เกมล่าชีวิต (อังกฤษ: The Hunger Games) เป็นนวนิยายแนวดิสโทเปีย เขียนโดยซูซาน คอลลินส์ นักเขียนชาวอเมริกัน ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2008 เนื้อเรื่องถูกเล่าผ่านมุมมองของแคตนิส เอฟเวอร์ดีน เด็กสาววัย 16 ปีที่อาศัยอยู่ที่ประเทศพาเน็ม ซึ่งเป็นประเทศในโลกอนาคตภายหลังการล่มสลาย ตั้งอยู่ที่ทวีปอเมริกาเหนือในปัจจุบัน มีแคปิตอลเป็นเมืองหลวงที่มีความเจริญเป็นอย่างสูง ใช้การเมืองเป็นอำนาจปกครองเหนือทุกสิ่ง โดยได้มีการจัดเกมล่าชีวิต ซึ่งเป็นการแข่งขันประจำปีที่เขตปกครองภายใต้อำนาจของแคปิตอลทั้ง 12 เขตจะต้องคัดเลือกบรรณาการเด็กชายและเด็กหญิงที่มีอายุระหว่าง 12-18 ปี เพศละคน จากการจับฉลาก เพื่อเข้าต่อสู้ในการแข่งขันที่เสี่ยงตายออกรายการโทรทัศน์

เกมล่าชีวิต  
หน้าปกฉบับตีพิมพ์ครั้งแรก ออกแบบปกโดย ทิม โอ'ไบรอัน
ผู้ประพันธ์ซูซาน คอลลินส์
ชื่อเรื่องต้นฉบับThe Hunger Games
ผู้แปลนรา สุภัค
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ภาษาอังกฤษ
ชุดไตรภาคเกมล่าชีวิต
ประเภทผจญภัย
ดิสโทเปีย
บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์[1]
พิมพ์14 กันยายน ค.ศ. 2008
สำนักพิมพ์สหรัฐ สำนักพิมพ์สกอแลสติก
ไทย สำนักพิมพ์โพสต์บุ๊กส์
หน้าสหรัฐ 374 หน้า ไทย 384 หน้า
ISBN978-0-439-02352-8
เรื่องถัดไปปีกแห่งไฟ 

หนังสือเล่มนี้ได้ผลตอบรับในแง่บวกเป็นส่วนใหญ่ ทั้งจากนักวิจารณ์และนักเขียนชื่อดัง โดยได้รับคำชื่นชมในเรื่องของเนื้อเรื่องและการพัฒนาตัวละคร ในการเขียนเกมล่าชีวิต นั้น คอลลินส์ได้นำแนวคิดมาจากเนื้อหาของเทพปกรณัมกรีก การต่อสู้ของนักรบกลาดิอาตอร์โรมันและรายการเรียลลิตีโชว์สมัยใหม่ นำมารวมกันจนได้เป็นเนื้อหาหลัก ตัวนวนิยายเองได้รับรางวัลมากมาย รวมทั้งรางวัล California Young Reader Medal และเป็นหนึ่งในหนังสือที่ได้รับการระบุชื่อให้เป็นหนังสือแห่งปีโดยนิตยสาร พับลิชเชอร์วีกลี ประจำปี ค.ศ. 2008

เกมล่าชีวิต วางจำหน่ายในรูปแบบปกแข็งครั้งแรกในวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 2008 ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สกอแลสติก ออกแบบปกโดยทิม โอ'ไบรอัน และต่อมาก็ได้มีการวางจำหน่ายในฉบับปกอ่อน รวมไปถึงหนังสือเสียงและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ นับถึงปี ค.ศ. 2012 เกมล่าชีวิตมียอดขายกว่า 17.5 ล้านเล่มทั่วโลก[2][3] ถูกแปลเป็นภาษาต่างประเทศ 26 ภาษา และได้มีการขายลิขสิทธิ์การตีพิมพ์ไปใน 38 ประเทศ หนังสือเล่มนี้ถือเป็นหนังสือเล่มแรกของไตรภาคเกมล่าชีวิต ซึ่งมีภาคต่อตามมาคือ ปีกแห่งไฟ และ ม็อกกิ้งเจย์  ส่วนฉบับภาพยนตร์ดัดแปลงนั้นได้มีการออกฉายในปี ค.ศ. 2012 กำกับการแสดงโดยแกรี รอสส์ ซึ่งคอลลินส์ได้มีส่วนร่วมกับภาพยนตร์ทั้งในฐานะผู้เขียนบทและผู้อำนวยการสร้างร่วม

ภูมิหลัง แก้

คอลลินส์ได้กล่าวถึงแรงบันดาลใจของเกมล่าชีวิตว่ามาจากการเปลี่ยนช่องโทรทัศน์สลับไปมา ในช่องหนึ่ง เธอสังเกตเห็นคนกำลังแข่งขันกันในรายการเรียลลิตีโชว์ ส่วนอีกช่อง เธอได้เห็นภาพฟุตเทจของการบุกครองอิรัก เส้นแบ่งระหว่างทั้งสองช่องเริ่มเลือนลางอย่างไม่มีหยุด และแนวคิดของหนังสือก็ได้ก่อตัวขึ้น[4] ตำนานปกรณัมกรีกของเทพธีซิอัสถือเป็นจุดเริ่มต้นหลักที่สำคัญของเรื่องและยังรวมไปถึงการต่อสู้ของกลาดิอาตอร์ที่ได้กำหนดแก่นเรื่อง คอลลินส์อธิบายไว้ว่า แคตนิสนั้นคือธีซีอัสของโลกอนาคต นอกจากนั้นความรู้สึกของการสูญเสียซึ่งคอลลินส์ได้สัมผัสผ่านช่วงเวลาที่พ่อของเธอต้องเข้าร่วมในสงครามเวียดนามเมื่อตอนเธออายุ 11 ปี ก็เป็นแรงบันดาลใจหนึ่งของเรื่อง[5] คอลลินส์กล่าวว่าการตายของตัวละครวัยเยาว์และประเด็นที่มืดหม่นอื่นๆถือเป็นสิ่งที่ยากที่สุดในการเขียนหนังสือเล่มนี้ แต่เธอก็ยอมรับว่าประเด็นเหล่านั้นคือส่วนจำเป็นของเนื้อเรื่อง[6] เธอถือว่าช่วงที่แคตนิสนึกย้อนถึงเหตุการณ์ต่างๆในอดีตที่มีความสุขมากกว่าในปัจจุบันคือสิ่งที่เธอรู้สึกเพลิดเพลินที่จะเขียนมากกว่า[6]

เนื้อเรื่อง แก้

เนื้อเรื่องของเกมล่าชีวิต เกิดขึ้นที่ประเทศพาเน็ม ซึ่งตั้งอยู่บนทวีปอเมริกาเหนือภายหลังการล่มสลายของอารยธรรมของทวีป ด้วยเหตุการณ์ที่ไม่ได้มีการเปิดเผย พาเน็มประกอบด้วยเมืองแคปิตอลที่ร่ำรวย ล้อมรอบด้วยเขตปกครองทั้ง 12 เขต ที่ยากจนกว่าและอยู่ภายใต้อำนาจเผด็จการของแคปิตอล แคปิตอลได้ตักตวงเอาทรัพยากรและแรงงานราคาถูกจากทั้ง 12 เขต โดยเขตที่ 12 นั้นตั้งอยู่ในพื้นที่ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเรียกกันว่าแอปพาเลเชีย เป็นพื้นที่ที่อุดมไปด้วยถ่านหิน ส่วนแคปิตอลนั้นตั้งอยู่ในเทือกเขาร็อกกี[7]

เพื่อเป็นการลงโทษจากการก่อกบฎต่อแคปิตอลในอดีต เด็กชายและเด็กหญิง เพศละคน ที่มีอายุระหว่าง 12-18 ปี จากแต่เขต จะต้องถูกคัดเลือกผ่านการจับฉลากประจำปีเพื่อเข้าแข่งขันในเกมล่าชีวิต การแข่งขันที่ "บรรณาการ" จะต้องสู้กันให้ถึงแก่ชีวิตในสนามประลองกลางแจ้งจนกว่าจะเหลือผู้รอดชีวิตเพียงหนึ่งเดียว โดยการแข่งขันนี้จะถูกถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์

เรื่องราวได้ถูกเล่าโดย แคตนิส เอฟเวอร์ดีน เด็กสาววัย 16 ปีจากเขต 12 ผู้อาสาเข้าแข่งขันเกมล่าชีวิตครั้งที่ 74 แทนที่พริมโรส น้องสาวของเธอ ส่วนบรรณาการฝ่ายชายของเขต 12 คือ พีต้า เมลลาร์ก อดีตเพื่อนร่วมชั้นเรียนของแคตนิสที่ครั้งหนึ่งเคยมอบขนมปังให้แก่เธอ ในช่วงที่ครอบครัวของเธอกำลังจะอดตาย

แคตนิสและพีต้าได้ถูกพาไปยังแคปิตอล เพียงไม่กี่วันก่อนการแข่งขันจะเริ่มต้นขึ้น พวกเขาได้รับคำแนะนำและการสนับสนุนจากทีมงานที่ประกอบไปด้วยเฮย์มิตซ์ อะเบอร์นาธี ที่ปรึกษาขี้เมา ซึ่งเป็นผู้พิชิตของเกมล่าชีวิตจากเขต 12 เพียงคนเดียวที่ยังมีชีวิตอยู่, เอฟฟี่ ทรินเกต, แฟชั่นสไตลิสต์สองคนและทีมเตรียมตัวอีกสามคนที่ได้ช่วยให้บรรณาการทั้งสองดูดีที่สุด โดยชาวแคปิตอลที่แคตนิสมองว่าเป็นเพื่อนของเธอมีเพียงซินน่า สไตล์ลิสต์ของเธอเท่านั้น เหล่าบรรณาการได้รับการแนะนำตัวแก่สาธารณะ เข้าฝึกซ้อมและประเมินคะแนนโดยผู้คุมเกม แคตนิสและพีต้าได้คะแนนทิ้งห่างผู้เข้าแข่งขันคนอื่นๆ พีต้ามีคะแนนตามแคตนิสเล็กน้อย โดยมี ริว บรรณาการเด็กหญิงวัย 12 ปีจากเขต 11 ที่มีคะแนนตามพวกเขามา

บรรณาการแต่ละคนได้ถูกสัมภาษณ์ทางโทรทัศน์โดยซีซาร์ ฟลิกเกอร์แมน พวกเขาได้ใช้โอกาสครั้งนี้เพื่อดึงดูดเหล่า "สปอนเซอร์" ที่สามารถส่งของขวัญที่จะช่วยชีวิตพวกเขาระหว่างเกมได้ ในการสัมภาษณ์ของพีต้า เขาได้เปิดเผยว่าเขาหลงรักแคตนิสมาเป็นเวลานาน ในตอนแรก แคตนิสเชื่อว่าสิ่งที่พีต้าพูดเป็นเพียงแค่แผนของเขาที่จะดึงดูดสปอนเซอร์และทำให้เธอรู้สึกไม่ระแวงเขา (แต่ในภายหลัง เธอก็ยอมรับว่าพีต้าจริงใจต่อเธอ) เฮย์มิตซ์ได้โปรโมทพวกเขาในฐานะ "คู่รักที่ชะตาไม่เป็นใจ"

ในวันแรกของการแข่งขัน บรรณาการกว่าครึ่งถูกฆ่าตายจากการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอาวุธและสิ่งอำนวยความสะดวกในบริเวณจุดเริ่มต้นของการแข่งขัน แคตนิสเกือบถูกฆ่าเนื่องจากฝ่าฝืนคำสั่งของเฮย์มิตซ์ที่สั่งให้เธอหนีทันทีที่เกมเริ่ม เธอใช้ความสามารถในการล่าสัตว์และทักษะการเอาชีวิตรอดที่ยอดเยี่ยมในการหลบซ่อนในป่า ไม่กี่วันต่อมา เปลวไฟประดิษฐ์ที่ผู้คุมเกมสร้างขึ้นได้ไล่ต้อนแคตนิสให้หนีไปหาคนอื่น ๆ ที่เหลือรอด "พวกมืออาชีพ" (บรรณาการจากเขตที่ภักดีต่อแคปิตอลและมีความร่ำรวยกว่าเขตอื่น ซึ่งจะได้รับการฝึกฝนอย่างเข้มเข้มเพื่อที่จะเข้าร่วมแข่งขันเกมล่าชีวิต) และพีต้าที่ดูเหมือนกับว่าได้เข้าไปร่วมมือกับกลุ่มมืออาชีพ พบแคตนิสและไล่ล่าเธอจนเธอต้องหนีขึ้นไปบนต้นไม้ ริวนั้นซ่อนตัวอยู่บนต้นไม้ใกล้กันกับแคตนิส เธอได้ชี้ให้แคตนิสเห็นรังของตัวต่อแทรกเกอร์แจ็คเกอร์ แคตนิสมองเห็นรังติดอยู่กับกิ่งของต้นไม้ จึงได้ทำให้รังตกลงบนพื้น พิษของตัวต่อได้คร่าชีวิตเด็กหญิงในกลุ่มพวกมืออาชีพไปหนึ่งคน และไล่พวกที่เหลือให้หนีไปทางอื่น อย่างไรก็ตาม แคตนิสเองก็ถูกตัวต่อต่อยและเริ่มมองเห็นภาพหลอน เธอเห็นพีต้าย้อนกลับมา แต่แทนที่จะฆ่าเธอ เขากลับบอกให้เธอวิ่งหนีไป

แคตนิสได้เป็นเพื่อนกับริวและร่วมมือกันเอาชีวิตรอด แต่ภายหลังริวก็ถูกทำร้ายอย่างสาหัสโดยบรรณาการคนหนึ่งซึ่งแคตทิสได้ฆ่าเขาด้วยธนู แคตนิสร้องเพลงให้ริวฟังจนกระทั่งเธอสิ้นใจ เธอโปรยดอกไม้เหนือร่างของริวเพื่อแสดงความท้าทายต่อแคปิตอล เขตของริวจึงได้ส่งของขวัญมาให้แคตนิสเป็นขนมปัง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ภายหลังได้มีการประกาศเปลี่ยนแปลงกฎ อนุญาตให้บรรณาการจากเขตเดียวกันสามารถชนะการแข่งขันร่วมกันได้ แคตนิสพบพีต้าและช่วยรักษาแผลฉกรรจ์ของเขา ในขณะเดียวกันก็ยังคงเล่นบทเป็นเด็กสาวที่ตกหลุมรักเพื่อให้ได้รับของขวัญจากสปอนเซอร์ เมื่อผู้คุมเกมประกาศว่าจะมีสิ่งของที่บรรณาการแต่ละคนต้องการมากที่สุดอยู่ที่งานเลี้ยง แคตนิสจึงได้เสี่ยงชีวิตเพื่อเอายามารักษาพีต้า ทำให้เขารอดชีวิตมาได้

ในที่สุดแคตนิสและพีต้าเหลือเป็นผู้รอดชีวิตสองคนสุดท้าย แต่ผู้คุมเกมกลับยกเลิกกฎที่เพิ่งปรับเปลี่ยน เพื่อที่จะบีบให้พวกเขาสร้างฉากจบที่สะเทือนอารมณ์แก่คนดู หรือก็คือให้คนใดคนหนึ่งฆ่าอีกคน แต่แทนที่จะทำตาม แคตนิสกลับเลือกแก้ไขสถานการณ์อย่างท้าทายด้วยการใช้ "ไนท์ล็อก" เบอร์รี่พิษร้ายแรง โดยแบ่งครึ่งหนึ่งให้แก่พีต้า เมื่อทราบว่าทั้งแคตนิสและพีต้าตั้งใจที่จะฆ่าตัวตาย เหล่าผู้คุมเกมจึงได้ประกาศให้พวกเขาทั้งสองเป็นผู้ชนะเกมล่าชีวิตครั้งที่ 74

แม้แคตนิสจะได้รับต้อนรับเยี่ยงวีรสตรี เฮย์มิตซ์กลับเตือนเธอว่า ในตอนนี้เธอได้ตกเป็นเป้าหลังจากการท้าทายแคปิตอลอย่างเปิดเผย ต่อมาพีต้าต้องก็ต้องผิดหวังเมื่อทราบว่าการกระทำของแคตนิสระหว่างการแข่งขันนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของอุบายที่เธอเตรียมเอาไว้ก่อนเพื่อเรียกความเห็นใจจากคนดูเท่านั้น อย่างไรก็ตาม แคตนิสนั้นก็ไม่แน่ใจในความรู้สึกของตัวเธอเองว่าแท้จริงแล้วเธอรู้สึกกับเขาอย่างไร

แก่นเรื่อง แก้

 
ซูซาน คอลลินส์ ผู้แต่ง เกมล่าชีวิต ถ่ายเมื่อปี 2010

จากบทสัมภาษณ์ของคอลลินส์ ได้มีการตั้งข้อสังเกตกันว่าเกมล่าชีวิต นั้น "โจมตีปัญหาต่าง ๆ เช่น ความยากจนข้นแค้น ความอดอยาก การปกครองแบบกดขี่ และผลกระทบของสงครามต่อบุคคลอื่น"[8] นวนิยายเล่าถึงความยากลำบากในการพึ่งตัวเองที่ชาวพาเน็มในแต่ละเขตต้องเผชิญ และพูดถึงเกมล่าชีวิตที่พวกเขาต้องเข้าแข่งขัน[4] ความอดอยากของประชาชนและความต้องการที่จะได้มาซึ่งทรัพยากรไม่ว่าจะทั้งในและนอกสนามประลองได้สร้างบรรยากาศของความรู้สึกไร้ทางสู้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตัวละครหลักพยายามจะก้าวผ่านในการต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอด การที่แคตนิสต้องออกล่าสัตว์เพื่อหาอาหารให้แก่ครอบครัวของเธอได้ส่งผลในการพัฒนาทักษะที่กลายเป็นประโยชน์ต่อเธอในการแข่งขัน (อาทิเช่น ทักษะการใช้ธนูที่ยอดเยี่ยม) และในสถานการณ์ที่ต้องเอาชีวิตรอด แคตนิสยังได้แสดงถึงการขัดขืนต่อกฎระเบียบของแคปิตอลอีกด้วย[9] ส่วนในเรื่องของการเปรียบเทียบของเกมกับวัฒนธรรมป๊อปนั้น ดาเร็น ฟรานิช จากนิตยสารเอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี ได้เขียนเอาไว้ว่า หนังสือเล่มนี้คือ "การเสียดสีรายการเรียลลิตีโชว์อย่างหลักแหลม" และตัวละครอย่าง ซินน่า นั้นก็ "แทบจะดูเหมือนกับผู้เข้าแข่งขันในเรื่อง โปรเจกต์รันเวย์ ฉบับฟาสซิสต์ ผู้ที่ใช้ชุดของแคตนิสเป็นตัวส่งผ่านความคิดที่อันตรายออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ"[10]

ทางเลือกที่ตัวละครได้ตัดสินใจและกลยุทธ์ที่พวกเขาใช้มักจะซับซ้อนในเชิงศีลธรรม บรรณาการนั้นจะสร้างบุคลิกภาพที่พวกเขาต้องการให้คนดูเห็นตลอดการแข่งขัน วารสารห้องสมุด Voice of Youth Advocates ระบุว่าแก่นเรื่องหลักของเกมล่าชีวิตคือ "การควบคุมโดยรัฐบาล, 'พี่เบิ้ม', และอิสรภาพส่วนบุคคล"[11] สำนักพิมพ์สกอลาสติก ผู้ตีพิมพ์ไตรภาคเกมล่าชีวิต ชี้ว่าแก่นเรื่องหลักของไตรภาคนั้นเกี่ยวข้องกับ อำนาจและความตกต่ำล่มสลาย (คล้ายบทละครเรื่องจูเลียส ซีซาร์ ของเชกสเปียร์)[12] ลอร่า มิลเลอร์ จากนิตยสารเดอะนิวยอร์กเกอร์ พบว่าแนวคิดของเกมล่าชีวิต ที่ผู้เขียนกล่าวถึงนั้นไม่ได้ชวนให้คล้อยตามเท่าใดนัก ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโฆษณาชวนเชื่อหรือการที่ตัวละครต้องยอมจำนนราวกับเป็นบทลงโทษที่เจ็บปวดอันสืบเนื่องมาจากการลุกฮือต่อแคปิตอลที่ล้มเหลวในอดีต มิลเลอร์กล่าวว่า "คุณคงไม่ทำลายขวัญกำลังใจและลดทอนความเป็นมนุษย์ของคนใต้การปกครองด้วยการเปลี่ยนพวกเขาให้เป็นคนดังและสอนให้พวกเขาสร้างบุคลิกที่ดึงดูดผู้ชมส่วนใหญ่หรอก" แต่เนื้อเรื่องก็กลับดูดีขึ้นมากหากมองว่าแก่นเรื่องนั้นเกี่ยวข้องกับความพลิกผันในชีวิตวัยมัธยมและ"ประสบการณ์ทางสังคมของหนุ่มสาว" มิลเลอร์ได้เขียนไว้ว่า

"กฎของการแข่งขันนั้นไม่มีความแน่นอน ไม่สามารถคาดเดาได้ และสร้างมาเพื่อการเปลี่ยนแปลงแบบกระทันหัน การปกครองแบบชนชั้นทางสังคมที่ไร้มนุษยธรรมได้มีอิทธิพลให้พวกคนรวย คนที่ดูดี พวกนักกีฬาใช้ข้อได้เปรียบของพวกเขากดขี่คนอื่น ๆ การที่จะเอาตัวรอดได้ คุณจำเป็นต้องเสแสร้งอย่างแท้จริง พวกผู้ใหญ่เองก็ดูจะไม่เข้าใจว่าผลกระทบจากสิ่งเหล่านี้มีมากเพียงใด ฉะนั้นชีวิตคุณก็อาจจะจบสิ้นได้เลย และพวกเขาก็จะทำราวกับว่าการจบสิ้นนั้นเป็นเพียงแค่ "กระบวนการหนึ่ง" เท่านั้นเอง! ทุกคนจะเฝ้าดูคุณอยู่เสมอ วิพากษ์วิจารณ์เรื่องเสื้อผ้าของคุณหรือของเพื่อนคุณ และจะสนใจแต่เรื่องของคุณ ไม่ว่าคุณจะมีเซ็กส์ ใช้ยาเสพติด ได้ผลการเรียนดี แต่จะไม่มีใครสนใจเลยว่าแท้จริงแล้วคุณเป็นคนอย่างไรและจริงๆแล้วคุณรู้สึกกับเรื่องต่าง ๆ อย่างไร"[13]

ดอนัลด์ เบรก จากหนังสือพิมพ์เดอะวอชิงตันไทมส์ และบาทหลวง แอนดี แลงฟอร์ด ได้กล่าวว่า เนื้อเรื่องมีแก่นเรื่องแบบอิงศาสนาคริสต์ อย่างเช่น การสละชีพตนเอง ซึ่งเห็นได้ว่า การที่แคตนิสอาสาเข้าแข่งขันแทนที่น้องสาวของเธอนั้นเปรียบเสมือนการสละชีพของพระเยซูเพื่อเป็นการไถ่บาปแทนมนุษย์[14][15] ทั้งเบรกและเอมี ซิมป์สันต่างพบว่าเนื้อเรื่องยังเกี่ยวพันกับประด็นเรื่องความหวัง โดยความหวังได้ถูกยกตัวอย่างขึ้นมาพูดในตัวละคร "พริมโรส" น้องสาวของแคตนิสผู้เปี่ยมด้วยความดีที่ซื่อตรง[16] ซิมป์สันยังได้ชี้ให้เห็นถึงเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกับพระทรมานของพระเยซูอีกด้วย โดยในการแข่งขัน พีต้า เมลลาร์ก ซึ่งเป็นตัวละครที่ใช้สื่อแทนถึงพระเยซู ได้ถูกแทงภายหลังจากที่เขาเตือนแคตนิสให้หนีไปเพื่อเอาชีวิตรอด และตัวเขาเองก็ได้ถูกฝังไว้กับพื้นก่อนที่จะถูกพาเข้าไปอยู่ในถ้ำเป็นเวลาสามวันก่อนที่จะฟื้นขึ้นมาด้วยชีวิตใหม่[16] นอกจากนี้เธอยังได้สังเกตว่า ภาพของคำสอนเรื่องขนมปังแห่งชีวิตยังได้มีการยกขึ้นมานำเสนอผ่านนวนิยาย เนื่องจากในเนื้อเรื่องนั้น พีต้าได้มอบขนมปังหนึ่งแถวแก่แคตนิสเพื่อช่วยชีวิตเธอและครอบครัวของเธอจากความอดอยาก เปรียบได้กับการที่พระเยซูเป็นเสมือนขนมปังแห่งชีวิตของผู้ที่ได้พบพระองค์[16]

ประวัติการตีพิมพ์ แก้

หลังเสร็จสิ้นการเขียน คอลลินส์ได้เซ็นสัญญากับสำนักพิมพ์สกอแลสติกสำหรับการตีพิมพ์หนังสือสามเล่มด้วยเงินจำนวนหลักแสนดอลลาห์สหรัฐ ในตอนแรก มีการตีพิมพ์เกมล่าชีวิต ฉบับปกแข็งในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวน 50,000 เล่ม ก่อนที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 200,000 เล่มในเวลาต่อมา[4] นับจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 หนังสือมียอดขายรวม 800,000 เล่ม[17] และมีการขายลิขสิทธิ์การตีพิมพ์ไปยัง 38 ประเทศทั่วโลก ไม่กี่เดือนต่อมา ได้มีการจำหน่ายหนังสือในรูปแบบปกอ่อนในเดือนกรกฎาคม[18] ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน เกมล่าชีวิต ได้ติดอันดับหนังสือขายดีเดอะนิวยอร์กไทมส์ ของเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2008[19] และสามารถติดอันดับเป็นระยะเวลานานกว่า 100 สัปดาห์ติดต่อกัน[20] และเมื่อภาพยนตร์ฉบับดัดแปลงออกฉายในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2012 หนังสือเกมล่าชีวิต ก็สามารถติดอันดับหนังสือขายดีของหนังสือพิมพ์ยูเอสเอทูเดย์ มาเป็นเวลานานกว่า 135 สัปดาห์ และมียอดขายมากกว่า 17.5 ล้านเล่ม[2][3]

เกมล่าชีวิต ถือเป็นหนังสือเล่มแรกของไตรภาคเกมล่าชีวิต ซึ่งมีภาคต่อตามมาได้แก่ ปีกแห่งไฟ และ ม็อกกิ้งเจย์ ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2009 และ ค.ศ. 2010 ตามลำดับ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2012 ช่วงที่ภาพยนตร์เกมล่าเกม กำลังออกฉายในโรงภาพยนตร์ สำนักพิมพ์สกอแลสติกรายงานว่าไตรภาคเกมล่าชีวิต ได้มียอดตีพิมพ์ทั้งสิ้น 26 ล้านเล่ม ซึ่งรวมไปถึงฉบับหน้าปกโปรโมทภาพยนตร์ด้วย[21] เกมล่าชีวิต (และหนังสือภาคต่อ) มียอดขายในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ดีเป็นอย่างมาก โดยซูซาน คอลลินส์ถือเป็นนักเขียนนวนิยายสำหรับเด็กหรือนวนิยายวัยรุ่นคนแรกที่สามารถทำยอดขายหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้มากกว่าหนึ่งล้านเล่มในอีรีดเดอร์ของแอมะซอนคินเดิล ทำให้เธอเป็นนักเขียนคนที่หกที่ได้เข้าร่วมใน "สมาคมหนึ่งล้านคินเดิล"[22] ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2012 อเมซอน ได้ประกาศว่าคอลลินส์เป็นนักเขียนที่ขายหนังสืออีบุ๊กในรูปแบบคินเดิลได้สูงที่สุดตลอดกาล[23]

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2008 ได้มีการจำหน่าย เกมล่าชีวิต ในรูปแบบหนังสือเสียง ซึ่งอ่านโดยนักแสดงหญิง คาโรลิน แมคคอร์มิค มีความยาวรวม 11 ชั่วโมง 14 นาที[24] โดยนิตยสาร ออดิโอไฟล์ ได้ระบุว่า "คาโรลิน แมคคอร์มิคได้มอบการเล่าเรื่องที่ละเอียดและเปี่ยมด้วยความตั้งใจ แต่อย่างไรก็ตาม เธออาจจะให้ความสำคัญกับจุดแข็งของตัวบทมากจนเกินไปจนลืมใส่ความเป็นเรื่องเล่าที่ผู้ฟังวัยรุ่นมักจะรู้สึกสนุกสนานลงไปด้วย"[25] [26].

ทิม โอ'ไบรอัน ผู้ออกแบบหน้าปกหนังสือ ได้เลือกใช้ภาพของ "นกม็อกกิ้งเจย์" สีทองที่คาบลูกธนูอยู่ในวงกลม ซึ่งนกม็อกกิ้งเจย์ก็คือนกในนวนิยายเกมล่าชีวิต ที่เกิดขึ้นจากการผสมข้ามสายพันธุ์กันระหว่างนกม็อคกิ้งเบิร์ดตัวเมียกับ "นกแจ็บเบอร์เจย์" ตัวผู้ที่ถูกสร้างขึ้นด้วยการพัฒนายีน โดยภาพนี้คือภาพของเข็มกลัดที่แคตนิสได้รับมาจากแมดจ์ อันเดอร์ซี ลูกสาวของนายกเทศมนตรีเขต 12 และเธอก็ได้ใส่ในมันในสนามประลอง[27] ภาพที่วาดบนปกสอดคล้องกับคำบรรยายในหนังสือ ยกเว้นแต่เพียงลูกธนูที่ไม่ได้มีการบรรยายเอาไว้ โดยในหนังสือคอลลินส์ได้บรรยายถึงเข็มกลัดนี้ไว้เพียงแค่ว่า "เหมือนกับว่าใครบางคนออกแบบนกทองคำตัวเล็กขึ้น แล้วค่อยติดวงแหวนล้อมรอบมันไว้ นกตัวนั้นเชื่อมต่อกับวงแหวนแค่ส่วนปลายปีก"[28]

ในประเทศไทย สำนักพิมพ์โพสต์บุ๊กส์ได้รับลิขสิทธิ์ในการแปลและตีพิมพ์นวนิยายเป็นภาษาไทย โดยได้ใช้ชื่อภาษาไทยว่า "เกมล่าชีวิต" ตีพิมพ์ครั้งแรกในฉบับปกอ่อนเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2011 แปลเป็นภาษาไทยโดน 'นาธาน'[29] อย่างไรก็ตาม สำนักพิมพ์ได้มีการเปลี่ยนผู้แปลมาเป็น นรา สุภัคโรจน์ ในการตีพิมพ์ครั้งที่สองและรวมไปถึงการแปลหนังสืออีกสองเล่ม ซึ่งได้แก่ ปีกแห่งไฟ และ ม็อกกิ้งเจย์[30]

คำวิจารณ์ แก้

เกมล่าชีวิต ได้รับการยกย่องเชิงคำวิจารณ์ ในบทวิจารณ์ของจอห์น กรีน ที่เขียนให้เดอะนิวยอร์กไทมส์ ได้เขียนเอาไว้ว่า นวนิยายเล่มนี้ "มีการเขียนเนื้อเรื่องไว้อย่างฉลาดหลักแหลมและเดินเรื่องได้ยอดเยี่ยม" และ "จุดแข็งที่สำคัญของนวนิยายเรื่องนี้ก็คือการสร้างโลกที่มีรายละเอียดอย่างชวนให้คล้อยตามของคอลลินส์ รวมไปถึงความรู้สึกกดดันที่น่าจดจำและตัวละครแบบวีรสตรีที่น่าหลงใหล" อย่างไรก็ตาม กรีนสังเกตว่า แม้หนังสือเล่มนี้จะเต็มไปด้วยการใช้อุปมานิทัศน์ แต่บางทีกลับก็ไม่ได้ตระหนักถึงศักยภาพเชิงอุปมานิทัศน์ที่เนื้อเรื่องต้องเสนอออกมาและการเขียนก็ "อธิบายการกระทำมากแต่อธิบายสิ่งอื่นเพียงเล็กน้อย"[31] ส่วนสตีเฟน คิงก็ได้เขียนวิจารณ์ลงในนิตยสารเอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี โดยกล่าวว่าเขาไม่สามารถที่จะหยุดอ่านหนังสือเล่มนี้ได้และเปรียบว่านวนิยายเล่มนี้นั้นเปรียบเสมือน "การเล่นวิดีโอเกมประเภท 'ยิงทันทีถ้าขยับ' ฉะนั้นแม้คุณจะรู้ว่ามันไม่ใช่เรื่องจริง แต่คุณก็ยังคงเล่นมันต่อไปอยู่อย่างนั้น" อย่างไรก็ตาม เขาก็ระบุว่าหนังสือยังแสดงความขี้เกียจของคนเขียนที่นักอ่านวัยเด็กมักจะยอมรับได้มากกว่านักอ่านผู้ใหญ่ ฉะนั้นประเด็นเรื่องรักสามเส้าจึงกลายมาเป็นพื้นฐานของนวนิยายประเภทนี้ คิงให้คะแนนนวนิยายเรื่องนี้ไว้ที่ เกรดบี [32] อลิซาเบธ เบิร์ดจากวารสารสกูลไลบรารีเจอร์นัล ก็ได้ชื่นชมนวนิยายเล่มนี้ โดยกล่าวว่า เกมล่าชีวิต นั้น "น่าตื่นเต้น สะเทือนใจ ชวนให้คิด และน่าพิศวงอย่างเป็นลำดับขั้นตอน" และยกให้เป็นหนึ่งในหนังสือที่ดีที่สุดของปี ค.ศ. 2008[33] นิตยสารบุ๊กลิสท์ ก็ได้ให้คำวิจารณ์ในเชิงบวกเช่นกัน โดยได้กล่าวชื่นชมถึงความโหดร้ายและความโรแมนติกของตัวละครในเรื่อง[34] นิตยสารเคอร์กัส รีวิวส์ ได้มอบคำวิจารณ์เชิงบวกแก่ตัวนวนิยาย โดยกล่าวชมในเรื่องฉากต่อสู้และการสร้างโลกของนวนิยายขึ้นมา แต่ก็ได้ชี้ให้เห็นว่า "การเรียบเรียงที่เลวร้ายในฉบับตีพิมพ์ครั้งแรกจะทำลายสมาธินักอ่านที่มีความระมัดระวังในการอ่านได้ ช่างน่าเศร้าใจจริงๆ"[35] ริก ไรออร์แดน ผู้เขียนนวนิยายชุด เพอร์ซีย์ แจ็กสัน ระบุว่าเกมล่าชีวิต คือ "สิ่งที่ใกล้เคียงกับนวนิยายผจญภัยมากที่สุด" เท่าที่เขาเคยอ่านมา[36] ส่วนสเตเฟนี เมเยอร์ (ผู้เขียนนวนิยายชุด ทไวไลท์) ก็พูดถึงหนังสือเล่มนี้บนเว็บไซต์ของเธอว่า "ฉันติดหนังสือเล่มนี้มาก ... เกมล่าชีวิต ช่างน่ามหัศจรรย์"[37]

เกมล่าชีวิต ได้รับรางวัลและการเชิดชูเกียรติมากมาย โดยได้รับการระบุชื่อเป็นหนึ่งใน "หนังสือที่ดีที่สุด" ในปี ค.ศ. 2008 จากนิตยสารพับลิชเชอร์วีกลี[38] และเป็น "หนังสือเด็กที่น่าจับตามองของปี 2008" ของนิตยสารเดอะนิวยอร์กไทมส์ [39] หนังสือชนะรางวัล Golden Duck Award ประจำปี ค.ศ. 2008 สาขาวรรณกรรมวัยรุ่น[40] และยังได้รับรางวัล "2008 Cybil Winner" สำหรับวรรณกรรมแฟนตาซีและบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ เคียงคู่กันกับหนังสือเรื่อง ผจญภัยในสุสาน[41] เกมล่าชีวิต เป็นหนึ่งใน "หนังสือดีปี 2008" ของวารสารสกูลไลบรารีเจอร์นัล[42] และเป็น "หนังสือแนะนำของบรรณาธิการนิตยสารบุ๊กลิสท์" ในปี ค.ศ. 2008[43] นอกจากนี้ หนังสือยังได้รับรางวัล California Young Reader Medal ประจำปี ค.ศ. 2011[44] นิตยสารแพเรนท์แอนด์ชายด์ ฉบับปี ค.ศ. 2012 ของสำนักพิมพ์สกอแลสติกก็ได้ระบุชื่อให้เกมล่าชีวิต ติดอับดับที่ 33 ของรายชื่อหนังสือที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก พร้อมด้วยรางวัล "ฉากจบที่ตื่นเต้นที่สุด"[45][46] นวนิยายเล่มนี้ยังเป็นหนึ่งในห้าอันดับแรกของหนังสือที่ขายดีที่สุดตลอดการในเครื่องคินเดิล[47] อย่างไรก็ตาม เกมล่าชีวิต ตกเป็นประเด็นโต้แย้งในบรรดาผู้ปกครอง[48] ซึ่งทำให้มันเป็นหนังสืออันดับที่ห้าที่ถูกขอให้นำออกจากห้องสมุดมากที่สุดในปี ค.ศ. 2010 จากการจัดอันดับของสมาคมห้องสมุดอเมริกัน ด้วยเหตุผลที่ว่า หนังสือนั้นมี "ความรุนแรง" และมีเนื้อหาที่ "ไม่เหมาะสมกับช่วงอายุและวัยของผู้อ่าน"[49]

ได้มีการสังเกตถึงความเหมือนหลายจุดระหว่างเกมล่าชีวิต กับนวนิยายเรื่อง วิชาฆ่าภาคบังคับ (Battle Royale) ของโคจุน ทะคะมิ[50] คอลลินส์กล่าวว่า "ฉันไม่เคยได้ยินชื่อนักเขียนหรือหนังสือเล่มนั้นเลยจนกระทั่งหนังสือของฉันได้ตีพิมพ์ ในตอนนั้นมีคนมาบอกฉัน และฉันก็ได้ถามบรรณาธิการของฉันว่าฉันควรที่จะอ่านมันหรือเปล่า เขาตอบว่า 'ไม่ ผมไม่อยากให้โลกใบนั้นเข้ามาอยู่ในหัวของคุณ แค่ทำในสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ก็พอ' "[50] ซูซาน โดมินัสจากนิตยสารเดอะนิวยอร์กไทมส์ ได้รายงานว่า "ความคล้ายคลึงนี้เป็นที่เห็นได้ชัดพอสมควรว่า งานของคอลลินส์นั้นได้โดนโจมตีในชุมชนผู้เล่นบล็อก เนื่องจากได้ขโมยเอาแนวคิดของวิชาฆ่าภาคบังคับ มาใช้อย่างไม่ละอาย" แต่เธอก็ได้โต้แย้งว่า "มีจุดกำเนิดของเส้นเรื่องหลายจุดที่มีความเป็นไปได้พอสมควรว่านักเขียนทั้งสองคนอาจสนใจความคิดพื้นฐานแบบเดียวกัน แต่ทั้งสองความคิดนั้นเป็นอิสระต่อกัน ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกันแต่อย่างอย่างใด"[51] ส่วนสตีเฟน คิงก็ได้สังเกตว่าการที่แคตนิสไม่รู้ว่ามีกล้องจับภาพเธออกอากาศในเรื่องนั้นมีความคล้ายคลึงกับวิชาฆ่าภาคบังคับ เฉกเช่นเดียวกับนวนิยายเรื่อง เดอะลองวอร์ค และ เดอะรันนิงแมน ของเขา[32] อีริก ไอเซนเบิร์กได้เขียนว่า เกมล่าชีวิต ไม่ใช่งานที่ลอกเลียนแบบวิชาฆ่าภาคบังคับ แต่เป็นการนำแนวคิดเดียวกันมาใช้ในวิธีใช้ที่แตกต่างกันออกไป โดยเขาได้ชี้ให้เห็นถึงข้อแตกต่างหลายประการทั้งด้านเนื้อเรื่องและแก่นเรื่อง[52]

ภาพยนตร์ดัดแปลง แก้

 
โลโก้ภาพยนตร์เรื่องเกมล่าเกม

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2009 ไลออนเกต เอนเตอร์เทนเมนต์ได้ทำข้อตกลงร่วมในการดัดแปลงนวนิยายเกมล่าชีวิตเป็นภาพยนตร์กับบริษัทคัลเลอร์ ฟอร์ซ ของนีนา จาคอบสัน ที่ได้รับสิทธิ์ในการจัดจำหน่ายทั่วโลกไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้า[53][54] ไลออนเกต ซึ่งไม่ได้กำไรจากการประกอบการมาเป็นเวลาห้าปี ได้หักทุนสร้างจากการสร้างภาพยนตร์เรื่องอื่นและได้ขายสินทรัพย์เพื่อนำมาประคองค่าใช้จ่ายจากทุนสร้างที่ใช้ไป 88 ล้านดอลลาห์สหรัฐในการสร้างภาพยนตร์ดัดแปลงของเกมล่าชีวิต[55][56] โดยถือว่าเป็นทุนสร้างที่สูงที่สุดของสตูดิโอ[57] เจสัน เดวิส ตัวแทนของคอลลินส์ได้กล่าวว่า "พวกเขา(ไลออนเกต)ทุกคน ยกเว้นแค่คนรับใช้ โทรมาหาเรา" เพื่อที่จะขอให้เราช่วยพัฒนาภาพยนตร์ชุดนี้[56] คอลลินส์ได้ดัดแปลงตัวนวนิยายให้เป็นบทภาพยนตร์ด้วยตัวเธอเอง[53] โดยได้ร่วมมือกันกับบิลลี เรย์ นักเขียนบทภาพยนตร์ และแกรี่ รอสส์ ผู้กำกับภาพยนตร์[58][59] เพราะตั้งใจที่จะให้ภาพยนตร์ได้เรท PG-13 ในตอนฉาย[60] แต่บทภาพยนตร์ก็ยังคงซื่อสัตย์ต่อนวนิยายต้นฉบับเป็นอย่างมาก[61] โดยแกรี่ รอสส์ได้กล่าวว่าเขา "รู้สึกว่า ทางเดียวที่จะทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จ ก็คือต้องมีความจริงใจอย่างแท้จริง" ซึ่งรวมถึงการนำเสนอเหตุการณ์ให้สะท้อนลักษณะการเล่าเรื่องแบบบุรุษที่หนึ่งในเหตุการณ์ปัจจุบันกาล ที่คอลลินส์ได้ใช้ในนวนิยายออกมาให้ได้[62]

เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์ นักแสดงสาววัยยี่สิบปี ได้รับเลือกให้รับบทแคตนิส เอฟเวอร์ดีน[63] แม้ลอว์เรนซ์จะอายุมากกว่าอายุของตัวละครแคตนิสกว่าสี่ปีในช่วงที่มีการถ่ายทำภาพยนตร์[64] แต่คอลลินส์กลับรู้สึกว่าบทของแคตนิสนั้นต้องมี "พลังและมีวุฒิภาวะที่มั่นคง" และได้กล่าวว่าเธอต้องการได้นักแสดงที่แก่กว่าแคตนิสมากกว่านักแสดงที่อายุน้อยกว่า[65] คอลลินส์เสริมว่าลอว์เรนซ์นั้นเป็นนักแสดง "เพียงคนเดียวที่สามารถเก็บรายละเอียดของตัวละครที่ฉันเขียนในหนังสือได้อย่างไม่มีผิดเพี้ยน" และเธอก็มี "คุณสมบัติที่สำคัญทุกอย่างที่จำเป็นต่อการจะเล่นเป็นแคตนิส"[66] ลอว์เรนซ์ ซึ่งเป็นแฟนของหนังสือเล่มนี้ ใช้เวลาสามวันในการตัดสินใจรับบท เนื่องจากตอนแรกเธอรู้สึกหวั่นใจกับขนาดของงานสร้างที่ใหญ่โต[67][68] ภายหลังได้มีการประกาศว่า จอช ฮัทเชอร์สัน และเลียม เฮมส์เวิร์ท จะรับบทเป็นพีต้าและเกล ตามลำดับ[69][70] งานสร้างภาพยนตร์เริ่มต้นในช่วงปลายของฤดูใบไม้ผลิ ปี ค.ศ. 2011[71] และภาพยนตร์เกมล่าเกม ก็ได้ออกฉายในวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 2012[72] ในสัปดาห์เปิดตัว เกมล่าเกม ได้ทำสถิติเป็นภาพยนตร์ที่ไม่ใช่ภาคต่อที่เปิดตัวได้สูงที่สุด โดยเปิดตัวที่รายได้ 152.5 ล้านดอลลาห์สหรัฐ[73] ในหนึ่งปีให้หลังภาพยนตร์ เกมล่าเกม 2 แคชชิ่งไฟเออร์ ซึ่งเป็นดัดแปลงมาจากหนังสือเล่มสองของไตรภาคเกมล่าชีวิต ก็ได้ออกฉายในวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013[74]

อ้างอิง แก้

  1. "Mockingjay proves the Hunger Games is must-read literature". io9. August 26, 2010. สืบค้นเมื่อ February 12, 2013.
  2. 2.0 2.1 "Best-Selling Books list". USA Today. สืบค้นเมื่อ March 30, 2012.
  3. 3.0 3.1 "'Hunger Games' books: More than 36.5M in print in the U.S. alone". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-27. สืบค้นเมื่อ 2017-06-06.
  4. 4.0 4.1 4.2 Sellers, John A. (June 9, 2008). "A dark horse breaks out: the buzz is on for Suzanne Collins's YA series debut". Publishers Weekly. สืบค้นเมื่อ July 12, 2010.
  5. Margolis, Rick (September 1, 2008). "A Killer Story: An Interview with Suzanne Collins, Author of 'The Hunger Games'". School Library Journal. สืบค้นเมื่อ October 16, 2010.
  6. 6.0 6.1 "The Most Difficult Part" (Video). Scholastic. สืบค้นเมื่อ February 25, 2012.
  7. Collins, Suzanne (2008). The Hunger Games. Scholastic. p. 41. ISBN 0-439-02348-3.
  8. "Mockingjay (The Hunger Games #3)". Powell's Books. สืบค้นเมื่อ February 25, 2012.
  9. Hartmann, Cristina (October 21, 2011). "What, If Anything, Does The Hunger Games Series Teach Us About Strategy?". Forbes. สืบค้นเมื่อ January 11, 2012.
  10. Franich, Darren (October 6, 2010). "'The Hunger Games': How reality TV explains the YA sensation". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-08. สืบค้นเมื่อ September 10, 2012.
  11. "Barnes & Noble, The Hunger Games (Editorial Reviews)". สืบค้นเมื่อ September 1, 2012.
  12. "The Hunger Games trilogy Discussion Guide" (PDF). Scholastic. สืบค้นเมื่อ January 2, 2010.
  13. Miller, Laura (June 14, 2010). "Fresh Hell: What's behind the boom in dystopian fiction for young readers?". The New Yorker. สืบค้นเมื่อ September 3, 2012.
  14. Brake, Donald (March 31, 2012). "The religious and political overtones of Hunger Games". The Washington Times. สืบค้นเมื่อ April 1, 2012.
  15. Groover, Jessica (March 21, 2012). "Pastors find religious themes in 'Hunger Games'". Independent Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 21, 2012. สืบค้นเมื่อ December 11, 2013.
  16. 16.0 16.1 16.2 Simpson, Amy (March 22, 2012). "Jesus in 'The Hunger Games'". Christianity Today. สืบค้นเมื่อ September 1, 2012.
  17. Roback, Diane (February 11, 2010). "'Mockingjay' to Conclude the Hunger Games Trilogy". Publishers Weekly. สืบค้นเมื่อ July 12, 2010.
  18. "Suzanne Collins's Third Book in The Hunger Games Trilogy to be Published on August 24, 2010". Scholastic. December 3, 2009. สืบค้นเมื่อ January 1, 2010.
  19. "Children's Best Sellers: Chapter Books: Sunday, November 2, 2008". The New York Times. November 2, 2008. สืบค้นเมื่อ December 30, 2008.
  20. Schuessler, Jennifer (September 5, 2010). "Children's Chapter Books". The New York Times. สืบค้นเมื่อ September 5, 2010.
  21. Springen, Karen (March 22, 2012). "The Hunger Games Franchise: The Odds Seem Ever in Its Favor". Publishers Weekly. สืบค้นเมื่อ April 11, 2012.
  22. Colby, Edward B. (June 6, 2011). "Hunger Games joins Amazon Kindle Million Club". International Business Times. สืบค้นเมื่อ June 6, 2011.
  23. "Hungry for Hunger Games: Amazon.com Reveals the Top Cities in the U.S. Reading The Hunger Games Trilogy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-11. สืบค้นเมื่อ March 16, 2012.
  24. "The Hunger Games audiobook". Audible.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-20. สืบค้นเมื่อ December 7, 2010.
  25. "AudioFile audiobook review: The Hunger Games by Suzanne Collins, Read by Carolyn McCormick". AudioFile. December 2008. สืบค้นเมื่อ December 8, 2010.
  26. ดูบาสสด
  27. Weiss, Sabrina Rojas (February 11, 2010). "'Mockingjay': We're Judging 'Hunger Games' Book Three By Its Cover". Hollywood Crush. สืบค้นเมื่อ December 16, 2010.
  28. Collins, Suzanne (2008). The Hunger Games. Scholastic. p. 42. ISBN 0-439-02348-3.
  29. "เกมล่าชีวิตฉบับตีพิมพ์ครั้งแรก". Goodreads. สืบค้นเมื่อ June 23, 2017.
  30. "เกมล่าชีวิตฉบับปรับปรุงใหม่แรก". Goodreads. สืบค้นเมื่อ June 23, 2017.
  31. Green, John (November 7, 2008). "Scary New World". The New York Times. สืบค้นเมื่อ December 29, 2008.
  32. 32.0 32.1 King, Stephen (September 8, 2008). "Book Review: The Hunger Games". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-21. สืบค้นเมื่อ February 26, 2010.
  33. Bird, Elizabeth (June 28, 2008). "Review of the Day: The Hunger Games by Suzanne Collins". School Library Journal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2009. สืบค้นเมื่อ December 11, 2013.
  34. Goldsmith, Francisca (September 1, 2008). "The Hunger Games". Booklist. สืบค้นเมื่อ December 29, 2008.
  35. "The Hunger Games: Editor Review". Kirkus Reviews. สืบค้นเมื่อ September 1, 2012.
  36. Riordan, Rick. "Home – Suzanne Collins". สืบค้นเมื่อ April 23, 2012.
  37. Meyer, Stephanie (September 17, 2008). "September 17, 2008". The Official Website of Stephanie Meyer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 26, 2008. สืบค้นเมื่อ February 25, 2012.
  38. "PW's Best Books of the Year". Publishers Weekly. November 3, 2008. สืบค้นเมื่อ December 11, 2013.
  39. "Notable Children's Books of 2008". The New York Times. November 28, 2008. สืบค้นเมื่อ December 30, 2008.
  40. "Golden Duck Past Winners". GoldenDuckAwards.com. November 27, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2011. สืบค้นเมื่อ December 16, 2010.
  41. "Cybils: The 2008 Cybils Winners". Cybils.com. February 14, 2009. สืบค้นเมื่อ July 13, 2010.
  42. "School Library Journal's Best Books 2008". School Library Journal. December 1, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 16, 2013. สืบค้นเมื่อ December 11, 2010.
  43. "Booklist Editors' Choice: Books for Youth, 2008". Booklist. January 1, 2009. สืบค้นเมื่อ September 2, 2012.
  44. "Winners". California Young Reader Medal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 27, 2011. สืบค้นเมื่อ May 21, 2011.
  45. "100 Greatest Books for Kids". Scholastic. สืบค้นเมื่อ February 19, 2012.
  46. Lee, Stephan (February 15, 2012). "'Charlotte's Web' tops list of '100 great books for kids'". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-29. สืบค้นเมื่อ February 19, 2012.
  47. Schwarze, Kelly (November 20, 2012). "The 5 Best-Selling Kindle Books of All Time". Mashable. สืบค้นเมื่อ November 21, 2012.
  48. Barak, Lauren (October 19, 2010). "New Hampshire Parent Challenges 'The Hunger Games'". School Library Journal. สืบค้นเมื่อ March 13, 2012.
  49. "Top ten most frequently challenged books of 2010". American Library Association. สืบค้นเมื่อ December 11, 2013.
  50. 50.0 50.1 Fujita, Akiko (22 March 2012). "'The Hunger Games,' a Japanese Original?". ABC News Internet Ventures. สืบค้นเมื่อ 25 May 2016.
  51. Dominus, Susan (April 8, 2011). "Suzanne Collins's War Stories for Kids". The New York Times. สืบค้นเมื่อ November 14, 2011.
  52. Eisenberg, Eric (March 20, 2012). "5 Reasons The Hunger Games Isn't Battle Royale". Cinemablend.com. สืบค้นเมื่อ March 23, 2012.
  53. 53.0 53.1 Jay A. Fernandez and Borys Kit (March 17, 2009). "Lionsgate picks up 'Hunger Games'". The Hollywood Reporter. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-15. สืบค้นเมื่อ September 4, 2012.
  54. Kit, Borys (March 4, 2009). "'Hunger' pangs for Color Force". Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ September 4, 2012.
  55. "Lions Gate Has a Hit with 'Hunger Games.' Can It Turn a Profit?". The Daily Beast. April 2, 2012. สืบค้นเมื่อ September 4, 2012.
  56. 56.0 56.1 "How Lions Gate won 'Hunger Games'". Reuters. March 23, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-29. สืบค้นเมื่อ September 4, 2012.
  57. "Box Office History for Lionsgate Movies". สืบค้นเมื่อ April 25, 2012.
  58. Springen, Karen (August 5, 2010). "Marketing 'Mockingjay'". Publishers Weekly. สืบค้นเมื่อ September 4, 2012.
  59. Sperling, Nicole; Fritz, Ben (April 12, 2012). "Hunger Games director Gary Ross bows out of sequel". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ September 4, 2012.
  60. Hopkinson, Deborah (September 2009). "A riveting return to the world of 'The Hunger Games'". BookPage. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-13. สืบค้นเมื่อ June 30, 2010.
  61. "A Game of Trust". Writers Guild of America. March 23, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-06. สืบค้นเมื่อ September 4, 2012.
  62. Murphy, Mekado (March 30, 2012). "Gary Ross answers reader questions about 'The Hunger Games'". The New York Times. สืบค้นเมื่อ September 4, 2012.
  63. Joshua L. Weinstein (March 16, 2011). "Jennifer Lawrence Gets Lead Role in 'The Hunger Games'". The Wrap. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-24. สืบค้นเมื่อ September 4, 2012.
  64. Staskiewicz, Keith (March 17, 2011). "'Hunger Games': Is Jennifer Lawrence the Katniss of your dreams?". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-08. สืบค้นเมื่อ September 4, 2012.
  65. Valby, Karen (March 17, 2011). "'Hunger Games' director Gary Ross talks about 'the easiest casting decision of my life'". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-27. สืบค้นเมื่อ September 4, 2012.
  66. Franich, Darren (March 21, 2011). "'Hunger Games': Suzanne Collins talks Jennifer Lawrence as Katniss". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-27. สืบค้นเมื่อ September 4, 2012.
  67. "9 Untold Secrets of the High Stakes 'Hunger Games'". The Hollywood Reporter. February 1, 2012. สืบค้นเมื่อ February 7, 2012.
  68. Galloway, Steven (February 1, 2012). "Jennifer Lawrence: A Brand-New Superstar". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ September 4, 2012.
  69. Weinstein, Joshua L. (March 16, 2011). "Exclusive: Jennifer Lawrence Gets Lead Role in 'The Hunger Games'". The Wrap. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-24. สืบค้นเมื่อ March 17, 2011.
  70. Sperling, Nicole (April 4, 2011). "'The Hunger Games': Josh Hutcherson and Liam Hemsworth complete the love triangle". The Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ February 25, 2012.
  71. Valby, Karen (January 6, 2011). "'Hunger Games' exclusive: Why Gary Ross got the coveted job, and who suggested Megan Fox for the lead role". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-24. สืบค้นเมื่อ January 8, 2011.
  72. Valby, Karen (January 25, 2011). "'The Hunger Games' gets release date". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-17. สืบค้นเมื่อ January 25, 2011.
  73. Barnes, Brook (March 25, 2012). "Hunger Games Ticket Sales Set Record". New York Times. สืบค้นเมื่อ March 25, 2012.
  74. Schwartz, Terri (November 17, 2011). ""The Hunger Games" sequel eyes a new screenwriter, director Gary Ross will return". IFC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-21. สืบค้นเมื่อ December 2, 2011.