เซลล์พยุง[1] (อังกฤษ: sustentacular cell) เป็นเซลล์ชนิดหนึ่งที่โดยหลักทำหน้าที่พยุงโครงสร้าง เช่น Sertoli cell ในอัณฑะ ซึ่งอยู่ตามผนังของหลอดสร้างอสุจิ (seminiferous tubule) ที่ช่วยส่งสารอาหารให้ตัวอสุจิด้วย อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือเซลล์พยุงที่อยู่ในเยื่อบุผิวรับกลิ่น แม้อวัยวะของคอร์ติในหูชั้นในและตุ่มรับรสก็มีเซลล์พยุงด้วย เซลล์พยุงอีกประเภทหนึ่งพบในเซลล์โกลมัสของ carotid body และ aortic body

ภาพไมโครกราฟที่เน้นสีเซลล์พยุงในพาราแกงกริโอมา (paraganglioma) แต้มสีด้วยเทคนิค S100 immunostain

พยาธิสภาพก็สามารถมีเซลล์พยุงได้เหมือนกัน เช่น เนื้องอกคาร์ซินอยด์ประมาณ 40% จะมีเซลล์พยุงกระจายไปทั่ว ซึ่งสามารถป้ายสีด้วยเทคนิค S100 immunostain

เซลล์พยุงที่เยื่อบุผิวรับกลิ่น แก้

เซลล์ค้ำจุนประเภทหนึ่งที่เยื่อบุผิวรับกลิ่นก็คือ เซลล์พยุง เป็นเซลล์ที่ช่วยพยุงโครงสร้างของเยื่อโดยอยู่รอบ ๆ เซลล์ประสาทรับกลิ่น และอาจช่วยกำจัดโมเลกุลกลิ่นและโมเลกุลอื่น ๆ จากเยื่อด้วย[2] โดยใช้เอนไซม์ P450 และอื่น ๆ[3]

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. "sustentacular", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (แพทยศาสตร์) -พยุง
  2. Greer, CA; Whitman, MC; Rela, L; Imamura, F; Gil, D Rodriguez (2008). 4.36 Architecture of the Olfactory Bulb. The Senses: A Comprehensive Reference. Vol. 4: Olfaction & Taste. Elsevier. Glossary, sustentacular cells, p. 624. Nonsensory supporting cells that surround the olfactory sensory neurons in the olfactory epithelium. The sustentacular cells may contribute to the removal of odorants or other molecules from the nasal cavity. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  3. Purves et al 2008a, Olfactory Epithelium and Olfactory Receptor Neurons, pp. 369-372

อ้างอิงอื่นๆ แก้

Neuroscience (2008)
  • "15 - The Chemical Senses". Neuroscience (4th ed.). Sinauer Associates. 2008a. pp. 363–393. ISBN 978-0-87893-697-7. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)