อำเภอวังจันทร์

อำเภอในจังหวัดระยอง ประเทศไทย

วังจันทร์ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดระยอง

อำเภอวังจันทร์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Wang Chan
ปั๊มปตทชุมแสง (ก่อนปรับปรุง)
ปั๊มปตทชุมแสง (ก่อนปรับปรุง)
คำขวัญ: 
ผลไม้รสดี ประเพณีหลากหลาย
แหล่งจำหน่ายยางพารา งามตาเขื่อนประแสร์
แผนที่จังหวัดระยอง เน้นอำเภอวังจันทร์
แผนที่จังหวัดระยอง เน้นอำเภอวังจันทร์
พิกัด: 12°56′5″N 101°31′13″E / 12.93472°N 101.52028°E / 12.93472; 101.52028
ประเทศ ไทย
จังหวัดระยอง
พื้นที่
 • ทั้งหมด395.245 ตร.กม. (152.605 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด25,957 คน
 • ความหนาแน่น65.67 คน/ตร.กม. (170.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 21210
รหัสภูมิศาสตร์2104
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอวังจันทร์ ถนนบ้านบึง-แกลง ตำบลชุมแสง อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง 21210
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอวังจันทร์ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

 
ปั้มปตท.ในเขตตำบลชุมแสง

ประวัติ แก้

วังจันทร์ เป็นชื่อหมู่บ้านหนึ่งในตำบลกระแสบน อำเภอแกลง ในปี พ.ศ. 2516 ทางราชการเห็นว่าพื้นที่ด้านเหนือของตำบลกระแสบนมีพื้นที่กว้างขวาง อยู่ไกลท้องที่ทุรกันดาร และห่างไกลจากตัวอำเภอ จึงแยกพื้นที่หมู่บ้านในตำบลกระแสบน ได้แก่ หมู่ 7–9, 13–15 (ในขณะนั้น) ตั้งเป็นตำบลวังจันทร์ และพื้นที่หมู่ 6, 10–12, 16 (ในขณะนั้น) ตั้งเป็นตำบลชุมแสง[1] ปี พ.ศ. 2520 เมื่อพื้นที่ทั้ง 2 ตำบลมีความเจริญมากขึ้น จึงแนะนำประชุมชี้แจงร่วมกับทางอำเภอแกลง รายงานต่อกระทรวงมหาดไทย และเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน จึงประกาศแยกพื้นที่อำเภอแกลง ได้แก่ ตำบลชุมแสง และตำบลวังจันทร์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอวังจันทร์[2] โดยตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอและศูนย์ราชการต่างๆ ของทางกิ่งอำเภอในพื้นที่หมู่ 4 บ้านสำนักพริก ซึ่งอยู่ติดกับพื้นที่หมู่ 1 บ้านชุมแสง ตำบลชุมแสง เนื่องจากมีสภาพชุมชนและชุมนุมการค้าหนาแน่น และเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคม (ตั้งอยู่ในเขตของสุขาภิบาลชุมแสง)[3]

ในปี พ.ศ. 2522 ทางราชการได้แบ่งแยกพื้นที่ 5 หมู่บ้านของตำบลชุมแสง มาจัดตั้งเป็น ตำบลป่ายุบใน[4] ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2534 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน ปีเดียวกัน[5] และแบ่งแยกพื้นที่ 5 หมู่บ้านของตำบลวังจันทร์ มาจัดตั้งเป็น ตำบลพลงตาเอี่ยม ในปี พ.ศ. 2534[6] เป็นตำบลลำดับสุดท้ายของทางอำเภอ

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอวังจันทร์ แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 ตำบล 29 หมู่บ้าน

1. วังจันทร์ (Wang Chan) 6 หมู่บ้าน
2. ชุมแสง (Chum Saeng) 8 หมู่บ้าน
3. ป่ายุบใน (Pa Yup Nai) 7 หมู่บ้าน
4. พลงตาเอี่ยม (Phlong Ta Iam) 8 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอวังจันทร์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลชุมแสง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของพื้นที่ตำบลชุมแสง (เฉพาะหมู่ที่ 1, 5) และตำบลพลงตาเอี่ยม (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1–3, 6)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังจันทร์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังจันทร์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลชุมแสง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชุมแสง (เฉพาะหมู่ที่ 2–4, 6–8 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 5)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลป่ายุบใน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่ายุบในทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพลงตาเอี่ยม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพลงตาเอี่ยม (เฉพาะหมู่ที่ 4–5, 7 และบางส่วนของหมู่ที่ 1–3, 6)

อ้างอิง แก้

  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (89 ง): 2184–2187. วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2516
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ตั้งเป็นกิ่งอำเภอวังจันทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (116 ง): 4749. วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลชุมแสง กิ่งอำเภอวังจันทร์ อำเภอแถลง จังหวัดระยอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (110 ง): 3984–3986. วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2530
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอวังจันทร์ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (149 ง): 3009–3011. วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2522
  5. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอทุ่งตะโก อำเภอพะโต๊ะ อำเภอเขาค้อ อำเภอน้ำหนาว อำเภอวังจันทร์ อำเภอนาด้วง อำเภอเต่างอย อำเภอสิงหนคร อำเภอพระสมุทรเจดีย์ และอำเภอลำดวน พ.ศ. ๒๕๓๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (107 ง): (ฉบับพิเศษ) 29-32. วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2534
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองระยองและกิ่งอำเภอวังจันทร์ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (115 ง): (ฉบับพิเศษ) 14-24. วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2534