อินเตอร์ลิวคิน (อังกฤษ: Interleukin ตัวย่อ IL) เป็นกลุ่มไซโตไคน์ (คือเป็นโปรตีนที่หลั่งออกและเป็นโมเลกุลส่งสัญญาณ [signal molecule]) ซึ่งเมื่อพบครั้งแรก เม็ดเลือดขาวเป็นตัวแสดงออก แม้ IL จะมี 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ซึ่งจำแนกด้วยโครงสร้างที่แตกต่างกัน แต่ความคล้ายคลึงกับกันและกันของลำดับกรดอะมิโนในแต่ละกลุ่มก็ค่อนข้างน้อย (ปกติคล้ายกันเพียง 15-25%) จีโนมมนุษย์เข้ารหัสอินเตอร์ลิวคินและโปรตีนที่เกี่ยวข้องกันกว่า 50 ชนิด[1]

การทำหน้าที่ของระบบภูมิคุ้มกันต้องอาศัยอินเตอร์ลิวคินเป็นส่วนใหญ่ ความบกพร่องทางอินเตอร์ลิวคินที่ได้พบแล้วล้วนเกี่ยวข้องกับโรคภูมิต้านตนเองและภูมิคุ้มกันบกพร่อง อินเตอร์ลิวคินส่วนมากสังเคราะห์โดยเซลล์ทีเฮลเปอร์ชนิด CD4 helper T-lymphocyte รวมถึงโมโนไซต์ แมคโครฟาจ และเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง ซึ่งช่วยโปรโหมตพัฒนาการและการแปลี่ยนสภาพ (differentiation) ของเซลล์ที เซลล์บี และเซลล์สร้างเม็ดเลือด (hematopoietic cell)

หน่วยรับอินเตอร์ลิวคินที่เซลล์แอสโทรไซต์ในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสพบว่า มีบทบาทในการสร้างความจำทางปริภูมิ (spatial memory) ของหนู[2]

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. Brocker, C; Thompson, D; Matsumoto, A; Nebert, DW; Vasiliou, V (Oct 2010). "Evolutionary divergence and functions of the human interleukin (IL) gene family". Human Genomics. 5 (1): 30–55. doi:10.1186/1479-7364-5-1-30. PMC 3390169. PMID 21106488.
  2. O, Ben Menachem-Zidon; Avital, A; Ben-Menahem, Y; Goshen, I; Kreisel, T; Shmueli, EM; Segal, M; T, Ben Hur; Yirmiya, R (Jul 2011). "Astrocytes support hippocampal-dependent memory and long-term potentiation via interleukin-1 signaling". Brain, Behavior, and Immunity. 25 (5): 1008–16. doi:10.1016/j.bbi.2010.11.007. PMID 21093580. S2CID 18300021.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้