อำเภอห้วยทับทัน

อำเภอในจังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย

ห้วยทับทัน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของจังหวัด โดยมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดสุรินทร์ อำเภอนี้มีผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก คือ ไก่ย่างไม้มะดันห้วยทับทัน[1]

อำเภอห้วยทับทัน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Huai Thap Than
คำขวัญ: 
ไก่ย่างไม้มะดันเลื่องลือ ขึ้นชื่อข้าวหอมมะลิมากมาย
หลากหลายผ้าไหมลวดลายดี
โครงกระดูกมนุษย์โบราณพันปีน่าศึกษา
ปราสาทขอมโบราณตระการตา
สืบสานนานมาผ้าเก็บย้อมมะเกลือ
แผนที่จังหวัดศรีสะเกษ เน้นอำเภอห้วยทับทัน
แผนที่จังหวัดศรีสะเกษ เน้นอำเภอห้วยทับทัน
พิกัด: 15°3′0″N 104°1′24″E / 15.05000°N 104.02333°E / 15.05000; 104.02333
ประเทศ ไทย
จังหวัดศรีสะเกษ
พื้นที่
 • ทั้งหมด194.6 ตร.กม. (75.1 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด42,242 คน
 • ความหนาแน่น217.07 คน/ตร.กม. (562.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 33210
รหัสภูมิศาสตร์3312
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอห้วยทับทัน เลขที่ 256 หมู่ที่ 1 ตำบลห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ 33210
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่มาของชื่อ แก้

เดิมน่าจะชื่อว่า "ห้วยทัพทัน" เพราะมีความหมายสอดคล้องตำนานเมืองศรีสะเกษมากกว่า แต่ในปัจจุบันเพี้ยนมาเป็น "ห้วยทับทัน" จากตำนานที่ว่า สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทย เมื่อพระเจ้าเอกทัศครองราชย์อยู่นั้น ได้เกิดอาเพศช้างเผือกแตกโรงหนี แล้วมุ่งหน้ามาทางทิศตะวันออก มาถึงเขตดินแดนเขมรป่าดง (เขตจังหวัดศรีสะเกษและสุรินทร์ในปัจจุบัน) พระเจ้าเอกทัศทรงให้ทหารนายกองออกตามจับช้างเผือก ขบวนทหารร่วมกับหัวหน้ากลุ่มชนชาวเขมรป่าดงที่ชำนาญการจับช้าง ออกตามจับช้างจน "มาทัน" ที่ลำธารแห่งหนึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอห้วยทับทัน จึงเห็นตัวช้างแต่ยังจับไม่ได้ ชาวบ้านจึงเรียกชื่อลำธารที่นายกองจับช้างตามมาทันนั้นว่า ห้วยทัพทัน เพราะกองทัพตามจับช้างมาทันที่นั่น ช้างเผือกวิ่งหนีเลยไปทางทิศใต้ด้านเขาพนมดงรัก จึงไล่ติดตามจนจับช้างเผือกได้ที่เชิงเขาพนมดงรัก ในเขตอำเภอกันทรลักษ์ปัจจุบัน เมื่อนำช้างเผือกมาถึงหมู่บ้านใหญ่บ้านหนึ่งซึ่งเป็นตัวเมืองศรีสะเกษปัจจุบัน ช้างเผือกได้รับบาดเจ็บ พอรักษาพยาบาลช้างจนหายแล้วจึงออกเดินทางนำช้างเผือกส่งถึงกรุงศรีอยุธยา ชาวบ้านเป็นชาวกูยจึงเรียกหมู่บ้านนั้นว่า "บ้านเจียงอี" (ภาษากูย แปลว่า "บ้านช้างเจ็บ") และวัดในหมู่บ้านจึงได้ชื่อว่า "วัดเจียงอี" นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา[2]

ประวัติ แก้

อำเภอห้วยทับทันแยกออกมาจากอำเภออุทุมพรพิสัยและประกาศตั้งเป็นกิ่งอำเภอห้วยทับทัน เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2520 ต่อมาทำการเปิดกิ่งอำเภอเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 โดยใช้ใต้ถุนศาลาวัดประชารังสรรค์เป็นสถานที่ทำการกิ่งอำเภอ และได้รับงบประมาณก่อสร้างที่ว่าการอำเภอถาวรเมื่อ พ.ศ. 2524 ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2529[3]

ภูมิศาสตร์ แก้

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอห้วยทับทันตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

แหล่งน้ำ แก้

ห้วยทับทัน เป็นลำห้วยที่ไหลมาจากอำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดศรีสะเกษในเขตอำเภอห้วยทับทัน อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ และ อำเภอบึงบูรพ์ไหลลงไปบรรจบแม่น้ำมูลบริเวณอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอห้วยทับทันแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล 82 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ห้วยทับทัน (Huai Thap Than) 8 หมู่บ้าน
2. เมืองหลวง (Mueang Luang) 14 หมู่บ้าน
3. กล้วยกว้าง (Kluai Kwang) 13 หมู่บ้าน
4. ผักไหม (Phak Mai) 17 หมู่บ้าน
5. จานแสนไชย (Chan Saen Chai) 13 หมู่บ้าน
6. ปราสาท (Prasat) 16 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอห้วยทับทันประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง (เทศบาลตำบล 2 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 5 แห่ง) ได้แก่

  • เทศบาลตำบลห้วยทับทัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยทับทัน เฉพาะหมู่ที่ 1, 2, 6–8
  • เทศบาลตำบลจานแสนไชย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจานแสนไชยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทับทัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยทับทัน เฉพาะหมู่ที่ 3–5
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองหลวงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกล้วยกว้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกล้วยกว้างทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลผักไหม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลผักไหมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปราสาท ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปราสาททั้งตำบล

ประชากร แก้

สาธารณสุข แก้

  • สำนักงานสาธารณสุขอำเภอห้วยทับทัน
  • โรงพยาบาลห้วยทับทัน
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในตำบลต่าง ๆ

การศึกษา แก้

 
ป้ายโรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม

การขนส่ง แก้

ทางถนน

อำเภอห้วยทับทันมีถนนสายหลักคือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 (นครราชสีมา–อุบลราชธานี) ซึ่งเชื่อมระหว่างหัวยทับทัน–เมืองสุรินทร์ ระยะทาง 64 กิโลเมตร และเชื่อมระหว่างห้วยทับทัน–เมืองศรีสะเกษ ระยะทาง 37 กิโลเมตร

ทางรถไฟ

อำเภอห้วยทับทันมีสถานีรถไฟประจำอำเภอคือสถานีรถไฟห้วยทับทัน โดยรถไฟเกือบทุกขบวน (ยกเว้นรถด่วนพิเศษอีสานวัตนาที่ 23/24 และรถด่วนพิเศษดีเซลรางที่ 21/22) จะหยุดรับ–ส่งผู้โดยสารที่สถานีนี้

การท่องเที่ยว แก้

ปราสาทห้วยทับทัน แก้

ปราสาทบ้านปราสาท (ห้วยทับทัน) ถูกสำรวจพบและขึ้นทะเบียนโบราณสถานของชาติใน พ.ศ. 2478 โดยตั้งอยู่ที่วัดปราสาทพนาราม บ้านปราสาท หมู่ที่ 12 ตำบลปราสาท อยู่ห่างจากตัวจังหวัดศรีสะเกษประมาณ 39 กิโลเมตร ตัวปราสาทประกอบด้วยปรางค์อิฐ 3 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกันในแนวเหนือ-ใต้ มีกำแพงล้อมรอบพร้อมซุ้มประตู สันนิษฐานว่า เดิมมี 3 หรือ 4 ทิศ ปัจจุบันคงเหลือเพียงด้านทิศใต้เท่านั้น ก่อด้วยศิลาแลง ปรางค์สององค์ที่ขนาบข้างขนาดเดียวกัน ได้รับการดัดแปลงรูปแบบไปมาก โดยเฉพาะส่วนหลังคาและประตู ซึ่งก่อทึบหมดทุกด้าน ยังคงปรากฏกรอบประตูหินทรายและชิ้นส่วนทับหลังสลักภาพการกวนเกษียรสมุทรตกอยู่ ปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ เป็นศิลปกรรมร่วมสมัยแบบบาปวน สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ราวพุทธศตวรรษที่ 16 และบูรณะมาแล้ว 3 ยุค กรมศิลปากรได้มีการขุดพบวัตถุโบราณคือ เทวรูปศิลาหินทราย ทับหลังพระอิศวรทรงโคอุศุภราช หรือโคนนทิ และ ทับหลังกูรมาวตาร และในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ได้สำรวจขุดพบ และโครงกระดูกมนุษย์โบราณอายุราว 3 พันปี ตั้งแต่ยุคหินใหม่ กำไลสำริด เภาชนะดินเผา ลูกปัดสี กระเบื้องเคลือบ กระดองเต่า ขาวสารที่กลายเป็นหิน

วัฒนธรรม แก้

ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น แก้

อำเภอห้วยทับทันมีผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียง คือ ไก่ย่างไม้มะดัน[1] ผลิตจากไก่พื้นเมืองสามสายเลือด ใช้ไม้มะดันเป็นไม้เสียบไก่ รสชาติจะออกเปรี้ยวพอเหมาะกับสูตรเครื่องปรุง ลักษณะพิเศษคือการนำไม้มะดันที่ขึ้นตามธรรมชาติมาเหลาเสียบเป็นไม้ปิ้งซึ่งต่างจากที่อื่น นอกจากนั้นยังมีผลิตภัณฑ์อีกอย่างหนึ่ง คือ เสื้อย้อมมะเกลือ เป็นเสื้อที่ผ่านกรรมวิธีการย้อมด้วยวิธีการพื้นบ้าน (แช่น้ำมะเกลือ)

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "ผลิตภัณฑ์ไก่ย่างไม้มะดัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-19. สืบค้นเมื่อ 2010-11-17.
  2. ทัศนวิทย์ สิทธิโท. พิมพ์ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ. จากพระครูมงคลกิจประสาธน์ (ประศาสน์ อนุตฺตโร). วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม. ศรีสะเกษ, 2537.
  3. ศูนย์บริการข้อมูลอำเภอ กรมการปกครอง
  4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
  5. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2