เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน

เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน เป็นเขตการค้าเสรีที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก ซึ่งเป็นการตกลงในลักษณะพหุพาคี ซึ่งแตกต่างจากเขตการค้าเสรีไทย-จีน ที่เป็นการตกลงแบบทวิภาคี โดยทั้งนี้เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน ได้มีข้อตกลงการขอยกเลิกภาษีนำเข้าและข้อจำกัดทางการค้าระหว่างสมาชิกในอาเชียนกับประเทศจีน[1]

อาณาบริเวณประเทศในข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน

กรอบข้อตกลง แก้

  • แต่ละประเทศจะต้องลดภาษีเหลือ 0 -5 % ภายใน 1 กรกฎาคม 2548 โดยมีจำนวนรายการไม่น้อยกว่า 40 % อยู่ในรายการสินค้าปกติ
  • แต่ละประเทศจะต้องลดภาษีเหลือ 0-5 % ภายใน 1 มกราคม 2550 โดยมีจำนวนรายการไม่น้อยกว่า 60 % อยู่ในรายการสินค้าปกติ
  • แต่ละประเทศจะต้องยกเลิกภาษีระหว่างกันทุกรายการภายในวันที่ 1 มกราคม 2553 โดยสินค้า ไม่เกิน 150 รายการ สามารถยืดเวลาการลดภาษีไปจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2555


สินค้าที่กลุ่มประเทศอาเซียนเปิดเสรีให้ประเทศจีน แก้

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ และไอที

สินค้าที่ประเทศจีนเปิดเสรีให้กลุ่มประเทศอาเซียน แก้

พืชผัก-ผลไม้เมืองหนาว

ผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า แก้

ผักและผลไม้ เป็นสินค้าเกษตรที่ได้รับผลกระทบด้านบวกและลบจากเอฟทีเอค่อนข้างชัดเจนโดยเฉพาะไทย-จีน เพราะจีนมีความได้เปรียบในการผลิตผักผลไม้กว่าไทยมาก และยังเป็นผู้ส่งออกผักและผลไม้รายใหญ่ในอันดับต้นๆของโลก หลังจากไทยได้ตกลงลดภาษีในสินค้าผักและผลไม้กับจีนในปี 2546 พบว่าการส่งออกสินค้าเกษตรกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มผักและผลไม้มากขึ้นกว่าในอดีต ในปี 2547 พบว่า ก่อนและหลังมีเอฟทีเอ การส่งออกผักขยายตัว 79% และผลไม้ 41% สาเหตุหลักเนื่องมาจากการขยายตัวอย่างมากของการส่งออกผักในกลุ่มมันสำปะหลัง และการส่งออกเพิ่มขึ้นในผลไม้เมืองร้อนจำพวก ลำไยสด ทุเรียนสด และมังคุด ขณะเดียวกัน การนำเข้าผักขยายตัวเพิ่มขึ้น 147% และการนำเข้าผลไม้ขยายตัว 142% โดยสินค้าที่มีสัดส่วนการนำเข้าสูง ได้แก่ กระเทียม เห็ดแห้ง แครอท และผลไม้เมืองหนาว เช่น แอปเปิ้ล ลูกแพร์ และควินซ์

ดูเพิ่ม แก้

เขตการค้าเสรีASEAN-จีน เก็บถาวร 2009-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

อ้างอิง แก้

  1. ยุกตนันท์ จำปาเทศ.ผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรี เกษตรกรจะเป็นอย่างไร, กรมส่งเสริมการเกษตร.เขตจตุจักร.กรุงเทพมหานคร. 2552