เกียวกูองโฮโซ

(เปลี่ยนทางจาก เกียวกุองโฮโซ)

เกียวกูองโฮโซ (ญี่ปุ่น: 玉音放送โรมาจิGyokuon-hōsō) หรือ "การออกอากาศพระสุรเสียง" เป็นการออกอากาศ "พระราชดำรัสว่าด้วยการสิ้นสุดสงครามมหาเอเชียบูรพา" (ญี่ปุ่น: 大東亜戦争終結ノ詔書โรมาจิDaitōa-sensō-shūketsu-no-shōsho) ของจักรพรรดิฮิโระฮิโตะแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น ทางระบบวิทยุกระจายเสียง โดยทรงประกาศต่อชาวญี่ปุ่นว่ารัฐบาลญี่ปุ่นได้ยอมรับปฏิญญาพ็อทซ์ดัม ซึ่งต้องการให้ทหารญี่ปุ่นยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขเพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่สอง พระราชดำรัสดังกล่าวได้รับการเผยแพร่เมื่อเที่ยงวันตามเวลามาตรฐานญี่ปุ่น วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2488 หลังจากยุทธการโอะกินะวะ การทิ้งระเบิดปรมาณูถล่มฮิโระชิมะและนะงะซะกิ และการประกาศสงครามต่อญี่ปุ่นของสหภาพโซเวียต

แผ่นเสียงบันทึกกระแสพระราชดำรัส "เกียวกูองโฮโซ" ของจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ ปัจจุบันได้รับการอนุรักษ์ไว์ที่พิพิธภัณฑ์ของเอ็นเอชเค

พระราชดำรัสของจักรพรรดิฮิโระฮิโตะอาจถือได้ว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่จักรพรรดิญี่ปุ่นมีพระราชดำรัสแก่สามัญชน แม้ว่าจะเป็นพระราชดำรัสผ่านแผ่นเสียงก็ตาม พระราชดำรัสดังกล่าวเผยแพร่ในรูปแบบทางการและใช้ภาษาญี่ปุ่นที่ค่อนข้างพ้นสมัยซึ่งใช้กันในราชสำนักจักรพรรดิแต่โบราณ นอกเหนือจากนั้น พระราชดำรัสของจักรพรรดิฮิโระฮิโตะมิได้หมายความถึงการยอมจำนนโดยตรง แต่ตรัสว่าพระองค์ได้พระราชทานคำแนะนำแก่รัฐบาลในการยอมรับข้อตกลงของปฏิญญาพอตสดัมทั้งหมด สิ่งทำให้เกิดความสับสนในหมู่ผู้ฟังจำนวนมากซึ่งไม่ทราบว่าญี่ปุ่นได้ยอมจำนนหรือพระจักรพรรดิทรงเรียกร้องให้ประชาชนต่อต้านการรุกรานของข้าศึกต่อไป คุณภาพเสียงที่ต่ำของการออกอากาศวิทยุ เช่นเดียวกับภาษาอย่างเป็นทางการที่ใช้กันในราชสำนัก เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสงสัย

การออกอากาศ แก้

บรรยากาศระหว่างการเผยแพร่กระแสพระราชดำรัสว่าด้วยการยุติสงครามมหาเอเชียบูรพา ในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2488 (ซ้าย) ประชาชนชาวญี่ปุ่นซึ่งเผชิญภัยจากการโจมตีทางอากาศนั่งคุกเข่ารับฟังการออกอากาศพระราชดำรัส (ขวา) เชลยศึกจากกองทัพที่ 31 ของญี่ปุ่น ซึ่งถูกควบคุมตัวไว้ที่เกาะกวม ยืนก้มศีรษะรับฟังการออกอากาศพระราชดำรัส

พระราชดำรัสนี้มิได้ถูกนำออกอากาศโดยตรง แต่เป็นการเล่นเสียงจากแผ่นเสียงซึ่งได้มีการบันทึกไว้จากพระราชวังหลวงในระหว่างวันที่ 13-14 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ทหารญี่ปุ่นหลายฝ่ายไม่เห็นด้วยกับการที่สมเด็จพระจักรพรรดิกำลังจะยุติสงคราม เนื่องจากพวกเขาถือว่าเป็นการทำให้ประเทศเสื่อมเสียเกียรติยศอย่างยิ่ง ไม่นานหลังจากนั้น นายทหารนับพันนายก็พยายามบุกเข้าไปในพระราชวังหลวงในเย็นวันที่ 14 สิงหาคม เพื่อทำลายแผ่นเสียงนี้ (เหตุการณ์นี้ต่อมาเรียกว่า อุบัติการณ์คิวโจ (Kyūjō Jiken) หรือ "เหตุกบฎในพระราชวัง") แต่แผ่นเสียงได้ถูกลักลอบนำออกจากพระราชวังหลวงไปก่อนแล้ว โดยถูกซุกซ่อนไว้ในในตะกร้าซักผ้า ทำให้สามารถนำไปออกอากาศได้ในวันรุ่งขึ้น

เพื่อบรรเทาความสับสน ในตอนสรุปของพระราชดำรัส ผู้ประกาศวิทยุได้ประกาศอย่างชัดเจนว่าพระราชดำรัสของสมเด็จพระจักรพรรดิหมายความว่า ญี่ปุ่นกำลังจะยอมจำนน ตามข้อมูลของนักหนังสือพิมพ์ชาวฝรั่งเศส โรเบิร์ต กิลเลน ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในโตเกียว ณ ขณะนั้น บันทึกไว้ว่า หลังจากผู้ประกาศได้สรุปพระราชดำรัสแล้ว ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากก็เกลับไปอยู่บ้านหรือสำนักงานธุรกิจของตนเองเป็นเวลาหลายชั่วโมง เพื่อที่จะซึมซับและไตร่ตรองความสำคัญของประกาศนั้นอย่างเงียบ ๆ[1]

หลังการออกอากาศบันทึกพระสุรเสียงทรงมีพระราชดำรัสดังกล่าว แผ่นบันทึกเสียงที่ใช้ในการออกอากาศได้สูญหายไปท่ามกลางความโกลาหลหลังการประกาศยอมจำนน แต่ช่างเทคนิคคนหนึ่งของสถานีวิทยุได้ทำสำเนาไว้อย่างลับ ๆ ซึ่งต่อมาได้ส่งมอบให้หน่วยงานของฝ่ายผู้ยึดครองญี่ปุ่น และเป็นต้นฉบับของสำเนาเสียงที่ปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้[2]

ใจความสำคัญ แก้

เนื้อหาหลักของกระแสพระราชดำรัสคือการประกาศการยอมจำนนของญี่ปุ่นโดยจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ อย่างไรก็ตาม คำศัพท์ที่ปรากฏในพระราชดำรัสดังกล่าวเป็นศัพท์สูง ฟังเข้าใจได้ยากยิ่ง คนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยในสมัยนั้นก็ยังไม่แน่ใจในความหมายที่แท้จริงในทันที และจากเนื้อความทั้งหมดที่สมเด็จพระจักรพรรดิทรงประกาศ แม้ว่าเนื้อหาหลักคือการยอมจำนนของญี่ปุ่น แต่ก็ไม่มีส่วนใดเลยที่ระบุคำว่า “ยอมแพ้”[3]

เนื้อความที่สื่อว่าญี่ปุ่นยอมแพ้ตามพระราชดำรัสของสมเด็จพระจักรพรรดิคือ

ภาษาญี่ปุ่น
อักขรวิธีตามเอกสารต้นฉบับ
คำอ่าน
อักษรโรมัน
คำแปลภาษาอังกฤษ
(แปลโดย ฮิระกะวะ ทะดะอิชิ)
คำแปลภาษาไทย

朕ハ帝國政府ヲシテ米英支蘇四國ニ對シ其ノ共同宣言ヲ受諾スル旨通告セシメタリ

Chin wa teikoku-seifu wo shite Bei Ei Shi So shikoku ni taishi sono kyōdō-sengen wo judaku suru mune tsūkoku seshimetari

We have ordered Our Government to communicate to the Governments of the United States, Great Britain, China and the Soviet Union that Our Empire accepts the provisions of their Joint Declaration.

"เราได้มีบัญชาให้รัฐบาลจักรวรรดิแจ้งไปยังสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร จีน สหภาพโซเวียต สี่ประเทศ ว่าเรายอมรับปฏิญญาที่พวกเขาได้ร่วมกันประกาศไว้"

ปฏิญญาที่พระองค์มีรับสั่งถึง คือ ปฏิญญาพ็อทซ์ดัม ซึ่งสี่ชาติใหญ่ร่วมกันเรียกร้องให้ญี่ปุ่นยอมแพ้โดยไม่มีเงื่อนไข ในตอนนั้น ประชาชนคนไหนไม่รู้จักคำประกาศนี้ ก็อาจไม่เข้าใจชัดเจนในทันทีว่านั่นหมายถึงการยอมแพ้ของญี่ปุ่น[4]

และท้ายที่สุด พระองค์ตรัสถ้อยคำที่มีชื่อเสียงว่า: "แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เราจะต้องดำเนินไปตามกระแสแห่งกาลเวลา อดทนในสิ่งที่เหลือจักทานทน ข่มกลั้นในสิ่งที่ยากจักข่มกลั้น เพื่อถากถางปูทางสู่มหาสันติภาพอันจักยั่งยืนสืบไปนับพันปี"

ทั้งนี้ เนื้อหาในพระราชดำรัสได้แปลเป็นภาษาอังกฤษและและออกอากาศไปยังดินแดนโพ้นทะเลของฝ่ายสัมพันธมิตรในเวลาเดียวกันโดย ฮิระกะวะ ทะดะอิชิ (平川唯一) โดยที่ประเทศสหรัฐอเมริกานั้น คณะกรรมาธิการการสื่อสารของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา (Federal Communications Commission: FCC) ได้บันทึกเสียงการออกอากาศครั้งนี้ไว้ และคำแปลภาษาอังกฤษของพระราชดำรัสนี้ได้มีการตีพิมพ์เนื้อหาทั้งหมดในหนังสือพิมพ์ The New York Times.[5]

เนื้อความในพระราชดำรัสโดยละเอียด แก้

ภาษาญี่ปุ่น
อักขรวิธีตามเอกสารต้นฉบับ
ภาษาญี่ปุ่น
อักขรวิธีปัจจุบัน
คำแปลภาษาอังกฤษ
(แปลโดย ฮิระกะวะ ทะดะอิชิ)
คำแปลภาษาไทย

朕深ク 世界ノ大勢ト 帝國ノ現状トニ鑑ミ 非常ノ措置ヲ以テ 時局ヲ収拾セムト欲シ 茲ニ 忠良ナル爾臣民ニ告ク

朕深く、世界の大勢と帝国の現状とにかんがみ、非常の措置をもって時局を収拾せんと欲し、ここに忠良なる爾 なんじ臣民に告ぐ。

After pondering deeply the general trends of the world and the actual conditions obtaining in Our Empire today, We have decided to effect a settlement of the present situation by resorting to an extraordinary measure.

หลังจากเราได้ใคร่ครวญเกี่ยวกับสถานการณ์ของโลกและเงื่อนไขปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับจักรวรรดิของเราในวันนี้ เราได้ตัดสินใจให้ข้อยุติของสถานการณ์ในปัจจุบันนั้นมีผลไปในมาตรการพิเศษนี้

朕ハ 帝國政府ヲシテ 米英支蘇 四國ニ對シ 其ノ共同宣言ヲ受諾スル旨 通告セシメタリ

朕は帝国政府をして、米英支蘇4国に対し、その共同宣言を受諾する旨、通告せしめたり。

We have ordered Our Government to communicate to the Governments of the United States, Great Britain, China and the Soviet Union that Our Empire accepts the provisions of their Joint Declaration.

เราได้มีบัญชาให้รัฐบาลจักรวรรดิแจ้งไปยังสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร จีน และสหภาพโซเวียต ว่าเรายอมรับปฏิญญาที่พวกเขาได้ร่วมกันประกาศไว้

抑々 帝國臣民ノ康寧ヲ圖リ 萬邦共榮ノ樂ヲ偕ニスルハ 皇祖皇宗ノ遣範ニシテ 朕ノ拳々措カサル所 

そもそも、帝国臣民の康寧を図り、万邦共栄の楽をともにするは、皇祖皇宗の遣範にして、朕の拳々措かざる所、

To strive for the common prosperity and happiness of all nations as well as the security and well-being of Our subjects is the solemn obligation which has been handed down by Our Imperial Ancestors and which lies close to Our heart.

เพื่อเดินหน้าไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองและความสุขร่วมกันของชาติทั้งหลาย รวมทั้งความปลอดภัยและสวัสดิภาพของประชาราษฎรของเรา ซึ่งเป็นสิ่งที่สมเด็จพระบูรพมหาจักรพรรดิราชเจ้าได้ทรงสืบทอดรักษา เป็นพันธกรณีอันมั่นคงสืบต่อกันมาจนถึงตัวเรา

曩ニ米英二國ニ宣戦セル所以モ亦 實ニ帝國ノ自存ト東亜ノ安定トヲ庶幾スルニ出テ 他國ノ主權ヲ排シ 領土ヲ侵カス如キハ 固ヨリ朕カ志ニアラス

さきに米英2国に宣戦せる所以もまた、実に帝国の自存と、東亜の安定とを庶幾 しょきするに出で、他国の主権を排し、領土を侵すがごときは、もとより朕が志にあらず。

Indeed, We declared war on America and Britain out of Our sincere desire to ensure Japan's self-preservation and the stabilization of East Asia, it being far from Our thought either to infringe upon the sovereignty of other nations or to embark upon territorial aggrandizement.

ในชั้นต้น เราได้ประกาศสงครามต่อสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา เพื่อสำแดงถึงการดำรงอยู่ของจักรวรรดิอย่างแท้จริง และเพื่อสร้างเสถียรภาพในเอเชียบูรพา การล่วงละเมิดอธิปไตยของชาติอื่น หรือการรุกรานดินแดนในทำนองเดียวกัน หาใช่ความตั้งใจของเรามาแต่ต้นไม่

然ルニ 交戰巳ニ四歳ヲ閲シ 朕カ陸海将兵ノ勇戰 朕カ百僚有司ノ勵精 朕カ一億衆庶ノ奉公 各々最善ヲ盡セルニ拘ラス 戰局必スシモ好轉セス 世界ノ大勢亦我ニ利アラス

しかるに、交戦すでに4歳を閲 けみし、朕が陸海将兵の勇戦、朕が百僚有司の励精、朕が一億衆庶の奉公、各々最善をつくせるに拘らず、戦局必ずしも好転せず、世界の大勢また我に利あらず。

But now the war has lasted for nearly four years. Despite the best that has been done by everyone – the gallant fighting of the military and naval forces, the diligence and assiduity of Our servants of the State, and the devoted service of Our one hundred million people – the war situation has developed not necessarily to Japan's advantage, while the general trends of the world have all turned against her interest.

ทว่า บัดนี้สงครามได้ยืดเยื้อมาเป็นเวลาเกือบสี่ปี แม้ทุกคนจะทำดีที่สุด ทั้งการรบอันกล้าหาญของกองทัพบกและกองทัพเรือ ความเพียรพยายามของเหล่าข้าราชการของเรา และการทำงานอย่างอุทิศตนของประชาชนกว่าร้อยล้านคนของเรา สถานการณ์สงครามได้ดำเนินไปจนไม่เอื้อประโยชน์ต่อญี่ปุ่นอีก ในขณะที่ทิศทางหลักของโลกนี้ได้หันกลับมาทำร้ายผลประโยชน์ของชาติ

加之 敵ハ新ニ残虐ナル爆彈ヲ使用シテ 頻ニ無辜ヲ殺傷シ 惨害ノ及フ所 眞ニ測ルヘカラサルニ至ル 而モ 尚 交戰ヲ繼續セムカ 終ニ我カ民族ノ滅亡ヲ招来スルノミナラス 延テ人類ノ文明ヲモ破却スヘシ 

しかのみならず、敵は新たに残虐なる爆弾を使用して頻 しきに無辜 むこを殺傷し、惨害の及ぶ所、真に測るべからざるに至る。 しかもなお、交戦を継続せんか、ついに我が民族の滅亡を招来するのみならず、ひいて人類の文明をも破却すべし。

Moreover, the enemy has begun to employ a new and most cruel bomb, the power of which to do damage is, indeed, incalculable, taking the toll of many innocent lives. Should We continue to fight, not only would it result in an ultimate collapse and obliteration of the Japanese nation, but also it would lead to the total extinction of human civilization.

มิหนำซ้ำ ศัตรูได้เริ่มใช้ระเบิดชนิดใหม่อันร้ายกาจที่สุด มีอำนาจทำลายล้างมหาศาลเกินคณานับ คร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์ไปมากมายเหลือประมาณ หากเรายังต่อสู้ต่อไป ผลลัพธ์จะไม่เป็นเพียงแต่การสิ้นชาติสิ้นเผ่าพันธุ์ของญี่ปุ่น แต่ยังอาจนำไปสู่การสูญสิ้นอารยธรรมมนุษย์อย่างถาวร

斯ノ如クムハ 朕何ヲ以テカ 億兆ノ赤子ヲ保シ 皇祖皇宗ノ神靈ニ謝セムヤ 是レ 朕カ帝國政府ヲシテ 共同宣言ニ應セシムルニ至レル所以ナリ

かくの如くんば、朕、何を以てか、億兆の赤子 せきしを保し、皇祖皇宗の神霊に謝せんや。 それ、朕が帝国政府をして、共同宣言に応ぜしむるに至れる所以なり。

Such being the case, how are We to save the millions of Our subjects, or to atone Ourselves before the hallowed spirits of Our Imperial Ancestors? This is the reason why We have ordered the acceptance of the provisions of the Joint Declaration of the Powers.

ในเมื่อการณ์เป็นไปดังนี้ เราจะช่วยเหลือประชาราษฎรนับล้านของเรา หรือชดเชยความผิดของเราต่อหน้าวิญญาณของสมเด็จพระบูรพมหาจักรพรรดิราชได้อย่างไรเล่า? นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงให้รัฐบาลจักรวรรดิยอมรับปฏิญญาที่มหาอำนาจร่วมกันประกาศไว้

朕ハ 帝國ト共ニ 終始東亜ノ開放ニ協力セル諸盟邦ニ對シ 遺憾ノ意ヲ表セサルヲ得ス

朕は帝国と共に、終始東亜の開放に協力せる諸盟邦に対し、遺憾の意を表せざるを得ず。

We cannot but express the deepest sense of regret to Our Allied nations of East Asia, who have consistently cooperated with the Empire towards the emancipation of East Asia.

เราขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งแด่ชาติพันธมิตรในเอเชียบูรพา ที่ได้ร่วมมือกับจักรวรรดิญี่ปุ่น เพื่อปลดแอกเอเชียบูรพาตลอดมา

帝國臣民ニシテ 戰陣ニ死シ 職域ニ殉シ 非命ニ斃レタル者 及其ノ遺族ニ想ヲ致セハ 五内為ニ裂ク

帝国臣民にして、戦陣に死し、職域に殉じ、非命にたおれたる者、及びその遺族に想いを致せば、五内 ごだい為に裂く。

The thought of those officers and men as well as others who have fallen in the fields of battle, those who died at their posts of duty, or those who met with untimely death and all their bereaved families, pains Our heart night and day.

เมื่อนึกถึงเหล่าเจ้าหน้าที่ และทหาร และผู้อื่น ที่ได้ล้มตายในสนามรบ ผู้ที่เสียชีวิตในหน้าที่ และผู้ที่เสียชีวิตอย่างกระทันหัน และทุกครอบครัวที่ถูกคร่าชีวิตไปนั้น เราก็รู้สึกเจ็บปวดใจอยู่ทุกวันคืน

且 戰傷ヲ負ヒ 災禍ヲ蒙リ 家業ヲ失ヒタル者ノ厚生ニ至リテハ 朕ノ深ク軫念スル所ナリ

かつ、戦傷を負い、災禍を蒙り、家業を失いたる者の厚生に至りては、朕の深く軫念 しんねんする所なり。

The welfare of the wounded and the war-sufferers, and of those who have lost their homes and livelihood, are the objects of Our profound solicitude.

สวัสดิภาพของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม และผู้ที่สูญเสียบ้านและที่อยู่อาศัย ล้วนเป็นสิ่งที่เรากังวลใจอย่างถึงที่สุด

惟フニ 今後帝國ノ受クヘキ苦難ハ 固ヨリ尋常ニアラス 爾臣民ノ衷情モ 朕善ク之ヲ知ル 然レトモ朕ハ 時運ノ趨ク所 堪ヘ難キヲ堪ヘ 忍ヒ難キヲ忍ヒ 以テ萬世ノ為ニ 大平ヲ開カムト欲ス

おもうに、今後帝国の受くべき苦難はもとより尋常にあらず。 爾臣民の衷情 ちゅうじょうも、朕、よくこれを知る。 しかれども朕は、時運の赴く所、堪え難きを堪え、忍び難きを忍び、もって万世の為に大平を開かんと欲す。

The hardships and sufferings to which Our nation is to be subjected hereafter will be certainly great. We are keenly aware of the inmost feelings of all of you, Our subjects. However, it is according to the dictates of time and fate that We have resolved to pave the way for a grand peace for all the generations to come by enduring the unendurable and suffering what is unsufferable.

ความยากลำบากและความทุกข์ของชาติเราที่จำต้องแบกรับไว้ต่อจากนี้จะต้องหนักหนาเป็นแน่ ความรู้สึกของบรรดาประชาราษฎรนั้น เรารับรู้และเข้าใจดี แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เราจะต้องดำเนินไปตามกระแสแห่งกาลเวลา อดทนในสิ่งที่เหลือจะทานทน ข่มกลั้นในสิ่งที่ยากจะข่มกลั้น เพื่อถากถางปูทางสู่มหาสันติภาพอันจะยั่งยืนสืบไปนับพันปี

朕ハ茲ニ 國體ヲ護持シ 得テ忠良ナル爾臣民ノ赤誠ニ信倚シ 常ニ爾臣民ト共ニ在リ

朕はここに、国体を護持し、得て、忠良なる爾臣民の赤誠に信倚 しんいし、常に爾臣民と共にあり。

Having been able to safeguard and maintain the structure of the Imperial State, We are always with you, Our good and loyal subjects, relying upon your sincerity and integrity.

เราอยู่ ณ ที่นี้ เพื่อธำรงไว้ซึ่งโครงสร้างของจักรวรรดิ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราผู้เชื่อมั่นในความจงรักภักดีของเหล่าประชาราษฎร จะอยู่เคียงข้างเหล่าประชาราษฎรผู้ภักดีเสมอไป

若シ夫レ 情ノ激スル所 濫ニ事端ヲ滋クシ 或ハ同胞排儕 互ニ時局ヲ亂リ 為ニ 大道ヲ誤リ 信義ヲ世界ニ失フカ如キハ 朕最モ之ヲ戒ム

もし、それ、情の激する所、みだりに事端を滋くし、あるいは同胞排擠 はいせい、互に時局を乱り、為に大道を誤り、信義を世界に失うが如きは、朕、最もこれを戒む。

Beware most strictly of any outbursts of emotion which may engender needless complications, or any fraternal contention and strife which may create confusion, lead you astray and cause you to lose the confidence of the world.

จงระวังอย่างที่สุดซึ่งการปะทุอารมณ์ อันอาจก่อความเสียหายซ้ำซ้อนโดยไม่จำเป็น หรือการแก่งแย่งกันระหว่างพี่น้องร่วมชาติ และการปะทะกัน ซึ่งอาจสร้างความสับสน นำท่านหลงผิด และทำให้ท่านสูญเสียความเชื่อมั่นบนโลกใบนี้

宣シク 擧國一家子孫相傳ヘ 確ク神州ノ不滅ヲ信シ 任重クシテ道遠キヲ念ヒ 

宜しく、挙国一家子孫相伝え、かたく神州の不滅を信じ、任重くして道遠きをおもい、

Let the entire nation continue as one family from generation to generation, ever firm in its faith in the imperishability of its sacred land, and mindful of its heavy burden of responsibility, and of the long road before it.

ขอให้ประเทศชาติดำเนินต่อไปเป็นครอบครัวเดียวกันจากรุ่นสู่รุ่น ศรัทธามั่นคงในความเป็นอมตะของแผ่นดินเทพเจ้าอยู่เป็นนิจ เอาใจใส่กับภาระรับผิดชอบอันแสนหนักอึ้ง และเส้นทางยาวไกลที่อยู่รอเบื้องหน้า

總力ヲ将来ノ建設ニ傾ケ 道義ヲ篤クシ 志操ヲ鞏クシ 誓テ國體ノ精華ヲ発揚シ 世界ノ進運ニ後レサラムコトヲ期スヘシ

総力を将来の建設に傾け、道義を篤 あつくし、志操を鞏 かたくし、誓って国体の精華を発揚し、世界の進運に後れざらんことを期すべし。

Unite your total strength, to be devoted to construction for the future. Cultivate the ways of rectitude, foster nobility of spirit, and work with resolution – so that you may enhance the innate glory of the Imperial State and keep pace with the progress of the world.

จงรวมรวมสรรพกำลังของท่านเพื่อทุ่มเทสร้างอนาคต ปลูกฝังวิถีแห่งความถูกต้อง ประคับประคองความสูงส่งแห่งจิตวิญญาณ และการทำงานด้วยความแน่วแน่ เพื่อจะได้เพิ่มพูนเกียรติภูมิดั้งเดิมของจักรวรรดิ และก้าวตามความเจริญของโลกได้ต่อไป

爾臣民 其レ克ク朕カ意ヲ體セヨ

爾臣民、其れ克く朕か意を體せよ。

ประชาราษฎรทั้งหลาย จงเข้าใจและทำตามสิ่งที่เราปรารถนาดังกล่าวมานั้นเถิด

ท้ายเอกสารบันทึกพระราชดำรัสดังกล่าว ทรงลงพระปรมาภิไธยกำกับดังนี้

ภาพลายพระหัตถ์และพระราชลัญจกร ภาษาญี่ปุ่น คำแปลภาษาไทย

   

裕仁
御名御璽
昭和二十年八月十四日

ฮิโระฮิโตะ
พระราชลัญจกรประจำพระองค์
ศักราชโชวะที่ 20 เดือน 8 วันที่ 14

ต่อจากนั้นเป็นรายชื่อของคณะเสนาบดีผู้ลงนามเป็นพยาน รวม 17 คน

    
ต้นฉบับของพระราชดำรัสว่าด้วยการสิ้นสุดสงคราม

เขียนด้วยอักษรญี่ปุ่นเป็นแถวแนวตั้ง เรียงข้อความแต่ละแถวจากขวาไปซ้าย
ประทับพระราชลัญจกรประจำพระองค์กำกับพระปรมาภิไธยของสมเด็จพระจักรพรรดิไว้เป็นหลักฐานสำคัญ

อ้างอิง แก้

  1. Guillain, Robert, I Saw Tokyo Burning: An Eyewitness Narrative from Pearl Harbor to Hiroshima, Jove Publications, 1982.
  2. 2007年(平成19年)9月18日放送 『鶴瓶のニッポン武勇伝 言わずに死ねるかっ!!我が家のスゴイ人GP』
  3. โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์. (2550). นางาซากิ: ยลเสน่ห์ล้ำ ย้ำอดีตลึก. แพรวสำนักพิมพ์. หน้า 120.
  4. โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์. (2550). นางาซากิ: ยลเสน่ห์ล้ำ ย้ำอดีตลึก. แพรวสำนักพิมพ์. หน้า 120 - 121.
  5. "Text of Hirohito's Radio Rescript", The New York Times, p. 3, 15 August 1945, สืบค้นเมื่อ 8 August 2015

แหล่งข้อมูลอื่น แก้