P5 เป็นสถาปัตยกรรมไมโครรุ่นแรกของเพนเทียม เป็นไมโครโพรเซสเซอร์แบบ x86 รุ่นที่ 5 ผลิตโดยบริษัทอินเทล วางจำหน่ายครั้งแรกวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1993 โดยเป็นรุ่นต่อจากไมโครโพรเซสเซอร์รุ่น 80486

ชิปตระกูลเพนเทียม

เดิมทีอินเทลตั้งชื่อซีพียูรุ่นที่ 5 ว่า "586" (หรือ 80586, i586) ตามซีพียูรุ่นก่อนๆ แต่อินเทลพบปัญหาในด้านกฎหมาย เมื่อไม่สามารถร้องขอต่อศาล ให้จดชื่อทางการค้าที่เป็นตัวเลข (เช่น 486) เพื่อป้องกันคู่แข่งอย่างบริษัทเอเอ็มดีในการตั้งชื่อซีพียูชื่อใกล้เคียงกัน (เช่น Am486) ได้ อินเทลจึงหันมาใช้ชื่อที่สามารถจดเป็นชื่อการค้าแทน สัญลักษณ์ยี่ห้อ "เพนเทียม" ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ส่งผลให้มีเพนเทียมรุ่นถัดๆ มามากมาย ขณะนี้อินเทลได้อยู่ในช่วงเวลาที่จะทดแทนยี่ห้อเพนเทียมด้วยยี่ห้อ อินเทล คอร์ (Intel Core) ซึ่งออกแบบโดยใช้สถาปัตยกรรมที่ชื่อว่า P6 โดยมีลักษณะเด่นที่สามารถประมวลผลได้ดี ในความเร็วรอบ (frequency) ที่ต่ำ และใช้พลังงานไฟที่ต่ำมาก

ความแตกต่างจาก 486 แก้

  • สถาปัตยกรรมแบบซูเปอร์สเกลาร์ (Superscalar) เพิ่มไปป์ไลน์เป็น 2 ตัว เพื่อให้ประมวลคำสั่งได้มากกว่าหนึ่งคำสั่งภายในรอบสัญญาณนาฬิกา
  • จำนวนข้อมูลที่สามารถดึงจากหน่วยความจำเพิ่มเป็น 64 บิตต่อครั้ง (จากเดิม 32 บิต) ตัวเลขนี้ไม่ใช่การประมวลผลแบบ 64 บิต
  • ชุดคำสั่งพิเศษ MMX สำหรับการประมวลผลมัลติมีเดีย

สถาปัตยกรรมแบบเพนเทียมส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากกว่า 486 สองเท่าในความเร็วสัญญาณนาฬิกาเท่ากัน

รุ่น แก้

 
เพนเทียม MMX

เพนเทียมรุ่นแรกมีความเร็วสัญญาณนาฬิกาเริ่มต้นที่ 60 เมกกะเฮิร์ตซ รุ่นสุดท้ายที่มีการผลิตใช้ความเร็ว 300 เมกกะเฮิร์ตซ เพนเทียมรุ่นแรกยังแบ่งเป็นรุ่นย่อยต่างๆ 5 รุ่นดังนี้

  • P5
  • P54
  • P54C
  • P55
  • P55C (Tillamook) - วางจำหน่ายในชื่อ Pentium with MMX Technology หรือ Pentium MMX

รายละเอียด แก้

ซีพียู Pentium รุ่นแรกมีความเร็ว 60MHz หรือเท่ากับ 100 mips ผู้คนยังคงเรียกซีพียูรุ่นนี้ ว่า p5 หรือ p54 เพื่ออิงกับของเดิมด้วย ซีพียูรุ่นี้มีทรานซิสเตอร์ 3.21 ล้านชิ้น และทำงานกับแอดเดรส 32 บิต (เหมือนกับ 486) นอกจากนี้ยังมีบัสภายนอกแบบ 64 บิตซื่งทำให้มีความเร็วสูงกว่า 486 ประมาณ 2 เท่าอีกด้วย

ซีพียูเพนเทียมมีความเร็วสัญญาณนาฬิกาที่ 60/66/75/90/100/120/133/150/166/200 MHz ซีพียู 60/66 MHz รุ่นแรกใช้งานบน Socket4 ส่วนที่เหลือทั้งหมดทำงาน กับเมนบอร์ด Socket นอกจากนั้น ยังมีซีพ๊ยูบางรุ่น (75MHz-133MHz) สามารถทำงานบนเมนบอร์ดแบบ Socket 5 ได้ด้วย

เพนเทียมมีความคอมแพตทิเบิลกับระบบปฏิบัติการรุ่นเก่าทุกชนิด อาทิ DOS, Windows 3.1, Unix และ OS/2 การออกแบบในลักษณะซูเปอร์สเกลาร์ทำให้สามารถปรมวลผลคำสั่งได้ 2 คำสั่งต่อรอบสัญญาณนาฬิกา ซีพียูรุ่นนี้มีแคช 8KB แยกกัน 2 ชุด (แคชของโค้ดกับแคชข้อมูล) และมีหน่วยประมวลผลเชิงทศนิยมซื่งทำให้มีประสิทธิภาพเหนือกว่าซีพียูแบบ x86 นอกจากนั้น เพนเทียมยังมีระบบจัดการพลังงาน SL ของ 486SL และมีการปรับปรุงคุณสมบัติข้อนี้ให้ดีขึ้นด้วย ซีพียูมีพินที่เชื่อมโยงกับเมนบอร์ด ถ้าหากมองภายในตัวซีพียูแล้วที่จริงมันเป็นซีพียู 32 บิตสองอันที่เชื่อมเข้าด้วยกันแต่แยกการทำงาน

เพนเทียมรุ่นแรกกินไฟ 5 โวลต์ ดังนั้นมันจึงก่อความร้อนสูงมาก แต่เมื่อมาถึงรุ่น 100MHz อัตราการกินไฟลดลงเหลือ 3.3 โวลต์ นอกจากนั้นตั้งแต่รุ่น 75MHz เป็นต้นมา ซีพียูยังสามารถทำงานแบบ SYMMETRIC DUAL PROCESSING ซื่งหมายถึงสามารถติดตั้งซีพียูเพนเทียมสองตัวในพีซีเครื่องเดียวกันได้ ถ้าเมนบอร์ดรองรับการติดตั้งดังกล่าว

เพนเทียมอยู่ในตลาดได้นานมาก อินเทลผลิตซีพียูรุ่นนี้ออกมาภายใต้ความเร็วต่าง ๆ และรูปแบบต่าง ๆ ที่จริงแล้วอินเทลได้ใส่สิ่งที่เรียกว่า "s-spec"eating ลงไปด้วย ซึ่งเป็นเครื่องหมายบนต้วซีพียู เพื่อบอกข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับตัวซีพียู เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเซตอัปเมนบอร์ดได้อย่างเหมาะสม

อ้างอิง แก้

  • p. 1, The Pentium Chronicles: The People, Passion, and Politics Behind Intel's Landmark Chips, Robert P. Colwell, Wiley, 2006, ISBN 978-0-471-73617-2.

ดูเพิ่ม แก้