อุบัติการณ์คีวโจ

อุบัติการณ์คีวโจ (ญี่ปุ่น: 宮城事件โรมาจิKyūjō Jiken; อังกฤษ: Kyūjō incident โดยศัพท์แปลว่า อุบัติการณ์พระราชวังหลวง) เป็นความพยายามก่อรัฐประหารของทหารในจักรวรรดิญี่ปุ่นเมื่อใกล้จะสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างคืนวันที่ 14–15 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ไม่นานก่อนญี่ปุ่นยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร ผู้ก่อรัฐประหาร คือ คณะนายทหารสัญญาบัตรในสำนักเสนาธิการ (Staff Office) ของกระทรวงยุทธนาธิการ (Ministry of War) และทหารรักษาพระองค์ (Imperial Guard) มีวัตถุประสงค์เพื่อยับยั้งการออกอากาศพระราชดำรัสประกาศยุติสงคราม (ซึ่งหมายถึงการยอมจำนนของญี่ปุ่นต่อฝ่ายสัมพันธมิตร) ของจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ

อุบัติการณ์คีวโจ
ส่วนหนึ่งของ การยอมจำนนของญี่ปุ่น
พันตรีเค็นจิ ฮาตานากะ หัวหน้าคณะรัฐประหาร
วันที่14–15 สิงหาคม ค.ศ. 1945
สถานที่โตเกียว, โยโกฮามะ
เป้าหมาย
ผลรัฐประหารล้มเหลว
คู่ขัดแย้ง
ฝ่ายรัฐประหาร
ผู้นำ
จำนวน
ฝ่ายกบฏ 18,000 คน
เจ้าหน้าที่ 687 นาย
ทหาร 25,000 นาย
ความสูญเสีย
ผู้นำรัฐประหารฆ่าตัวตาย
ถูกสังหาร 2 คน

คณะรัฐประหารได้สังหารพลโททาเกชิ โมริ จากกองพลรักษาพระองค์ที่ 1 (First Imperial Guards Division) และพยายามปลอมแปลงคำสั่ง จนมีผลให้สามารถยึดพระราชวังหลวงไว้ได้ จากนั้น พยายามกักขังจักรพรรดิฮิโรฮิโตะไว้ในพระตำหนักโดยอาศัยกำลังจากกองพลน้อยทหารราบรักษาพระองค์ที่ 2 (Second Brigade Imperial Guard Infantry) แต่ชวนให้กองทัพภาคบูรพาและผู้บัญชาการระดับสูงในกองทัพบกมาร่วมด้วยไม่สำเร็จ และเมื่อชวนให้ทหารฝ่ายอื่น ๆ มาร่วมขับราชวงศ์ออกจากอำนาจไม่สำเร็จอีก คณะรัฐประหารจึงจบบทบาทลงด้วยการคว้านท้องฆ่าตัวตาย และการออกอากาศพระราชดำรัสประกาศยุติสงครามก็ดำเนินต่อไปตามกำหนด

อ้างอิง แก้

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Butow, Robert J. C. (1954). Japan's Decision to Surrender. Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-0460-1.
  • Frank, Richard B. (1999). Downfall: the End of the Imperial Japanese Empire. New York: Penguin. ISBN 978-0-14-100146-3.
  • Hasegawa, Tsuyoshi (2005). Racing the Enemy: Stalin, Truman, and the Surrender of Japan. Harvard University Press. ISBN 978-0-674-01693-4.
  • Hoyt, Edwin P. (1986). Japan's War: The Great Pacific Conflict, 1853–1952. McGraw-Hill. ISBN 978-0-07-030612-7.
  • The Pacific War Research Society (1968) [1965]. Japan's Longest Day (English language ed.). Palo Alto, California: Kodansha International.
  • Toland, John (1970). The Rising Sun: The Decline and Fall of the Japanese Empire 1936–1945. New York: Random House. ISBN 978-0-394-44311-9.
  • Wainstock, Dennis (1996). The Decision to Drop the Atomic Bomb. Greenwood Publishing Group. ISBN 978-0-275-95475-8.

อ่านเพิ่ม แก้

Thomas, Gordon and Witts, Max Morgan (1977), Enola Gay, 1978 reprint, New York: Pocket Books, ISBN 0-671-81499-0.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้