เฉิน เฉิง (จีนตัวเต็ม: 陳誠; จีนตัวย่อ: 陈诚; พินอิน: Chén Chéng; 4 มกราคม ค.ศ. 1897 – 5 มีนาคม ค.ศ. 1965) เป็นนักการเมืองและการทหารของสาธารณรัฐจีน และเป็นหนึ่งในผู้บัญชาการกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีนโดยเป็นผู้บัญชาการในระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง และ สงครามกลางเมืองจีน หลังจากที่ย้ายไปไต้หวันที่ส่วนท้ายของสงครามกลางเมืองที่เขาทำหน้าที่เป็น ผู้ว่าราชการจังหวัดไต้หวัน , รองประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน และ นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐจีน เขายังเป็นตัวแทนของสาธารณรัฐจีน ในการเยี่ยมเยือนสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้เขายังช่วยในการริเริ่มการปฏิรูปที่ดินและโครงการลดภาษีที่ทำให้ลัทธิคอมมิวนิสต์กลายเป็นสิ่งที่ไม่น่าสนใจในไต้หวันซึ่งชาวนาสามารถครอบครองที่ดินได้ นามแฝงของเขาคือ เฉิน ฉือซิว (陳辭修; Chén Cíxiū).

เฉิน เฉิง
เฉิน เฉิง ขณะดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีที่ไต้หวัน
รองประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีน
ดำรงตำแหน่ง
20 พฤษภาคม 1954 – 5 มีนาคม 1965
ประธานาธิบดีเจียง ไคเชก
ก่อนหน้าหลี่ จงเหริน
ถัดไปหยาน เจียก้าน
นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐจีน
ดำรงตำแหน่ง
7 มีนาคม 1950 – 7 มิถุนายน 1954
ประธานาธิบดีเจียง ไคเชก
รองจาง ลี่เชิง
หฺวัง เฉากู่
ก่อนหน้าหยาน ซีชาน
ถัดไปยฺหวี หง-จฺวิน
ดำรงตำแหน่ง
30 มิถุนายน 1958 – 15 ธันวาม 1963
ประธานาธิบดีเจียง ไคเชก
รองหฺวัง เฉากู่
หวัง ยฺหวินอู่
ก่อนหน้ายฺหวี หง-จฺวิน
ถัดไปหยาน เจียก้าน
ประธานคนที่ 2 ของรัฐบาลท้องถิ่นไต้หวันประจำภูมิภาค
ดำรงตำแหน่ง
5 มกราคม 1949 – 21 ธันวาคม 1949
ประธานาธิบดีเจียง ไคเชก
หลี่ จงเหริน (รักษาการ)
ก่อนหน้าเว่ย์ เต้าหมิง
ถัดไปอู๋ กั๋วเจิน
หัวหน้าเจ้าหน้าที่คนที่ 1 แห่งกองทัพสาธารณรัฐจีน
ดำรงตำแหน่ง
23 มีนาคม 1946 – 12 พฤษภาคม 1948
ประธานาธิบดีเจียง ไคเชก
ก่อนหน้าตำแหน่งเพิ่งสถาปนา
ถัดไปกู้ จู้ท่ง
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดคนที่ 1 แห่งกองทัพเรือสาธารณรัฐจีน
ดำรงตำแหน่ง
1 กรกฎาคม 1946 – 25 สิงหาคม 1948
ประธานาธิบดีเจียง ไคเชก
ก่อนหน้าตำแหน่งเพิ่งสถาปนา
ถัดไปกุ้ย หย่งชิง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดมกราคม 4, 1897
ชิงเทียน, มณฑลเจ้อเจียง, ราชวงศ์ชิง
เสียชีวิต5 มีนาคม ค.ศ. 1965(1965-03-05) (68 ปี)
กรุงไทเป, สาธารณรัฐจีน สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
เชื้อชาติสาธารณรัฐจีน
พรรคการเมือง พรรคก๊กมินตั๋ง
คู่สมรสTan Xiang
บุตรChen Li-an
ญาติTan Yankai (father-in-law)
อาชีพนักการเมือง, นักการทหาร
รางวัลสาธารณรัฐจีน เครื่องอิสริยาภรณ์ตะวันสาดส่อง ท้องฟ้าสีคราม
นาซีเยอรมนี เครื่องอิสริยาภรณ์อินทรีเยอรมัน
ชื่อเล่นจอมทัพน้อย
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949)
สังกัดสาธารณรัฐจีน กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน
สาธารณรัฐจีน กองทัพสาธารณรัฐจีน
ประจำการ1924–1950
ยศนายพล
หน่วย11th division
บังคับบัญชากองทัพบกที่ 18 (กองทัพปฏิวัติแห่งชาติ)
หมวด 11 (กองทัพปฏิวัติแห่งชาติ)
ผ่านศึก

ประวัติ แก้

ชีวิตในช่วงแรก แก้

 
เฉิน เฉิง ปี ค.ศ. 1920

เฉิน เฉิง เกิดในเมืองชิงเทียน, มณฑลเจ้อเจียง เขาสำเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนทหารเป่าติ้ง ในปี 1922 และเข้ามาศึกษาที่โรงเรียนการทหารหวงผู่ สองปีต่อมา ที่นี่เป็นที่ซึ่งเขาพบ เจียง ไคเชก เป็นครั้งแรกซึ่งในขณะนั้นเจียงก็ได้เป็นผู้อำนวยการของสถาบัน ต่อมาเฉินได้เข้าร่วมเป็นทหารของกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน และมีส่วนเข้าร่วมรบในการกรีฑาทัพขึ้นเหนือ

บทบาทในกองทัพ แก้

 
เฉิน เฉิง ยืนตรงกลางระหว่าง ไป้ ช่งฉี่(ซ้าย) หลี่ จงเหริน(ขวา)ขณะตรวจราชการที่เมืองหนานหนิง วันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1936

ในระหว่างการกรีฑาทัพขึ้นภาคเหนือ เฉินแสดงความสามารถในการเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยมของเขา ภายในหนึ่งปีแห่งการพิชิตเขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งจากผู้บังคับบัญชาไปยังหน่วยงานต่างๆ

ต่อมาหลังจากการเดินทางเฉินก็เริ่มทำงานในสงครามต่อต้านขุนศึก ความสำเร็จของเขาในการต่อสู้เหล่านี้ทำให้เขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งอีกครั้ง ในคราวนี้เขาได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการของกองทัพบกที่ 18 (กองทัพปฏิวัติแห่งชาติ)

เฉิน เฉิงได้ร่วมรบกับเจียง ไคเชกกรีฑาทัพขึ้นเหนือสำเร็จ โค่นล้มรัฐบาลเป่ยหยาง เป็นผลให้เหล่าขุนศึกถูกปราบ แผ่นดินรวมเป็นหนึ่ง มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ภายใต้รัฐบาลชาตินิยม หรือ "รัฐบาลจีนคณะชาติ" ของพรรคก๊กมินตั๋งที่กรุงหนานจิง ในระหว่างที่ทำพิธีจัดตั้งรัฐบาลเฉิน เฉิงได้ร่วมเป็นหนึ่งในพิธีที่กรุงหนานจิงด้วย

การงานที่รัฐบาลคณะชาติหนานจิง แก้

เมื่อได้มีการตั้งรัฐบาลจีนคณะชาติที่กรุงหนานจิงแล้ว รัฐบาลจีนขณะนั้นได้รับความช่วยเหลือทางทหารจากรัฐบาลนาซีเยอรมัน เฉิน เฉิงได้รับมอบหมายให้เป็นผู้คุมและผู้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่เยอรมัน ในการฝึกกองทัพที่เขาบัญชาการอยู่ นอกจากนี้เฉิน เฉิงยังได้เดินทางบินไปศึกษาดูงานที่เยอรมนีหลายครั้ง จนได้รับแต่งตั้งเป็นหนึ่งในคณะทูตทหารจีนประจำเยอรมันและได้รับมอบเครื่องอิสริยาภรณ์อินทรีเยอรมัน

การต่อต้านคอมมิวนิสต์ แก้

สงครามกลางเมืองจีนครั้งแรก แก้

เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1931 เฉินได้รับมอบหมายให้ปราบปรามพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งมีกองทัพเป็นของตนเองคือกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนหรือ "กองทัพแดง" ภารกิจของเฉินในการรบต่าง ๆ เพื่อค้นหากำลังหลักของกองทัพแดง หน่วยของเฉินประสบกับการบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ในการรณรงค์ต่อต้านคอมมิวนิสต์ครั้งที่ห้าในที่สุดเขาก็สามารถเอาชนะพวกคอมมิวนิสต์ได้และบีบให้กองทัพแดงเปิดฉากการเดินทัพทางไกล

การรณรงค์ต่อต้านกองทัพแดงสิ้นสุดลงหลังจาก อุบัติการณ์ซีอาน ซึ่งเจียงไคเชกและเจ้าหน้าที่ของเขาถูกบังคับให้ตกลงร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ เป็นการสิ้นสุดสงครามกลางเมืองจีนชั่วคราว พรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์จีนร่วมมือกันเพื่อต่อต้านการรุกรานประเทศจีนของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น

สงครามต่อต้านญี่ปุ่น แก้

สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง แก้

 
เฉิน เฉิงในช่วงระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
 
เฉิน เฉิง (ขวาด้านหลัง) ขณะตรวจพลทหารพร้อมจอมทัพเจียง ไคเชก (ด้านหน้า)

ในระหว่างยุทธการเซี่ยงไฮ้ เขาเป็นหนึ่งในผู้ช่วยทหารชั้นนำของเจียงไคเชก เฉินมีแนวความคิดที่จะแสวงหาการกระทำที่เด็ดขาดในภาคใต้แทนที่จะเผชิญหน้ากับญี่ปุ่นในภาคเหนือของจีน ซึ่งกองกำลังชาตินิยมอยู่ในสภาพที่ไม่ดีและขาดพาหนะขนส่ง หลังจากการล่มสลายของเมืองเซี่ยงไฮ้และเมืองหลวงหนานจิง ทำให้รัฐบาลจีนคณะชาติย้ายเมืองหลวงหนีไปเมืองอู่ฮั่น เฉินได้ย้ายไปตั้งหลักที่เมืองหูเป่ย เพื่อวางแผนบัญชาการรบป้องกันเมืองอู่ฮั่นในยุทธการอู่ฮั่น ในช่วงปี ค.ศ. 1938 อู่ฮั่นเป็นฐานทัพบัญชาการใหญ่ชั่วคราวของกองทัพจีน อย่างไรก็ตามกองทัพญี่ปุ่นสามารถเอาชนะกองทัพจีนได้แม้ว่าจะประสบกับความสูญเสียหนักและอู่ฮั่นถูกญี่ปุ่นเข้ายึด เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1938

ในปีต่อๆมาของสงคราม เฉิน เฉิงได้รับมอบหมายในการวางแผนป้องการเมืองฉางชาในยุทธการฉางชาและได้รับชัยชนะอย่างงดงามเป็นครั้งแรกต่อกองทัพญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1943 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการกองกำลังรบนอกประเทศของจีนในการรบที่พม่า

เนื่องจากเฉินได้มีอาการเจ็บป่วยบ่อยๆ การบัญชาการของเขาได้ถูกแทนที่โดย เหว่ย หลี่หวง ซึ่งได้รับตำแหน่งให้ทำการแทน

สงครามกลางเมืองจีน แก้

 
เฉิน เฉิงในนิตยสารกองทัพสาธารณรัฐ

หลังจากสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองสิ้นสุดลง เฉินกลายเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่กองทัพสาธารณรัฐและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพเรือ เขาทำตามคำสั่งของจอมทัพเจียง ไคเชกในการปราบปรามพรรคคอมมิวนิสต์จีนให้สิ้นซากและเริ่มโจมตีพื้นที่ "ปลดปล่อย" ของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน การโจมตีของเขาครั้งนี้เป็นการเปิดฉากสงครามกลางเมืองจีนอีกครั้ง

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1947 เจียง ไคเชกได้แต่งตั้งเฉินเป็นผู้อำนวยการสำนักงานฐานทัพใหญ่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณแถบแมนจูเรีย โดยให้เป็นผู้บังคับบัญชากองกำลังจีนคณะชาติในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ดังกล่าว เฉิน เฉิงทำผิดพลาดครั้งสำคัญในการตัดสินใจยุบกองกำลังรักษาความปลอดภัยในท้องถิ่นเพราะพวกเขาเคยร่วมมือและรับใช้ในกองทัพแมนจูกัวของญี่ปุ่น เพียงเพราะเห็นว่าเป็นมรดกของผู้รุกรานชาวญี่ปุ่น อันเป็นผลให้ความแข็งแกร่งของกองทัพคณะชาติในแมนจูเรียลดลงจาก 1.3 ล้านเหลือน้อยกว่า 480,000 นาย นอกจากนี้เขายังสั่งปลดผู้บัญชาการทหารที่มีความสามารถมากที่สุดเช่น ตู้ หยูหมิง, ซุนลี่เจน, เจิ้งตงกวนและเฉินหมิงเหริน เป็นผลให้เขาประสบความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ต่อพรรคคอมมิวนิสต์และทำให้เจียงไคเชกถึงกับตำหนิเฉินอย่างรุนแรงที่หนานจิงและส่งเหว่ย หลี่หวงไปแทนที่เขาอีกครั้งในการรบต่อต้านคอมมิวนิสต์ที่เฉิ่นหยางในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุดแทนเขา[1] แต่กองทัพของเหว่ย หลี่หวงก็ไม่สามารถป้องกันกองทัพคอมมิวนิสต์ได้จึงประสบกับความพ่ายแพ้ เมื่อ ปี ค.ศ. 1949 รัฐบาลคณะชาติของพรรคก๊กมินตั๋งได้พ่ายแพ้สงครามกลางเมืองจีนให้กับพรรคคอมมิวนิสต์จีนและหนีไปตั้งรัฐบาลผลัดถิ่นที่เกาะไต้หวัน เฉิน เฉิงได้หลบหนีไปไต้หวันอย่างปลอดภัยและเพื่อรักษาโรคกระเพาะอาหารเรื้อรังของเขา

ที่ไต้หวัน แก้

 
เฉินเฉิงผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีของเจียงไคเชกจัดงานแถลงข่าวปี ค.ศ. 1954

เจียงไคเชกได้แต่งตั้งเฉินเป็นผู้ว่าการมณฑลไต้หวันในปี ค.ศ. 1949 เพื่อวางแผนการพัฒนาของไต้หวันให้เป็นหนึ่งในฐานที่มั่นของก๊กมินตั๋ง หลังจากที่กองกำลังคณะชาติถอยกลับมายังไต้หวันเฉินก็วางมือจากกองทัพและหันมาดำรงตำแหน่งพลเรือนที่สำคัญเช่น ตำแหน่งรองผู้บริหารพรรคก๊กมินตั๋ง, รองประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐจีน

ในช่วงเวลาหลายปีที่เขาอยู่ที่ไต้หวันเขาได้แนะนำการปฏิรูปที่ดินและเศรษฐกิจต่างๆและดำเนินการบูรณะไต้หวัน ความคิดริเริ่มของนโยบาย "การลดค่าเช่า 375" ของเฉินนั้นมีจุดประสงค์ด้วยการหยุดการแพร่กระจายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในไต้หวัน นโยบายดังกล่าวทำให้เกษตรกรผู้เช่าต้องจ่ายเงินให้แก่เจ้าของที่ดินที่ 37.5% ของการเก็บเกี่ยว ก่อนที่จะมีคำสั่งเจ้าของที่ดินมักจะหาเงินมากกว่าครึ่งหนึ่งของค่าตอบแทน[2] เขาสร้างผลงานที่โดดเด่นให้ประชาชนชื่นชมกับการเปิดตัวโครงการก่อสร้างหลายแห่ง หนึ่งในนั้นคือ เขื่อนสือเหมิน ในมณฑลเถาหยวน ซึ่งช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมในขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มจำนวนผลผลิตข้าว

ด้านการต่างประเทศ แก้

เสียชีวิต แก้

เฉิน เฉิง เสียชีวิตใน ค.ศ. 1956 เพราะเนื้องอกในตับ ต่อมาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1995 มีการย้ายอัฐิของเขาไปไว้ที่ฝัวกวางชานในเทศมณฑลเกาสฺยง

อ้างอิง แก้

  1. Taylor, Jay (2009). The Generalissimo: Chiang Kai-shek and the Struggle for Modern China. Harvard University Press. p. 381.
  2. Han Cheung (1 January 2017). "Taiwan in Time:The unwilling politician". Taipei Times. สืบค้นเมื่อ 1 January 2017.