hip Hop". Yahoo!. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-13. สืบค้นเมื่อ 2010-12-01.
  23. "Searchable Database – RIAA – Lady Gaga". Recording Industry Association of America. 2010-01-07. สืบค้นเมื่อ 2010-01-13.
  24. 24.0 24.1 "Canadian Albums Chart: Week Ending January 20, 2010". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. 2010-01-30. สืบค้นเมื่อ 2010-11-03.
  25. "Lady Gaga – The Fame Monster (album)". Australian Recording Industry Association australian-charts.com. 2010-04-12. สืบค้นเมื่อ 2010-04-12.
  26. "ARIA album Chart week of 05/04/2010". Australian Recording Industry Association. 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-04-05.
  27. 27.00 27.01 27.02 27.03 27.04 27.05 27.06 27.07 27.08 27.09 27.10 27.11 27.12 27.13 27.14 "Lady Gaga – The Fame Monster (album)". Ultratop 50. Hung Medien. สืบค้นเมื่อ 2009-12-01.
  28. 28.0 28.1 Reporter, MC. "Lady Gaga an der Spitze der Album-Charts". Media Control Charts. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2010-01-05.
  29. 29.0 29.1 29.2 "Lady Gaga – The Fame positions". The Official Charts Company. ChartStats.com. 2009-11-30. สืบค้นเมื่อ 2009-12-02.
  30. 30.0 30.1 30.2 Sexton, Paul (2010-02-04). "Lady Gaga, Ke$ha Rule Euro Charts". Billboard. Nielsen Business Media, inc. สืบค้นเมื่อ 2010-02-05.
  31. "IFPI Platinum Europe Awards – Q4 2010". International Federation of the Phonographic Industry. July 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-02. สืบค้นเมื่อ 2010-08-18.
  32. Reporter, RS (2009-09-29). "Lady Gaga Readies New Single for "SNL," "The Fame" Re-Release". Rolling Stone. Jann Wenner. ISSN 0035-791X. {{cite journal}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  33. Reporter, RS (2009-10-05). "Lady Gaga Fights Madonna, Debuts "Bad Romance" on "Saturday Night Live"". Rolling Stone. Jann Wenner. ISSN 0035-791X. สืบค้นเมื่อ 2009-10-07.[ลิงก์เสีย]
  34. "SHOWstudio presents Alexander McQueen S/S10 Live". SHOWstudio.com. 2009-10-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-11. สืบค้นเมื่อ 2009-10-08.
  35. "Chartifacts – Week Commencing: November 30, 2009 Issue #1031" (PDF). ARIA Charts Pandora.nla.gov.au. 2009-11-30. สืบค้นเมื่อ 2009-12-02.
  36. Pietroluongo, Silvio (2009-11-05). "DeRulo Tops Hot 100 But Swift Swoops In". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ 2009-11-05.
  37. "Canadian Hot 100 – Week of November 14, 2009". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. 2009-11-14. สืบค้นเมื่อ 2009-11-05.
  38. http://www.usatoday.com/life/music/awards/grammys/2010-12-01-grammy-nominations-list_N.htm?loc=interstitialskip
  39. Vena, Jocelyn (2010-02-16). "Lady Gaga Pays Tribute To Alexander McQueen At Brit Awards". MTV (MTV Networks). สืบค้นเมื่อ 2010-02-17.
  40. Pietrolungo, Silvio (2010-03-17). "Rihanna's 'Rude Boy' rules Hot 100". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ 2010-03-18.
  41. Trust, Gary (2010-03-15). "Lady Gaga, Beyonce Match Mariah's Record". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ 2010-03-18.
  42. "Lady Gaga – Gaga Still Releasing Alejandro In U.S." contactmusic. 2010-04-05. สืบค้นเมื่อ 2010-04-06.
  43. "Lady GaGa Will Release Alejandro As Next Single". MTV (MTV Networks). 2010-04-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-29. สืบค้นเมื่อ 2010-04-16.
  44. "Future Releases". FMQB. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-22. สืบค้นเมื่อ 2010-03-17.
  45. "Lady Gaga – Alejandro (Song)". Ultratop 50. Hung Medien. สืบค้นเมื่อ 2010-05-31.
  46. "Billboard – Lady Gaga – Alejandro". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ 2010-05-31.
  47. "CAPIF – Argentinian Albums Chart". Argentine Chamber of Phonograms and Videograms Producers. 2010-08-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-11. สืบค้นเมื่อ 2010-08-09.
  48. "CD – TOP 20 Semanal" (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล). Associação Brasileira dos Produtores de Discos. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-16. สืบค้นเมื่อ 2010-05-14.
  49. "Fame Monster – TOP50 Prodejní". International Federation of the Phonographic Industry. TOP50 Prodejní. 2010-01-17. สืบค้นเมื่อ 2010-01-25.
  50. "Ελληνικό Chart (Week 44/2010)". IFPI Greece. November 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-12. สืบค้นเมื่อ November 18, 2010.
  51. "Top 40 album – és válogatáslemez – lista". Mahasz (ภาษาฮังการี). Magyar Hanglemezkiadók Szövetsége. สืบค้นเมื่อ 2010-07-08.
  52. "Japanese Oricon Top 30 Albums". Oricon (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-18. สืบค้นเมื่อ 2010-05-15.
  53. "Lady Gaga - The Fame Monster (Album)". Recording Industry Association of New Zealand. Hung Medien. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-11. สืบค้นเมื่อ 2010-09-27.
  54. "Official Retail Sales Chart – OLiS Poland". OLiS. สืบค้นเมื่อ 2010-01-15.
  55. "Российский чарт 01-2010". 2M-Online (ภาษารัสเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-25. สืบค้นเมื่อ 2010-01-25.
  56. "ARIA Charts: Year End: Top 100 Albums 2009". Australian Recording Industry Association. สืบค้นเมื่อ 2009-12-30.
  57. "Album 2009 – Hitlisten.NU". Tracklisten. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-29. สืบค้นเมื่อ 2010-04-21.
  58. "Best of 2009: Irish Albums Chart". Irish Recorded Music Association. สืบค้นเมื่อ 2010-02-02.
  59. "Årslista Albums – År 2009". Swedish Recording Industry Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-29. สืบค้นเมื่อ 2010-10-09.
  60. "Jaaroverzichten 2010 (Flanders)" (ภาษาดัตช์). Ultratop. Hung Medien. สืบค้นเมื่อ 2010-12-26.
  61. "Ultratop Belgian Charts". Ultratop. Hung Medien. 2010-12-26. สืบค้นเมื่อ 2010-12-26.
  62. "Charts Year End: Canadian Albums Chart". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. 2009-12-11. สืบค้นเมื่อ 2010-12-26.
  63. "Jaaroverzichten 2010" (ภาษาดัตช์). MegaCharts. Hung Medien. สืบค้นเมื่อ 2010-12-26.
  64. "Charts Year End: European Top 100 Albums". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. 2010-12-22. สืบค้นเมื่อ 2010-12-26.
  65. "Myydyimmät levyt - 2010". IFPI. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-01. สืบค้นเมื่อ 2010-12-31.
  66. "アルバム 年間ランキング-ORICON STYLE ランキング" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. 2010-12-20. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-20. สืบค้นเมื่อ 2010-12-20.
  67. "Best of 2010: Top Billboard 200". Billboard. Prometheus Global Media. สืบค้นเมื่อ 2010-12-09.
  68. "Best of 2010: Top Dance/Electronic Albums". Billboard. Prometheus Global Media. สืบค้นเมื่อ 2010-12-26.
  69. "The Monster – Lady Gaga". Universal Music. 2009-10-30. สืบค้นเมื่อ 2009-10-30.
  70. "The Monster (Deluxe)". iTunes. 2009-11-18. สืบค้นเมื่อ 2010-09-04.
  71. "The Fame Monster". ladygaga.com.au. สืบค้นเมื่อ March 19, 2010.
  72. "The Fame Monster: Limited Edition Dual Album CD". ladygaga.com.au. สืบค้นเมื่อ March 19, 2010.
  73. "The Fame Monster – Lady GaGa (Mimix Chile)". Mimix.cl. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-07. สืบค้นเมื่อ 2009-11-20.
  74. "The Fame Moster 2 Disc". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. 2009-11-24. สืบค้นเมื่อ 2009-10-08.
  75. "THE FAME MONSTER (2CDS)". Musimundo. 2009-11-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-27. สืบค้นเมื่อ 2010-07-26.
  76. "The Fame Monster". HMV Group. สืบค้นเมื่อ 2009-11-22.[ลิงก์เสีย]
  77. "Lady Gaga estrenó 'The Fame Moster'". El Espectador. สืบค้นเมื่อ 2010-10-20.
  78. "Lady Gaga Releases Brand New Album on November 23". Interscope Records. 2009-11-12. สืบค้นเมื่อ 2009-11-15.
  79. "The Fame Monster Australia". iTunes. สืบค้นเมื่อ 2010-04-22.
  80. "Lady Gaga – The Fame Monster (CD, Album, Exp) at Discogs". Discogs. สืบค้นเมื่อ 2010-03-17.
  81. "The Fame Monster (Explicit)". iTunes. สืบค้นเมื่อ 2010-02-04.
  82. "Lady Gaga: The Fame Monster". Amazon.cn. 2010-02-01. สืบค้นเมื่อ 2010-02-09.
  83. "The Fame Monster (Explicit)". Discogs. สืบค้นเมื่อ 2010-06-16.
  84. "The Fame Monster Limited Edition USB Drive". LadyGaga.com. 2010-04-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-15. สืบค้นเมื่อ 2010-04-22.
  85. "Italian release of The Fame Monster". IBS.it. 2010-06-08. สืบค้นเมื่อ 2010-07-09.
  86. "Lady Gaga: The Fame Monster (8-Track)". Amazon.cn. 2010-10-22. สืบค้นเมื่อ 2010-10-26.
  87. "Lady Gaga: The Fame Monster (8-Track)". bravado.de. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-29. สืบค้นเมื่อ 2010-10-26.
  88. "Lady Gaga: The Fame Monster mp3". Amazon.de. 2010-11-20. สืบค้นเมื่อ 2010-11-05.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้