เขตปลอดทหาร (อังกฤษ: demilitarized zone หรือ demilitarised zone; ย่อ: DMZ หรือ DZ) เป็นท้องที่ที่ห้ามดำเนินกิจกรรมทางทหาร โดยมักเป็นเขตแดนหรือพรหมแดนระหว่างอำนาจหรือพันธมิตรทางทหารสองฝ่ายหรือกว่านั้น และการห้ามเช่นว่ามักมีขึ้นโดยอาศัยสนธิสัญญาสันติภาพ การสงบศึก ความตกลงทวิหรือพหุภาคี บ่อยครั้งที่เขตปลอดทหารอยู่ในพื้นที่ควบคุมและทำหน้าที่เป็นเขตแดนระหว่างประเทศอย่างแท้จริง

Map of the demilitarized zone between North and South Vietnam
เขตปลอดทหารเวียดนามที่แยกเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ในปี พ.ศ. 2512

เขตปลอดทหารหลายแห่งกลายเป็นเขตสงวนพันธุ์สัตว์ป่าไปโดยมิได้ตั้งใจ เพราะอันตรายเกินกว่าจะปลูกสร้างสิ่งใด ๆ ทั้งน้อยคนจะสามารถรุกล้ำหรือล่าสัตว์ในนั้นได้ เขตปลอดทหารทำนองนี้มีเขตปลอดทหารเกาหลี และเขตปลอดทหารเวียดนาม เป็นต้น

โดยทั่วไป ที่ว่า "ปลอดทหาร" นั้นหมายถึง แปลงให้พ้นจากประโยชน์หรือความมุ่งหมายทางทหาร กลับสู่อาณาเขตที่ปราศจากทหารสหภาพโซเวียตในอดีตมักใช้คำนี้ในความหมายดังกล่าวทั้งในภาษาตะวันตกและภาษาถิ่นของตัว

แม้ว่าเขตปลอดทหารหลายเขตเป็นดินแดนที่เป็นกลาง เพราะไม่มีฝ่ายใดสามารถเข้าไปควบคุมได้ แม้เป็นการปกครองดูแลโดยมิใช่เพื่อการยุทธก็ตาม แต่ในหลายกรณี ท้องที่ท้องที่หนึ่งจะปลอดทหารก็ต่อเมื่อมีความตกลงให้รัฐหนึ่ง ๆ มีอำนาจเต็มในอันที่จะปกครองดูแลท้องที่นั้นได้ และก็เป็นไปได้ที่ขั้วอำนาจต่าง ๆ จะตกลงกำหนดเขตปลอดทหารกันโดยไม่ได้ตกลงระงับข้อเรียกร้องทางดินแดนซึ่งยังขัดแย้งกันอยู่ กระบวนการแบบนี้จะเกิดขึ้นได้ก็โดยวิถีทางอันสันติ เช่น การเจรจาทางทูต หรือเสนอข้อหาต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ นอกจากนี้ อาจตกลงกำหนดเขตดังกล่าวกันโดยให้พักการเรียกร้องเช่นนั้นไว้ชั่วระยะหนึ่งก่อนก็ได้

เขตปลอดทหารในปัจจุบัน แก้

  • หมู่เกาะโอลันด์ – ตามอนุสัญญาโอลันด์ ค.ศ. 1921 ซึ่งเป็นมติของสันนิบาตชาติภายหลังจากเหตุการณ์วิกฤติการณ์โอลันด์ โดยสั่งการให้รัฐบาลฟินแลนด์สงวนพื้นที่ดังกล่าวไว้เป็นเขตปลอดทหาร[1]
  • เขตแอนตาร์กติกา – ตามระบบสนธิสัญญาแอนตาร์กติก มาตราที่ 1 ที่ห้ามไม่ให้มีกิจกรรมทางการทหารในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว เช่น การจัดตั้งฐานทัพและป้อมปราการที่ใช้งานทางหทาร การซ้อมรบทางทหาร รวมถึงการทดสอบอาวุธทุกประเภท แต่อย่างไรก็ตาม สนธิสัญญาได้กำหนดไว้ให้สามารถบุคลากรทางทหารหรือนักวิจัยสามารถทำการวิจัยหรือทดสอบใด ๆ ที่ใช้ในเชิงสันติ[2]
  • เขตกันชนระหว่างประเทศมอลโดวากับเขตปกครองตัวเองทรานส์นิสเตรีย – รู้จักกันในชื่อ Dniester Valley Security Zone ซึ่งถูกกำหนดและดูแลโดยคณะกรรมการควบคุมร่วม (Joint Control Commission) ตามสนธิสัญญาหยุดยิงหลังสงครามทรานส์นิสเตรีย โดยคณะกรรมการมีหน้าที่ในการเฝ้าติดตามและตรวจสอบเขตปลอดทหารซึ่งถูกกำหนดให้ใช้แม่น้ำนีสเตอร์ ซึ่งกั้นเขตระหว่างสองพื้นที่ขัดแย้ง มีความยาวประมาณ 225 กิโลเมตร และมีความกว้างของเขตตั้งแต่ 1 ถึง 15 กิโลเมตร
  • เขตปลอดทหารเกาหลี – ตามความตกลงการสงบศึกเกาหลีได้กำหนดให้มีเขตปลอดทหารความกว้าง 4 กิโลเมตร ระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ภายหลังสงครามเกาหลี[3] ปัจจุบันกลับเป็นเขตที่มีการเสริมกำลังทหารสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลกแม้จะมีชื่อเรียกว่าเขตปลอดทหารก็ตาม[4]
  • ด่านคูเวต-อิรัก – คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้อนุมัติให้มีการสร้างเขตปลอดทหารขึ้นตามมติที่ 689 หลังจากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทรซีนาย ระหว่างอียิปต์กับอิสราเอล
  • เกาะมาร์ติน การ์เซีย – เป็นเกาะของประเทศอาเจนตินาที่อยู่ภายในน่านน้ำริโอเดลาปลาตาของอุรุกวัย โดยสนธิสัญญาริโอเดลาปลาตา ข้อที่ 45 ระบุว่า เกาะมาร์ติน การ์เซีย ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่สงวนทางธรรมชาติเพื่อการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์และพืชพื้นเมืองภายใต้เขตอำนาจของสาธารณรัฐอาเจนตินา และให้สถานะเป็นเขตปลอดทหาร
  • ประสาทพระวิหาร – ตามคำสั่งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้กำหนดให้มีเขตปลอดทหารชั่วคราวรอบ ๆ พื้นที่ตัวปราสาท ซึ่งทั้งไทยและกัมพูชาอ้างในกรรมสิทธิดังกล่าว[5]
  • คาบสมุทรไซนาย – ตามสนธิสัญญาสันติภาพอียิปต์-อิสราเอล กำหนดให้มีการจำกัดจำนวนกองทหารอียิปต์ที่สามารถประจำการได้ในคาบสมุทรไซนาย โดยส่วนต่าง ๆ ของคาบสมุทรจะมีสัดส่วนการกำหนดการปลอดทหารในสัดส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่รัศมี 20-40 กิโลเมตร (12-25 ไมล์) จากอิสราเอล ซึ่งอิสราเอลตกลงจะจำกัดจำนวนกองกำลังของตนในพื้นที่รัศมี 3 กิโลเมตรจากพรมแดนอียิปต์[6] โดยพื้นที่ดังกล่าวอยู่ภายใต้การสังเกตการณ์ของกองกำลังผู้สังเกตการข้ามชาติ (Multinational Force and Observers: MFO)[7] ต่อมาเนื่องจากปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาการก่อความไม่สงบ ทุกฝ่ายจึงมีความเห็นให้กองกำลังอียิปต์สามารถส่งกองกำลังเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว รวมถึงยานยนต์และเฮลิคอปเตอร์เพื่อต่อสู้กับกลุ่มอิสลามิสต์[8][9][10][11] และมีการกำหนดพื้นที่เขตปลอดทหารระหว่างพรมแดนอียิปต์และฉนวนกาซ่าระยะทาง 10 กิโลเมตรเพื่อป้องการการโจมตีจากกลุ่มกบฎและการลักลอบค้าอาวุธ รวมถึงรับมือต่อภัยก่อการร้าย[12]
  • สฟาลบาร์ – กำหนดขึ้นตามสนธิสัญญาสฟาลบาร์ ค.ศ. 1920 กำหนดให้รับรองเขตอธิปไตยของนอร์เวย์บนพื้นที่ดังกล่าว และกำหนดพื้นที่บางส่วนเป็นเขตปลอดทหาร[13] ซึ่งเป็นเขตปลอดทหารแห่งเดียวในปัจจุบัน ที่อยู่ภายใต้อธิปไตยของประเทศเดียว[14]
  • ซูดาน – กำหนดให้มีเขตปลอดทหารระยะทาง 10 กิโลเมตร (6 ไมล์) ตามแนวพรมแดนซูดาน และซูดานใต้[15][16]
  • พื้นที่กันชนของสหประชาชาติในไซปรัส (United Nations Buffer Zone in Cyprus) – คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้กำหนดเขตปลอดทหารแยกระหว่างสาธารณรัฐตุรกีแห่งนอร์เทิร์นไซปรัสที่ประกาศแยกตัวเองออกเป็นอิสระจากไซปรัสโดยปราศจากการรับรองจากประเทศในสหประชาชาติ ซึ่งสหประชาชาติได้มีมติที่ 186 ในการส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปปฏิบัติการในไซปรัส[14]
  • เขตกองกำลังสังเกตการณ์อิสระแห่งสหประชาชาติ (United Nations Disengagement Observer Force Zone) – คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้กำหนดเขตปลอดทหารบริเวณที่ราบสูงโกลันในซีเรียซึ่งอิสราเอลยึดครองอยู่ ตามมติที่ 350 หลังจากสงครามยมคิปปูร์ โดยพื้นที่ดังกล่าวอยู่ภายใต้การดูแลของกองกำลังสังเกตการณ์อิสระแห่งสหประชาชาติ (United Nations Disengagement Observer Force)

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. ทางเลือกทางการเมือง 16 กรณีศึกษารูปแบบการปกครองในฐานะทางออกจากความขัดแย้ง (peaceresourcecollaborative.org)
  2. "art. 1", Antarctic Treaty, 1959
  3. "art. 1", Korean Armistice Agreement, 1953
  4. Walker, Philip (24 June 2011). "The world's most dangerous borders". Foreign Policy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 March 2017.
  5. "Request for Interpretation of the Judgment of 15 June 1962 in the Case concerning the Temple of Preah Vihear (Cambodia v. Thailand)" (PDF). International Court of Justice. 18 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 October 2013. สืบค้นเมื่อ 9 October 2018.
  6. Camp David Accords – Israeli Ministry of Foreign Affairs เก็บถาวร 3 กันยายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. 10 Tactical Air Group: Canadian Contingent Multinational Force and Observers Handbook (unclassified), page A-1. DND, Ottawa, 1986.
  8. Keinon, Herb (9 August 2012). "Israel OKs Egypt attack helicopters in Sinai". Jerusalem Post.
  9. Issacharoff, Avi (16 August 2012). "Egypt deployed troops in Sinai without Israel's prior approval". Haaretz. สืบค้นเมื่อ 24 August 2012.
  10. Keinon, Herb (21 August 2012). "Int'l force in Sinai quiet amid concern of violations". Jerusalem Post. สืบค้นเมื่อ 29 October 2013.
  11. "Israel approves Egypt's request to increase forces in Sinai". Jerusalem Post. 15 July 2013.
  12. "อียิปต์จัดตั้งเขตปลอดทหารที่ติดกับกาซ่า". สถานีวิทยุเวียดนาม (ภาษาอังกฤษ). 2557-10-30.
  13. Original Spitsbergen Treaty
  14. 14.0 14.1 Ltd.Thailand, VOICE TV (2011-07-19). "ทำความรู้จักกับเขตปลอดทหารทั่วโลก". VoiceTV.
  15. "Sudan agrees demilitarised zone for north-south border". BBC News. BBC. 31 May 2011. สืบค้นเมื่อ 24 October 2015.
  16. Ahmed, Amir; Botelho, Greg (9 March 2013). "Sudan, South Sudan agree to pull troops from demilitarized zone". Cable News Network. Turner Broadcasting System, Inc. สืบค้นเมื่อ 24 October 2015.