เกาะเอลสเมียร์ (อังกฤษ: Ellesmere Island) เป็นเกาะของประเทศแคนาดา ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติก นับเป็นเกาะใหญ่อันดับสิบของโลก และใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศแคนาดา มีพื้นที่ส่วนใหญ่ถูกปกคลุมด้วยธารน้ำแข็งและแผ่นน้ำแข็ง ตั้งอยู่เหนืออาร์กติกเซอร์เคิล จึงถูกนับเป็นส่วนหนึ่งของขั้วโลกเหนือ

เกาะเอลสเมียร์

ภูมิประเทศ แก้

ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นนำแข็ง มีชาวไอนุอาศัยอยู่ เกาะเอสส์เมียติดกับมหาสมุทรอาร์กติก อยู่ใกล้กับเกาะเดวอน,เกาะเอกเซลไฮเบริก์และเกาะกรีนแลนด์ เมืองที่อยู่ใกล้กับเกาะมากที่สุดคือ เมืองทูลี

เส้นทางการบิน แก้

เกาะนี้ใช้เป็นทางบินจากทางอเมริกาไปทางยุโรปและเอเชีย เส้นทางนี้ยังพึ่งใช้ได้ไม่นานนัก

ขนาด แก้

เกาะเอลสเมียร์ มีขนาดใหญ่จนติด 1 ใน 20 ของเกาะทั่วโลก มีขนาดประมาณ 196,236 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 75,767 ตารางไมล์ มีขนาดเป็น 1 ส่วน 50 ของประเทศ

คณะบริหาร แก้

  • รัฐบาล สหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
  • ประมุข สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร
  • ผู้สำเร็จราชการ มีชาแอล ชอง
  • นายกรัฐมนตรี สตีเฟน ฮาร์เปอร์

ภาษาราชการ แก้

ประวัติของประเทศ แก้

ฝรั่งเศสได้เข้ายึดครองแคนาดาฝั่งตะวันออกในปี พ.ศ. 2077 (ค.ศ. 1534) และได้เริ่มตั้งถิ่นฐานในปี พ.ศ. 2147 (ค.ศ. 1604) ปัญหาความขัดแย้งระหว่างฝรั่งเศสกับอังกฤษเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2256 (ค.ศ. 1713) อันเนื่องจากเหตุผลด้านการประมงและการค้าขนสัตว์ ซึ่งในที่สุดดินแดนแคนาดาก็ตกเป็นของอังกฤษ

ปี พ.ศ. 2392 (ค.ศ. 1849) แคนาดาได้รับการยอมรับในสิทธิการปกครองตนเอง และต่อมาปี พ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1867) ได้มีการจัดตั้ง รัฐอธิราชแคนาดา (Dominion of Canada) ในลักษณะของสหพันธรัฐซึ่งประกอบด้วยอัปเปอร์แคนาดา (Upper Canada) และ โลว์เออร์แคนาดา (Lower Canada) (ได้แก่ รัฐออนแทรีโอ รัฐเกแบ็ก รัฐโนวาสโกเชีย และรัฐนิวบรันสวิกในปัจจุบัน) ซึ่งต่อมาได้ขยายออกไปทางภาคตะวันตกจนถึงรัฐบริติชโคลัมเบีย

ปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) แคนาดาได้รับสถานะเป็นประเทศที่เท่าเทียมกับอังกฤษโดยมีกษัตริย์อังกฤษเป็นพระประมุข และต่อมาในปี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) รัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ ก็ได้เข้าร่วมเป็นรัฐที่สิบของแคนาดา

อ้างอิง แก้

พิกัดภูมิศาสตร์: 79°52′27″N 079°19′17″W / 79.87417°N 79.32139°W / 79.87417; -79.32139