เขตผู้ว่าการเฮียร์ซอน

เขตผู้ว่าการเฮียร์ซอน (รัสเซีย: Херсонская губерния, อักษรโรมัน: Khersonskaya guberniya; ยูเครน: Херсонська губернія, อักษรโรมัน: Khersons'ka huberniia) เป็นเขตผู้ว่าการ (guberniya) ของจักรวรรดิรัสเซียที่ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำนีเปอร์และแม่น้ำนีสเตอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสามเขตผู้ว่าการที่ถูกสถาปนาขึ้นใน ค.ศ. 1802 เมื่อมีการยุบเขตผู้ว่าการโนโวรอสซียา โดยในตอนนั้นรู้จักกันดีในชื่อ เขตผู้ว่าการนีโคลาเยฟ เมื่อนครนีโคลาเยฟ ถูกแบ่งแยกออกเป็นเขตผู้ว่าการสงครามพิเศษนีโคลาเยฟ ซึ่งทำหน้าทื่เป็นศูนย์กลางของกองเรือทะเลดำ และทำให้ศูนย์กลางของผู้ว่าการถูกย้ายไปที่เฮียร์ซอน (แคร์ซอนในภาษายูเครน)

เขตผู้ว่าการเฮียร์ซอน
Херсонская губерния
เขตผู้ว่าการของจักรวรรดิรัสเซีย (ค.ศ. 1802–1917) และสาธารณรัฐประชาชนยูเครน (ค.ศ. 1917–1920)
ค.ศ. 1802 – ค.ศ. 1920
Coat of arms of แคร์ซอน
ตราอาร์ม

แผนที่ของเขตผู้ว่าการเฮียร์ซอนใน ค.ศ. 1913
เมืองหลวง
พื้นที่ 
• 1914
70,600 ตารางกิโลเมตร (27,300 ตารางไมล์)
ประชากร 
• 1914
3744600
ประวัติศาสตร์ 
ค.ศ. 1802
ค.ศ. 1920
ก่อนหน้า
ถัดไป
เขตผู้ว่าการมือกอลายิว
เขตผู้ว่าการออแดซา
เขตผู้ว่าการมือกอลายิว

เศรษฐกิจของเขตผู้ว่าการเฮียร์ซอนมีรากฐานมาจากการเกษตรกรรม ในช่วงของการเก็บเกี่ยวผลผลิต มีคนงานในการเกษตรกรรมหลายพันคนจากพื้นที่ต่าง ๆ ของจักรวรรดิรัสเซียได้เข้ามาทำงานในพื้นที่ของเขตผู้ว่าการ ส่วนเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งประกอบไปด้วย การโม่แป้ง, การกลั่น, อุตสาหกรรมโลหะ, เหมืองแร่เหล็ก, การแปรรูปน้ำตาลจากผลบีท, และอุตสาหกรรมอิฐ กลับยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร

ประวัติศาสตร์ แก้

ในวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1802 เขตผู้ว่าการโนโวรอสซียาถูกแบ่งออกเป็นเขตผู้ว่าการเยคาเตรีโนสลัฟ เขตผู้ว่าการนีโคลาเยฟ และเขตผู้ว่าการเทาริดา ตามพระราชกฤษฎีกาของวุฒิสภา ส่วนเทศมณฑลเฮียร์ซอนก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของเขตผู้ว่าการนีโคลาเยฟ จนกระทั่งในวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1803 ศูนย์กลางและการปกครองของเขตผู้ว่าการถูกโอนถ่ายจากเมืองนีโคลาเยฟให้กับเมืองเฮียร์ซอน และทำให้เขตผู้ว่าการดังกล่าวเริ่มรู้จักกันในชื่อ เขตผู้ว่าการเฮียร์ซอน ตามพระราชกฤษฎีกาของจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 และพระราชกฤษฎีกาของวุฒิสภา ฉบับที่ 20760 ซึ่งเขตผู้ว่าการเฮียร์ซอนดำรงอยู่จนถึง ค.ศ. 1922 หลังจากนั้น พื้นที่ส่วนหนึ่งของเขตผู้ว่าการได้กลายเป็นเทศมณฑลนีโคลาเยฟ โดยใน ค.ศ. 1803 จนถึง ค.ศ. 1873 เขตผู้ว่าการเฮียร์ซอนเป็นส่วนหนึ่งของเขตข้าหลวงโนโวรอสซียา

ดินแดนของเขตผู้ว่าการเฮียร์ซอนเข้าข่ายเป็น "เขตนิคมชาวยิว" ที่ซึ่งอาณานิคมการเกษตรของชาวเยอรมันและชาวยิวถูกก่อตั้งขึ้น ใน ค.ศ. 1865 ระบบเซมส์ตโว (zemstvo[a]) ถูกสร้างขึ้น และการประชุมเซมส์ตโวในระดับเขตผู้ว่าการเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีการจัดการประชุมในวันที่ 28 เมษายน จนถึงวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1865[1] โดยในทุพภิกขภัยรัสเซีย ค.ศ. 1891–1892 เขตผู้ว่าการเฮียร์ซอนเป็นหนึ่งใน 17 เขตผู้ว่าการที่ได้รับผลกระทบจากทุพภิกขภัยในครั้งดังกล่าว

โดยก่อนที่จะเกิดการปฏิวัติรัสเซียใน ค.ศ. 1917 เขตผู้ว่าการเฮียร์ซอนยังไม่มีการเปลี่ยนในด้านการปกครองและดินแดนที่สำคัญในเขตผู้ว่าการมากนัก จนกระทั่งในวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1920 คณะกรรมการปฏิวัติแห่งยูเครนทั้งปวง มีมติให้มีการแบ่งเขตผู้ว่าการเฮียร์ซอน ออกเป็นเขตผู้ว่าการแคร์ซอนและเขตผู้ว่าการออแดซา โดยมีเมืองนีโคลาเยฟ (มือกอลายิว) ทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงของเขตผู้ว่าการแคร์ซอน ในเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน เขตผู้ว่าการแคร์ซอนถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเขตผู้ว่าการมือกอลายิว ส่วนเมืองแคร์ซอนก็กลายเป็นเมืองเทศมณฑลภายของเขตผู้ว่าการมือกอลายิว จนกระทั่งใน ค.ศ. 1922 เขตผู้ว่าการออแดซาและมือกอลายิวได้รวมตัวกันเป็นเขตผู้ว่าการออแดซา

โดยใน ค.ศ. 1923 เขตผู้ว่าการออแดซาถูกแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 เขต (okrugs) ซึ่งรวมไปถึงเขตแคร์ซอนที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองแคร์ซอน

เขตการปกครอง แก้

ในตอนต้น เขตผู้ว่าการเฮียร์ซอนถูกแบ่งออกเป็น 4 เทศมณฑล ประกอบด้วย เทศมณฑลอะเลคซันดรียา, เยลีซาเวตกราด, ตีรัสปอล และเฮียร์ซอน และตั้งแต่ ค.ศ. 1806 เขตผู้ว่าการก็มีเทศมณฑล 5 เขต ประกอบด้วย เทศมณฑลอะเลคซันดรียา, เยลีซาเวตกราด, ออลวีโอปอล, ตีรัสปอล และเฮียร์ซอน ใน ค.ศ. 1825 เทศมณฑลโอเดซาถูกก่อตั้งขึ้นบนพื้นที่ของเทศมณฑลเฮียร์ซอนและตีรัสปอล ใน ค.ศ. 1828 เทศมณฑลออวีโอปอลและเยลีซาเวตกราดถูกยุบลง และเทศมณฑลโบบรีเนตส์ถูกสถาปนาขึ้นบนรากฐานของเทศมณฑลเดิมของทั้งสอง ใน ค.ศ. 1834 เทศมณฑลตีราสปอลถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน และได้มีการสถาปนาเทศมณฑลอนันเยฟขึ้นมาใหม่ ใน ค.ศ. 1865 ศูนย์กลางของเทศมณฑลโบบรีเนตส์ถูกย้ายไปที่เยลีซาเวตกราด และทำให้เทศมณฑลโบบรีเนตส์ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น เทศมณฑลเยลีซาเวตกราด

เทศมณฑล เมืองเทศมณฑล ตราอาร์ม ประชากร (คน)
อะเลคซันดรียา อะเลคซันดรียา
 
327,199
อะนันเยฟ อะนันเยฟ
 
187,226
เยลีซาเวตกราด เยลีซาเวตกราด
 
507,660
โอเดซา โอเดซา
 
532,739
ตีรัสปอล ตีรัสปอล
 
206,568
เฮียร์ซอน เฮียร์ซอน
 
532,956
นีโคลาเยฟ นีโคลาเยฟ
 
92,000

หมายเหตุ แก้

  1. อักษรซีริลลิก: земство

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้