อุณหภูมิของพลังค์

ในทางฟิสิกส์ อุณหภูมิพลังค์ (อังกฤษ: Planck temperature; TP) คือหน่วยวัดอุณหภูมิในระบบหน่วยธรรมชาติที่รู้จักในชื่อ หน่วยของพลังค์ (Planck units) ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน มักซ์ พลังค์ ผู้เสนอแนวคิด

อุณหภูมิพลังค์ทำหน้าที่เป็นสเกลอุณหภูมิ โดยในสเกลนี้อุณหภูมิพลังค์มีค่าเป็น 1 ขณะที่ศูนย์สัมบูรณ์มีค่าเป็น 0 อุณหภูมิพลังค์ไม่เหมือนความยาวพลังค์หรือเวลาพลังค์ เพราะทั้งสองหน่วยคือหน่วยที่เล็กที่สุด อุณหภูมิพลังค์คือหน่วยที่ใหญ่ที่สุดของอุณหภูมิที่เป็นไปได้ อุณหภูมิของหน่วยอื่นสามารถแปลงเป็นอุณหภูมิพลังค์ได้ เช่น 0 °C = 273.15 K = 1.9279 × 10−30TP.

คำนิยาม แก้

อุณหภูมิของพลังค์สามารถนิยามได้ดังนี้

  = 1.416785(71) × 1032 K

โดยที่:

ตัวเลขสองหลักในวงเล็บ ใช้แทนความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของเลขสองหลักสุดท้ายของค่าประมาณการ

ความสำคัญ แก้

เช่นกันกับหน่วยของพลังค์อื่นๆ อุณหภูมิของพลังค์ 1 หน่วยใช้เป็นขีดจำกัดพื้นฐานทางทฤษฎีควอนตัม ร่วมกันกับความโน้มถ่วง ตามที่เข้าใจกันในปัจจุบัน กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ความยาวคลื่นของรังสีที่แผ่จากวัตถุสามารถคำนวณจากอุณหภูมิของวัตถุได้ โดยถ้าวัตถุมีอุณหภูมิสูงถึง 1.41 x 1032 Kelvin (TP) รังสีที่ปล่อยออกมาก็จะมีความยาวคลื่นเป็น 1.616 x 10-35 เมตร (ความยาวพลังค์) โดยที่จุดนี้ปรากฏการณ์แรงโน้มถ่วงควอนตัมก็จะเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

ถ้าอุณหภูมิมีค่าเท่ากับหรือสูงกว่า TP แล้ว ทฤษฎีทางฟิสิกส์ในปัจจุบันจะไม่สามารถใช้งานได้ เพราะเรายังขาดความเข้าใจในทฤษฎีแรงโน้มถ่วงควอนตัม[1]

อ้างอิง แก้

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้