เฉลิมวุฒิ สง่าพล

เฉลิมวุฒิ สง่าพล เกิดวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ชื่อเล่น หนุ่ย เป็นอดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย และผู้ฝึกสอนฟุตบอลชาวไทย

เฉลิมวุฒิ สง่าพล
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม เฉลิมวุฒิ สง่าพล
เกิด 2 ตุลาคม พ.ศ. 2501 (65 ปี)
เกิดที่ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ตำแหน่ง กองกลาง
ชุดเยาวชน
1972-1975 โรงเรียนปทุมคงคา
ชุดใหญ่*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1976-1996 ธนาคารกรุงเทพ 416 (102)
1997 ทีทีเอ็มเชียงใหม่ 4 (0)
ทีมชาติ
1979-1990 ไทย 176 (18)
ผู้จัดการทีม
1999–2000 ธนาคารกรุงเทพ
2008–2010 ราชบุรี มิตรผล (โค้ชเยาวชน)
2010 ไทย อายุไม่เกิน 20 ปี
2011-2013 พัทยา ยูไนเต็ด
2013-2014 โอสถสภา เอ็ม–150 สระบุรี
2014-2016 ศรีสะเกษ
2016 ไทย อายุไม่เกิน 20 ปี
2016-2017 ซุปเปอร์พาวเวอร์ สมุทรปราการ
2017 ศรีสะเกษ
2017 อุดรธานี
2018 สุโขทัย
2019 อยุธยา ยูไนเต็ด
2019 นครราชสีมา มาสด้า
2020-2021 ราชนาวี
2021-2022 ราชนาวี
2022 อุดรธานี
  • จำนวนนัดที่ลงเล่นให้ชุดใหญ่และจำนวนประตูนับเฉพาะลีกท้องถิ่นเท่านั้น.
† ลงเล่น (ประตู)

เฉลิมวุฒิเกิดที่กรุงเทพมหานคร เคยรับใช้ให้ทีมชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 จนถึง พ.ศ. 2528 โดยเล่นในตำแหน่ง กองกลาง ซึ่ง เอกชัย นพจินดา นักบรรยายฟุตบอลชื่อดังในสมัยนั้นได้เปรียบเทียบเขาเหมือนกับ เกล็น ฮอทเดิล อดีตนักฟุตบอลของ สโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์ ที่มีฝีเท้าในการเล่นบอลได้อย่างรวดเร็ว จนได้ฉายาว่า มิดฟิลด์เท้าชั่งทอง และเขายังยึดตำแหน่ง กองกลาง ที่ดีที่สุดของ ฟุตบอลทีมชาติไทย ในยุคทศวรรษที่ 80 โดยเขาทำประตูในนามทีมชาติไปทั้งหมด 18 ประตู

สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) ได้พิจารณาคัดเลือกและประกาศให้ผู้เล่นกองกลางและกองหน้าของทีมไทย ซึ่งมี เฉลิมวุฒิ และพิชัย คงศรี เป็น "ดาราเอเชีย" ก่อนออกเดินทางเพื่อไปร่วมทีมออลสตาร์ลงสนามแข่งขันนัดพิเศษ ที่ ประเทศกาตาร์ เมื่อ พ.ศ. 2529 หลังจากเลิกเล่นฟุตบอลอาชีพ เฉลิมวุฒิได้ผันตัวมาเป็นผู้ฝึกสอนทีมฟุตบอล

ประวัติ แก้

เฉลิมวุฒิ เกิดที่ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2501 เรียนจบในระดับชั้นประถมศึกษาที่ โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ (บางเขน) และระดับมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนปทุมคงคา ก่อนได้รับวุฒิ คบ. วิทยาลัยครูพระนคร, ปกศ.ต้น วิทยาลัยครูจันทร์เกษม และภาคบัณฑิตของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ช่วงชีวิตกับอาชีพนักฟุตบอล แก้

โรงเรียนปทุมคงคา แก้

เฉลิมวุฒิ เริ่มต้นการเล่นฟุตบอลในขณะอายุเพียง 10 ขวบ เนื่องจากพี่ชาย ชวลิต สง่าพล เป็นนักฟุตบอลตำแหน่งกองหลังของทีมชาติไทย ช่วยฝึกสอนการเล่นฟุตบอลพื้นฐานให้เฉลิมวุฒิ จนประมาณ พ.ศ. 2515 เมื่อได้เข้าเรียนต่อ โรงเรียนปทุมคงคา จากย่านเอกมัย เฉลิมวุฒิ ติดทีมสถาบันรุ่นเดียวกับ ณรงค์ อาจารย์ยุตต์ และ มาด๊าด ทองท้วม (ภายหลังติดทีมชาติยุคเดียวกัน) ลงแข่งขันฟุตบอลกรมพลศึกษาชนะเลิศตั้งแต่รุ่นเล็ก, รุ่นกลาง และรุ่นใหญ่

ธนาคารกรุงเทพ แก้

ใน พ.ศ. 2519 เฉลิมวุฒิ เข้าสังกัด สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ และร่วมทีมคว้า ถ้วย พระราชทาน ค ความสำเร็จรายการแรกของตนเอง ก่อนจะร่วมกับพลพรรค อาทิ ศิริศักดิ์ แย้มแสง, ทวีวัฒน์ อัครเสลา,ชลิต สัตตบรรณ,พิชัย คงศรี ครองถ้วยชนะเลิศรายการสำคัญอีก 7 รายการ คือ ถ้วย ก รวม 4 สมัย (ในปี พ.ศ. 2527,พ.ศ. 2528,พ.ศ. 2529 และ พ.ศ. 2537), ควีนส์คัพ (พ.ศ. 2525), ไทยเอฟเอคัพ (พ.ศ. 2528), อาเซียน คัพ รวม 2 สมัย (พ.ศ. 2528, พ.ศ. 2529), อากาข่าน คัพ ที่ บังคลาเทศ (พ.ศ. 2526), โตโยต้า คัพ (พ.ศ. 2530) และซูเปอร์แชมป์ (พ.ศ. 2531) ซึ่งนำทีมชนะเลิศรายการต่าง ๆ โดยเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของเฉลิมวุฒิเลยก็ว่าได้

ในนามทีมชาติไทย แก้

 
เฉลิมวุฒิ กำลังลงเล่นให้กับ ฟุตบอลทีมชาติไทย

เมื่อปี พ.ศ. 2520 เฉลิมวุฒิ ได้สวมเสื้อติดธงผืนแรกกับเยาวชนทีมชาติไทยชุดชนะเลิศแห่งอาเซี่ยน และสามารถพัฒนาฝีเท้าก้าวขึ้นสู่ทำเนียบทีมชาติชุดใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2522 เพื่อเดินทางไปแข่งขันฟุตบอล ปัค จุง ฮี คัพ (เพรสซิเด้นท์คัพ) ที่ ประเทศเกาหลีใต้ รายการเดียวกันปีต่อมา วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2523 ทีมชาติไทย ชนะ ทีมมาเลเซีย 4-1 โดยเขาได้ทำประตูแรกในนามทีมชาติสำเร็จ และต่อมาในระหว่าง พ.ศ. 2528 และ พ.ศ. 2529 เฉลิมวุฒิ คือ กองกลาง ที่ฟอร์มการเล่นดีที่สุดใน ทีมชาติไทย จึงยึด ครองตำแหน่งกองกลางทีมชาติอย่างถาวร เพราะสไตล์การเล่นแบบใช้สมองและเปิดลูกที่แม่นยำ จนได้รับการขนานนามจากคอลูกหนังชาวไทยทั่วไปว่า มิดฟิลด์เท้าชั่งทอง ซึ่งเขาได้ร่วมรับใช้ทีมชาติกับ ปิยะพงศ์ ผิวอ่อน เพื่อนร่วมทีมชาติ โดยต่อมาในการแข่งขันฟุตบอลซีเกมส์ ครั้งที่ 13 รอบชิงชนะเลิศ ที่ สนามศุภชลาศัย วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2528 ทีมชาติไทย ชนะ ทีมชาติสิงคโปร์ไป 2-0 นั้น ผู้ทำทั้ง 2 ประตูของเกม คือ เฉลิมพล โดยเขากล่าวหลังจบเกมส์การแข่งขันว่า โค้ชชาวเยอรมัน มร.โบการ์ด ซีเซ่ รู้ดีว่าทีมสิงคโปร์คงจะต้องวางแผนประกบ ปิยะพงษ์ ผิว อ่อน อย่างแน่นอน จึงมอบหน้าที่ให้ผมคอยหาจังหวะยิงประตูแทนและด้วยความช่วยเหลือของเพื่อน ๆ ผมทำได้สำเร็จนอกจากความภูมิใจ ที่สามารถช่วยให้ทีมไทยคว้าเหรียญทองในบ้านของเราเองแล้ว ยังทำให้เหรียญทองรวมของทีมนักกีฬาไทย ขึ้นเป็น ๙๓ เหรียญทอง ลบสถิติเก่าของอินโดนีเซียที่เคยทำเอาไว้อีกด้วย และ ในช่วงปลายชีวิตค้าแข้ง เฉลิมวุฒิในวัย 31 ปี ยังคงได้รับความไว้วางใจจาก มร.คาร์ลอส อัลเบอร์โต้ คาวัลโย โค้ชชาวบราซิลให้ติดทีมชาติลงเล่นฟุตบอลสี่เส้าอินโดจีน กรุงเทพ ฯ และสามารถนำทัพทีมไทยคว้าแชมป์มาครองสำเร็จ เมื่อเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2532 และ ก่อนจะลงเล่นฟุตบอลชิงแชมป์มหาวิทยาลัย ให้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เฉลิมวุฒิ ประสบอาการบาดเจ็บบริเวณหัวเข่า และเพื่อเปิดโอกาสให้นักเตะคนใหม่ให้ทดสอบตัวเองจึงทำให้ต้องขอถอนตัวจากทีมชาติชุดคิงส์คัพ ครั้งที่ ๒๑ ในปี พ.ศ. 2533 และ เมื่อไม่ถึง 1 เดือน เฉลิมวุฒิ ได้ประกาศแขวนสตั๊ดกับ ฟุตบอลทีมชาติไทย โดยเขาได้ลงรับใช้ให้ทีมชาติ 176 นัด ทำประตูได้ 18 ประตู

ผู้จัดการทีม แก้

สุโขทัย แก้

ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เฉลิมวุฒิได้เซ็นสัญญาเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนของสุโขทัยที่กำลังดิ้นรนในการหนีตกชั้นจากไทยลีก[1] ต่อมาในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เฉลิมวุฒิประเดิมคุมทีมในลีกนัดแรก ในนัดที่สุโขทัยบุกไปเสมอการท่าเรือที่แพตสเตเดียม 2–2[2] ต่อมาในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เฉลิมวุฒิคุมทีมชนะในลีกนัดแรก ในนัดที่สุโขทัยเปิดบ้านเอาชนะพีที ประจวบ ไปได้ 2–0[3]

ในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2561 การแข่งขันไทยลีกนัดปิดฤดูกาล เฉลิมวุฒิคุมทีมสุโขทัยเปิดบ้านเอาชนะแอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด ไปได้ 3–2 ทำให้สุโขทัยอยู่รอดในไทยลีกได้สำเร็จ[4] อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เฉลิมวุฒิได้แยกทางกับสโมสร[5] โดยมีลูโบเมียร์ ริสตอฟสกี เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอนแทน[6]

อยุธยา ยูไนเต็ด แก้

ในฤดูกาล 2562 เฉลิมวุฒิเข้ารับหน้าที่ผู้จัดการสโมสรอยุธยา ยูไนเต็ด[7]

นครราชสีมา แก้

ในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เฉลิมวุฒิได้เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอนของนครราชสีมา แทนที่ มีลอช ยอกซิช ที่ได้ลาออกไป[8][9] ต่อมาในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2562 เฉลิมวุฒิได้ประเดิมคุมทีมนัดแรก ในนัดที่นครราชสีมาออกไปเยือน การท่าเรือ ที่แพตสเตเดียม แต่ในวันนั้นมีฝนตกหนักมากจนสนามไม่เอื้ออำนวยต่อการเล่น ทำให้ต้องเลื่อนการแข่งขันออกไป ต่อมาในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2562 เฉลิมวุฒิคุมทีมชนะนัดแรก ในนัดที่นครราชสีมาเปิดบ้านแซงเอาชนะ สมุทรปราการ ซิตี้ 4–1[10]

อ้างอิง แก้

  1. "สุโขทัยประกาศตั้ง โค้ชหนุ่ย คุมทัพ". สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ท่าเรือตามตื้อนาทีสุดท้ายเจ๊าสุโขทัย 10 คน 2-2". สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "สุโขทัยเฉือนประจวบ 2-0 พ้นโซนแดง". สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "สุโขทัยเชือดแอร์ฟอร์ซ 3-2 รอดตกชั้น". สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "สุโขทัย แยกทาง "โค้ชหนุ่ย" เปิดทางโค้ชต่างชาติคุมทัพ". สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "สุโขทัยเปิดตัว 'ลูโบเมียร์ รีตอฟสกี' คุมทัพฤดูกาล 2019". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-04. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "จัดหนัก! อยุธยา ยูฯ ตั้ง "โค้ชหนุ่ย" นั่งกุนซือ". Goal.com. 10 พฤศจิกายน 2561. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  8. "โจซิคลา นครราชสีมา-เผยทาบ "เฉลิมวุฒิ" คุม". สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  9. "โค้ชหนุ่ยรับไม่กดดันคุมนครราชสีมาฯอยู่รอดไทยลีก". สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  10. "โคราชมีฮึด รัวแซงสมุทรปราการ เฮแรกรอบ5นัด". สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้