อีกาสามขา (อังกฤษ: Three-legged crow; ญี่ปุ่น: 八咫烏; โรมะจิ: Yatagarasu; ฮันกึล: 삼족오; ฮันจา: 三足烏; จีน: 陽烏; พินอิน: yángwū) เป็นนกที่ปรากฏในปกรณัมของชนชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ทั้งญี่ปุ่น, จีน และเกาหลี

ภาพจิตรกรรมฝาผนังอีกาสามขา ในยุคราชวงศ์ฮั่น (มณฑลเหอหนาน, ประเทศจีน)
ภาพจิตรกรรมฝาผนังอีกาสามขา ในยุคราชวงศ์โกคูรยอ

ปกรณัมจีน แก้

อีกาสามขา เป็นอีกาตัวสีดำ มีขาสามขา หลังการสร้างโลก ในสมัยฮ่องเต้เหยา มีดวงอาทิตย์ปรากฏพร้อมกันถึง 10 ดวง อีกาสามขาเป็นนกประจำดวงอาทิตย์ เช่นเดียวกับกระต่ายแห่งดวงจันทร์ สร้างความเดือดร้อนแก่มนุษย์เป็นอย่างยิ่ง เง็กเซียนฮ่องเต้จึงมีบัญชาให้โฮวอี้ใช้ธนูยิงให้ตก ด้วยความคะนองของโฮวอี้จึงยิงตกไป 9 ดวง เหลือแค่ดวงเดียว[1]

ปกรณัมญี่ปุ่น แก้

อีกาสามขา เป็นนกประจำองค์อามาเตราซุ เทพีแห่งดวงอาทิตย์ ในนิฮนโชกิ อันเป็นพงศาวดารญี่ปุ่น ได้บันทึกว่า จักรพรรดิจิมมุ ซึ่งทรงเป็นปฐมจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น เมื่อครั้งยังทรงเป็นนักรบธรรมดา เมื่อพระองค์ทรงรบแพ้นางาซูเนฮิโกะ พระองค์ทรงตระหนักว่าการที่พระองค์และพรรคพวกรบแพ้ เพราะเป็นการรบที่หันหน้าไปทางทิศตะวันออกซึ่งเข้าหาดวงอาทิตย์ ดังนั้นแล้ว พระองค์จึงตัดสินใจย้ายมาอยู่ทางด้านตะวันออกของคาบสมุทรคิอิ เพื่อที่จะรบไปทางทิศตะวันตก ทั้งนี้เป็นการชี้นำโดยอีกาสามขา ชาวญี่ปุ่นจึงถือว่าอีกาสามขาเป็นนกศักดิ์สิทธิ์ ด้วยเป็นผู้ที่ทำให้ญี่ปุ่นได้สร้างชาติขึ้นมา จนถึงปัจจุบันนี้ อีกาสามขายังได้ปรากฏอยู่ในสัญลักษณ์หลายประการของญี่ปุ่น เช่น ฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่น เป็นต้น[2]

ปกรณัมเกาหลี แก้

ในปกรณัมเกาหลี อีกาสามขามีความสอดคล้องกับปกรณัมญี่ปุ่นตรงที่เป็นเรื่องราวของการสร้างชาติ ในอาณาจักรโคกูรยอ อีกาสามขาได้ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งสติปัญญาและอำนาจ และเป็นสัญลักษณ์ประจำราชวงศ์โคกูรยอ และพระเจ้าทงมย็องซ็อง ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์โคกูรยอ ปัจจุบันใช้เป็นสัญลักษณ์ของการเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาติ[3]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. เรื่องของฉางอี้, หน้า 184-191. สนุกกับเทศกาลเฉลิมฉลอง Goh Pei Ki เขียน แสงจินดา กันยาทิพย์ แปลและเรียบเรียง (พิมพ์ครั้งที่สอง: พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 สำนักพิมพ์ดอกหญ้า) ISBN 974-604-217-3
  2. Ponsonby-Fane, Richard. (1962). Studies in Shinto and Shrines, pp. 143-152.
  3. นกสามขา[ลิงก์เสีย]