เขตวังทองหลาง

เขตในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

วังทองหลาง เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางและหนาแน่นน้อย โดยมีย่านการค้าหนาแน่นทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่

เขตวังทองหลาง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Wang Thonglang
ทางเข้าศูนย์การค้าโชคชัย 4
ทางเข้าศูนย์การค้าโชคชัย 4
คำขวัญ: 
วังทองหลางคล้องใจ ห่วงใยปวงประชา
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตวังทองหลาง
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตวังทองหลาง
พิกัด: 13°45′51.2″N 100°36′20.2″E / 13.764222°N 100.605611°E / 13.764222; 100.605611
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด19.265 ตร.กม. (7.438 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด103,456[1] คน
 • ความหนาแน่น5,370.15 คน/ตร.กม. (13,908.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10310
รหัสภูมิศาสตร์1045
ที่อยู่
สำนักงาน
อาคารกาญจนนิมิต เลขที่ 999 ซอยรามคำแหง 39 (เทพลีลา) ถนนรามคำแหง แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310
เว็บไซต์www.bangkok.go.th/wangthonglang
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

เขตวังทองหลางตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ที่มาของชื่อเขต แก้

พื้นที่เขตวังทองหลางในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของทุ่งบางกะปิ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวพระนคร ห่างออกไปประมาณ 16 กิโลเมตร ถือเป็นเขตชานเมืองซึ่งส่วนใหญ่เป็นทุ่งนาเวิ้งว้างแต่มีความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะที่ตั้งชุมชนบริเวณคลองแสนแสบซึ่งมีลักษณะคดโค้งเป็นห้วงน้ำลึกหรือ "วัง" ขนาดใหญ่ ตลอดริมฝั่งคลองในช่วงนี้รวมไปถึงคลองเจ้าคุณสิงห์จะมีต้นทองหลางน้ำ (Erythrina fusca) ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก[3] นอกจากนี้ ที่ดินส่วนใหญ่ยังเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ผู้คนจึงเรียกพื้นที่แถบนี้ว่า "วังทองหลาง"[4][5] อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้มีการแบ่งและจัดตั้งพื้นที่การปกครองในระดับแขวงขึ้นใหม่ ส่งผลให้ชื่อและท้องที่แขวงวังทองหลางทุกวันนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับย่านวังทองหลางดั้งเดิมอีกต่อไป

ประวัติ แก้

ตำบลวังทองหลาง ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นท้องที่การปกครองท้องที่หนึ่งของอำเภอบางกะปิ โดยกระทรวงมหาดไทยได้ขยายเขตสุขาภิบาลบางกะปิให้ครอบคลุมถึงตำบลนี้ด้วยใน พ.ศ. 2506[6] ใน พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกยุบรวมกับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[7] และใน พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[8] ซึ่งได้เปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ด้วย ตำบลวังทองหลางได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงวังทองหลาง อยู่ในการปกครองของเขตบางกะปิ

จนกระทั่งในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตการปกครองใหม่ โดยรวมพื้นที่แขวงวังทองหลาง พื้นที่บางส่วนของแขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ และพื้นที่บางส่วนของแขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว[2] จัดตั้งเป็น เขตวังทองหลาง เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง การให้บริการของรัฐ และความสะดวกของประชาชน และในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ทางกรุงเทพมหานครก็ได้ประกาศตั้งแขวงวังทองหลางเต็มพื้นที่เขตวังทองหลางอย่างเป็นทางการ เพื่อความชัดเจนในการปกครอง โดยประกาศทั้ง 2 ฉบับมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน[9][10] ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่สำนักงานเขตวังทองหลางได้เปิดให้บริการเป็นครั้งแรกพร้อมกับสำนักงานเขตแยกใหม่ทางฝั่งพระนครอีก 5 แห่ง ได้แก่ เขตสายไหม[11] เขตคันนายาว[11] เขตสะพานสูง[11] เขตหลักสี่[12] และเขตคลองสามวา[13]

ต่อมาในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2545 กระทรวงมหาดไทยประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตลาดพร้าวและเขตวังทองหลาง โดยแบ่งพื้นที่เขตวังทองหลางเฉพาะทางฟากเหนือของถนนสังคมสงเคราะห์ไปรวมกับแขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าวแทน มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม ปีเดียวกัน[14] ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวที่จะไปติดต่อราชการ

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ลงนามในประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงวังทองหลาง และตั้งแขวงสะพานสอง แขวงคลองเจ้าคุณสิงห์ และแขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง โดยใช้ถนนลาดพร้าวและถนนประดิษฐ์มนูธรรมเป็นเส้นแบ่งเขตและให้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กันยายน ปีเดียวกัน[15] ส่งผลให้ในปัจจุบัน เขตวังทองหลางแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง ได้แก่

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2566)
แผนที่
1.
วังทองหลาง Wang Thonglang
5.558
23,613
4,248.47
 
2.
สะพานสอง Saphan Song
1.934
11,022
5,699.07
3.
คลองเจ้าคุณสิงห์ Khlong Chaokhun Sing
4.065
26,775
6,586.72
4.
พลับพลา Phlapphla
7.708
42,046
5,454.85
ทั้งหมด
19.265
103,456
5,370.15

ชุมชนในพื้นที่ แก้

ชุมชนที่ได้รับการจดแจ้ง

1.ชุมชนหมู่บ้านพลับพลา

2.ชุมชนเทพลีลา

3.ชุมชนรุ่งมณีพัฒนา

4.ชุมชนเก้าพัฒนา

5.ชุมชนทรัพย์สินเก่า

6.ชุมชนทรัพย์สินใหม่

7.ชุมชนน้อมเกล้า

8.ชุมชนร่วมสามัคคี

9.ชุมชนริมคลองพลับพลา

10.ชุมชนลาดพร้าว 91

11.ชุมชนซอยรามคำแหง 53

12.ชุมชนไดรฟ์อิน

13.ชุมชนสันประเสริฐ

14.ชุมชนสุเหร่าดอนสะแก

15.ชุมชนจันทราสุข

16.ชุมชนลาดพร้าว 64

17.ชุมชนลาดพร้าว 80 แยก 11

18.ชุมชนหมู่บ้านอยู่เจริญ

19.ชุมชนริมคลองลาดพร้าว

ชุมชนที่ไม่ได้รับการจดแจ้ง

1.ชุมชนวัดตึก

ประชากร แก้

การคมนาคม แก้

รถไฟฟ้า
ทางสายหลัก
ทางสายรองและทางลัด

สถานที่สำคัญ แก้

อ้างอิง แก้

  1. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 14 กุมภาพันธ์ 2567.
  2. 2.0 2.1 สำนักงานเขตวังทองหลาง. ประวัติความเป็นมาของเขตวังทองหลาง. เก็บถาวร 2009-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 25 ตุลาคม 2551.
  3. "พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตวังทองหลาง". พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2021.
  4. "ข้อมูลทั่วไป แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร". ThaiTambon.com. 2000. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กันยายน 2012. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2008.
  5. สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร. "พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตวังทองหลาง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://203.155.220.217/localmuseum/watthonglang.htm เก็บถาวร 2014-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 30 มีนาคม 2555.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลบางกะปิ อำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (114 ง): 2628–2629. 26 พฤศจิกายน 2506.
  7. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (พิเศษ 144 ก): 816–824. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-25. สืบค้นเมื่อ 2008-11-21. 21 ธันวาคม 2514.
  8. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (พิเศษ 190 ก): 187–201. 13 ธันวาคม 2515.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกะปิ และตั้งเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 108 ง): 20–24. 18 พฤศจิกายน 2540.
  10. "ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 121 ง): 23–25. 24 ธันวาคม 2540.
  11. 11.0 11.1 11.2 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางเขน เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตประเวศ และตั้งเขตสายไหม เขตคันนายาว เขตสะพานสูง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 108 ง): 6–19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2008-11-21. 18 พฤศจิกายน 2540.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตดอนเมืองและตั้งเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 108 ง): 2–5. 18 พฤศจิกายน 2540.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตมีนบุรี และตั้งเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 108 ง): 25–30. 18 พฤศจิกายน 2540.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตลาดพร้าวและเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 119 (พิเศษ 22 ง): 10–14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2008-11-21. 11 มีนาคม 2545.
  15. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/137/55.PDF
  16. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้