เซอร์โรสเตรตัส หรือ ซีร์โรสเตรตัส[1](อังกฤษ: cirrostratus) มีชื่อเรียกมาจากภาษาละติน cirrus แปลว่า ลอนผม และ stratus แปลว่า แผ่ขยาย[2] เซอร์โรสเตรตัสเป็นเมฆลักษณะแผ่นบาง ๆ คล้ายผ้าคลุม แผ่ขยายเป็นวงกว้างบนท้องฟ้า เป็นหนึ่งในเมฆระดับสูงร่วมกับเซอร์รัสและเซอร์โรคิวมูลัส[3] เซอร์โรสเตรตัสมีอักษรย่อคือ Cs และสัญลักษณ์ (แผ่ขยายทั่วท้องฟ้า) หรือ (ไม่แผ่ขยาย)

เมฆเซอร์โรสเตรตัสและซันด็อก

เซอร์โรสเตรตัสเป็นเมฆที่ก่อตัวในชั้นโทรโพสเฟียร์ ที่ระดับความสูง 20,000–40,000 ฟุต (6,000–12,000 เมตร) เกิดจากไอน้ำที่เย็นตัวลงกลายเป็นผลึกน้ำแข็ง[4] การมีอยู่ของเซอร์โรสเตรตัสในอากาศสามารถบ่งชี้ถึงความชื้นปริมาณมากบนชั้นโทรโพสเฟียร์ตอนบน[5] เซอร์โรสเตรตัสไม่ก่อให้เกิดฝนตก แต่เป็นสัญญาณนำของแนวปะทะอากาศร้อนที่ก่อให้เกิดฝนตกใน 12–24 ชั่วโมงถัดมา หรือ 6–8 ชั่วโมงในกรณีที่แนวปะทะเคลื่อนตัวเร็ว[6]

เซอร์โรสเตรตัสสามารถจำแนกเป็นเมฆย่อยหลัก ๆ ได้สองชนิด ได้แก่ เซอร์โรสเตรตัส เนบูโลซัส (cirrostratus nebulosus) และเซอร์โรสเตรตัส ไฟเบรตัส (cirrostratus fibratus) เนบูโลซัสเป็นชนิดที่เกิดจากการยกตัวของอากาศอ่อน ๆ ตรวจพบได้ยากและก่อให้เกิดปรากฏการณ์เฮโล[7] ในขณะที่ไฟเบรตัสเกิดจากลมที่พัดแรงอย่างต่อเนื่อง มีความหนากว่าเนบูโลซัสและก่อให้เกิดปรากฏการณ์ซันด็อก[8]

อ้างอิง แก้

  1. "CIRROSTRATUS - Pronunciation in English". Cambridge Dictionary. สืบค้นเมื่อ December 27, 2023.
  2. "Appendix 1 - Etymology of latin names of clouds". International Cloud Atlas. สืบค้นเมื่อ September 9, 2019.
  3. Mason, Basil John (1975). Clouds, Rain and Rainmaking. Cambridge, United Kingdom: Cambridge University Press. p. 2. ISBN 978-0-5211-5740-7.
  4. "Cirrostratus clouds". Met Office. สืบค้นเมื่อ September 9, 2019.
  5. Ludlum, D. (1991). New York: Alfred A. Knopf. ISBN 0-679-40851-7.
  6. Vekteris, Donna (2004). Scholastic Atlas of Weather. Scholastic Inc. p. 14. ISBN 0-439-41902-6.
  7. Rodgers, Alan; Streluk, Angella (2007). Cloud cover (Rev. and updated. ed.). Chicago, Ill.: Heinemann Library. p. 25. ISBN 978-1-4329-0077-9.
  8. Pretor-Pinney, Gavin (2006). The Cloudspotter's Guide: The Science, History, and Culture of Clouds. London, United Kingdom: Penguin Books. p. 212. ISBN 978-0-3995-3256-6.