อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย

อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอบุณฑริก อำเภอนาจะหลวย และอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชา ได้รับประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 53 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2530 [1] มีเนื้อที่ประมาณ 428,750 ไร่ หรือ 686 ตารางกิโลเมตร คำว่า ภูจองนายอย มีที่มาจากคำ 2 คำคือ ภูจอง กับ นายอย คำว่า ภูจอง หมายถึง ภูเขาที่มีต้นจองขึ้นอยู่หนาแน่น ซึ่งทางภาคอีสานเรียกหมากจอง ทางภาคกลางเรียกว่าต้นสำรอง ส่วนคำว่า นายอย เพี้ยนมาจากคำว่า น้ำย้อย รวมความแล้วอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย หมายถึงภูเขาที่มีต้นสำรองขึ้นอยู่มากและมีน้ำไหลย้อยตามหน้าผาของลำน้ำตามอุทยาน

อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย
น้ำตกห้วยหลวง
แผนที่
ที่ตั้งอำเภอบุณฑริก อำเภอนาจะหลวย และอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
พิกัด14°32′0″N 105°23′9″E / 14.53333°N 105.38583°E / 14.53333; 105.38583
พื้นที่686 ตารางกิโลเมตร (429,000 ไร่)
จัดตั้ง1 มิถุนายน พ.ศ. 2530
ผู้เยี่ยมชม86,252 (2562)
หน่วยราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ลักษณะภูมิประเทศ แก้

อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย พื้นที่ป่าส่วนใหญ่เป็นที่ราบ และเนินเขาซึ่งลาดไปทางทิศใต้ มีความสูงเฉลี่ยประมาณ 300 – 600 เมตร จากระดับน้ำทะเลสภาพป่าโดยทั่วไปเป็น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง มีพรรณไม้ขึ้นอยู่หนาแน่น ประมาณ 75 % ของพื้นที่ มีสภาพธรรมชาติที่งดงาม มีสภาพป่าสมบูรณ์ ในพื้นที่พบ “ ต้นจอง ” หรือต้นสำรองจำนวนมากอันเป็นที่มาของชื่ออุทยาน ฯ ส่วน “ นายอย ” มาจากคำว่า น้ำย้อย ที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งต้นน้ำลำธาร มีน้ำไหลย้อยลงมาตามเพิงผาที่อยู่ใกล้น้ำตก และมีลำน้ำสายน้ำสำคัญต่าง ๆ เช่น ลำโดมน้อย ลำโดมใหญ่และห้วยหลวง เป็นต้น

ลักษณะภูมิอากาศ แก้

อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย อยู่ในเขตภูมิอากาศแบบ ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Tropical savanna climate) คือมีช่วงความแตกต่างของฤดูฝนและฤดูแล้งอย่างเห็นชัดเจน มีช่วงกลางวันยาวในภาคฤดูร้อน และมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงตลอดปีประมาณ 35.9 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี 1,125.6 มม. ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงสุดในเดือนสิงหาคม ประมาณ 322.6 มม. ความชื้นสัมพัทธ์โดยเฉลี่ยทั้งปี 72.9 %

ทรัพยากรป่าไม้ แก้

สภาพป่าของอุทยาน สามารถแบ่งออกเป็นป่าชนิดต่างๆ โดยอาศัยปัจจัยทางสภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ ลักษณะดินและลักษณะเด่นของพืชพรรณได้ ดังนี้

  • สังคมพืชประเภทผลัดใบ (Decidouous Forest)

- ป่าเต็งรัง (Dry Diperocarp Forest) ลักษณะทั่วไปของป่าเป็นป่าโปร่ง ดินไม่ค่อยสมบูรณ์ หน้าดินตื้น ต้นไม้มีขนาดเล็ก ยกเว้นบางพื้นที่มีหน้าดินหนาและไม่ถูกรบกวนมากนัก ต้นไม้จึงจะมีขนาดใหญ่และขนาดกลางผสม พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง พะยอม เหียง กราด

- ป่าเบญจพรรณ (Mixed Decidouous Forest) หรือ เรียกป่าผสมผลัดใบ

  • สังคมพืชประเภทไม่ผลัดใบ (Evergreen Forest)

- ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest)

ทรัพยากรสัตว์ป่า แก้

เนื่องจากสภาพป่าของอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย ยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มากจึงเป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก

- สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น เลียงผา กวางป่า เก้ง กระจงเล็ก หมูป่า ชะมด หมีขอ หมาใน หมูหริ่ง กระต่ายป่า ชะนี กระทิง เป็นต้น

- สัตว์ปีก พบว่ามีจำนวนประมาณ 150 ชนิด ที่สำคัญได้แก่ เป็ดก่า เป็นต้น

- สัตว์เลื้อยคลาน เช่น ตุ๊กแกบ้าน กิ้งก่า เต่าเหลือง แย้ขีด งูหลาม งูจงอาง งูเห่า เป็นต้น

- สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เช่น คางคกบ้าน เขียดหลังขีด กบนา เขียดตะปาด เป็นต้น

แหล่งท่องเที่ยว แก้

  • น้ำตกห้วยหลวง หรือ น้ำตกถ้ำบักเตว
    • ตั้งอยู่ที่บ้านแก้งเรือง อำเภอนาจะหลวย เป็นน้ำตกขนาดใหญ่สูงราว 30 เมตร ด้านล่างมีแอ่งน้ำ และลานหินขนาดใหญ่
  • สวนหินพลานยาว
    • เป็นกลุ่มหินรูปร่างแปลกตา กระจัดกระจายไปทั่วบริเวณกว้าง

สถานที่ติดต่อ : ที่ทำการอุทยานฯ หมู่ 3 ต.นาจะหลวย อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี 34280 โทรศัพท์ : 0 4521 0706 (สอบถามข้อมูลทั่วไปและการเปิดแหล่งท่องเที่ยวได้ที่หมายเลขนี้)

อ้างอิง แก้

  1. "พระราชกฤษฎีกา กำหนดบริเวณที่ดินป่าภูจองนายอย ในท้องที่ตำบลห้วยข่า อำเภอบุณฑริก ตำบลนาจะหลวย อำเภอนาจะหลวย และตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติด พ.ศ. 2530" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (103): 11. June 1, 1987. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-27. สืบค้นเมื่อ 2021-10-13.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้