เครื่องราชอิสริยาภรณ์ญี่ปุ่น

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ญี่ปุ่น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ เครื่องราชอิสริยาภรณ์กับเหรียญอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

มีทั้งหมด 7 ลำดับชั้น พ้นสมัยพระราชทาน 1 ลำดับชั้นและยังพระราชทาน 6 ลำดับชั้นมีดังต่อไปนี้

 
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศ แก้

  เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศ (ญี่ปุ่น: 大勲位菊花章โรมาจิไดกุนอิ คิกกะโช อังกฤษ: Supreme Order of the Chrysanthemum) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสุงสุดของญี่ปุ่นมอบเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีและเป็นเกียรติยศแก่ผู้มีคุณูปการต่อญี่ปุ่น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดอกคิริ แก้

  เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดอกคิริ (ญี่ปุ่น: 桐花章 อังกฤษ: Order of the Paulownia Flowers) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์รองจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศมอบแก่รัฐบุรุษ อดีตนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีอาวุโส นักการทูต และตุลาการที่มีผลงานโดดเด่น มอบในฐานะประสบความสำเร็จอย่างโดดเด่นเป็นระยะเวลายาวนานหลายปี ทั้งในกิจการสาธารณะและกิจการทางการเมือง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์เหยี่ยวทองคำ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์เหยี่ยวทองคำ (ญี่ปุ่น: 金鵄勲章 (kinshi kunsyou) อังกฤษ: Order of the Golden Kite) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์รองจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศและมีศักดิ์เท่ากับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดอกคิริมอบให้แก่บุคลากรทางการทหารเท่านั้น ปัจจุบันพ้นสมัยการพระราชทานแล้ว มีทั้งหมด 7 ลำดับชั้นดังนี้

  • ชั้นที่ 1   โคอิคคิว คินชิคุนโช
  • ชั้นที่ 2   โคนิคิว คินชิคุนโช
  • ชั้นที่ 3   โคซังคิว คินชิคุนโช
  • ชั้นที่ 4   โคชิคิว คินชิคุนโช
  • ชั้นที่ 5   โคโกะคิว คินชิคุนโช
  • ชั้นที่ 6   โคโรขุคิว คินชิคุนโช
  • ชั้นที่ 7   โคนะนะคิว คินชิคุนโช

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย (ญี่ปุ่น: 旭日章 Kyokujitsu-shō ?, อังกฤษ: Order of the Rising Sun) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ลำดับที่ 3 ของประเทศญี่ปุ่นมอบแก่บุคคลทั่วไปมีทั้งหมด 8 ลำดับชั้นดังนี้

  • ชั้นที่ 1   เคียวกุจิสึ ไดจูโช
  • ชั้นที่ 2   เคียวกุจิสึ จูโกโช
  • ชั้นที่ 3   เคียวกุจิสึ ชูจุโช
  • ชั้นที่ 4   เคียวกุจิสึ โชจูโช
  • ชั้นที่ 5   เคียวกุจิสึ โซโกโช
  • ชั้นที่ 6   เคียวกุจิสึ ทันโกโช
  • ชั้นที่ 7   เซโชะกุ โดโยโช
  • ชั้นที่ 8   ฮะกุโชะกุ โดโยโช

เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ (ญี่ปุ่น: 瑞宝章 ซุยโฮ-โช) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ลำดับที่ 4 ของประเทศญี่ปุ่นแต่เดิมมีทั้งหมด 8 ลำดับชั้นแต่ในปัจจุบันมีทั้งหมด 6 ลำดับชั้นดังนี้

  • ชั้นที่ 1   ซูโฮ ไดจูโช
  • ชั้นที่ 2   ซูโฮ จูโกโช
  • ชั้นที่ 3   ซูโฮ ชูจุโช
  • ชั้นที่ 4   ซูโฮ โชจุโช
  • ชั้นที่ 5   ซูโฮ โซโกโช
  • ชั้นที่ 6   ซูโฮ ตันโกโช

เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัฒนธรรม แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัฒนธรรม เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ลำดับที่ 5 ของประเทศญี่ปุ่นมอบแก่ผู้มีผลงานดีเด่น ทำประโยชน์แก่วงการศิลปวัฒนธรรมของญี่ปุ่น

  • ชั้นที่ 1   บุงคะคุงโช
 
ดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนมงกุฎชั้นที่ 1 (สูงสุด) โฮกัง ไดจูโช

เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนมงกุฎ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนมงกุฎ เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ลำดับที่ 6 ของประเทศญี่ปุ่นมอบแก่พระราชวงศ์ที่เป็นสตรีหรือสตรีผู้ทำคุณประโยชน์แก่ญี่ปุ่นแต่เดิมมีทั้งหมด 8 ลำดับชั้นแต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 ชั้นที่ 7 และ 8 ถูกยกเลิกไปปัจจุบันมีทั้งหมด 6 ลำดับชั้นดังนี้

  • ชั้นที่ 1   โฮกัง ไดจูโช
  • ชั้นที่ 2   โฮกัง โบตันโช
  • ชั้นที่ 3   โฮกัง ฮะกุโชโช
  • ชั้นที่ 4   โฮกัง ฟุจิฮะนะโช
  • ชั้นที่ 5   โฮกัง เคียวฮะโช
  • ชั้นที่ 6   โฮกัง วะโกจูโช

อิสริยาภรณ์ แก้

 
แบบเหรียญเกียรติยศ

เหรียญเกียรติยศ แก้

เหรียญเกียรติยศ เป็นอิสริยาภรณ์ของประเทศญี่ปุ่นเพื่อมอบแก่บุคคลผู้ประสบความสำเร็จในด้านต่าง ๆ แบ่งเป็น6ประเภทดังนี้

ประเภท แก้

แถบสีแดง แก้

มอบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2425 มอบแก่บุคคลผู้เสี่ยงตนในการช่วยชีวิตผู้อื่น

แถบสีเขียว แก้

มอบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2425 เดิมมอบให้แก่ "เด็ก, ลูกหลาน, ภรรยา และคนรับใช้ สำหรับความกตัญญูและความขยันหมั่นเพียรอันน่ายกย่อง ในขณะที่ตัวของพวกเขาก็เป็นแบบอย่างของประชาชน"

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. 2493 เหรียญนี้ก็ถูกระงับการมอบ ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 เหรียญนี้ก็ถูกแทนที่ด้วยเหรียญเกียรติยศแถบสีเหลือง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2546 เหรียญเกียรติยศแถบสีเขียวก็ถูกฟื้นฟูขึ้นมาเพื่อมอบแก่บุคคลที่มีความกระตือรือร้นในการให้บริการสังคม

แถบสีเหลือง แก้

มอบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2430 (ยกเลิกในภายหลัง); มอบแก่บุคคลที่มีความขยันหมั่นเพียร ในขณะที่การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระดับมืออาชีพของพวกเขากลายเป็นแบบอย่างของประชาชน

แถบสีม่วง แก้

มอบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2498 มอบแก่บุคคลที่ได้สนับสนุนต่อการพัฒนาและการปรับปรุงทางวิชาการและศิลปะจนประสบความสำเร็จ

แถบสีน้ำเงิน แก้

มอบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2425 มอบแก่บุคคลที่ได้ทำผลงานสำคัญในพื้นที่พัฒนาสังคมและสวัสดิการหรือการบริการสาธารณะ

แถบสีน้ำเงินเข้ม แก้

มอบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2462 มอบแก่บุคคลที่ใจกว้างต่อการช่วยเหลือทางด้านการเงินสำหรับความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน