เฒ่าผจญทะเล (อังกฤษ: The Old Man and the Sea) เป็นผลงานวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงของเออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม โดยเขียนที่ประเทศคิวบาในปีค.ศ.1951 และได้รับการจัดพิมพ์ครั้งแรกในปีค.ศ.1952 ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเฮมิงเวย์ เนื้อหาว่าด้วยเรื่องของชายชราคนหนึ่งผู้ออกหาปลาในประเทศคิวบา

เฒ่าผจญทะเล  
ผู้ประพันธ์เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ภาษาอังกฤษ
ชุดnone
ประเภทโศกนาฏกรรม, นวนิยายขนาดสั้น
สำนักพิมพ์ชาร์ลส์สคริบเนอร์สัน
วันที่พิมพ์1952
ชนิดสื่อจัดพิมพ์ในรูปของปกแข็งและปกอ่อน
หน้า127 หน้า
ISBN978-0-684-80122-3
OCLC33134129
813/.52 20
LC ClassPS3515.E37 O4 1995
เรื่องก่อนหน้าอะครอสเดอะริเวอร์แอนด์อินทูเดอะทรีส์ 
เรื่องถัดไปอะมูฟเอเบิลเฟียสท์ 

เนื้อเรื่องย่อ แก้

เป็นเรื่องราวของประมงชราคนหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า "ซานติเอโก" ที่ได้ออกไปหาปลาแต่ก็ไม่สามารถจับปลามาได้ในช่วง 84 วันที่ผ่านมา เขามีเพื่อนต่างวัยเป็นเด็กชายคนหนึ่งชื่อ "มาโนลิน" ที่เสนอตัวช่วยหาปลา แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็ยังไม่สามารถจับปลาได้อยู่ดี ภายหลังจากนั้น พ่อแม่ของมาโนลินให้ลูกของตนไปหางานอื่นทำแทน เมื่อมาโนลินกลับมาขอช่วยงานซานติเอโกอีกครั้งก็ถูกปฏิเสธก่อนที่จะได้รับการยินยอมครั้งหนึ่ง แต่ในครั้งสุดท้าย ซานติเอโกขอพิสูจน์ตนเองด้วยการออกหาปลาตามลำพัง ในเบื้องต้นเขาจับได้แต่ปลาตัวเล็ก ทว่าในที่สุดเขาก็ได้พบกับ ปลามาร์ลิน (ปลากระโทงแทง) ขนาดยักษ์และมีความฉลาดเป็นพิเศษ เมื่อปลาติดเบ็ดแล้ว ปลากลับเป็นฝ่ายลากเรือไปเสียเอง ทำให้ซานติเอโกเริ่มนึกถึงมาโนลิน เขาอยากให้เด็กชายคนนี้มาช่วยเขาจับปลา

ซานติเอโกสู้กับปลายักษ์ตัวนี้ข้ามคืนถึงสามวัน และในเช้าวันที่สามนี้เอง ซานติเอโกตัดสินใจออกแรงเฮือกสุดท้ายโดยใช้ฉมวกปักเข้าที่กลางหลังของมัน ก่อนที่ปลายักษ์ตัวนี้จะสิ้นลม ซานติเอโกนำปลายักษ์ตัวนี้มาผูกไว้ที่ข้างเรือ แต่กลิ่นคาวเลือดของปลาทำให้ฝูงปลาฉลามเข้ามารายล้อม ซานติเอโกพยายามสู้กับพวกมัน แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะได้ เนื่องจากพวกมันมีมากเกินไป ซานติเอโกกลับมาพร้อมกับซากปลามาร์ลินที่เหลือแต่กระดูก ชาวบ้านที่มาพบเห็นถึงกับตกตะลึง เป็นอันว่าเขากลับมามือเปล่า ก่อนที่ซานติเอโกจะกลับเข้าไปนอนที่บ้านของตน นั่นเป็นเหตุการณ์ทั้งหมดที่เขาได้รับชัยชนะ พร้อมกับความพ่ายแพ้ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน[1]

สื่อสัญลักษณ์ของตัวละคร แก้

แม้ว่าแฮมิงเวย์จะกล่าวว่าเรื่องที่เขาสร้างสรรค์ขึ้นมาจะมิได้ต้องการสื่อถึงแง่คิดใด ๆ ก็ตาม แต่หลายคนที่ได้อ่านเรื่องนี้ต่างรู้สึกว่าแฮมิงเวย์ได้นำเสนอเรื่องราวที่เน้นถึงการมีจิตใจเป็นนักสู้ เพื่อชัยชนะและเพื่อความภาคภูมิใจในตนเอง และเป็นธรรมดาที่ชัยชนะนั้น อาจมาพร้อมกับความว่างเปล่าในบางช่วงของชีวิต[1]

รางวัลกับการเสนอผลงานเข้าประกวด แก้

"เฒ่าผจญทะเล" เป็นผลงานที่ส่งผลให้แฮมิงเวย์ได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นรางวัลพูลิตเซอร์ สำหรับผลงานด้านบันเทิงคดีที่ได้รับในปี ค.ศ.1953 และเขายังได้รับเหรียญรางวัล อะวอร์ดออฟเมอร์ริท สำหรับผลงานบันเทิงคดีจากสถาบัน อเมริกันอะคาเดมี่ออฟอาร์ทแอนด์เลทเทอร์ ในปีเดียวกันนี้ด้วย ก่อนที่เขาจะได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปีต่อมา[2]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "เรื่องเด่นประจำสัปดาห์ – เฒ่าทะเล The Old Man and the Sea". สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น. 20 มีนาคม 2018.
  2. "The Nobel Prize in Literature 1954". The Nobel Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2005.

บรรณานุกรม แก้

  • Oliver, Charles M. (1999). Ernest Hemingway A to Z: The Essential Reference to the Life and Work. New York: Checkmark. ISBN 0-8160-3467-2.

หนังสืออ่านเพิ่มเติม แก้

  • Young, Philip (1952). Ernest Hemingway. New York: Holt, Rinehart & Winston. ISBN 0-8166-0191-7.
  • Jobes, Katharine T. (1968). Twentieth Century Interpretations of The Old Man and the Sea. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall. ISBN 0-13-633917-4.
  • "Michael Palin's Hemingway Adventure: Cuba". PBS. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2006.
  • Ernest Hemingway; Ivan Kashkin (1959). Эрнест Хемингуэй; [sostavlenie, kommentarii i redaktirovanie perevodov Ivana Kashkina]. Избранные произведения в двух томах [Selected works in two volumes]. Moskva: Государственное изд-во художественной литературы. OCLC 636460518.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้