อำเภอเชียงยืน

อำเภอในจังหวัดมหาสารคาม ประเทศไทย

เชียงยืน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 8 และมีประชากรมากเป็นอันดับ 7 ของจังหวัด อีกทั้งยังเป็นเส้นทางคมนาคมไปสู่จังหวัดขอนแก่น

อำเภอเชียงยืน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Chiang Yuen
คำขวัญ: 
เชียงยืนเมืองพระใหญ่ ใฝ่ใจวัฒนธรรม
ทอผ้าดำและเสื่อกก มรดกไหมมัดหมี่
ประเพณีบุญเบิกฟ้า งามธาราเริงทอง
แผนที่จังหวัดมหาสารคาม เน้นอำเภอเชียงยืน
แผนที่จังหวัดมหาสารคาม เน้นอำเภอเชียงยืน
พิกัด: 16°24′29″N 103°6′19″E / 16.40806°N 103.10528°E / 16.40806; 103.10528
ประเทศ ไทย
จังหวัดมหาสารคาม
พื้นที่
 • ทั้งหมด289.0 ตร.กม. (111.6 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด60,612 คน
 • ความหนาแน่น209.73 คน/ตร.กม. (543.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 44160
รหัสภูมิศาสตร์4405
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเชียงยืน ถนนขอนแก่น-ยางตลาด ตำบลเชียงยืน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม 44160
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ แก้

พื้นที่ของอำเภอเชียงยืนเดิมเป็นตำบลเชียงยืน อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอโคกพระ (อำเภอกันทรวิชัย) จังหวัดมหาสารคามในขณะนั้น ต่อมาราษฎรได้ยื่นเรื่องราวต่อราชการ ขอให้ตั้งกิ่งอำเภอขึ้นที่ตำบลเชียงยืน โดยเสนอให้รวมท้องที่ตำบลเชียงยืน ตำบลหนองซอน ตำบลชื่นชม และตำบลกู่ทอง อำเภอกันทรวิชัย เพื่อรวมขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ ต่อมาวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2501 กรมการปกครองได้พิจารณาดำเนินการจัดตั้งกิ่งอำเภอ ซึ่งจังหวัดมหาสารคามได้เสนอขอตั้งกิ่งอำเภอเชียงยืนในท้องที่อำเภอกันทรวิชัย ซึ่งกรมการปกครองได้บรรจุเข้าแผนการจัดตั้งกิ่งอำเภอภายในปี พ.ศ. 2501 เนื่องจากการก่อสร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอเสร็จเรียบร้อย[1]

ในปีเดียวกันเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2501 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกตำบลเชียงยืน ตำบลหนองซอน ตำบลชื่นชม และตำบลกู่ทอง ออกจากการปกครองของอำเภอกันทรวิชัย รวมตั้งเป็น กิ่งอำเภอเชียงยืน[2] จนกระทั่งเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2502 จึงมีพระราชกฤษฎีกาฯ ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอเชียงยืน[3] จนถึงปัจจุบัน ซึ่งกิ่งอำเภอเชียงยืนมีระยะเวลาการเป็นกิ่งอำเภอเพียง 4 เดือน

  • วันที่ 11 มิถุนายน 2492 ตั้งตำบลชื่นชม แยกออกจากตำบลเชียงยืน[4]
  • วันที่ 11 พฤศจิกายน 2495 ตั้งตำบลกู่ทอง แยกออกจากตำบลเชียงยืน[5]
  • วันที่ 9 กันยายน 2501 แยกพื้นที่ตำบลเชียงยืน ตำบลหนองซอน ตำบลชื่นชม และตำบลกู่ทอง อำเภอกันทรวิชัย มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอเชียงยืน[2] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอกันทรวิชัย
  • วันที่ 10 มกราคม 2502 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเชียงยืน อำเภอกันทรวิชัย เป็น อำเภอเชียงยืน[3]
  • วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลเชียงยืน ในท้องที่บางส่วนของตำบลเชียงยืน[6]
  • วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2506 ตั้งตำบลเหล่าดอกไม้ แยกออกจากตำบลชื่นชม ตำบลเชียงยืน และตำบลหนองซอน[7]
  • วันที่ 25 มีนาคม 2506 โอนพื้นที่หมู่ 1,5,6,8,9 (ในขณะนั้น) ของตำบลเขื่อน อำเภอโกสุมพิสัย มาขึ้นกับตำบลเชียงยืน อำเภอเชียงยืน และโอนพื้นที่หมู่ 1,2,3,4,5 (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองบัว อำเภอโกสุมพิสัย มาขึ้นกับตำบลกู่ทอง อำเภอเชียงยืน[8]
  • วันที่ 7 กันยายน 2514 ตั้งตำบลนาทอง แยกออกจากตำบลเชียงยืน และตำบลกู่ทอง ตั้งตำบลเสือเฒ่า แยกออกจากตำบลเชียงยืน และตำบลกู่ทอง ตั้งตำบลดอนเงิน แยกออกจากตำบลเหล่าดอกไม้ และตำบลหนองซอน[9]
  • วันที่ 26 ตุลาคม 2514 ยุบพื้นที่ตำบลกู่ทอง อำเภอเชียงยืน เนื่องจากการตั้งตำบลนาทอง และตำบลเสือเฒ่าที่ตั้งขึ้นใหม่ ผู้ที่มีตำแหน่งเป็นกำนันตำบลกู่ทอง มีฐานะเป็นผู้ใหญ่บ้านที่โอนไปด้วย จึงจำเป็นที่จะต้องดำเนินการให้กำนันตำบลกู่ทอง อำเภอเชียงยืน หมดสภาพการเป็นกำนัน เพื่อจะได้ทำการเลือกตั้งขึ้นใหม่ และตั้งตำบลกู่ทอง แยกออกจากตำบลกู่ทอง (เดิม)[10]
  • วันที่ 12 ธันวาคม 2529 ตั้งตำบลกุดปลาดุก แยกออกจากตำบลชื่นชม[11]
  • วันที่ 7 กันยายน 2533 ตั้งตำบลหนองกุง แยกออกจากตำบลเหล่าดอกไม้[12]
  • วันที่ 17 กันยายน 2536 ตั้งตำบลโพนทอง แยกออกจากตำบลหนองซอน[13]
  • วันที่ 14 พฤศจิกายน 2538 ตั้งตำบลเหล่าบัวบาน แยกออกจากตำบลนาทอง[14]
  • วันที่ 25 มิถุนายน 2540 แยกพื้นที่ตำบลชื่นชม ตำบลกุดปลาดุก ตำบลเหล่าดอกไม้ และตำบลหนองกุง อำเภอเชียงยืน ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอชื่นชม[15] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเชียงยืน
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลเชียงยืน เป็นเทศบาลตำบลเชียงยืน[16] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอชื่นชม อำเภอเชียงยืน เป็น อำเภอชื่นชม[17]

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอเชียงยืนตั้งอยู่ตอนบนของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอเชียงยืนแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 ตำบล 116 หมู่บ้าน ได้แก่

1. เชียงยืน (Chiang Yuen) 19 หมู่บ้าน 5. นาทอง (Na Thong) 11 หมู่บ้าน
2. หนองซอน (Nong Son) 16 หมู่บ้าน 6. เสือเฒ่า (Suea Thao) 16 หมู่บ้าน
3. ดอนเงิน (Don Ngoen) 15 หมู่บ้าน 7. โพนทอง (Phon Thong) 12 หมู่บ้าน
4. กู่ทอง (Ku Thong) 19 หมู่บ้าน 8. เหล่าบัวบาน (Lao Bua Ban) 8 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอเชียงยืนประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเชียงยืน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเชียงยืน
  • เทศบาลตำบลโพนทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงยืน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเชียงยืน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเชียงยืน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองซอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองซอนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนเงิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนเงินทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกู่ทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกู่ทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเสือเฒ่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสือเฒ่าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าบัวบาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเหล่าบัวบานทั้งตำบล

อ้างอิง แก้

  1. "กระทู้ถามที่ ว. ๒/๒๕๐๑ ของนายเกียรติ นาคะพงษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดมหาสารคาม เรื่อง การประกาศตั้งและสร้างที่ทำการกิ่งอำเภอเชียงยืนและกิ่งอำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (43 ง): 1664–1666. June 3, 1958.
  2. 2.0 2.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (70 ง): 2487–2488. September 9, 1958. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-04. สืบค้นเมื่อ 2021-04-04.
  3. 3.0 3.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอชุมพวง อำเภอเชียงยืน อำเภอแก้งคร้อ อำเภอสำโรงทาบ อำเภอคอนสาร อำเภอเซกา อำเภอทุ่งเสลี่ยม อำเภอบ้านด่าน อำเภอขนอม อำเภอบ้านแพรก อำเภอกระทู้ และอำเภอคลองใหญ่ พ.ศ. ๒๕๐๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 76 (113 ก): (ฉบับพิเศษ) 8-11. January 10, 1959. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2021-04-04.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและตั้งตำบลในท้องที่อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 66 (33 ง): 2695–2697. June 11, 1949.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบรบือ อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอกันทรวิชัย และอำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 69 (67 ง): 4056–4067. November 11, 1952.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเชียงยืน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (15 ง): 324–325. February 12, 1963.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเชียงยืน และอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (20 ง): 474–486. February 26, 1963.
  8. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอโกสุมพิสัย และอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม พ.ศ. ๒๕๐๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (28 ง): (ฉบับพิเศษ) 21-23. March 25, 1963.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเชียงยืน และอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (97 ง): 2444–2471. September 7, 1971.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (113 ง): 3000–3003. October 26, 1971.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (219 ง): (ฉบับพิเศษ) 35-40. December 12, 1986.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอบรบือ อำเภอเชียงยืนและอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (168 ง): (ฉบับพิเศษ) 98-113. September 7, 1990.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอโกสุมพิสัยและอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (139 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-5. September 17, 1993.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย อำเภอเชียงยืนและอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (91 ง): 91–110. November 14, 1995.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ตั้งเป็นกิ่งอำเภอชื่นชม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 51 ง): 15. June 25, 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2021-04-04.
  16. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-04-04.
  17. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. August 24, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2021-04-04.