เจดีย์ในญี่ปุ่น หรือ โต (ญี่ปุ่น: โรมาจิ; เจดีย์) หรือ บุตโต (ญี่ปุ่น: 仏塔โรมาจิbuttō; เจดีย์พุทธ) หรือ โทบะ (ญี่ปุ่น: 塔婆โรมาจิtōba; เจดีย์) มีวิวัฒนาการมาจากเจดีย์จีน ซึ่งพัฒนามาจากสถูปของอินเดีย[1] เช่นเดียวกันกับสถูป เจดีย์ญี่ปุ่นนั้นเดิมทีสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่เก็บพระธาตุ แต่ท้ายที่สุดส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ใช้งานแบบนั้น[2] เจดีย์เป็นโครงสร้างสำคัญของวัดพุทธในญี่ปุ่น เช่นเดียวกันกับตามศาลเจ้าชินโต ซึ่งเป็นวัดพุทธไปด้วยกัน จนกระทั่งมี Kami and Buddhas Separation Act เมื่อ 1868 ที่กำหนดให้แยกวัดพุทธและศาลเจ้าชินโตออกจากกัน จึงยังพอพบเจดีย์ในศาลเจ้าชินโตบ้าง เช่นที่ศาลเจ้าอิตสึกุชิมะ ก็พบเจดีย์อยู่หนึ่งหลัง[3]

Wooden pagoda Stone pagoda A gorintō
เจดีย์หลายชั้นสร้างด้วยไม้, หิน และเจดีย์แบบโกะรินโต (gorintō)

ภายหลังการปฏิวัติเมจิ คำว่า “โต“ () ซึ่งแปลว่าเจดีย์ ได้เปลี่ยนมาครอบคลุมความหมายของคำว่าหอคอยแบบตะวันตก เช่นคำว่าหอไอเฟล ก็เรียกว่า ญี่ปุ่น: Eiffel towerโรมาจิエッフェル塔ทับศัพท์: Efferu-tō

รูปแบบของเจดีย์นั้นมีหลากหลาย บ้างสร้างด้วยไม้ เรียกรวม ๆ ว่า โมกูโต (ญี่ปุ่น: 木塔โรมาจิmokutō; เจดีย์ไม้) บ้างแกะสลักจากหินเรียกว่า เซกิโต (ญี่ปุ่น: 石塔โรมาจิsekitō; เจดีย์หิน)

ดูเพิ่ม แก้

  • Shinbashira โครงสร้างเสาไม้ภายใน

อ้างอิง แก้

  1. Iwanami Kōjien Japanese dictionary
  2. Jaanus, Tou
  3. Hamashima, Masashi (1999). Jisha Kenchiku no Kanshō Kiso Chishiki (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Shibundō. p. 88.

บรรณานุกรม แก้