อำเภอฮอด

อำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย

ฮอด (ไทยถิ่นเหนือ: (ᩁᩬᨯ)) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ รองรับความเจริญเติบโตจากอำเภอจอมทอง เดิมชื่ออำเภอเมืองฮอด และเป็นอำเภอที่มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทิวเขา ในอดีตเป็นอำเภอหนึ่งที่มีความยากลำบากในการเดินทาง มีหอนาฬิกาเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอ[1][2] เป็นทางผ่านของผู้เดินทางหรือนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปจังหวัดแม่ฮ่องสอน

อำเภอฮอด
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Hot
ป่าสนบริเวณทางหลวงหมายเลข 108
ป่าสนบริเวณทางหลวงหมายเลข 108
คำขวัญ: 
ออบหลวงเลื่องลือชื่อ ชนยึดถือประเพณี
สวนสนเขียวขจี ฮอดเป็นศรีรวมเผ่าชน
แผนที่จังหวัดเชียงใหม่ เน้นอำเภอฮอด
แผนที่จังหวัดเชียงใหม่ เน้นอำเภอฮอด
พิกัด: 18°11′33″N 98°36′39″E / 18.19250°N 98.61083°E / 18.19250; 98.61083
ประเทศ ไทย
จังหวัดเชียงใหม่
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,430.38 ตร.กม. (552.27 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด42,791 คน
 • ความหนาแน่น29.92 คน/ตร.กม. (77.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 50240
รหัสภูมิศาสตร์5016
ที่ตั้งที่ว่าการหมู่ที่ 9 ตำบลหางดง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ 50240
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ แก้

อำเภอฮอด เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ จากเอกสารข้อมูลประวัติศาสตร์  โครงการสำรวจชุมชนโบราณท่าเชียงทอง ยุคก่อนหริภุญไชย ‘ย้อนรอยพระนางจามเทวี ตามหาท่าเรือเชียงทอง’ ของพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หริภุญไชย สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ได้ระบุถึงการตั้งถิ่นฐานชุมชนบ้านเมืองสมัยก่อนรัฐล้านนา เอาไว้ว่า แอ่งพื้นที่เชียงใหม่-ลำพูน หรือเขตลุ่มแม่น้ำปิงตอนบนนี้ ปรากฏหลักฐานการตั้งถิ่นฐานชุมชน มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะในพื้นที่เขตอำเภอสันกำแพง-ดอยสะเก็ด และอำเภอจอมทอง-ฮอด

นอกจากนั้น จากการสืบค้นตำนานหลายตำนาน ยังระบุไว้อีกว่า ฮอด เคยเป็นชุมชนที่มีความสำคัญตั้งแต่ยุคของการก่อตั้งเมืองหริภุญชัยและอาณาจักรล้านนา เนื่องจากฮอดเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สำคัญของแม่น้ำปิงอีกแห่งหนึ่ง ที่ผู้คนสมัยนั้นได้ใช้เป็นเส้นทางติดต่อกับหัวเมืองต่างๆ ทางท้ายน้ำ ล่องลงไปตามลำน้ำแม่ปิงไปจนถึงแม่น้ำเจ้าพระยา

กล่าวกันว่า ในสมัยก่อนตั้งแต่ยุคสุโขทัย อยุธยา และลพบุรี ระหว่างหัวเมืองฝ่ายเหนือกับหัวเมืองฝ่ายใต้ได้มีการใช้เส้นทางคมนาคมทางน้ำ โดยอาศัยแม่น้ำปิงในการเดินเรือมาโดยตลอด [3]

อำเภอฮอด แต่เดิมชื่อ "อำเภอเมืองฮอด" ต่อมาวันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเมืองฮอด จังหวัดเชียงใหม่ มณฑลพายัพ เป็น อำเภอฮอด[4] และเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2472 แยกพื้นที่ตำบลอมก๋อย ตำบลยางเปียง และตำบลแม่ตื่น อำเภอฮอด มาตั้งเป็น กิ่งอำเภออมก๋อย และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอฮอด[5]

เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลหางดง แยกออกจากตำบลฮอด[6] และวันที่ 22 กรกฎาคม 2501 ยกฐานะจากกิ่งอำเภออมก๋อย อำเภอฮอด เป็น อำเภออมก๋อย[7]

  • วันที่ 20 กรกฎาคม 2514 ตั้งตำบลบ่อสลี แยกออกจากตำบลบ่อหลวง[8]
  • วันที่ 17 ตุลาคม 2515 แยกพื้นที่ตำบลท่าเดื่อ ตำบลดอยเต่า ตำบลมืดกา และตำบลบ้านแอ่น อำเภอฮอด มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอดอยเต่า และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอฮอด[9]
  • วันที่ 14 กันยายน 2519 ตั้งตำบลนาคอเรือ แยกออกจากตำบลบ้านแอ่น[10]
  • วันที่ 25 มีนาคม 2522 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอดอยเต่า อำเภอฮอด เป็น อำเภอดอยเต่า[11]
  • วันที่ 16 พฤษภาคม 2525 โอนพื้นที่ตำบลนาคอเรือ อำเภอดอยเต่า มาขึ้นกับ อำเภอฮอด[12]

การจัดตั้งสุขาภิบาล เทศบาล แก้

ในส่วนของท้องถิ่น ได้มีการจัดตั้งสุขาภิบาลฮอด ในท้องที่บางส่วนของตำบลฮอด เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2500 [13] และจัดตั้งสุขาภิบาลอมก๋อย ในท้องที่บางส่วนของตำบลอมก๋อย เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2500 [14] จัดตั้งสุขาภิบาลท่าข้าม ในท้องที่บางส่วนของตำบลหางดง เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2506[15]

  • วันที่ 10 กรกฎาคม 2505 ย้ายที่ว่าการอำเภอฮอด จากตำบลฮอด ไปที่ตำบลหางดง ท้องที่อำเภอเดียวกัน เนื่องจากที่ว่าการอำเภอชำรุดทรุดโทรม และตั้งอยู่ในบริเวณน้ำท่วมเมื่อเขื่อนภูมิพลสร้างเสร็จแล้ว[16]
  • วันที่ 17 พฤศจิกายน 2507 ยุบสุขาภิบาลฮอด เนื่องจากอยู่ในเขตน้ำท่วมตามโครงการเขื่อนภูมิพล[17]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลท่าข้าม เป็นเทศบาลตำบลท่าข้าม[18] ด้วยผลของกฎหมาย

การจัดตั้งเขตนิคมสหกรณ์ แก้

  • วันที่ 3 ตุลาคม 2512 จัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่อำเภอฮอด[19]

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอฮอดตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอฮอดแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 ตำบล 61 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับที่ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด
(พ.ศ. 2566)[20]
ประชากรแยกตามส่วนท้องถิ่น
(พ.ศ. 2566)[20]
1. หางดง Hang Dong 13 10,125 5,601
4,524
(ทต. ท่าข้าม)
(อบต. หางดง)
2. ฮอด Hot 5 3,042 3,042 (อบต. ฮอด)
3. บ้านตาล Ban Tan 10 5,048 5,048 (ทต. บ้านตาล)
4. บ่อหลวง Bo Luang 13 11,987 11,987 (ทต. บ่อหลวง)
5. บ่อสลี Bo Sali 10 7,928 7,928 (อบต. บ่อสลี)
6. นาคอเรือ Na Kho Ruea 10 4,661 4,661 (อบต. นาคอเรือ)
รวม 61 42,791 22,636 (เทศบาล)
20,155 (อบต.)

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอฮอดประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลท่าข้าม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหางดง
  • เทศบาลตำบลบ่อหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อหลวงทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบ้านตาล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านตาลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหางดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหางดง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลท่าข้าม)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลฮอด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลฮอดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อสลี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อสลีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาคอเรือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาคอเรือทั้งตำบล

แหล่งท่องเที่ยว แก้

  • อุทยานแห่งชาติออบหลวง เป็นอุทยานแห่งชาติครอบคลุมในพื้นที่อำเภอจอมทอง อำเภอฮอด และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ 553 ตารางกิโลเมตร (345,625 ไร่) พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานเป็นภูเขาสลับซับซ้อนและสูงชัน มีอาณาเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ แหล่งน้ำหลักคือลำน้ำแม่แจ่ม ซึ่งมีลักษณะเป็นเกาะแก่งเมื่อไหลผ่านหุบเขา ในอุทยานมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ จำแนกได้หลายประเภท สามารถพบสัตว์ป่าได้หลายชนิด เช่น เลียงผา เสือ หมี เป็นต้น นอกจากนี้ภายในอุทยานแห่งชาติยังมีน้ำพุร้อน น้ำตก ถ้ำ และแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์
  • แหล่งพักผ่อนกิโลเก้า[21] เป็นแหล่งท่องเที่ยวในฤดูร้อน ตั้งอยู่คาบเกี่ยวระหว่างอำเภอจอมทอง กับ อำเภอฮอด โดยมีน้ำแม่แจ่มไหลกั้นแบ่งเขตอำเภอไปจนจบแม่น้ำปิง นับเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของผู้เดินทางหรือผู้ที่เหนื่อยจากการทำงาน เป็นสถานที่ที่ได้รับความนิยมมากในช่วงเทศกาลสงกรานต์และเป็นแหล่งน้ำที่มีหาดทรายสวยงามแห่งเดียวของเชียงใหม่
  • สวนสนบ่อแก้ว[22][23] หรือ "สถานีวนวัฒนวิจัยบ่อแก้ว" เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจวัตถุดิบ เพื่อทำเยื่อกระดาษ ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 2,072 ไร่ โดยภายในสถานีคุณจะพบแปลงทดลองปลูกพืชจำพวกสน และยูคาลิปตัสจำนวนมาก งดงามด้วยทิวสนที่ปลูกเรียงรายกันอย่างเป็นระเบียบ

อ้างอิง แก้

  1. อวสาน “หอนาฬิกา” สัญลักษณ์เก่าแก่ของ อ.ฮอด
  2. คนฮอดสุดเศร้า อวสาน “วงเวียนหอนาฬิกา” แลนด์มาร์กเก่าหลายสิบปีคู่เมือง
  3. ประชาไท - เรียนรู้ประวัติศาสตร์ตำนานเมืองฮอด
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 34 หน้า 65 วันที่ 29 เมษายน 2460
  5. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ง): 296–297. 28 เมษายน 2472. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2020-01-02.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. 10 มิถุนายน 2490. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2020-01-02.
  7. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอกระสัง อำเภอกระนวน อำเภอบางกอกใหญ่ อำเภอขุนหาร อำเภอพนา อำเภอปากช่อง อำเภอวังเหนือ อำเภอวังชิ้น อำเภอแม่ทา อำเภอหนองหมู อำเภอสระแก้ว อำเภออมก๋อย อำเภอบางซ้าย อำเภอทับสะแก อำเภอบุณฑริก อำเภอลานสะกา อำเภอจอมบึง อำเภอท่ายาง อำเภอสามเงา อำเภอฟากท่า อำเภอบ้านเขว้า อำเภอชานุมาน อำเภอแม่พริก อำเภอท่าสองยาง อำเภอสะเมิง อำเภอหนองแขม และอำเภอพระแสง พ.ศ. ๒๕๐๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (55 ก): 321–327. 22 กรกฎาคม 2501. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-01-02.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (78 ง): 2018–2020. 20 กรกฎาคม 2514. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-02. สืบค้นเมื่อ 2020-01-02.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอดอยเต่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (155 ง): 2598. 17 ตุลาคม 2515.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอดอยเต่า อำเภอฮอด และอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (110 ง): 2457–2460. 14 กันยายน 2519.
  11. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองกุงศรี อำเภอไทรงาม อำเภอบ้านฝาง อำเภออุบลรัตน์ อำเภอเวียงชัย อำเภอดอยเต่า อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอนาหว้า อำเภอเสิงสาง อำเภอศรีสาคร อำเภอบึงสามพัน อำเภอนาดูน อำเภอค้อวัง อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอเมืองสรวง อำเภอปลวกแดง อำเภอยางชุมน้อย อำเภอกาบเชิง อำเภอสุวรรณคูหา และอำเภอกุดข้าวปุ้น พ.ศ. ๒๕๒๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (42 ก): (ฉบับพิเศษ) 19-23. 25 มีนาคม 2522. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2020-01-02.
  12. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอดอยเต่า กับอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๒๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (68 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-3. 16 พฤษภาคม 2525.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (4 ง): (ฉบับพิเศษ) 39-40. 7 มกราคม 2500.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลลอมก๋อย กิ่งอำเภออมก๋อย อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (10 ง): (ฉบับพิเศษ) 18-19. 26 มกราคม 2500.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าข้าม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (73 ง): 1819–1820. 23 กรกฎาคม 2506.
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การย้ายที่ว่าการอำเภอฮอด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (62 ง): 1522. 10 กรกฎาคม 2505.
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบสุขาภิบาลฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (110 ง): 2800–2801. 17 พฤศจิกายน 2507.
  18. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-09-29.
  19. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๑๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (86 ก): (ฉบับพิเศษ) 53-54. 3 ตุลาคม 2513.
  20. 20.0 20.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน) พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เดือนธันวาคม 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1]. สืบค้น 13 มีนาคม 2567.
  21. “กม.9” สายน้ำแจ่ม อ.ฮอด-แม่สะเรียง เช่นเดียวกับ “สายน้ำปิง” ท้ายฝายวังปาน อ.จอมทอง-เวียงหนองล่อง,บ้านโฮ่ง แห่ไปเล่นน้ำกันคึกคัก!
  22. "สวนสนบ่อแก้ว เชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-02. สืบค้นเมื่อ 2021-01-11.
  23. รีวิวที่เที่ยวเชียงใหม่ “สวนสนบ่อแก้ว”

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อำเภอฮอด