อำเภอสว่างแดนดิน

อำเภอในจังหวัดสกลนคร ประเทศไทย

สว่างแดนดิน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสกลนคร เดิมมาจากเมืองสว่างแดนดิน จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น อำเภอสว่างแดนดิน และในปี พ.ศ. 2482 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาจากบ้านหัน มาตั้ง ณ หมู่ที่ 11 ตำบลสว่างแดนดิน ซึ่งเป็นที่ตั้งในปัจจุบัน[1] และต่อจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ซึ่งชัยมงคล ไชยรบ ชนะจากการเลือกตั้งซึ่งมีนโยบายคือเปลี่ยนสว่างแดนดินให้เป็นจังหวัดหรือผลักดันให้เป็นจังหวัด[2][3] ซึ่งเป็นนโยบายที่ใกล้เคลียงกันกับโครงการเสนอแต่งตั้งจังหวัดสว่างแดนดินโดยแยกจากจังหวัดสกลนคร ในปี พ.ศ. 2536 และโครงการในปี พ.ศ. 2536 นั้นได้เงียบหายไป และในปัจจุบันจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ยังไม่มีการแถลงการณ์ของนโยบายนั้นก็คือ ให้อําเภอสว่างแดนดินเป็นจังหวัด หรือก็น่าจะคือการณ์แถลงนโยบายให้อําเภอสว่างแดนดินเจริญก่อนแล้วค่อยจะได้เป็นจังหวัด และต่อมาก็มีความคืบหน้าคือการเปลี่ยนเทศบาลตําบลสว่างแดนดิน เป็นเทศบาลเมืองสว่างแดนดิน ที่อาจจะแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. 2568[4]

อำเภอสว่างแดนดิน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Sawang Daen Din
คำขวัญ: 
แดนดินถิ่นไทย้อ พบพ้อแหล่งโบราณ
สืบสานประเพณี มีหนองคูคู่บ้าน
ตำนานแดนเมืองเก่า ศาลเจ้าดอนปู่ตา
ปราสาทขอมล้ำค่า ถิ่นคนกล้าวีรชน
แผนที่จังหวัดสกลนคร เน้นอำเภอสว่างแดนดิน
แผนที่จังหวัดสกลนคร เน้นอำเภอสว่างแดนดิน
พิกัด: 17°28′30″N 103°27′30″E / 17.47500°N 103.45833°E / 17.47500; 103.45833
ประเทศ ไทย
จังหวัดสกลนคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด970.0 ตร.กม. (374.5 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด150,317 คน
 • ความหนาแน่น154.97 คน/ตร.กม. (401.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 47110,
47240 (เฉพาะตำบลแวง ตำบลตาลโกน ตำบลตาลเนิ้ง ตำบลพันนา และตำบลธาตุทอง)
รหัสภูมิศาสตร์4712
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอสว่างแดนดิน หมู่ที่ 11 ถนนนิตโย ตำบลสว่างแดนดิน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร 47110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ แก้

ในปีพุทธศักราช 2406 รัตนโกสินทร์ ศก. 82 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตั้งบ้านภูหว้าฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงขึ้นเป็นเมืองภูวดลสอางเมืองหนึ่ง ตั้งบ้านโพธิ์สว่างฝั่งขวาแม่น้ำโขงขึ้นเป็นเมืองสว่างแดนดินเมืองหนึ่ง ตั้งบ้านกุดลิงฝั่งขวาแม่น้ำโขงขึ้นเป็นเมืองวานรนิวาสเมืองหนึ่ง ทั้งสามเมืองเป็นเมืองขึ้นเมืองสกลนคร

เมืองภูวดลสอาง ริมน้ำบั้งไฟ แขวงเมืองมหาชัย ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงนั้น โปรดเกล้าให้แต่งตั้งราชบุตรเหม็นเมืองสกลนคร เป็นพระภูวดลรักษ์เป็นเจ้าเมือง เจ้าเมืองจึงได้พาเอาบุตรภรรยา สมัครพรรคพวกของตนอพยพครอบครัวข้ามโขงไปยังเมืองภูวดลสอาง ตั้งบ้านเรือนทำการรักษาป้องกันราชอาณาเขตมิให้ญวน ซึ่งเป็นศัตรูกรุงสยามล่วงล้ำเข้ามากดขี่ไพร่ราษฎร์ให้ได้รับความเดือดร้อน ส่วนเมืองสว่างแดนดิน นั้น โปรดเกล้าให้ท้าวเทพกัลยา ผู้เป็นหัวหน้าไทยโย้ย (ไทยเผ่าหนึ่ง) คือ พระสิทธิศักดิ์ เป็นเจ้าเมืองยกบ้านโพธิ์สว่าง หาดยาวริมน้ำห้วยปลาหาง ในเขตเมืองสกลนครเป็นเมืองสว่างแดนดิน บ้านโพธิ์สว่างขณะนี้เรียกตำบลสว่างอยู่ในเขตอำเภอพรรณนานิคม โดยพระสิทธิ์ศักดิ์ (หำ พงศ์สิทธิศักดิ์) เป็นเจ้าเมือง 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2424 ได้ย้ายเมืองจากบ้านโพธิ์สว่างหาดยาวไปตั้งอยู่บ้านโคกสี (ปัจจุบันเป็นตำบลโคกสี อยู่ในเขตปกครองอำเภอสว่างแดนดิน) ตั้งอยู่บ้านโคกสีเป็นเวลา 14-15 ปี จึงย้ายไปจากบ้านโคกสี ไปตั้งอยู่ที่บ้านหัน (ปัจจุบันบ้านหันอยู่ในเขตปกครองตำบลสว่างแดนดิน) พุทธศักราช 2445 โปรดเกล้าฯ ที่เปลี่ยนระเบียบการปกครองใหม่เปลี่ยนนามเมืองเป็นอำเภอ ให้เจ้าเมืองเป็นนายอำเภอ ราชวงศ์เป็นสมุห์บัญชี ราชบุตรเสมียนตราอำเภอเมืองสว่างแดนดิน เป็นอำเภอบ้านหัน โดยมีพระสิทธิศักดิ์เป็นนายอำเภอคนแรก

จนปีพุทธศักราช 2452 อำเภอบ้านหัน เป็นชื่อเรียกกันมาจนพุทธศักราช 2482 นายสุพัฒน์ วงศ์รัตนะ นายอำเภอขณะนั้น ได้สืบประวัติของนายอำเภอบ้านหันได้ความว่า เดิมชื่อเมืองสว่างแดนดิน ตามที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ พระราชทานนาม จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอสว่างแดนดิน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และ ในปีเดียวกันนี้ได้ย้ายที่ว่าการจากบ้านหัน มาตั้ง ณ หมู่ที่ 11 ตำบลสว่างแดนดิน ที่ตั้งอยู่ในปัจจุบัน

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอสว่างแดนดินตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอสว่างแดนดินแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 16 ตำบล 189 หมู่บ้าน ได้แก่

1. สว่างแดนดิน (Sawang Daen Din) 27 หมู่บ้าน 9. ค้อใต้ (Kho Tai) 10 หมู่บ้าน
2. คำสะอาด (Kham Sa-at) 14 หมู่บ้าน 10. พันนา (Phan Na) 12 หมู่บ้าน
3. บ้านต้าย (Ban Tai) 7 หมู่บ้าน 11. แวง (Waeng) 11 หมู่บ้าน
4. บงเหนือ (Bong Nuea) 12 หมู่บ้าน 12. ทรายมูล (Sai Mun) 8 หมู่บ้าน
5. โพนสูง (Phon Sung) 9 หมู่บ้าน 13. ตาลโกน (Tan Kon) 11 หมู่บ้าน
6. โคกสี (Khok Si) 14 หมู่บ้าน 14. ตาลเนิ้ง (Tan Noeng) 9 หมู่บ้าน
7. หนองหลวง (Nong Luang) 12 หมู่บ้าน 15. ธาตุทอง (That Thong) 8 หมู่บ้าน
8. บงใต้ (Bong Tai) 15 หมู่บ้าน 16. บ้านถ่อน (Ban Thon) 10 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอสว่างแดนดินประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 18 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลสว่างแดนดิน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสว่างแดนดิน
  • เทศบาลตำบลดอนเขือง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลแวง
  • เทศบาลตำบลบงใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบงใต้ทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลพันนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพันนาทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหนองหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองหลวงทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบ้านต้าย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านต้ายทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลโคกสี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกสีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสว่างแดนดิน (นอกเขตเทศบาลตำบลสว่างแดนดิน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคำสะอาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคำสะอาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบงเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบงเหนือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนสูงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลค้อใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลค้อใต้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแวง (นอกเขตเทศบาลตำบลดอนเขือง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทรายมูล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทรายมูลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตาลโกน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาลโกนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตาลเนิ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาลเนิ้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลธาตุทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลธาตุทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านถ่อน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านถ่อนทั้งตำบล

สถานศึกษา แก้

โรงเรียนรัฐบาล แก้

โรงเรียนระดับประถมศึกษา

  • โรงเรียนบ้านเตาไหสร้างแก้ว อ.1-ป.6
  • โรงเรียนบ้านหนองหว้า อ.2-ป.6
  • โรงเรียนบ้านดอนย่านาง ป.1-ป.6
  • โรงเรียนบ้านหนองชาด อ.1-ป.6
  • โรงเรียนทรายมูลหนองกุงทรายศรีพิทยา อ.1-ม.3
  • โรงเรียนบ้านง่อนหนองพะเนาว์มิตรภาพที่126
  • โรงเรียนบ้านโนนเสาขวัญ
  • โรงเรียนบงเหนือ
  • โรงเรียนบ้านหวาย อ.1-ป.6
  • โรงเรียนบงใต้โนนรังพัฒนา
  • โรงเรียนอนุบาลสว่างแดนดิน
  • โรงเรียนบ้านโคกสีไคร
  • โรงเรียนบ้านหนองทุ่ม(พุทธานุเคราะห์) (อ.1-ม.3
  • โรงเรียนบ้านตาล อ.1-ป.6

โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา

สถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา

โรงเรียนเอกชน แก้

  • โรงเรียนอนุบาลสุวรรณเทน
  • โรงเรียนมารีย์พิทักษ์สว่างแดนดิน
  • โรงเรียนการกุศลวัดบูรพา
  • โรงเรียนภูพานหลวง

สถานพยาบาล แก้

มีการให้บริการด้านสาธารณสุข โดยมีสถานบริการดังนี้

  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน โรงพยาบาลทั่วไป S ขนาด 320 เตียง จำนวน 1 แห่ง
  • สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสว่างแดนดิน จำนวน 1 แห่ง
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 16 แห่ง
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำสะอาด
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้าย
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบงเหนือ
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อร้าง
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนสูง
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสี
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองหลวง
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบงใต้
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลค้อใต้
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพันนา
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสร้างแป้น
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทรายมูล
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาลเนิ้ง
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาลโกน
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธาตุทอง
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านถ่อน

สถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่สำคัญ แก้

  • ปราสาทขอมบ้านพันนา

ปราสาทขอมบ้านพันนา หรือ "กู่พันนา" ตั้งอยู่ที่บ้านพันนา ตำบลพันนา อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปทางทิศตะวันออกประมาณ 15 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 70 กิโลเมตร ทางถนนสายสกลนคร-อุดรธานี ลักษณะของตัวปราสาทมียอดเดียว ฐานสี่เหลี่ยมผืนผ้า สร้างด้วยศิลาแลง บริเวณใกล้กับตัวปราสาทมีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ก่อด้วยศิลาแลงเป็นชั้นๆ มีน้ำขังตลอดปี เชื่อว่าสร้างสมัยเดียวกับปราสาทพระธาตุภูเพ็ก ปราสาทบางส่วนยังคงสภาพสมบูรณ์

กู่พันนา เป็นศาสนสถานประจำ สถานพยาบาลเรียกว่า “อโรคยศาล” สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอม  ประกอบด้วยปราสาทประธานทรงสี่เหลี่ยมก่อมุข ทางด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันออกและวิหารที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ที่มุขด้านหน้าก่อด้วยศิลาแลงและหินทรายล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง มีโคปุระหรือประตูซุ้มขนาดใหญ่ทางด้านทิศตะวันออก นอกกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้มีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากรุด้วย ศิลาแลง 

จากการขุดแต่งในปี 2542 พบโบราณวัตถุที่สำคัญ ได้แก่เศียรพระวัชรธร ชิ้นส่วนพระโพธิสัตว์วัชรปราณีทรงครุฑ พระยมทรงกระบือ พบชิ้นส่วนพระกรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ประติมากรรมเหล่านี้เป็นรูปเคารพ ในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน รูปแบบเขมรแบบบายน (ราว พ.ศ. 1720-1780) กรมศิลปากรประกาศ "กู่พันนา" เป็นโบราณสถานของชาติเมื่อ 8  มีนาคม 2478 และประกาศขอบเขต เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2525 พื้นที่ 4 ไร่ 1 งาน 33 ตารางวา[5]

  • พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน

ตั้งอยู่ที่บ้านพันนา  ตำบลพันนา สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2545 โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุ ที่กรมศิลปากรขุดค้นได้จากการขุดบูรณะปราสาทขอมบ้านพันนา ได้แก่ ห่วงคอสัมฤทธิ์ ภาพเขียนสี และอื่นๆอีกมากมาย

  • หอนาฬิกาสว่างแดนดิน (ปัจจุบันยังไม่เสร็จ)
  • เจดีย์วัดดอนวังเวิน

ตั้งอยู่ที่บ้านดอนวังเวิน ตำบลสว่างแดนดิน เป็นเจดีย์ที่สร้างครอบสถูปเก่าที่สร้างด้วยศิลาแลง สมัยขอม ยุคเดียวกันกับปราสาทขอมบ้านพันนา

  • ดอนปู่ตา

เป็นที่ดอนมีป่าไม้หนาแน่น เชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของดวงวิญญาณปู่ย่าตายายที่ล่วงลับไปแล้วคอยปกปักรักษาคุ้มครองลูกหลานให้มีความสุข ชาวบ้านที่มีเรื่องทุกข์ร้อนจะพากันมาบนบานเพื่อให้ประสบผลสำเร็จ ในแต่ละปีจะมีการจัดงานเพื่อทำพิธีบวงสรวงในช่วงเดือนเมษายน

  • สวนสมเด็จย่า (สวนสาธารณะหนองคู)

สวนสมเด็จย่า หรือ หนองคู เป็นหนองน้ำสาธารณะ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองสว่างแดนดิน มีการปรับปรุงให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นลานกีฬาชุมชน เป็นสถานที่ใช้ประกอบกิจกรรมในงานวันลอยกระทงประจำปี

  • วัดโพธิ์ศรี
  • วัดใต้
  • วัดใหม่บ้านตาล (พระบรมธาตุเจดีย์ศรีมงคล)

วัดใหม่บ้านตาล ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร พระบรมธาตุเจดีย์นี้ หลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญ ได้นำชาวบ้านตาลและชาวบ้านใกล้เคียง คณะญานุศิตย์และพุทธศาสนิกชน ที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ร่วมกันสร้างขึ้นเมื่อวันอังคารที่ ๑๕ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ แรม ๑๐ ค่ำเดือน ๖ ปีมะโรง และแล้วเสร็จเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีวอก รวมระยะเวลาในการก่อสร้าง ๔ ปี ๕ เดือน ๒๗ วัน เป็นพระบรมธาตุ ๙ ยอด (โลกสุตรธรรม ๙) ฐานสี่เหลี่ยมทรงระฆังคว่ำขนาดกว้าง ๓๖.๕๐ × ยาว ๓๙.๕๐ × สูง ๔๑.๙๑ เมตร ประดิษฐาน ณ วัดบ้านตาล ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร แบ่งเป็น ๓ ชั้น

  • พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านพระธาตุมีชัย บ้านโคกคอน

บ้านโคกคอน เป็นหมู่บ้านชนบทแห่งหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ปัจจุบันอยู่ในเขตการปกครองหมู่ที่ 2 ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร แม้ว่าชุมชนปัจจุบันจะมีประวัติการตั้งถิ่นฐานย้อนหลังไปไม่เกิน 300 ปีที่ผ่านมา ทว่ามรดกทางวัฒนธรรมโบราณทั้งที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวดิน และที่ทับถมอยู่ใต้ดินแสดงให้เห็นว่า บนพื้นที่หมู่บ้านแห่งนี้มีการอยู่อาศัยของผู้คนมาไม่น้อยกว่า 4,000 ปี

  • ชลประทาน

อ่างเก็บน้ำห้วยทราย ชลประทานสว่างแดนดิน บ้านโคกสว่างเหนือ ต.สว่างแดนดิน อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

สถานที่ราชการ และหน่วยงานสำคัญ แก้

  • ศาลจังหวัดสว่างแดนดิน
  • สำนักงานอัยการจังหวัดสว่างแดนดิน
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน
  • สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสว่างแดนดิน
  • ที่ว่าการอำเภอสว่างแดนดิน
  • สำนักงานเทศบาลตำบลสว่างแดนดิน
  • สำนักงานสรรพากรพื้นที่ สาขาสว่างแดนดิน
  • สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สกลนคร สาขาสว่างแดนดิน
  • สำนักงานที่ดินจังหวัดสกลนคร สาขาสว่างแดนดิน
  • สถานีตำรวจภูธรสว่างแดนดิน
  • สถานีตำรวจภูธรแวง
  • สถานีตำรวจภูธรโคกสี
  • สถานีตำรวจทางหลวง
  • สถานีขนส่งผู้โดยสารสว่างแดนดิน (บ.ข.ส.สว่างแดนดิน)
  • ที่ทำการไปรษณีย์สว่างแดนดิน รหัสไปรษณีย์ 47110
  • ที่ทำการไปรษณีย์ดอนเขือง รหัสไปรษณีย์ 40290 (เฉพาะตำบลแวง ตำบลตาลโกน ตำบลตาลเนิ้ง ตำบลพันนา และตำบลธาตุทอง)
  • สำนักงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
  • ศูนย์บริการลูกค้า CAT
  • ศูนย์บริการลูกค้า TOT
  • การประปาส่วนภูมิภาค สาขาสว่างแดนดิน
  • สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอสว่างแดนดิน
  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอสว่างแดนดิน
  • สำนักงานขนส่งทางบกจังหวัดสกลนคร สาขาสว่างแดนดิน
  • แขวงทางหลวงสกลนครที่ 2 (สว่างแดนดิน)

อ้างอิง แก้

  1. http://www.amphoe.com/menu.php
  2. อินทรีภูพาน (2023-04-21). "สกลนคร ชัยมงคล พรรคพลังประชารัฐ สนับสนุนการจัดตั้งสว่างแดนดินเป็นจังหวัดนำความเจริญมาสู่บ้านเกิด". เสียงภูพาน.
  3. ""ชัยมงคล ไชยรบ"อดีตนายกฯอบจ.3 สมัยปักธง พปชร.ในสกลนครได้สำเร็จ เตรียมผลักดัน"สว่างแดนดิน"เป็นจังหวัด". สยามรัฐ. 2023-05-18.
  4. "เลาะเมืองสว่างแดนดิน | By ที่นี่สว่างแดนดิน | Facebook". www.facebook.com.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-09. สืบค้นเมื่อ 2017-08-18.