อุทยานแห่งชาติไดเซ็ตสึซัง


อุทยานแห่งชาติไดเซ็ตสึซัง (ญี่ปุ่น: 大雪山国立公園โรมาจิไดเซ็ตสึซัง โคกูริตสึ โคเอ็ง) หรือเรียกสั้นๆว่า ไทเซ็ตสึซัง เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในภูเขาตอนกลางของเกาะฮกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ครอบคลุมพื้นที่ 2,267 ตารางกิโลเมตรในสองกิ่งจังหวัดคือคามิกาวะและโทกาชิ ด้วยพื้นที่ใหญ่โตนี้ทำให้เป็นอุทยานแห่งชาติที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ทั้งนี้ คำว่า ไดเซ็ตสึซัง มีความหมายว่า "ดอยหลวงหิมะ" ในอุทยานแห่งนี้มียอดเขาที่มีความสูงเกิน 2,000 เมตรอยู่ถึง 16 ยอด

อุทยานแห่งชาติไดเซ็ตสึซัง
大雪山国立公園
ทัศนียภาพในฤดูร้อนของภูเขาอาซาฮิดาเกะ ในอุทยานแห่งชาติไดเซ็ตสึซัง
แผนที่แสดงที่ตั้งอุทยานแห่งชาติไดเซ็ตสึซัง
แผนที่แสดงที่ตั้งอุทยานแห่งชาติไดเซ็ตสึซัง
อุทยานแห่งชาติไดเซ็ตสึซัง ในญี่ปุ่น
ที่ตั้งฮกไกโด, ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
พิกัด43°39′37″N 142°51′29″E / 43.660278°N 142.858056°E / 43.660278; 142.858056พิกัดภูมิศาสตร์: 43°39′37″N 142°51′29″E / 43.660278°N 142.858056°E / 43.660278; 142.858056
พื้นที่2,267.64 km²
จัดตั้ง4 ธันวาคม พ.ศ. 2477
ผู้เยี่ยมชม6,000,000 คน (2551) [1]

สามารถเดินทางสู่อุทยานแห่งชาติไดเซ็ตสึซังได้จากเมืองอาซาฮิกาวะ โดยอุทยานตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง ระหว่างทางจะผ่านเขื่อนชูเบ็ตสึ หลังจากนั้นก็ขึ้นกระเช้าลอยฟ้าอาซาฮิดาเกะไปยังบริเวณจุดชมวิวฐานภูเขาไฟ

หมู่ภูเขา แก้

อุทยานแห่งชาติไดเซ็ตสึซัง ประกอบด้วย 3 หมู่ภูเขาไฟ แต่ละหมู่มีลักษณะเป็นกรวยภูเขาไฟสลับชั้น ในจำนวนนี้มีปล่องภูเขาไฟอยู่ 1 ปล่องที่ยังปะทุอยู่

  1. หมู่ภูเขาไฟไดเซ็ตสึซัง — ตั้งอยู่ส่วนเหนือของอุทยาน เป็นที่ตั้งของภูเขาอาซาฮิดาเกะซึ่งเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในฮกไกโด
  2. หมู่ภูเขาไฟโทกาชิ — ตั้งอยู่ส่วนตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยาน เป็นที่ตั้งของภูเขาโทกาชิ
  3. หมู่ภูเขาไฟชิการิเบ็ตสึ — ตั้งอยู่ทางตะวันออกของอุทยาน เป็นที่ตั้งของภูเขาอิชิการิและแม่น้ำอิชิการิ (268 กิโลเมตร (167 ไมล์))[2][3]

อ้างอิง แก้

  1. Ehrlich, Gretel (August 2008). "Between Volcanoes". Nationional Geographic Magazine. National Geographic Society. p. 2. สืบค้นเมื่อ 2008-08-11.
  2. "Ishikarigawa". Encyclopedia of Japan. Tokyo: Shogakukan. 2012. OCLC 56431036. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-08-28.
  3. 石狩川 [Ishikari River] (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-17. สืบค้นเมื่อ Aug 28, 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้