เจ1ลีก(ญี่ปุ่น: J1リーグโรมาจิJ1 Rīgu ทับศัพท์จาก J1-League) เป็นลีกระดับสูงสุดของ ฟุตบอลลีกอาชีพแห่งประเทศญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本プロサッカーリーグโรมาจิNippon Puro Sakkā Rīgu) และเป็นการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพเจลีก ระดับสูงสุดของประเทศญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในลีกที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในเอเชีย และเป็นลีกเดียวที่ถูกจัดอันดับไว้ในคลาส A โดยสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย

เจ1ลีก
องค์กรจัดการ กลุ่มองค์กรเจลีก
ก่อตั้ง1992; 32 ปีที่แล้ว (1992)
ประเทศ ญี่ปุ่น
สมาพันธ์เอเอฟซี
จำนวนทีม20
ระดับในพีระมิด1
ตกชั้นสู่เจลีก ดิวิชัน 2
ถ้วยระดับประเทศถ้วยพระจักรพรรดิ
ฟูจิฟิล์ม ซูเปอร์คัพ
ถ้วยระดับลีกเจ.ลีก วายบีซี ลูแว็ง คัพ
ถ้วยระดับนานาชาติเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก
ทีมชนะเลิศปัจจุบันวิสเซล โคเบะ (สมัยที่ 1)
(2023)
ชนะเลิศมากที่สุดคาชิมะ แอนต์เลอส์ (8 ครั้ง)
ผู้ทำประตูสูงสุดโยชิโตะ โอคุโบะ (179 ประตู)
หุ้นส่วนโทรทัศน์ดะโซน (ประเทศญี่ปุ่น)
เอ็นเอชเค
ยูทูบ (นอกประเทศญี่ปุ่น)
เว็บไซต์www.jleague.jp/en/
(ในภาษาอังกฤษ)
ปัจจุบัน: เจลีก ดิวิชัน 1 ฤดูกาล 2024

ชื่อของ เจลีก ดิวิชัน 1 ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น เจ1 ลีก ตั้งแต่ฤดูกาล 2015 และเมื่อมีผู้สนับสนุนหลักคือ เมจิ ยาซูดะ ไลฟ์ จึงมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เมจิ ยาซูดะ เจ1 ลีก แต่ในประเทศไทยยังนิยมเรียกว่า เจลีก ดิวิชัน 1

ประวัติ แก้

ก่อนยุคลีกอาชีพ (ก่อน 1992) แก้

ก่อนจะเริ่มเข้าสู่ยุคเจลีก การแข่งขันระดับสูงสุดของสโมสรในญี่ปุ่น Japan Soccer League (JSL) ซึ่งจัดว่าเป็นลีกสมัครเล่น[1] แม้ในยุคทศวรรษที่ 1960 และ 1970 จะได้รับความนิยมขึ้นมา (ช่วงที่ทีมชาติญี่ปุ่นได้เหรียญทองแดงจากกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1968 ที่เม็กซิโก) แต่ JSL ก็เริ่มซบเซาอีกครั้งในช่วงทศวรรษที่ 1980 เช่นเดียวกับฟุตบอลลีกทั่วโลก แฟนบอลลดน้อยลง สนามคุณภาพไม่ดี และทีมชาติญี่ปุ่นก็ไม่ได้เป็นทีมชั้นนำของเอเชียแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้ สมาคมฟุตบอลญี่ปุ่น (JFA) จึงได้ตัดสินใจก่อตั้งลีกอาชีพขึ้นมาเพื่อยกระดับของทีมชาติ เพิ่มความนิยมให้กับลีกในประเทศและให้มีแฟนบอลมากขึ้น

ด้วยเหตุนี้ เจลีกจึงได้ก่อตั้งขึ้นในปี 1992 โดยมีสโมสรจาก JSL ดิวิชัน 1 เข้าร่วมการแข่งขัน 8 สโมสร ดิวิชัน 2 อีก 1 สโมสร และมีสโมสรชิมิซุ เอส-พัลส์ สโมสรน้องใหม่เข้าร่วมการแข่งขันอีก 1 สโมสร และได้มีการเปลี่ยนชื่อการแข่งขันเป็น ลีกฟุตบอลญี่ปุ่น (Japan Football League: JFL) จัดว่าเป็นลีกกึ่งอาชีพ แต่เจลีกก็ยังไม่ได้เริ่มอย่างเป็นทางการเพราะในตอนนั้นยังมีการแข่งขันยะมะซะกิ นาบิสโก คัพอยู่ ซึ่งเป็นการแข่งขันเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเปิดฤดูกาลจริงในปี 1993

ฤดูกาลแรกและยุครุ่งเรือง (1993-1995) แก้

เจลีก เริ่มต้นอย่างเป็นทางการฤดูกาลแรกในวันที่ 15 พฤษภาคม 1993 โดยมี 10 ทีมเข้าร่วมการแข่งขัน นัดเปิดสนามเป็นการพบกันระหว่าง เวร์ดี คาวาซากิ (ปัจจุบันคือ โตเกียว เวร์ดี) กับ โยโกฮามะ เอ็ฟ มารินอส ที่สนามกีฬาแห่งชาติคาซูมิงาโอกะ

หลังยุครุ่งเรือง (1996-1999) แก้

สามปีแรกของเจลีกประสบความสำเร็จอย่างมาก แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม ในต้นปี 1996 แฟนบอลลดลงอย่างรวดเร็ว และในปี 1997 มีแฟนบอลเข้าชมเฉลี่ยต่อเกมเหลือเพียงแค่ 10,131 คนเท่านั้น เทียบกับในปี 1994 มีแฟนบอลเกมละ 19,000 คน

เปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานและรูปแบบเกม (1999-2004) แก้

ฝ่ายจัดการแข่งขันมองว่าแนวทางในขณะนั้นน่าจะเป็นแนวทางที่ผิด จึงได้เริ่มแก้ปัญหาโดยมีทางแก้ไขอยู่สองวิธีด้วยกัน

วิธีแรก คือการออกวิสัยทัศน์เจลีก 100 ปี โดยตั้งเป้าว่าจะต้องมีสโมสรอาชีพ 100 สโมสรในประเทศญี่ปุ่นภายในปี 2092 ซึ่งจะเป็นปีที่ครบรอบ 100 ปีของลีกพอดี นอกจากนี้ฝ่ายจัดการแข่งขันลีกยังสนับสนุนให้สโมสรต่างๆช่วยกันสนับสนุนกีฬาฟุตบอลและกีฬาอื่นๆในท้องถิ่นเพื่อให้ได้รับความนิยมจากคนในพื้นที่มากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มรากหญ้า และสนับสนุนให้หาผู้สนับสนุนเป็นธุรกิจใหญ่ในท้องที่นั้นๆ ทางลีกเชื่อว่าความสัมพันธ์กับเมืองและชาวเมืองนั้นจะทำให้สโมสรดีขึ้นอย่างมั่นคงและยั่งยืน มากกว่าการมุ่งหาผู้สนับสนุนที่เป็นนักธุรกิจเจ้าใหญ่ๆระดับประเทศอย่างเดียวเท่านั้น

วิธีที่สองคือ การปรับโครงสร้างพื้นฐานครั้งใหญ่ของลีกในปี 1999 โดยมี 9 สโมสรจากลีกกึ่งอาชีพ JFL และอีก 1 สโมสรจากเจลีก ร่วมสร้าง เจลีก ดิวิชัน 2 เริ่มทำการแข่งขันตั้งแต่ปี 1999 และดันให้ลีกอันดับสองอย่าง JFL กลายเป็นลีกอันดับ 3 ไป

และในยุคนี้จนถึงปี 2004 (ยกเว้นปี 1996) เจลีกถูกแบ่งเป็น 2 เลก และนำแชมป์เลกแรกกับเลกที่สองมาเพลย์ออฟหาแชมป์และรองแชมป์ของลีกไป แต่หากแชมป์เลกแรกกับเลกสองเป็นทีมเดียวกันก็ถือว่าเป็นแชมป์ไปโดยปริยาย แต่ระบบนี้ถูกยกเลิกไปตั้งแต่ปี 2005

ใช้ระบบลีกยุโรปและเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก (2005-2008) แก้

นับตั้งแต่ฤดูกาล 2005 เจลีก ดิวิชัน 1 มีทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 18 ทีม (จากที่เคยมี 16 ทีมในปี 2004) และระบบฤดูกาลแข่งขันเริ่มเปลี่ยนมาใช้แบบสโมสรในยุโรป ทีมที่ต้องตกชั้นเพื่มจาก 2 เป็น 2.5 ทีม นั่นคือ ทีมอันดับสามจากท้ายตารางจะต้องไปเล่นเพลย์ออฟกับทีมอันดับ 3 ในเจลีกดิวิชัน 2 เพื่อหาผู้ที่ต้องตกไปอยู่ดิวิชัน 2

อย่างไรก็ตาม ในสมัยก่อนสโมสรเจลีกไม่ค่อยจะจริงจังกับการแข่งชันเอเชียนแชมเปียนส์ลีกเท่าไหร่นัก เนื่องจากต้องเดินทางไกลและคุณภาพของทีมที่ต้องแข่งด้วยนั้นยังไม่น่าสนใจเท่าไหร่ แต่ในปี 2008 มีทีมญี่ปุ่นผ่านเข้าไปสู่รอบก่อนรองชนะเลิศถึง 3 ทีมด้วยกัน[2]

แต่เมื่อได้มีการผนวกเอลีกเข้าสู่ฟุตบอลเอเชียตะวันออก และเริ่มมีการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก ชาวเอเชียเริ่มหันมาสนใจฟุตบอลรายการนี้กันมากขึ้น ทำให้ลีกญี่ปุ่นและสโมสรต่างๆของญี่ปุ่นเริ่มหันมาให้ความสนใจฟุตบอลรายการเอเชียมากขึ้น ตัวอย่างเช่น คาวาซากิ ฟรอนตาเล เริ่มสร้างฐานแฟนบอลในฮ่องกง ได้หลังจากที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันรายการนี้ในฤดูกาล 2007[3] และจากการที่อุระวะ เรดไดมอนส์และกัมบะ โอซากะคว้าแชมป์เอเชียได้ในปี 2007 และ 2008 ความนิยมและความสนใจในฟุตบอลเวทีเอเชียก็เริ่มมีมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ประกอบกับการจัดการลีกที่ดี สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียจึงได้ยกย่องให้เจลีกเป็นลีกที่อยู่ในอันดับสูงสุด และมีโอกาสเล่นฟุตบอลเอเชียถ้วยใหญ่ถึง 4 ที่ นับตั้งแต่ปี 2009 และลีกยังได้โอกาสในการขายลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดให้กับต่างประเทศ โดยเฉพาะในชาติเอเชียด้วยกัน

นับตั้งแต่ปี 2008 แชมป์รายการถ้วยพระจักรพรรดิสามารถเข้าร่วมการแข่งขันแชมเปียนส์ลีกในฤดูกาลต่อไปได้เลย แทนที่จะต้องรอไปเล่นในปีถัดไป (เช่น โตเกียวเวร์ดีเคยได้แชมป์รายการนี้ในปี 2005 แต่ต้องไปแข่งระดับเอเชียในฤดูกาล 2007 แทนที่จะเป็นฤดูกาล 2006) ด้วยเหตุนี้ จึงมีหนึ่งทีมที่ต้องเสียสละ นั่นคือ คาชิมะ แอนต์เลอส์ ที่ได้แชมป์ในปี 2007 ก็ถูกระงับสิทธิ์ในการไปเล่นแทน แต่อย่างไรก็ตาม คาชิมะ แอนต์เลอส์ก็ยังสามารถไปเล่นฟุตบอลเอเชียในปี 2009 ได้เนื่องจากสามารถคว้าแชมป์เจลีก ดิวิชัน 1 ในปี 2008 ได้นั่นเอง

เจลีกยุคใหม่ (2009-2016) แก้

ในปี 2009 เกิดการเปลี่ยนแปลงในลีกครั้งใหญ่อีกครั้ง เริ่มจากการมี 4 สโมสรเข้าร่วมรายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ต่อด้วยการมีทีมตกชั้นเพิ่มเป็น 3 ทีม นอกจากนี้ ด้วยกฎใหม่ของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย เจลีกจึงต้องตั้งกฎให้มีผู้เล่นต่างชาติได้เพียง 4 คน แต่ต้องมี 1 คนที่มาจากชาติสมาชิกของสมาพันธ์ (ที่ไม่ใช่ญี่ปุ่น) นอกจากนั้น ยังมีการบังคับใช้ระบบไลเซนส์ของสโมสรเจลีกเพื่อตั้งมาตรฐานการอยู่ในลีกอาชีพสูงสุด

ในปี 2015 เจลีก ดิวิชัน 1 ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น เจ1 ลีก นอกจากนี้ ระบบลีกของเจลีกถูกแบ่งการแข่งขันออกเป็น 3 ช่วงด้วยกัน โดยในหนึ่งปีจะถูกแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 ช่วง ส่วนช่วงที่สามจะเป็นช่วงสำหรับการเพลย์ออฟเพื่อตัดสินแชมป์ โดยมีทีมที่เข้าร่วมการแข่งขัน 5 ทีม ได้แก่ ทีมที่ทำคะแนนรวมสูงสุด 1 ทีม ทีมที่เก็บคะแนนได้มากที่สุดสองทีมในช่วงที่ 1 และทีมที่เก็บคะแนนได้มากที่สุดสองทีมในช่วงที่ 2

เจลีกยุคปัจจุบัน (2017-) แก้

แม้ฝ่ายจัดการแข่งขันคิดจะใช้ระบบแบ่งครึ่งลีกไปประมาณ 5 ปี แต่ระบบนี้ได้มีการยกเลิกและเปลี่ยนไปเป็นระบบตารางคะแนนเดียวเช่นเดิมตั้งแต่ปี 2017 หลังจากได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์และได้รับเสียงตอบรับที่ไม่ดีจากแฟนบอล[4] นั่นคือ ทีมที่ทำผลงานทั้งฤดูกาลได้ดีที่สุด จะได้แชมป์ไปครอง

ฤดูกาล 2024 แก้

ระบบลีก แก้

เจลีก ดิวิชัน 1 ในฤดูกาล 2567 (ค.ศ. 2024) มีทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 20 ทีม ทำการแข่งขันแบบพบกันหมดแบบเหย้า-เยือน ดังนั้น หนึ่งสโมสรจะทำการแข่งขันทั้งหมด 38 เกม และทีมที่ชนะจะได้ 3 คะแนน แพ้ได้ 0 คะแนน และหากเสมอกันได้ 1 คะแนน การจัดอันดับจะคิดคะแนนตามแต้ม และหากมีจำนวนแต้มเท่ากัน จะใช้หลักการจัดอันดับดังนี้

  • พิจารณาจากผลต่างของประตูได้ และประตูเสีย (Goals Difference)
  • พิจารณาเฉพาะประตูได้ (Goals Scored)
  • พิจารณาจากผลการแข่งขันของทีมที่มีคะแนนเท่ากันที่เคยแข่งกันมาในฤดูกาล (Head To Head)
  • พิจารณาคะแนนวินัย (Disciplinary Points)

หากจำเป็นจะมีการจับสลาก แต่ถ้าหากมีสองทีมที่ได้คะแนนเท่ากันในอันดับที่ 1 ทั้งสองทีมจะได้แชมป์ร่วมกัน สามอันดับแรกจะได้สิทธิ์เข้าแข่งขัน เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ในฤดูกาลถัดไป และทีมสามอันดับสุดท้ายตกชั้นสู่ เจลีก 2

เงินรางวัล (อ้างอิงจากปี 2015)
  • แชมป์ (ผู้ชนะในรอบชิงของรอบแชมป์เปียนชิพ) : 100,000,000 เยน
  • ผู้ชนะสเตจ 1 และ สเตจ 2: 50,000,000 เยน
  • อันดับที่ 1 ในผลรวมคะแนนทั้ง 2 สเตจ: 80,000,000 เยน
  • อันดับที่ 2 ในผลรวมคะแนนทั้ง 2 สเตจ: 30,000,000 เยน
  • อันดับที่ 3 ในผลรวมคะแนนทั้ง 2 สเตจ: 20,000,000 เยน
  • ผู้ชนะในรอบแรกและรอบรองชนะเลิศของรอบแชมป์เปี้ยนชิพ : 15,000,000 เยน

สโมสรที่เข้าร่วมการแข่ง แก้

ที่ตั้งสโมสรในเจลีก ดิวิชัน 1 ฤดูกาล 2024 จากเขตมหานครเคฮันชิง
สโมสร ที่ตั้ง สนาม จำนวนผู้ชม
คอนซาโดเล ซัปโปโระ ฮกไกโด ซัปโปโระ โดม 38,794
คาชิมะ แอนต์เลอส์ อิบารากิ สนามฟุตบอลคาชิมะ 39,170
อูราวะ เรดไดมอนส์ ไซตามะ สนามกีฬาไซตะมะ 2002 62,010
คาชิวะ เรย์โซล ชิบะ ฮิตาชิ คาชิวะ สเตเดียม 15,109
เอฟซี โตเกียว โตเกียว สนามกีฬาอายิโนะโมะโต๊ะ 49,970
โตเกียว เวร์ดี
มาจิดะ เซลเวีย Machida GION Stadium 15,489
คาวาซากิ ฟรอนตาเล คานางาวะ โทโดโรกิสเตเดียม 26,827
โยโกฮามะ เอ็ฟ มารินอส นิสสัน สเตเดียม 71,822
โชนัน เบลมาเร บีเอ็มดับบลิวสเตเดียมฮิรัตสึกะ 15,380
อัลบิเร็กซ์ นีงาตะ นีงาตะ เด็งกะบิ๊กสวอนสเตเดียม 41,684
นาโงยะ แกรมปัส ไอจิ สนามกีฬาโทโยตะ 43,739
จูบิโล อิวาตะ ชิซูโอกะ สนามกีฬายามาฮะ 15,156
เกียวโต ซังงะ เกียวโต ซังงะสเตเดียมบายเคียวเซร่า 21,623
กัมบะ โอซากะ โอซากะ พานาโซนิค สเตเดียม ซุอิตะ 39,694
เซเรซโซ โอซากะ Yodoko Sakura Stadium 24,481
วิสเซล โคเบะ เฮียวโงะ โนเอเวอร์ สเตเดียม 28,996
ซานเฟรซ ฮิโรชิมะ ฮิโรชิมะ อีดิออน สเตเดียม 35,909
อวิสปา ฟูกูโอกะ ฟูกูโอกะ Best Denki Stadium 21,562
ซางัน โทซุ ซางะ เอกิมาเอะ สเตเดียม 24,130

สถิติ แก้

ทำเนียบแชมป์ แก้

ยุคแบ่งฤดูกาล (1993-2004) ตัวหนา ทีมที่เป็นแชมป์; † แข่งแบบฤดูกาลเดียว; ‡ ทีมเดียวกันชนะทั้งสองสเตจ

สเตจที่ 1 สเตจที่ 2
1993 คาชิมะ แอนต์เลอส์ เวอร์ดี คาวาซากิ
1994 ซานเฟรซ ฮิโรชิมะ เวอร์ดี คาวาซากิ
1995 โยโกฮามะ เอ็ฟ มารินอส เวอร์ดี คาวาซากิ
1996 คาชิมะ แอนต์เลอส์
1997 คาชิมะ แอนต์เลอส์ จูบิโล อิวาตะ
1998 จูบิโล อิวาตะ คาชิมะ แอนต์เลอส์
1999 จูบิโล อิวาตะ ชิมิซุ เอส-พัลส์
2000 โยโกฮามะ เอ็ฟ มารินอส คาชิมะ แอนต์เลอส์
2001 จูบิโล อิวาตะ คาชิมะ แอนต์เลอส์
2002 จูบิโล อิวาตะ
2003 โยโกฮามะ เอ็ฟ มารินอส
2004 โยโกฮามะ เอ็ฟ มารินอส อูราวะ เรดไดมอนส์

ยุคฤดูกาลเดียว (2005–2014)

ฤดูกาล ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับที่ 3
2005 กัมบะ โอซากะ อูราวะ เรดไดมอนส์ คาชิมะ แอนต์เลอส์
2006 อูราวะ เรดไดมอนส์ คาวาซากิ ฟรอนตาเล กัมบะ โอซากะ
2007 คาชิมะ แอนต์เลอส์ อูราวะ เรดไดมอนส์ กัมบะ โอซากะ
2008 คาชิมะ แอนต์เลอส์ คาวาซากิ ฟรอนตาเล นาโงยะ แกรมปัส
2009 คาชิมะ แอนต์เลอส์ คาวาซากิ ฟรอนตาเล กัมบะ โอซากะ
2010 นาโงยะ แกรมปัส กัมบะ โอซากะ เซเรซโซ โอซากะ
2011 คะชิวะ เรย์โซล นาโงยะ แกรมปัส กัมบะ โอซากะ
2012 ซานเฟรซ ฮิโรชิมะ เวกัลตะ เซ็นได อูราวะ เรดไดมอนส์
2013 ซานเฟรซ ฮิโรชิมะ โยโกฮามะ เอ็ฟ มารินอส คาวาซากิ ฟรอนตาเล
2014 กัมบะ โอซากะ อูราวะ เรดไดมอนส์ คาชิมะ แอนต์เลอส์

ยุคแบ่งฤดูกาล (2015-2016) ตัวหนา ทีมที่เป็นแชมป์; † แข่งแบบฤดูกาลเดียว; ‡ ทีมเดียวกันชนะทั้งสองสเตจ

ฤดูกาล สเตจที่ 1 สเตจที่ 2
2015 อูราวะ เรดไดมอนส์ ซานเฟรซ ฮิโรชิมะ
2016 คาชิมะ แอนต์เลอส์ อูราวะ เรดไดมอนส์

ยุคฤดูกาลเดียว (2017–ปัจจุบัน)

ฤดูกาล ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับที่ 3
2017 คาวาซากิ ฟรอนตาเล คาชิมะ แอนต์เลอส์ เซเรซโซ โอซากะ
2018 คาวาซากิ ฟรอนตาเล ซานเฟรซ ฮิโรชิมะ คาชิมะ แอนต์เลอส์
2019 โยโกฮามะ เอ็ฟ มารินอส เอฟซี โตเกียว คาชิมะ แอนต์เลอส์
2020 คาวาซากิ ฟรอนตาเล กัมบะ โอซากะ เอฟซี โตเกียว
2021 คาวาซากิ ฟรอนตาเล โยโกฮามะ เอ็ฟ มารินอส วิสเซล โคเบะ
2022 โยโกฮามะ เอ็ฟ มารินอส คาวาซากิ ฟรอนตาเล ซานเฟรซ ฮิโรชิมะ
2023 วิสเซล โคเบะ โยโกฮามะ เอ็ฟ มารินอส ซานเฟรซ ฮิโรชิมะ

ทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด แก้

สโมสร ชนะเลิศ รองชนะเลิศ ฤดูกาลที่ชนะเลิศ ฤดูกาลที่รองชนะเลิศ
คาชิมะ แอนต์เลอส์
8
3
1996, 1998, 2000, 2001, 2007, 2008, 2009, 2016 1993, 1997, 2017
โยโกฮามะ เอ็ฟ มารินอส
5
3
1995, 2003, 2004, 2019, 2022 2000, 2002, 2013
คาวาซากิ ฟรอนตาเล
4
4
2017, 2018, 2020, 2021 2006, 2008, 2009, 2022
จูบิโล อิวาตะ
3
3
1997, 1999, 2002 1998, 2001, 2003
ซานเฟรซ ฮิโรชิมะ
3
2
2012, 2013, 2015 1994, 2018
กัมบะ โอซากะ
2
3
2005, 2014 2010, 2015, 2020
โตเกียว เวร์ดี
2
1
1993, 1994 1995
อูราวะ เรดไดมอนส์
1
5
2006 2004, 2005, 2007, 2014, 2016
นาโงยะ แกรมปัส
1
2
2010 1996, 2011
คะชิวะ เรย์โซล
1
0
2011
วิสเซล โคเบะ
1
0
2023
ชิมิซุ เอส-พัลส์
0
1
1999
เวกัลตะ เซ็นได
0
1
2012
เอฟซี โตเกียว
0
1
2019

อ้างอิง แก้

  1. "When Saturday Comes - How Japan created a successful league". Wsc.co.uk. 2010-07-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-09. สืบค้นเมื่อ 2013-12-12.
  2. John Duerden (11 August 2008). "Asian Debate: Is Japan Becoming Asia's Leader?". Goal.com. สืบค้นเมื่อ 19 August 2012.
  3. 川崎Fが香港でブレーク中、生中継で火 (ภาษาญี่ปุ่น). NikkanSports. March 8, 2008. สืบค้นเมื่อ March 8, 2008.
  4. Duerden, John. "J.League seeks to wrestle back spotlight from Chinese Super League". ESPN FC. ESPN. สืบค้นเมื่อ 2 March 2017.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้