เกาะยอ เป็นเกาะหนึ่งที่ตั้งอยู่กลางทะเลสาบสงขลาตอนล่าง มีฐานะเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ตัวเกาะมีพื้นที่ทั้งหมด 15 ตารางกิโลเมตร หรือ 9,275 ไร่[1][2] ประชากรเป็นชาวไทยเชื้อสายจีน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม[3]

ตำบลเกาะยอ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Ko Yo
คำขวัญ: 
สมเด็จเจ้าเป็นศรี ผ้าทอดีล้ำค่า นานาผลไม้หวาน ถิ่นอาหารทะเล เสน่ห์สะพานติณฯ สถาบันทักษิณลือนาม งดงามบ้านเรือนไทย
ตำบลเกาะยอตั้งอยู่ในจังหวัดสงขลา
ตำบลเกาะยอ
ตำบลเกาะยอ
พิกัด: 7°9′39″N 100°32′41″E / 7.16083°N 100.54472°E / 7.16083; 100.54472
ประเทศไทย
จังหวัดสงขลา
อำเภอเมืองสงขลา
พื้นที่[ต้องการอ้างอิง]
 • ทั้งหมด17.95 ตร.กม. (6.93 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • ทั้งหมด4,920 คน
 • ความหนาแน่น274.09 คน/ตร.กม. (709.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 90100
รหัสภูมิศาสตร์900106
เว็บไซต์www.kohyor.go.th (อบต.เกาะยอ)
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เกาะยอ มีผลิตภัณฑ์จากหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงคือ ผ้าทอเกาะยอ ที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะลาย "ราชวัตถ์" ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานชื่อลายผ้าดังกล่าว[2]

ประวัติ แก้

เกาะยอ ปรากฏหลักฐานการมีอยู่ครั้งแรกจากแผนภาพการกัลปนาวัดพะโคะ ที่เขียนขึ้นช่วงปี พ.ศ. 2223 ถึง พ.ศ. 2242 ระบุชื่อว่า "เข้าก้อะญอ" ปรากฏอยู่ปลายสุดของแผนที่ เป็นภาพเขาเกาะยอที่มีพรรณไม้บนภูเขาแต่ไม่ปรากฏรูปสัตว์ป่า[4][5] และปรากฏอีกครั้งในแผนที่เมืองสงขลาที่เขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2230 โดยมองเดียร์ เดอลามาร์ วิศวกรชาวฝรั่งเศส ในแผนที่นี้ปรากฏชุมชนบนเกาะ 9 แห่งบริเวณที่ราบเชิงเขารอบเกาะ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของบ้านนาถิน, บ้านท้ายเสาะ, บ้านท่าไทร, บ้านสวนทุเรียน และบ้านนอก[4]

ในพระนิพนธ์เรื่อง ชีวิวัฒน์เที่ยวที่ต่าง ๆ ภาคที่ 7 โดยสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พ.ศ. 2427 เขียนเกี่ยวกับเกาะยอว่า "เกาะยอ มี เขาเป็นสามเหลี่ยม เรียกว่าแหลมภอ ช่องเขาเขียว และแหลมหัวการัง มีตำบลบ้าน 3 หลังได้แก่ บ้านท่าไทร บ้านอ่าวทราย และ บ้านสวนใหม่ ในเกาะยอมีสวนเรียงรายอยู่ในเกาะ รอบเกาะเป็นสวนผลไม้ หมาก มะพร้าว จำปาดะ ขนุน สะตอ พุมเรียง ละมุด ทุเรียน และมีสวนผัก ผัก และพลุต่าง ๆ มีบ้านราษฏรเรียงรายอยู่รอบเกาะ มีบ่อน้ำจืดสนิทหลายหลัง บ่อหินเป็นบ่อเก่า มีคราบโสโครก มีศาลาเล็กที่นั้นหลังหนึ่ง ในเกาะนั้นมีวัด 2 วัด ชื่อวัดแหลมภอวัดหนึ่ง วัดทายเสาะวัดหนึ่ง"[6]

ประชากร แก้

ชนกลุ่มแรกที่อพยพเข้ามาอยู่ ว่ากันว่าเป็นชาวจีนจากบ้านน้ำกระจาย, บ้านน้ำน้อย และบ้านทุ่งหวัง ซึ่งตั้งถิ่นฐานกันมาอย่างน้อยก็ร่วมสมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว[4] ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ[7] มีวัดในพุทธศาสนา 4 แห่ง มีสำนักสงฆ์, ศาลเจ้าจีน และสถานปฏิบัติธรรมอย่างละหนึ่งแห่ง[3] ทั้งนี้เกาะยอมีประเพณีโบราณสืบทอดกันมาคือ ประเพณีแห่เดือนสิบ และประเพณีขึ้นเขากุฎ[1]

ด้านการศึกษา มีโรงเรียนตั้งอยู่บนเกาะยอสองแห่ง คือ โรงเรียนวัดแหลมพ้อ และโรงเรียนวัดท้ายยอ ส่วนด้านสาธารณสุข มีสถานีอนามัยสองแห่งที่บ้านสวนทุเรียนและบ้านท่าไทร[4]

ที่ตั้งและภูมิศาสตร์ แก้

เกาะยอตั้งอยู่กลางทะเลสาบสงขลาตอนล่าง มีเนื้อที่รวมทั้งพื้นน้ำ 17.95 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 11,220 ไร่ และมีเนื้อที่เฉพาะพื้นดินเพียง 15 ตารางกิโลเมตร หรือ 9,375 ไร่[4] พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและเนินเขา สูง 10 ถึง 151 เมตร มีที่ราบขนาดน้อยโดยเป็นที่ราบเนินเขาริมชายฝั่ง[3] บนเกาะมีแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยต้องขุดบ่อน้ำโดยใช้น้ำจากใต้ดิน[4]

จากที่นี่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองสงขลา 20 กิโลเมตรทางบก และ 6 กิโลเมตรหากเป็นทางเรือ[4] การเดินทางทางบกใช้สะพานติณสูลานนท์ ข้ามมาจากฝั่งอำเภอเมืองและอำเภอสิงหนครได้[1]

เศรษฐกิจ แก้

ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง และเกษตรกรรม อาทิประมงและทำสวนผลไม้[1] มีอาชีพเสริมคือการค้าขายและอุตสาหกรรมในครัวเรือน[3] อาชีพประมงมีทั้งออกเรือไปจับปลาและการเลี้ยงปลาในกระชัง[4] ส่วนผลไม้บนเกาะยอที่มีชื่อเสียงเช่น จำปาดะและละมุด โดยเฉพาะจำปาดะที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นของทอดเช่นเดียวกับกล้วยแขก[1] ส่วนงานหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงคือ ผ้าทอเกาะยอ ที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะลาย "ราชวัตถ์" ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานชื่อลายผ้าดังกล่าว[2]

เขตการปกครอง แก้

ตำบลเกาะยอ แบ่งเขตการปกครองเป็น 9 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งหมด 4,459 คน (สำรวจเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550) ได้แก่[8]

หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน ประชากร
1 บ้านอ่าวทราย 215 734
2 บ้านตีน 83 305
3 บ้านนอก 247 740
4 บ้านสวนทุเรียน 189 546
5 บ้านท่าไทร 137 502
6 บ้านในบ้าน 177 559
7 บ้านป่าโหนด 116 406
8 บ้านท้ายเสาะ 65 249
9 บ้านสวนใหม่ 103 418
รวม 1,332 4,459

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "เกาะยอ". กิมหยงดอตคอม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-11. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 ปิ่น บุตรี (6 มิถุนายน 2556). "โรแมนติกกลางเล โฮมสเตย์เกาะยอ...ไม่ง้อโรงแรม 5 ดาว/ปิ่น บุตรี". เอเอสทีวีผู้จัดการ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-16. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา". ไทยตำบลดอตคอม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-13. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 "ข้อมูลพื้นฐาน". องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยอ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-25. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "ใบกัลปนา". มูลนิธิสวนประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ สงขลา. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. ""เกาะยอ" 100 กว่าปีที่ผ่านมา".
  7. "ขี่จักรยาน ล่องเรือ ชมวิถีชีวิตชาวเกาะยอ". กระปุกดอตคอม. 29 กรกฎาคม 2552. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "ข้อมูลจำนวนประชากร" (PDF). องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยอ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)