เชลดอน คูเปอร์

ตัวละครในซิตคอมเรื่องเดอะบิกแบงเธียรีและยังเชลดอน

เชลดอน ลี คูเปอร์ (อังกฤษ: Sheldon Lee Cooper)[3] ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต และวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต[4] เป็นตัวละครสมมุติในละครโทรทัศน์ เดอะบิกแบงเธียรี และภาคแยก ยังเชลดอน ออกอากาศทางช่องซีบีเอส รับบทโดยนักแสดง จิม พาร์สันส์ ใน เดอะบิกแบงเธียรี และเอียน อาร์มิเทจ ใน ยังเชลดอน บทบาทนี้ทำให้พาร์สันได้รับรางวัลไพรม์ไทม์เอ็มมีอะวอดส์ รางวัลลูกโลกทองคำ รางวัลทีซีเออะวอร์ด และรางวัลคริติกส์ชอยส์เทเลวิชันอะวอดส์ 2 รางวัล ตัวละครวัยเด็กเป็นจุดสำคัญในเรื่องยังเชลดอน ฤดูกาลแรกดำเนินเนื้อเรื่องในปี ค.ศ. 1989 เชลดอน เด็กมหัศจรรย์อายุเก้าขวบ เรียนหนังสือข้ามห้าระดับชั้น เริ่มเรียนระดับไฮสกูลร่วมกับพี่ชาย

เชลดอน ลี คูเปอร์
ตัวละครใน เดอะบิกแบงเธียรี
ไฟล์:Sheldon Cooper.jpg
จิม พาร์สันส์ รับบท เชลดอน คูเปอร์ กำลังใช้งานอุปกรณ์ประกอบฉากไทม์แมชีนจากภาพยนตร์ เดอะไทม์แมชีน (1960) ในซีซันที่ 1 ตอนที่ 14 "The Nerdvana Annihilation"
ปรากฏครั้งแรก"Pilot"
สร้างโดยชัก ลอร์
บิล พราดี
แสดงโดยจิม พาร์สันส์ (ใน เดอะบิกแบงเธียรี, บรรยายเสียงใน ยังเชลดอน)
เอียน อาร์มิเทจ (ใน ยังเชลดอน)[1]
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง
ตำแหน่งดร.
อาชีพนักฟิสิกส์ทฤษฎี
ครอบครัวแมรี คูเปอร์(มารดา)
จอร์จ คูเปอร์ ซีเนียร์(บิดา)
มิสซี คูเปอร์(พี่สาวฝาแฝด)
จอร์จ "จอร์จี" คูเปอร์ จูเนียร์ (พี่ชาย)
ลูกสาวที่ไม่มีชื่อของมิสซี(หลานสาว)
คอนสแตนซ์ "มีมอว์" ทักเกอร์[2](ยาย)
"พ็อปพ็อป"(ตา)
คู่สมรสเอมี ฟาร์ราห์ ฟาวเลอร์ (คนรัก)
สัญชาติอเมริกัน

เชลดอนวัยผู้ใหญ่เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย ในช่วงสิบฤดูกาลแรก เขาอาศัยอยู่ในห้องชุดร่วมกับเพื่อนสนิทและเพื่อนร่วมงาน เลนเนิร์ด ฮอฟสแตดเตอร์ (จอห์นนี กาเล็กกี) เขายังเป็นเพื่อนและเพื่อนร่วมงานกับฮาวเวิร์ด โวโลวิตซ์ (ไซมอน เฮลเบิร์ก) และราจ คูธราปพาลี (คุนาล ไนเยอร์) ในฤดูกาลที่ 10 เชลดอนย้ายไปอยู่กับเอมี (เมยิม เบียลิก) ที่ห้องชุดเก่าของเพนนี (เคลีย์ โควโค)[5] ภรรยาของเลนเนิร์ด เชลดอนมีไอคิวสูงระดับอัจฉริยะ แต่ขาดทักษะพื้นฐานทางสังคม ขาดความเข้าใจในเรื่องขบขัน ถ้อยคำแดกดัน และการเหน็บแนมจากผู้อื่น แต่มีบ่อยครั้งที่เขาเองกระทำเช่นนั้นเสียเอง เขาแสดงพฤติกรรมพิลึกพิลั่นและขาดความนอบน้อม ความเห็นอกเห็นใจและความอดทน ลักษณะเหล่านี้ทำให้เกิดเรื่องขบขันเกี่ยวกับตนเองมากมาย ทำให้กลายเป็นตัวละครที่โดดเด่น[6][7][8][9] ผู้ชมส่วนหนึ่งยืนยันว่าบุคลิกภาพของเชลดอนสอดคล้องกับผู้ที่เป็นกลุ่มอาการแอสเปอร์เจอร์ โรคย้ำคิดย้ำทำ[8][10] บิล พราดี ผู้ร่วมสร้างตัวละครเคยกล่าวว่าตัวละครเชลดอนไม่ได้ถูกสร้างหรือพัฒนาให้มีลักษณะใด ๆ ดังที่กล่าวมา[10] แต่พาร์สันส์เคยให้ความเห็นว่า เชลดอน "ไม่อาจแสดงลักษณะอาการของกลุ่มอาการแอสเพอร์เจอร์ได้มากกว่านี้แล้ว"

อ้างอิง แก้

  1. "Get Ready To Meet Young Sheldon, A Hilarious New Spinoff Of The Big Bang Theory - CBS.com".
  2. episode "The Meemaw Materialization"
  3. "The Jerusalem Duality". The Big Bang Theory. ฤดูกาล 1. ตอน 12. April 14, 2008. CBS.
  4. "The Love Car Displacement". The Big Bang Theory. ฤดูกาล 4. ตอน 13. January 20, 2011. 16:39 นาที. CBS.
  5. "The Veracity Elasticity". The Big Bang Theory. ฤดูกาล 10. ตอน 7. October 17, 2016. CBS.
  6. "The Big Bang Theory: Season 1 Review". IGN. May 27, 2007. สืบค้นเมื่อ January 13, 2010.
  7. "Oak Park native finally gets the girl in 'Big Bang'". Chicago Tribune. January 11, 2010. สืบค้นเมื่อ January 13, 2010.
  8. 8.0 8.1 "The Griffin Equivalency". The A.V. Club. October 13, 2008. สืบค้นเมื่อ October 6, 2011.
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ EW2
  10. 10.0 10.1 Waldman, Allison (August 14, 2009). "Come up with a new theory: Sheldon does NOT have Asperger's". aoltv.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 23, 2012. สืบค้นเมื่อ February 5, 2016.