อำเภอเซกา

อำเภอในจังหวัดบึงกาฬ ประเทศไทย

เซกา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบึงกาฬซึ่งแยกออกมาจากจังหวัดหนองคายตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2554 เป็นต้นไป[1]

อำเภอเซกา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Seka
น้ำตกเจ็ดสี
คำขวัญ: 
พระมูลเมืองคู่บ้าน แหล่งสราญน้ำตกเจ็ดสี ปลารสดีน้ำสงคราม น้ำใจงามคนเซกา
แผนที่จังหวัดบึงกาฬ เน้นอำเภอเซกา
แผนที่จังหวัดบึงกาฬ เน้นอำเภอเซกา
พิกัด: 17°55′42″N 103°57′12″E / 17.92833°N 103.95333°E / 17.92833; 103.95333
ประเทศ ไทย
จังหวัดบึงกาฬ
พื้นที่
 • ทั้งหมด978.428 ตร.กม. (377.773 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด86,874 คน
 • ความหนาแน่น88.79 คน/ตร.กม. (230.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 38150
รหัสภูมิศาสตร์3804
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเซกา ถนนโพธิ์ศรี ตำบลเซกา อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ 38150
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
น้ำตกชะแนน ตั้งอยู่บ้านภูเงิน ตำบลบ้านต้อง เดิมชื่อน้ำตกตาดสะแนน ตาดแปลว่า “ที่ซึ่งมีน้ำไหล” สะแนน มีความหมายว่า “สูงสุดยอด” หรือ “เยี่ยมยอด” สายน้ำตกเกิดจากลำห้วยสะแนนไหลลดหลั่น 2 ชั้น มีขนาดกว้างประมาณ 100 เมตร ระหว่างชั้นที่ 1 กับชั้นที่ 2 ห่างกัน 300 เมตร
เส้นทางเดินไปชมน้ำตกเจ็ดสีช่วงหน้าฝน

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอเซกามีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

 
เส้นทางเดินไปชมน้ำตกเจ็ดสีช่วงหน้าฝน

ประวัติ แก้

เมื่อประมาณ พ.ศ. 2400 ผู้เขียนไม่ปรากฏนามได้เขียนบนไม้ไผ่ไว้ว่ามี ทรายคำ (เนื้อทรายสีเหลืองทอง) ถูกนายพรานยิงบาดเจ็บวิ่งหนีโซเซมาจากบ้านพันห่าว ข้ามห้วยโด (เขตอำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม) มาถึงบริเวณที่ราบลุ่มแห่งหนึ่งก็ไปไม่ไหว ล้มลงสิ้นชีพ ณ บริเวณแห่งนี้ บรรดาผู้คนที่ตามเนื้อทรายตัวนี้มา มาถึงก็ได้แล่เนื้อแบ่งกินครบถ้วนทุกคน ทั้งสาวแก่แม่ม่ายสร้างจินตนาการให้เกิดปาฏิหาริย์ว่า เนื้อทรายแม้เพียงตัวเดียว แต่ก็มีเนื้อแจกจ่ายกินกันจนกินไม่หมดเหลือทิ้ง จนนกกาบินมารุมกินเนื้อทรายที่เหลือ ที่บริเวณนี้จึงมีชื่อเรียก "เซกา"

อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2405 ได้มีผู้เฒ่า 3 คน คือ จันทรโคตร/จันผาย/ฮาดดา อพยพมาจากบ้านซางหาที่ทำกินใหม่ มาถึงที่แห่งหนึ่งเป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ มีห้วยหนองแหล่งน้ำมากมาย จึงได้บอกข่าวกับญาติพี่น้อง ผู้คนทั้งหลายจึงได้อพยพกันมาอยู่บริเวณนี้ ผู้คนต่างก็เอาไซ (เครื่องมือจับปลาพื้นเมือง) ลงไปดักปลาในห้วยและเนื่องจาก ปลาในลำห้วยมีมากมาย ไม่ว่าใครก็ตามเอาไซลงไปดักปลา พอยกขึ้นมาก็มีปลาเต็มไปหมดจนขนปลาไปไม่ไหว ต้องทิ้งปลาไว้บนฝั่ง นกกาพากันบินมารุมกินปลาที่ชาวบ้านทิ้งไว้ คนจึงเรียกว่า "บ้านไซกา" ห้วยนั้นก็เรียกว่า "ห้วยไซกา" ต่อมาจึงเรียกเพี้ยนมาเป็น "เซกา" ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน

ต่อมาเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกตำบลเซกา ตำบลดงบัง ตำบลซาง ตำบลโพธิ์หมากแข้ง และตำบลท่ากกแดง ออกจากการปกครองของอำเภอบึงกาฬ รวมตั้งเป็น กิ่งอำเภอเซกา[2] จนกระทั่งเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2502 จึงมีพระราชกฤษฎีกาฯ ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอเซกา[3] จนถึงปัจจุบัน

  • วันที่ 20 สิงหาคม 2483 โอนพื้นที่หมู่ 10 (ในขณะนั้น) ของตำบลเซกา ไปขึ้นกับตำบลซาง และแยกพื้นที่หมู่ 1,2,10,11,12 (ในขณะนั้น) ของตำบลซาง หมู่ 8,9,12 (ในขณะนั้น) ของตำบลเซกา หมู่ 2,3,7,16 (ในขณะนั้น) ของตำบลดอนหญ้านาง ตั้งเป็นตำบลท่ากกแดง[4]
  • วันที่ 18 พฤศจิกายน 2501 แยกพื้นที่ตำบลเซกา ตำบลดงบัง ตำบลซาง ตำบลโพธิ์หมากแข้ง และตำบลท่ากกแดง ของอำเภอบึงกาฬ มาจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอเซกา[2] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอบึงกาฬ
  • วันที่ 10 มกราคม 2502 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเซกา อำเภอบึงกาฬ เป็น อำเภอเซกา[3]
  • วันที่ 28 กรกฎาคม 2502 โอนพื้นที่หมู่ 9 บ้านดงกะพุง (ในขณะนั้น) ของตำบลชมภูพร อำเภอบึงกาฬ มาตั้งเป็นหมู่ 9 ของตำบลเซกา กิ่งอำเภอเซกา อำเภอบึงกาฬ[5]
  • วันที่ 14 กันยายน 2508 จัดตั้งสุขาภิบาลศรีพนา ในท้องที่บางส่วนของตำบลเซกา[6]
  • วันที่ 28 พฤษภาคม 2511 ตั้งตำบลบ้านต้อง แยกออกจากตำบลโพธิ์หมากแข้ง[7]
  • วันที่ 19 มิถุนายน 2516 ตั้งตำบลป่งไฮ แยกออกจากตำบลท่ากกแดง[8]
  • วันที่ 16 มิถุนายน 2524 ตั้งตำบลน้ำจั้น แยกออกจากตำบลเซกา[9]
  • วันที่ 7 กรกฎาคม 2524 ตั้งตำบลท่าสะอาด แยกออกจากตำบลท่ากกแดง[10]
  • วันที่ 7 กันยายน 2525 ตั้งตำบลบึงโขงหลง แยกออกจากตำบลโพธิ์หมากแข้ง[11]
  • วันที่ 4 ตุลาคม 2526 ตั้งตำบลท่าดอกคำ แยกออกจากตำบลดงบัง[12]
  • วันที่ 21 มกราคม 2529 แยกพื้นที่ตำบลบึงโขงหลง ตำบลโพธิ์หมากแข้ง ตำบลดงบัง และตำบลท่าดอกคำ ของอำเภอเซกา ไปจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอบึงโขงหลง[13] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเซกา
  • วันที่ 23 มิถุนายน 2530 ตั้งตำบลหนองทุ่ม แยกออกจากตำบลซาง[14]
  • วันที่ 15 กันยายน 2532 ตั้งตำบลโสกก่าม แยกออกจากตำบลบ้านต้อง[15]
  • วันที่ 11 สิงหาคม 2536 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลศรีพนา[16] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น
  • วันที่ 23 สิงหาคม 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลบึงโขงหลง ในท้องที่หมู่ 1-2, 9, 11-13 ของตำบลบึงโขงหลง และหมู่ 1-4, 6 ของตำบลโพธิ์หมากแข้ง[17] และจัดตั้งสุขาภิบาลท่าสะอาด ในท้องที่หมู่ 1-3, 6-7, 9-12 ของตำบลท่าสะอาด[18]
  • วันที่ 3 พฤศจิกายน 2536 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอบึงโขงหลง อำเภอเซกา เป็น อำเภอบึงโขงหลง[19]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลศรีพนา และสุขาภิบาลท่าสะอาด เป็นเทศบาลตำบลศรีพนา และเทศบาลตำบลท่าสะอาด ตามลำดับ[20] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 22 มีนาคม 2554 แยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย มาตั้งเป็น จังหวัดบึงกาฬ[1] และเปลี่ยนชื่ออำเภอบึงกาฬ เป็นอำเภอเมืองบึงกาฬ
  • วันที่ 30 กันยายน 2554 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลซาง เป็นเทศบาลตำบลซาง[21]
  • วันที่ 5 สิงหาคม 2563 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ เป็นเทศบาลตำบลป่งไฮ[22]

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอเซกาแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 9 ตำบล 136 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[23]
1. เซกา Seka
23
19,069
2. ซาง Sang
13
4,435
3. ท่ากกแดง Tha Kok Daeng
16
3,594
4. บ้านต้อง Ban Tong
15
5,737
5. ป่งไฮ Pong Hai
18
5,226
6. น้ำจั้น Nam Chan
13
3,246
7. ท่าสะอาด Tha Sa-at
13
4,957
8. หนองทุ่ม Nong Thum
13
3,513
9. โสกก่าม Sok Kam
12
3,064

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอเซกาประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลศรีพนา ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเซกา
  • เทศบาลตำบลท่าสะอาด ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าสะอาด
  • เทศบาลตำบลซาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลซางทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลป่งไฮ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่งไฮทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเซกา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเซกา (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลศรีพนา)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่ากกแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่ากกแดงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านต้อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านต้องทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำจั้น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำจั้นทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสะอาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าสะอาด (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลท่าสะอาด)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองทุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองทุ่มทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโสกก่าม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโสกก่ามทั้งตำบล

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (18 ก): 1. 2011-03-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-09. สืบค้นเมื่อ 2011-11-10.
  2. 2.0 2.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (95 ง): 2929–2930. November 18, 1958. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-01. สืบค้นเมื่อ 2021-05-26.
  3. 3.0 3.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอชุมพวง อำเภอเชียงยืน อำเภอแก้งคร้อ อำเภอสำโรงทาบ อำเภอคอนสาร อำเภอเซกา อำเภอทุ่งเสลี่ยม อำเภอบ้านด่าน อำเภอขนอม อำเภอบ้านแพรก อำเภอกระทู้ และอำเภอคลองใหญ่ พ.ศ. ๒๕๐๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 76 (113 ก): (ฉบับพิเศษ) 8-11. January 10, 1959. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2021-05-26.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 (0 ง): 1507. August 20, 1940.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตท้องที่กิ่งอำเภอเซกา อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 76 (74 ง): 1774–1775. July 28, 1959.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลศรีพนา อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (75 ง): 2337–2338. September 14, 1965.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอโพนพิสัย อำเภอเซกา อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (48 ง): 1525–1534. November 28, 1968. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ 2021-06-08.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่ อำเภอโพนพิสัยและอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (70 ง): 1895–1899. June 16, 1973.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองหนองคาย อำเภอท่าบ่อและอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (96 ง): 1781–1789. June 16, 1981.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนเขตตำบลในท้องที่อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (110 ง): 2148–2150. July 7, 1981.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองหนองคาย อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (126 ง): 3574–3581. September 7, 1982. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-01. สืบค้นเมื่อ 2021-06-08.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (159 ง): 3597–3599. October 4, 1983.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเซกา จังหวัดหนองคายตั้งเป็นกิ่งอำเภอบึงโขงหลง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (9 ง): 159. January 21, 1986. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2021-06-08.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเซกา อำเภอโซพิสัย จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (118 ง): 4230–4239. June 23, 1987.[ลิงก์เสีย]
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอศรีเชียงใหม่ และอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (154 ง): (ฉบับพิเศษ) 77-84. September 15, 1989.
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลศรีพนา อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 22-23. August 11, 1993.
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบึงโขงหลง กิ่งอำเภอบึงโขงหลง อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (116 ง): (ฉบับพิเศษ) 24-26. August 23, 1993.
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าสะอาด อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (116 ง): (ฉบับพิเศษ) 37-38. August 23, 1993.
  19. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอลำทับ อำเภอร่องคำ อำเภอเวียงแหง อำเภอนาโยง อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอโนนแดง อำเภอบ้านหลวง อำเภอกะพ้อ อำเภอศรีบรรพต อำเภอแก่งกระจาน อำเภอหนองสูง อำเภอสบเมย อำเภอเมยวดี อำเภอโคกเจริญ อำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอผาขาว อำเภอวังหิน อำเภอดอนพุด อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอห้วยคต พ.ศ. 2536" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (พิเศษ 179 ง): 1–3. November 3, 1993. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2021-06-08.
  20. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-06-08.
  21. "เปลี่ยนฐานะจาก องค์การบริหารส่วนตำบลซาง เป็น เทศบาลตำบลซาง". September 30, 2011. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  22. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ เป็นเทศบาลตำบลป่งไฮ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 137 (ตอนพิเศษ 179 ง): 5–6. August 5, 2020.
  23. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.