เขื่อนวชิราลงกรณ

เขื่อนวชิราลงกรณ เดิมมีชื่อว่า เขื่อนเขาแหลม เป็นเขื่อนหินถมแห่งแรกของประเทศไทยที่ดาดผิวหน้าด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ตั้งอยู่บนแม่น้ำแควน้อย เป็นเขื่อนอเนกประสงค์โดยมีวัตถุประสงค์ด้านผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก สร้างปิดกั้นแม่น้ำแควน้อยบริเวณตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ตัวอ่างเก็บน้ำอยู่ในท้องที่อำเภอทองผาภูมิและอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

เขื่อนวชิราลงกรณ
ชื่อทางการเขื่อนวชิราลงกรณ
ที่ตั้งตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
พิกัดภูมิศาสตร์14°47′58″N 98°35′49″E / 14.799444°N 98.596944°E / 14.799444; 98.596944พิกัดภูมิศาสตร์: 14°47′58″N 98°35′49″E / 14.799444°N 98.596944°E / 14.799444; 98.596944
เริ่มต้นการก่อสร้างพ.ศ. 2522
วันที่เปิด9 มกราคม พ.ศ. 2529
งบประมาณ2,250 ล้านบาท
โครงสร้างและทางน้ำล้น
ความสูง92 เมตร
ความยาว1,019 เมตร
กั้นแม่น้ำแควน้อย
อ่างเก็บน้ำ
ความจุ8,860 ล้านลูกบาศก์เมตร

เริ่มก่อสร้างในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2522 เสร็จในปี พ.ศ. 2527 หลังสร้างเสร็จ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนเขาแหลมเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2529 และต่อมาทรงพระราชทานนามใหม่ว่า "เขื่อนวชิราลงกรณ" ตั้งขึ้นตามพระนามของ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร(พระยศในสมัยนั้น)[1]

เขื่อนมีความจุ 8,860 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 5,369 ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 3 เครื่องบริเวณปล่อยน้ำ ขนาดกำลังผลิต 100,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิต 300,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 760 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง[1]

การเดินทาง ใช้เส้นทางออกจากกรุงเทพมหานครโดยถนนเพชรเกษม (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4) ผ่านนครปฐมแล้วขึ้นสะพานเลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323 ผ่านบ้านโป่ง ลูกแก ท่ามะกา ท่าม่วง แล้วเข้าสู่จังหวัดกาญจนบุรี จากนั้นเลี้ยวซ้ายอีกครั้งที่แยกแก่งเสี้ยน บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323 ดังเดิมไปอีกประมาณ 190 กิโลเมตรบนเส้นทางทองผาภูมิ-สังขละบุรี

จากการก่อสร้างเขื่อนดังกล่าว ผลปรากฏว่ามีเขตที่น้ำท่วมถึงถูกที่วัด จำนวน 2 แห่ง คือ วัดม่วงชุม[2] กับวัดพิชัยธาราม[3] อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "เขื่อนวชิราลงกรณ์ เขื่อนในประเทศไทย". tourdoi.com. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. พระราชบัญญัติโอนที่วัด วัดม่วงชุม ตำบลม่วงชุม อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ให้แก่กรมชลประทาน พ.ศ. ๒๕๒๙
  3. พระราชบัญญัติโอนที่วัด วัดพิชัยธาราม ตำบลม่วงชุม อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ให้แก่กรมชลประทาน พ.ศ. ๒๕๒๙

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

พิกัดภูมิศาสตร์: 14°47′58″N 98°35′49″E / 14.799444°N 98.596944°E / 14.799444; 98.596944{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้