อูตางาวะ ฮิโรชิเงะ (ญี่ปุ่น: 歌川 広重, ชื่อเกิด อันโด ฮิโรชิเงะ (安藤 広重); ค.ศ. 1797 – 12 ตุลาคม ค.ศ. 1858) เป็นจิตรกรคนสำคัญของประเทศญี่ปุ่นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีความเชี่ยวชาญทางการสร้างภาพพิมพ์แกะไม้ (woodcut) สมัยที่เรียกว่า “ภาพอูกิโยะ” ซึ่งเป็นภาพพิมพ์แกะไม้ที่สร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง 20 ที่เป็นภาพภูมิทัศน์ ตำนานจากประวัติศาสตร์ การละคร และจากชีวิตความสนุก

ฮิโรชิเงะ
広重
ภาพเหมือนของฮิโรชิเงะโดยคูนิซาดะ
เกิดค.ศ. 1797
เอโดะ, ประเทศญี่ปุ่น
เสียชีวิต12 ตุลาคม ค.ศ. 1858(1858-10-12) (60–61 ปี)
เอโดะ, ประเทศญี่ปุ่น
สัญชาติญี่ปุ่น
การศึกษาโทโยฮิโระ
มีชื่อเสียงจาก
ผลงานเด่น
ขบวนการสำนักอูตางาวะ

ฮิโรชิเงะเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1797 ที่เอโดะ หรือกรุงโตเกียวในปัจจุบัน ประเทศญี่ปุ่น เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1858 ชื่อของฮิโรชิเงะที่ใช้ในงานศิลปะคือ อิจิยูไซ ฮิโรชิเงะ ( Ichiyūsai Hiroshige (一幽斎廣重))

เบื้องต้น แก้

ฮิโรชิเงะเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1797 มีชื่อว่าอันโด โทกูทาโร (Andō Tokutarō) ในค่ายทหารทางตะวันออกของปราสาทเอโดะในบริเวณแยซูของเอโดะ (โตเกียวในปัจจุบัน) เป็นลูกของอันโด เก็งเอมง เป็นข้าระดับโดชิงของโชกุน มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับความปลอดภัยจากอัคคีภัยของปราสาท พ่อของฮิโรชิเงะและครอบครัวและซามูไรอีก 30 คนอาศัยอยู่ภายในค่าย 10 ค่าย และมีรายได้ 60 โคกุซึ่งเทียบว่าเป็นฐานะรอง ๆ แต่มั่นคงและงานไม่หนัก ศาสตราจารย์เซอิจิโร ทากาฮาชิ (Seiichiro Takahashi) กล่าวว่าหน้าที่การป้องกันไฟส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการเที่ยวหาความสนุกสนาน[1] ซามูไรและพ่อของฮิโรชิเงะมีหน้าที่คนงานชั้นต่ำอีก 300 คนผู้ที่ก็อาศัยอยู่ในค่ายด้วย พ่อของฮิโรชิเงะเสียชีวิตเมื่อฮิโรชิเงะมีอายุได้ 12 ปีฮิโรชิเงะทำหน้าที่ต่อ เอกสารเพียงเล็กน้อยกล่าวว่าฮิโรชิเงะได้รับการฝึกจากเจ้าหน้าที่ดับเพลิงอีกคนหนึ่งให้เขียนภาพแบบจีนตระกูลคาโน (Kanō school)

ตำนานกล่าวว่าฮิโรชิเงะมึความมุ่งมั่นที่จะเป็นศิลปินภาพอูกิโยะ (ukiyo-e artist) เมื่อได้เห็นภาพพิมพ์เกือบร่วมสมัยของคัตสึชิกะ โฮกูไซ ตั้งแต่บัดนั้นจนโฮกูไซเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1849 งานของศิลปินสองคนนี้ก็สร้างแข่งกันให้กับลูกค้าเดียวกัน แต่สิ่งที่น่าจะมีอิทธิในการสร้างภาพพิมพ์แกะไม้มีส่วนมาจากทางเศรษฐกิจ เพราะเงินเดีอนของซามูไรชั้นรองอย่างฮิโรชิเงะก็คงไม่พอใช้ ซึ่งทำให้ต้องหารายได้เพิ่ม แต่ก็ไม่ยากอะไรเพราะหน้าที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงเป็นหน้าที่ที่มีเวลาว่างมาก

 
หมู้บ้านกลางหิมะ
 
สำนักสงฆ์บนภูเขา
 
เรือในทะเลสาบ

ความโน้มเอียงทางไปทางการวาดภาพทำให้ฮิโรชิเงะกลายเป็นจิตรกร เมื่อยังอายุไม่มากนักฮิโรชิเงะก็เริ่มเป็นที่รู้จัก เช่นในภาพเขียนเมื่อ ค.ศ. 1806 เป็นภาพขบวนของโชกุนจากเกาะรีวกีว การศึกษาของฮิโรชิเงะเริ่มด้วยการเรียนการเขียนแบบตระกูลคาโนโดยเพื่อนเจ้าหน้าที่ดับเพลิง โอกาจิมะ รินไซ (Okajima Rinsai) การศึกษาช่วงนี้เป็นการเตรียมตัวให้ฮิโรชิเงะให้เป็นผู้ฝึกงานเขียนต่อมา ฮิโรชิเงะพยายามเข้าฝึกงานกับอูตางาวะ โทโยกูนิ (Utagawa Toyokuni) จิตรกรผู้มีชื่อเสียงแต่ไม่สำเร็จ แต่ต่อมาก็ได้เข้าฝึกงาน (หลังจากถูกปฏิเสธไปครั้งหนึ่งก่อนหน้านั้น) กับอูตางาวะ โทโยฮิโระ (Utagawa Toyohiro) ในปี ค.ศ. 1811 เมื่ออายุ 15 ปี โตโยฮิโรให้ชื่อฮิโรชิเงะว่า “อูตางาวะ” (Utagawa) เพียงปีเดียวหลังจากเริ่มฝึกงานแทนที่จะเป็นสองถึงสามปีอย่างปกติ ต่อมาฮิโรชิเงะก็ใช้ชื่ออาจารย์เป็น “อิจิยูไซ ฮิโรชิเงะ” (Ichiyūsai Hiroshige)

เมื่อเริ่มฝึกงานกับโทะโยะฮิโร, ฮิโรชิเงะก็มิได้แสดงแนวโน้มทางความสามารถทางศิลปะมากนักและไม่มีผลงานเท่าใด แม้ว่าจะใช้ชื่อศิลปิน “อิจิยูไซ ฮิโรชิเงะ” และประกาศนียบัตรตั้งแต่ยังอายุเพียง 15 ปี งานชิ้นแรกที่แสดงความสามารถอย่างแท้จริงเป็นงานชิ้นที่ทำในปี ค.ศ. 1818 ในชุด ทัศนียภาพ 8 ทางของทะเลสาบบิวะ (Eight Views of Lake Biwa) และ สถานที่สำคัญ 10 แห่งทางตะวันออกของเมืองหลวง (Ten Famous Places in the Eastern Capital) ภาพสองชุดนี้ได้รับความสำเร็จพอประมาณ แต่ภาพ “สถานที่สำคัญทางตะวันออกของเมืองหลวง” สร้างใน ค.ศ. 1831 เริ่มสร้างความสนใจอย่างจริงจัง เชื่อกันว่างานเขียนระหว่างช่วงนี้เป็นงานที่ทำให้ฮิโรชิเงะศึกษาการเขียนภาพแบบตระกูลคาโน และ ชิโจ (Shijō) ได้ แต่งานเหล่านี้ก็เป็นเพียงงานเบื้องต้นที่ในที่สุดจึงได้นำมาสู่งานที่ทำให้ฮิโรชิเงะมีชื่อเสียงอย่างแท้จริง ในปี ค.ศ. 1832 ฮิโรชิเงะได้รับเชิญให้เป็นส่วนหนี่งของกลุ่มทูตโชกุนในพระราชสำนักหลวงที่เกียวโต ฮิโรชิเงะทิ้งนากาจิโรลูกชายไว้ให้ทำหน้าที่ดับเพลิงแทน ขณะที่เดินทางไปเกียวโตฮิโรชิเงะก็สังเกตทิวทัศน์ของถนนโทไกโด (Tōkaidō road) หรือถนนฝั่งทะเลตะวันออกซึ่งเป็นถนนที่คดเคี้ยวเลียบฝั่งทะเลและภูเขาที่ปกคลุมด้วยหิมะไปพลาง ผ่านทะเลสาบบิวะจนในที่สุดก็ถึงเกียวโต งานเขียนจากการเดินทางครั้งนี้สถานี 53 สถานีบนเส้นทางโทไกโด (The Fifty-Three Stations of the Tokaido) เป็นงานพิมพ์ที่ประสพความสำเร็จมากและสร้างชื่อเสียงให้ฮิโรชิเงะเป็นศิลปินอย่างเต็มตัว แต่ก็มิได้ทำให้ฐานะทางการเงินดีเท่าใดนักจนตลอดชีวิต

ในปี ค.ศ. 1839 ภรรยาคนแรกฮิโรชิเงะเสียชีวิต ซึ่งต่อมาเขาได้แต่งงานกับโอยาซุ (O-yasu) ลูกสาวชาวนาชือคาเอมง (Kaemon) ฮิโรชิเงะอาศัยอยู่ในค่ายจนอายุ 43 และทำงานเช่นพ่อถึงแม้ว่าจะมีชื่อเสียงว่าเป็นศิลปินแล้วก็ตาม

ฮิโรชิเงะที่ 2 และ ฮิโรชิเงะที่ 3 แก้

ฮิโรชิเงะที่ 2 เป็นช่างภาพพิมพ์ชื่อชิเงโนบุ (Shigenobu) ผู้แต่งงานกับทัตสึลูกสาวของฮิโรชิเงะ ฮิโรชิเงะตั้งใจจะให้ชิเงโนบุเป็นทายาทแต่ทัตสึและชิเงโนบุแยกกัน แต่ชิเกะโนบุก็ยังใช้ชื่อฮิโรชิเงะซึ่งทำให้รู้จักกันในชื่อ “ฮิโรชิเงะที่ 2” ส่วน หลังจากนั้นทัตสึก็ไปแต่งงานกับศิลปินอีกคนหนึ่งชื่อชิเงมาซะ (Shigemasa) ผู้ที่กลายมาเป็นทายาทเจ้าหน้าที่ดับเพลิงของฮิโรชิเงะและใช้ชื่อฮิโรชิเงะ ที่รู้จักกันในชื่อ “ฮิโรชิเงะที่ 3” แต่ทั้ง ฮิโรชิเงะที่ 2 และ ฮิโรชิเงะที่ 3 ต่างก็ไม่ได้รับความสำเร็จเท่าเทียมกับฮิโรชิเงะ

ระเบียงภาพ แก้

ภาพจากชุด “สถานี 53 สถานีบนเส้นทางโทไกโด”:

ภาพจากชุด “ทัศนียภาพเด่น 100 แห่งของเอโดะ”

อ้างอิง แก้

  1. "The firemen of his day appear to have actually spent most of their time gambling, drinking, or otherwise amusing themselves." pg 2 of Ando Hiroshige, authored by Professor Sei-ichiro Takahashi (head of the Japan Art Academy and Minister of Education in 1947), trans. by Charles S. Terry; published by the Charles E. Tuttle Company in 1956.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ฮิโรชิเงะ