อุบัติเหตุเหมืองในโกเปียโป พ.ศ. 2553

อุบัติเหตุเหมืองในโกเปียโป พ.ศ. 2553 เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ในเหมืองทองและทองแดง ชื่อว่าซานโฮเซ (สเปน: San José) ใกล้กับเมืองโกเปียโป ประเทศชิลี เหมืองดังกล่าวเกิดถล่ม ทำให้ชาย 33 คนติดอยู่ในเหมืองใต้ดินด้านล่าง[1][2] คนงานเหมืองต้องใช้ชีวิตอยู่ข้างใต้นาน 69 วัน[3]

อุบัติเหตุเหมืองในโกเปียโป พ.ศ. 2553
Color photo of San Jose Mine from a distance with several workers in the foreground
การหาทางช่วยเหลือผู้ติดอยู่ในเหมืองเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553
วันที่5 สิงหาคม ค.ศ. 2010 (2010-08-05)  – 13 ตุลาคม ค.ศ. 2010 (2010-10-13)
(69 วัน)
เวลา14:05 CLT (UTC−4)
ที่ตั้งทะเลทรายอาตากามา ใกล้เมืองโกเปียโป, ประเทศชิลี
พิกัด27°09′31″S 70°29′52″W / 27.158609°S 70.497655°W / -27.158609; -70.497655
ผู้รายงานคนแรกSan Esteban Mining Company
ผลคนงานเหมืองทั้ง 33 คนปลอดภัย
ทรัพย์สินเสียหายการปิดและการสูญเสียทั้งหมด ข้อมูลเมื่อ สิงหาคม 2010[ต้องการอัปเดต]
คดีความคดีความ 2 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ข้อมูลเมื่อ สิงหาคม 2010[ต้องการอัปเดต]
เว็บไซต์Ministry of Mining, Chile
ที่ตั้งของเหมืองซานโฮเซในชิลี

เหมืองซานโฮเซ อยู่ทางเหนือของเมืองโกเปียโปราว 45 กิโลเมตร ทางตอนเหนือของประเทศชิลี คนงานเหมืองติดอยู่ลึกลงไป 700 เมตร และห่างจากทางเข้าหลักที่คดเคี้ยวราว 5 กิโลเมตร จากทางเข้าเหมือง ประวัติของเหมืองนี้ที่ไม่มั่นคง ซึ่งเคยมีอุบัติเหตุมาก่อนหน้านี้หลายครั้ง รวมถึงมีผู้เสียชีวิต 1 คน ก่อนหน้านี้[4]

การช่วยเหลือชีวิตคนงานเหมืองคนแรกเมื่อวันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 23:55 น. ตามเวลาท้องถิ่น ผู้ขึ้นมาคนแรกคือ โฟลเรนซิโอ อาบาโลส (สเปน: Florencio Ávalos) ด้วยการใช้แคปซูล ถึงบนพื้นดินในเวลา 16 นาทีต่อมาเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 00:11 ตามเวลาท้องถิ่น[5][6] จนช่วยเหลือชีวิตคนงานเหมืองทั้ง 33 คน ครบเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 21:55 น. ตามเวลาท้องถิ่น มีหนึ่งคนที่ปอดบวม ส่วนคนอื่นมีติดเชื้อเกี่ยวกับฟันและมีปัญหาเกี่ยวกับกระจกตา[7]

ในการช่วยเหลือคนงานเหมืองนี้มีวิศวกรชาวไทยสองคนร่วมปฏิบัติภารกิจด้วย คือวชิรพงษ์ นาสารีย์ และสมพงษ์ พงกันยา[8]

อ้างอิง แก้

  1. Navarrete, Camila (6 August 2010). "Se confirman las identidades de mineros atrapados en mina San José en Región de Atacama" (ภาษาสเปน). Radio Bío Bío. สืบค้นเมื่อ 12 October 2010.
  2. "Onemi confirma a 33 mineros atrapados en yacimiento en Atacama" (ภาษาสเปน). La Tercera. 6 August 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-02. สืบค้นเมื่อ 12 October 2010.
  3. Illiano, Cesar (9 October 2010). "Rescue near for Chile miners trapped for 2 months". Reuters AlertNet. สืบค้นเมื่อ 11 October 2010.
  4. Haroon Siddique (23 August 2010). "Chilean miners found alive – but rescue will take four months". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 23 August 2010.
  5. "First of 33 trapped miners reaches surface". CNN. 12 October 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-13. สืบค้นเมื่อ 12 October 2010.
  6. "Chile Miners Rescue: Live". Telegraph. 12 October 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-13. สืบค้นเมื่อ 12 October 2010.
  7. Chile Mine Rescue Live BBC News, 13 October 2010
  8. "2 วิศวกรช่วยคนงานเหมืองชิลีถึงไทย สุดปลื้มร่วมภารกิจ". ไทยรัฐ. October 20, 2010. สืบค้นเมื่อ February 17, 2019.