ไทอ่ายตน เป็นชาวไท ที่อพยพมาอาศัยในประเทศอินเดียปัจจุบัน มีประชากร 5,500 คน นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 92.09 ฮินดู ร้อยละ 7.91% ไทอ่ายตน มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่เมืองกอง (โมกอง) เช่นเดียวกันกับชาวไทคำยัง และชาวไทนะรา เดิมทีชาวไทอ่ายตนเป็นพวกที่ส่งขันทีให้ราชสำนักเป็นประจำ ต่อมาถูกกริ้วจึงหนีมายังอัสสัม ตั้งหลักแหล่ง 2 แห่ง คือ ที่ภูเขานาคแห่งหนึ่ง และที่สิบสาคร อีกแห่งหนึ่ง มีผู้กล่าวว่ามีผู้กระทำผิดทางชู้สาวกับธิดาเจ้าฟ้า จึงถูกตอน คนไทเหล่านี้จึงได้ชื่อว่า "ไทอ่ายตอน" แต่ออกเสียงเป็น "ไทอ่ายตน" ชาวไทอ่ายตน มีอยู่หลายหมู่บ้านที่เมืองโคลาฆาต เช่น บ้านหิน บ้านน้ำท่วม บอราปัตเถิร ชาวอ่ายตนที่บอราปัตเถิร เล่ากันว่าพวกเขาอพยพมาจากเมืองรีเมืองราม และเจล้าน

อ่ายตน, อ้ายตน
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
อินเดียประเทศอินเดีย5,500 คน[1]
ภาษา
ภาษาอ่ายตน
ศาสนา
ศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
พ่าเก, อาหม, คำตี่, คำยัง, ไทใหญ่

ภาษาไทอ่ายตนมีลักษณะคล้ายกันกับภาษาไทอาหม จนอาจมีถิ่นฐานเดิมร่วมกัน การแต่งกายของหญิงชาวไทอ่ายตน แต่งกายคล้ายกับหญิงชาวไทพ่าเก แต่นุ่งซิ่นดำแทนซิ่นลาย มีผ้าสไบเฉียงแบบไทย ทั้งชาวไทเหนือ ในยูนนาน และชาวไทเมา ตลอดจนชาวไทยในประเทศไทย

ส่วนชาวไทอ่ายตนที่ขริกะเตีย มีอยู่ 3 หมู่บ้าน คือ นานคาว ภลีชัน และเภชเภรี รวมเรียกว่า "สยามคาว" (หมู่บ้านสยาม) แต่ภาษาไทที่นี่นั่นสูญหายไปนานแล้ว แม้พ่อเฒ่าอายุ 70 ปีก็ยังจำไม่ได้ แม้ชาวไทอ่ายตนที่นี่ จะสูญเสียภาษาแล้ว แต่ก็ยังมีการผูกข้อมือรับขวัญ อาหารการกินก็คล้ายๆกับหมู่บ้านชาวไทอื่น ๆ รวมทั้งหนังสือ "ปู่สอนหลาน"ก็ยังเป็นคัมภีร์สำคัญของที่นี่ ถึงแม้จะไม่มีใครเข้าใจแล้ว